Sponsored Ads

รวมไอเดียดีๆ แนะนำ 12 วิธีเอาตัวรองสำหรับคนทำร้านอาหารแบบต่างๆ ร้านก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่ง ฯลฯ โดยเฉพาะร้านใกล้ มหาวิทยาลัย ซึ่งรายรับจะแย่ในช่วง ปิดเทอมใหญ่ ประมาณ 3 เดือน ร้านส่วนใหญ่จะพากันปิดเทอมด้วยเช่นกัน ทำให้รายรับตก

 

การทำร้านอาหารเป็นธุรกิจที่หลายคนเลือก เพราะมองว่าคนเราก็ต้องกินต้องใช้ เรื่องอาหารการกินจึงไปได้ดีแน่นอน แต่ก็ไม่ ง่ายอย่างที่คิด เพราะร้านอาหารโดยเฉพาะใกล้สถานศึกษาก็มีเยอะมาก และมีหลายร้านที่ไปไม่รอด โดยเฉพาะร้านที่ต้องเสียค่าเช่าแพง ร้านไปไปได้ดีส่วนใหญ่จะมีบ้านเป็นของตนเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่า

 

รวมไอเดียเอาตัวรอดแบบต่างๆ สำหรับคนทำร้านอาหาร

ไอเดียเหล่านี้เป็นมุมมองของผู้เขียนเองในฐานะคนใช้บริการ การช่างสังเกตุ หรือจากการได้พูดคุยกับเจ้าของร้านอาหารหลาย แห่ง

 

1. การมีบ้านหรือร้านของตัวเองโดยไม่เสียค่าเช่า

หากมีบ้านเป็นของตนเอง อาจจะเป็นตึกแถวติดถนนก็ตาม ก็จะมีโอกาสเอาตัวรอด เพราะค่าใช้จ่ายน้อยกว่า หากมีพื้นที่สามารถ ปลูกผักเองได้ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งลดรายจ่าย เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เมื่อกิจการไปได้ดี สำหรับคนที่ทำร้านอาหาร ก็ควรหาซื้อ ที่ดินทำเลดีไว้รองรับ บางร้านอยู่ในทำเลที่ห่างไกลแต่ก็มีคนไปอุดหนุน เพราะอาหารอร่อย อีกทั้งคนที่ไป หลายคนก็อยากจะหลบมุม พากิ๊กไปทานข้าว

 

 

บางร้านอยู่ในทำเลที่คาดไม่ถึงจริงๆ ว่าจะมีคนไปใช้บริการ ครั้งแรกที่ผู้เขียนเคยขับรถผ่าน ก็ยังงงๆ ว่าร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนี้ทำไมมา อยู่ตรงนี้ ละแวกน้้นเป็นทุ่งนา แล้วก็มีร้านนี้ตั้งโด่เด่อยู่ร้านเดียว จนกระทั่งได้ผ่านไปช่วงพักเที่ยงจึงรู้ว่า ร้านอยู่ได้เพราะคนมาทานช่วง กลางวันกันเยอะมาก อาหารบางเมต้องโทรจองไม่เช่นนั้นอดแน่นอน

 

2. บริการขายถึงที่ด้วยรถเคลื่อนที่

บางคนเน้นให้บริการถึงที่ด้วยรถเคลื่อนที่อาจจะเป็นรถยนต์หรือจักรยานยนต์พ่วงข้าง โดยเฉพาะจักรยานยนต์พ่วงข้างนั้นมีค่าใช้ จ่ายถูกกว่า ประหยัดน้ำมันมากกว่า บางคนขายดีมากจนสามารถถอยรถป้ายแดงได้เลยทีเดียว ผู้เขียนไม่ได้อิจฉาอะไรหรอกนะ แต่มอง ว่าบริการเงินผิดทาง ทั้งๆ ที่ยังเช่าบ้านอยู่ ควรนำเงินไปกู้ซื้อบ้านจะดีกว่าซื้อรถป้ายแดง เพราะมีโอกาสต่อยอดได้ดีกว่า อย่างน้อยก็ ควรขยายกิจการไปเช่าตึกแถว ก็ยังดี ขายของทั้งในร้านและนอกสถานที่ บางคนเป็นคู่สามีภรรยาก็ขายของกันทั้งคู่ มีรถจักรยานยนต์ พ่วงข้างคนละคัน

