Sponsored Ads

ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบคนที่ขี้เหนียวมากว่าเค็มเหมือนเกลือ หากไม่ได้อยู่ใน ระหว่างรับประทานอาหาร แล้วมีใครพูดถึงเกลือขึ้นมา ก็รับรองได้เลยว่า กำลังพูดถึงพฤติกรรมหรือนิสัยขี้เหนียวของคนเรานั่นเอง

ตัวอย่าง :

คนที่ขี้เหนียวมากๆ บางคนก็เป็นมาตั้งแต่เกิด หวงสัมบัติข้าวของ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่ได้ใช้อะไร สะสมสมบัติบ้าบอเต็มบ้านไปหมด เป็นคนที่ เค็มอย่างเกลือ มาตั้งแต่เกิด จนเป็นสันดาน แก้ไม่ได้แล้ว

บางคนเปลี่ยนนิสัยจากคนใจดี เป็นคนขี้เหนียว เค็มอย่างเกลือ ด้วยจากสาเหตุหรือเวลาที่เปลี่ยนไป อย่างการมีครอบครัว ก็จะ เริ่มคิดถึงแต่ครอบครัวตัวเอง ยิ่งมีลูกหลานด้วยแล้ว ก็จะเริ่มคิดถึงแต่ลูกหลานคนในครอบครัวตัวเอง จากที่เคยใจดี ก็อาจจะเริ่ม เค้ มอย่างเกลือ ขี้เหนียว หวงข้าวของกลัวใครจะมาแย่งเอาไป ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่จะเห็นกันได้อย่างชัดเจน ก็คือ เริ่มแก่ชรา เพราะทำ งานไม่ได้ ไม่มีรายได้ จึงเริ่มขี้เหนียว เค็มอย่างเกลือ คิดถึงแต่ตัวเอง กลัวอดตาย กลัวตาย

คนที่มีลักษณะ เค็มอย่างเกลือ นั้น เป็นคนที่ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย เพราะคนเหล่านี้ เห็นแก่ตัว แม้จะให้ความช่วยเหลือคนอื่น แต่ก็จะทำเพื่อหวังผลตอบแทนเสมอ การใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ความช่วยเหลือคนเหล่านี้ อาจจะไม่เป็นเรื่องดี จะยิ่งเป็นการส่งเสริม ให้กลายเป็นคนเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น ต้องรออย่างเดียว รอเวลาให้คิดได้ หรือตายไปจากโลก เพราะหากคิดถึงตัวเราเองบ้าง บางทีก็มี พฤติกรรมไม่ดี นิสัยไม่ดี บางทีผ่านไปเป็นสิบปี จึงคิดได้ ว่าทำไมเราไปทำอะไรแบบนั้น ทำไมเป็นการะเกดใจร้ายแบบนั้น

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน : ขี้ไม่ให้หมากิน