Sponsored Ads

ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบคนที่ไม่รู้จักบุญคุณ หรือคนเนรคุณ ได้รับความช่วยเหลือ มีความสุข สบายแต่กับสร้างความเดือดร้อนให้ผู้มีพระคุณหรือผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือตัวเอง

 

คนเนรคคุณหรือไม่รู้จักบุญคุณคนอื่นแบบนี้ในสังคมเรามีอยู่เยอะมาก ตั้งแต่ในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทมิตรสยาย การเนรคุณ มัก จะเกิดจากความเห็นแก่ตัวของคนเรา ซึ่งเป็นนิสัยพื้นฐานของคนเราอยู่แล้ว หากมีเหตุให้ต้องการสิ่งใด ก็อาจจะกลายเป็นคนเนรคุณได้ ไม่ยากเลย

ตัวอย่าง :

นาย แดง ทำงานกับนายจ้างมาหลายปี เป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร นายจ้างจึงให้ความรัก ให้ความช่วยเหลือและไว้ใจมอบ หมายให้ดูแลร้านค้า แต่นายแดงกลับทำตัวเนรคุณ ขุนไม่เชื่อง เมื่อนายจ้างเผลอ ก็แอบงัดเอาทรัพย์สินมีค่าหลายรายการของนายจ้าง แล้วหลบหนีไป

นาย รุ่งโรจน์ รู้สึกแค้นใจอย่างมาก ที่ลูกจ้างขุนไม่เชื่อง เนรคุณ ไม่รู้จักบุญคุณที่เคยชุบเลี้ยงให้ความช่วยเหลือกมา แอบขโมย ทรัพย์สินในบ้านไปขาย และแอบทำมาหลายปี ก่อนจะโดนจับตัวได้ในที่สุด

เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนบางคนกลายเป็นคนเนรคุณ ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่น อาจจะเป็นนิสัยดั้งเดิมของคนๆ นั้น เพราะคนเรามีนิสัย เห็นเก่ตัวเป็นพื้นฐาน นิสัยไม่ดีอยู่แล้ว และพร้อมจะทำเพื่อตัวเอง แม้ว่าจะเป็นการเนรคุณบุคคลซึ่งเคยมีพระคุณก็ตาม ส่วนบางคนอาจ จะทำเพราะมีเหตุจำเป็น เช่น มีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน เพราะคนในบ้านป่วย หรือเพื่อใช้หนี้ จึงจำใจต้องขโมยหรือสร้างความเดือดร้อน ให้กับคนที่มีบุญคุณกับตัวเอง

นอกจากนี้ การที่บางคนมีนิสัยเนรคุณ ขุนไม่เชื่อง เลี้ยงไม่เชื่อง ก็เพราะสาเหตุจากการได้รับความช่วยเหลือมากเกินไป คนที่รับ อย่างเดียว ได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว ฝ่ายเดียว มักจะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ตัวเอง และพร้อมจะเนรคุณ ผู้ที่ เคยช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่รู้สึกผิด ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือผู้ใดก็ตาม ก็ต้องคิดถึงผลเสียที่จะตามมาด้วย ช่วย แต่พอดี ช่วยเกินพอดี ก็ทำให้คนๆ นั้นเสียคน นิสัยเสีย และมักจะสร้างความเดือดร้อนให้ในอนาคต

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน : กินบนเรือนขี้รถบนหลังคา