Sponsored Ads

มือถือชาร์จได้ช้ามาก หรือแทบจะไม่ชาร์จเลย บ่งบอกถึงความผิดปกติที่จะต้องเตรียมเสียเงินค่าซ่อม แต่อาจจะลองแก้ไขเบื้องต้นตามนี้ไปก่อน เผื่อว่าอาจจะสามารถชาร์จได้ และยืดอายุอะไหล่บางตัวอย่างส่วนชาร์จของมือถือ หรือ สายแพร์ชาร์จ ในมือถือราคาถูก หากชาร์จบ่อย มีแนวโน้มว่า วงจรนี้จะเสียหายเร็ว พังเร็ว

 

การชาร์จบ่อย ในขณะที่ระดับแบตเตอรี่เหลือเกิน 50% ขึ้นไป จะช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ แต่อาจจะทำให้วงจรชาร์จ หรือ ตูดชาร์จ หรือ สายแพร์ชาร์จ พังเร็วขึ้น อาการก็จะเริ่มแสดงในลักษณะการชาร์จที่เริ่มมีปัญหา เช่น ชาร์จไม่เข้า หรือบางครั้งก็ช้ามาก อย่างเครื่องนี้ เริ่มชาร์จที่ 68% เวลา 16:03 ได้ 74% ที่เวลา 17:01 ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ชาร์จได้เพียง 6% เท่านั้นเอง

 

ปัญหานี้เกิดจากอะไร

จากประสบการณ์ในการใช้งานมือถือหลายเครื่อง และใช้นาน ทำให้แบตเตอรี่หมดเร็ว ต้องชาร์จบ่อยๆ ก็จะทำให้วงจรชาร์จแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว พังเร็ว นอกจากนี้ก็จะพบปัญหาในมือถือบางรุ่นที่จะมีอายุขัยเมื่อถึงเวลา อย่างมือถือ ASUS ที่เคยใช้มา 3 เครื่อง จะมีอาหารคล้ายกัน เมื่อถึงเวลาประมาณ 3-4 ปีขึ้นไป วงจรชาร์จจะเริ่มมีปัญหา ชาร์จไม่เข้า หรือ ทำได้ช้ามาก ก็แสดงว่า ได้เวลาต้องเปลี่ยนแผงวงจรชาร์จ

 

อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ มือถือตกรุ่น นำมาขายผ่านเน็ต แบตเตอรี่เริ่มแย่แล้ว เพราะไม่รู้เก็บไว้นานแค่ไหน ปัญหานี้ก็มีโอกาสเป็นไปได้ กับมือถือบางรุ่น

 

แนวทางแก้ไขก่อนจะนำเครื่องไปซ่อม ก็มีหลายวิธี หากการเงินยังไม่พร้อม หรือไม่สามารถทำเองได้ ต้องพึ่งช่าง ค่าบริการสูง ไม่คุ้มซ่อม ต้องเตรียมเก็บเงินซื้อเครื่องใหม่

 

นำไปชาร์จกับคอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊ค

หากมีคอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊ค ให้ลองนำไปชาร์จกับคอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊ค แทนการใช้หัวชาร์จที่มากับเครื่อง

 

ใช้หัวชาร์จมือถือที่จ่ายไฟน้อยที่สุด

ทำความรู้จักหัวชาร์จแบบต่างๆ กันก่อน

หัวชาร์จมือถือแต่ละแบบจะจ่ายไฟออกมากน้อยต่างกันไป ขึ้นอยู่กับขนาดความจุแบตเตอรี่ของอุปกรณ์นั้นๆ ตัวอย่าง
1. มือถือเล็ก แบตเตอรี่ความจุน้อย ประมาณหรือใกล้เคียง 1500 mAh อาจจะจ่ายไฟออกแค่ประมาณ 0.5 A หรือ 500 mA เท่านั้น หัวชาร์จนี้เป็นของมือถือ True รุ่นเล็กสุด


2. มือถือที่มีแบตเตอรี่ความจุประมาณหรือใกล้เคียง 2000 mAh อาจจะจ่ายไฟออกประมาณ 1 A หรือ 1000 mA ตัวอย่างหัวชาร์จอันนี้เป็นของ iPhone 7


3. มือถือที่ใช้แบตเตอรี่ความจุประมาณหรือใกล้เคียง 3000 mAh อาจจะจ่ายไฟออกประมาณ 2 A ตัวอย่างหัวชาร์จของ Oppo


