ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่นิสัยไม่ดี ชอบแข่งขัน ชิงดี ชิงเด่น หรือทำการใดๆ ที่เป็นการ ลบหลู่ผู้มีพระคุณ วัดรอยเท้า ผู้มีบุญคุณ ซึ่งเรื่องแบบนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในวงการธุรกิจ การเมือง หรือมีเรื่องของ ผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง :

ในการทำธุรกิจ เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องการแข่งขัน บางครั้งก็เป็นการแข่งขันของคนในครอบครัวเดียวกัน อย่างลูก หลานแยกตัวออกมาทำธุรกิจแบบเดียวกันแข่งกับพ่อแม่ก้มี การ วัดรอยเท้า ผู้มีพระคุณแบบนี้ สังคมไทยจะรับไม่ได้ และคน ที่ทำแบบนี้มักจะถูกตำหนิ ดุด่า ว่ากล่าว เพราะเป็นคนไม่ดี ไม่รู้จักบุญคุณคน

คนรุ่นใหม่ย่อมเกิดขึ้นมาแทนที่คนรุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็นวงการอะไรก็ตาม ย่อมหลีกหนีการแข่งขันไม่พ้น คนรุ่นลูก รุ่นหลาน คิด วัดรอยเท้า ผู้ใหญ่ จึงเป็นเรื่องปกติ และก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร หากเป็นการแข่งขันที่เป็นไปตามกฏกติกา อย่างการแข่งขัน กีฬา ใครแพ้หรือชนะก็เป็นไปตามความสามารถ คนชนะก็ย่อมจะได้รับการยอมรับ แม้จะเป็นการเอาชนะคนที่เคยสอนสั่งตัว เองมาก็ตาม ซึ่งต่างไปจากการทำธุรกิจ ซึ่งมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง บางคนสอนลูกหลานเรื่องการทำมาหากิน แล้ว ลูกหลานก็เปิดธุรกิจขึ้นมาแข่งขัน จนทำให้ตนเองต้องปิดกิจการ กรณีอย่างนี้ก็ไม่ใช่เรื่องดี แต่หากเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหลาน ก็จะถือว่าเป็นเรื่องปกติของการแข่งขัน ใครอ่อนแอ ก็ต้องแพ้ไป

คนรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่ทุกวันนี้ฉลาดกว่าคนรุ่นเก่า เพราะเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่าย และมากกว่าคนรุ่นเก่า ซึ่งส่วนใหญ่ หยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไปนานแล้ว เมื่อมีความรู้มากขึ้น เด็กบางคนก็เริ่มคิด วัดรอยเท้า ผู้ใหญ่ ชิงดี ชิงเด่น ไม่ให้เกียร์ติผู้ใหญ่ เพราะถือว่าตัวเองมีความรู้มากกว่า เก่งกว่า ร้อนวิชา ไม่ฟังใคร ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องยอมรับความจริง เพราะความรู้และ ประสบการณ์ในหลายๆ เรื่องที่คนอีกรุ่นหนึ่งเคยผ่านมานั้น บางทีก็ใช้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ ประสบการณ์ชีวิตในหลายด้าน ต้อง เรียนรู้ใหม่แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนอายุเท่าใดก็ตาม

Sponsored Ads