 

3. แม่ครัวสำรองต้องมีหลายคน

การทำอาหารในเรื่องแม่ครัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็ควรจะมีแม่ครัวสำรองด้วยเช่นกัน บางร้านไม่ใช้คนไทย เพราะเก่งแล้วก็จะ สามารถเปิดแข่งขันได้ เน้นลูกจ้างแรงงานต่างด้าว บางร้านทั้งเด็กเสริพทั้งแม่ครัวก็ทำอาหารกันได้หมด เพราะช่วงที่มีลูกค้ามาก จำเป็น จะต้องช่วยกันหลายคน

 

4. เตรียมเมนูสำเร็วรูปไว้รองรับกรณีแม่ครัวลาออก

ในการเปิดร้านอาหาร แต่ละร้านก็จะมีเมนูเด็ดของตัวเอง ซึ่งก็ควรจัดทำเมนูเป็นคู่มือรวมเมนูอาหารของตนเอง เพื่อให้คนอื่น สามารถช่วยทำอาหารได้ กรณีแม่ครัวลาออกหรือติดธุระต้องไปที่อื่น บางคนทำร้านอาหารแต่ตัวเองทำอาหารไม่เป็น การจ้างแม่ครัว ย่อมจะแพงกว่าการเตรียมสูตรอาหารไว้แล้วให้ใครก็ได้สามารถทำอาหารได้ อาจจะนำเด็กเสริฟมาฝึกเป็นแม่ครัวก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้อง เป็นง้อแม่ครัว เพียงแค่ควรเลือกคนต่างด้าวแทนคนไทย เพื่อป้องกันปัญหาการเปิดร้านแข่งกัน

 

5. การทำช่วงโปรโมชั่นลดราคา

บางร้านจะมีโปรโมชันลดราคาก่อน 2 ทุ่ม สำหรับเครื่องดื่ม ไว้เรียกลูกค้า

 

6. มีเมนูประหยัด หรือเมนูพิเศษไว้รองรับ

ทางร้านควรมีเมนูพิเศษอาจจะเป็นเมนูประหยัดไว้รองรับลูกค้า ข้อดีก็คือลูกค้าบางคนที่ติดใจก็จะมากินบ่อยๆ เพราะหาทานไม่ได้ บางร้านจะมีลาบปลาตะเพียน หรือลาบทอด ต้มยำปลาไข่ ฯลฯ บางร้านมีเมนูเด่นเมนูเดียวเลยเช่น ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ รสเด็ด ข้อดีของ การมีเมนูเด็ดก็จะลดการเตรียมเรื่องวัตถุดิบในการทำอาหารให้น้อยลง ลดค่าใช้จ่าย

 

 

7. มีเมนูอาหารที่รองรับคนหลากหลาย

การมีเมนูอาหารที่รองรับคนหลายกลุ่ม ก็จะเป็นเรื่องดี เพื่อให้มีลูกค้าหลากหลาย บางคนเน้นทำอาหารขายให้นักศึกษาเท่านั้น เมื่อ ถึงเวลาปิดเทอมใหญ่ ก็ต้องปิดตามนักศึกษาไปด้วย แต่หากทำร้านอาหารให้รองรับลูกค้าหลายกลุ่มก็จะลดความเสี่ยงในเรื่องรายได้

 

8. บริการส่งถึงที่

การเพิ่มบริการส่งถึงที่ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก สำหรับลูกค้าที่ไม่มีเวลาออกมาทานข้างนอก หรือไม่อยาก ออกจากสำนักงานหรือที่พักเพราะอากาศร้อน การให้บริการส่งถึงควรจะเป็นเมนูเฉพาะ บางร้านจะเป็นพวกปิ้งย่าง เสียมากกว่า