4. มือถือหรือแท็บเล็ตที่ใช้แบตเตอรี่ความจุสูงๆ เกิน 3000 mAh ขึ้นไป ก็จะจ่ายไฟมากยิ่งขึ้น เช่น 2.5 A สำหรับแท็บเล็ต Techlast แบตเตอรี่ 6000 mAh

 

แนวทางแก้ปัญหาในมือถือที่ชาร์จช้ามาก

เมื่อมือถือชาร์จได้ช้ามาก หรือชาร์จไม่เข้าให้แก้ไขง่ายๆ
1. เปลี่ยนขนาดหัวชาร์จ เลือกที่ชาร์จไฟได้น้อยลง อย่าง มือถือ Oppo เครื่องนี้ ใช้หัวชาร์จจ่ายไฟ 2A ที่มากับเครื่อง ในระยะเวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ชาร์จได้เพียง 6% เท่านั้น


2. แต่เมื่อเปลี่ยนไปใช้หัวชาร์จที่จ่ายไฟได้น้อย อย่าง 0.5 A กลับชาร์จไฟเข้าได้มากขึ้น จากเวลา 17:11 ถึง 17:39 ชาร์จได้ 6% (ดีขึ้นก็จริง แต่วงจรชาร์จมือถือเครื่องนี้ กำลังจะหมดสภาพแล้ว ก็แก้ขัดไปก่อน) สำหรับเครื่องนี้รวนมาก เพราะเมื่อแบตเตอรี่หมด แล้วนำมาชาร์จกับหัวชาร์จตัวนี้ปรากฏว่า ไฟไม่เช้า แต่เอาไปชาร์จกับหัวชาร์จเดิม ปรากฏว่าชาร์จได้เหมือนเดิม เครื่องนี้เป็นเครื่องตกรุ่น นำมาขายในเน็ต ใครจะซื้อเครื่องแนวนี้ แม้จะเป็นเครื่องใหม่ ก็ต้องคิดให้รอบด้าน อาจจะเจอปัญหาแบบนี้ ซึ่งเครื่องนี้ก็ได้ใช้งานมาประมาณ 10 เดือนแล้ว 


3. การชาร์จโดยใช้หัวชาร์จที่จ่ายไฟได้น้อย ในมือถือบางรุ่นที่วงจรชาร์จ หรือแบตเตอรี่ยังไม่แย่มากนัก อาจจะชาร์จได้เร็วกว่านี้ ตัวอย่างมือถือ ASUS เริ่มชาร์จเวลา 15:59 ที่ 74% ชาร์จได้ 96% ที่เวลา 17:02 ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 3 นาที ก็ชาร์จได้เกือบเต็ม

 

แนวทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ก็จะช่วยไม่ให้เสียเงิน เสียเวลาชาร์จมือถือบ่อยๆ ตัวอย่างเช่น
1. จากการสังเกตุมือถือระดับล่างราคาถูก มีแนวโน้มว่าวงจรชาร์จ และแบตเตอรี่จะเสื่อมเร็ว พังเร็ว ดังนั้นหากใช้มือถือในลักษณะนี้ ใช้งานหนัก ใช้งานนาน เช่น ดูยูทูป เล่นเกม ทั้งวัน ชาร์จบ่อยมาก ก็ควรเลือกเครื่องที่มีแบตเตอรี่ความจุสูง และคุณภาพดีกว่านั้น
2. ดูพฤติกรรมการใช้มือถือของตนเอง ใช้งานหนัก ใช้นาน ใช้มาก ต้องชาร์จบ่อย ก็เลือกซือมือถือที่ให้แบตเตอรี่ความจุสูงไว้ก่อน
3. ใช้อุปกรณ์อื่นแทนมือถือ เช่น ชอบดูหนัง ดูวิดีโอผ่านเน็ต ก็เปลี่ยนไปใช้ โน้ตบุ๊ค ใช้คอมพิวเตอร์ หรือ ดูผ่านทีวีแทนการใช้มือถือ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า ส่วนมือถือ ก็เอาไว้ทำหน้าที่ของมัน
4. เลือกซื้อมือถือที่ถอด แกะง่าย เพื่อให้สามารถซ่อมเองได้ อะไหล่ไม่แพง เมื่อแบตเตอรี่เสื่อม หรือ วงจรชาร์จ แพร์ชาร์จเสีย คราวนี้ก็ใช้ไปเถอะ เสียเมื่อไรก็ซ่อมเอง