 

9. เจ้าของร้านต้องสามารถทำอาหารเองได้

คนเปิดร้านอาหารก็ต้องทำอาหารเองได้ แต่ก็มีหลายคนที่ทำเองไม่เป็นแต่เน้นจ้างแม่ครัวหรือพ่อครัว ซึ่งก็มีความเสี่ยงกรณีแม่ครัว ลาออก หรือมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แพงขึ้น จนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงต้องทำอาหารเองให้ได้ และฝึกแม่ครัวสำรองไว้เผื่อตัว เองมีธุระต้องไปทำงานอื่น

 

10. เน้นให้ลูกค้าบริการตัวเอง

การให้ลูกค้าบริการตนเอง ก็จะลดภาระการจ้างพนักงานเสริฟ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร อย่างร้านข้าวแกงจะสามารถทำได้ โดยจะต้องไปชำระเงินก่อน แล้วจึงจะได้ช้อน หากบริหารจัดการได้ดี ก็จะลดการจ้างคน ลดรายจ่าย

 

11. ปลูกพืชผักบางชนิดช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

พืชผักบางอย่างที่จะต้องใช้มากที่สุด เช่น ร้านลาบก็จะใช้โหระพา หรือผักกาดขาว หรือผักชนิดต่างๆ ก็ควรจะปลูกไว้ บางคนเน้น ปลูกผักเอง ก็ช่วยลดรายจ่าย ประหยัดรายจ่าย ก็สามารถแข่งขันกับร้านอื่นได้ บางร้านยังขายถูกมาก ข้าวแกงถุงละ 20 บาท ในขณะที่ ร้านส่วนใหญ่ขึ้นราคา 30 บาทขึ้นไป

 

12. ใช้โซเชียลให้เป็นประโยชน์

หลายร้านจะใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเฟสบุ๊คเพจของตัวเอง หรือไลน์กลุ่ม ซึ่งก็เป็นข้อดี เพราะจะสามารถแจ้งเมนูอาหารเด็ดๆ ให้ลูกค้าได้ การโปรโมตผ่านช่องทางเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มลูกค้าได้หลายกลุ่ม

 

13. ขายอาหารเป็นช่วงเวลา

บางคนขายอาหาร แต่ขายเฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น เช่น ช่วงพักเที่ยง โดยการเช่าห้องด้านล่างในตึก ทำอาหารจากบ้านแล้วขนไป ที่ร้าน จึงไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน และยังประหยัดพื้นที่ด้วยเช่นกัน หากในบริเวณบ้านที่พื้นที่ให้เพราะปลูกได้ ก็จะเป็นการดี เพราะ จะสามารถลดรายจ่ายลงได้

 

14. จัดการกับปัญหาความร้อนในหน้าร้อน

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ปัญหาเรื่องนี้ก็ส่งผลกระทบต่อร้านอาหารโดยตรง การปลูกสร้างร้านอาหารหลายแห่งเราจึงมักจะพบว่า จะมีการใช้หญ้าคา ซึ่งจะไม่ร้อนมากเหมือนการใช้สังกะสีหรือกระเบื้อง ไม่ต้องเปิดพัดลมมากนัก ก็เย็นสบาย ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ และช่วยเรียกลูกค้าได้อีกทาง เพราะทุกคนก็อยากจะไปนั่งกินอาหารแบบสบายๆ อากาศดีไม่ร้อน

 

 

ท้ายนี้ก็หวังว่าไอเดียเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังทำร้านอาหารหรือกำลังจะเปิดร้าน อาจจะนำบางเทคนิคไปใช้ ประโยชน์ได้ เพราะเรื่องอาหารนั้น หากมีเมนูพิเศษ รสเด็ดโดนใจ ก็จะมีโอกาสสร้างฐานลูกค้าประจำ เมื่อนั้นก็จะอยู่ยาว มีรายได้ไป อีกนาน