ความหมาย : สำนวนนี้ใช้พูดถึง พฤติกรรมไม่ดีของคนบางคน ที่ชอบพูดจายุยง ให้คนทะเลาะกัน เป็นพวกบ่างช่างยุ มีความสุขที่ได้เห็นคนทะเลาะกัน บางคน ก็ทำ เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ บางคนก็มีนิสัยไม่ดี ชอบเห็นคน ทะเลาะกันอยู่แล้ว
ตัวอย่าง :
การบริหารบริษัทของชาวต่างชาติบางคนนั้น จะเน้นให้ พนักงาน เกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี ด้วยการทำตัว เป็นบ่างช่างยุ ไม่ให้พนักงานมีความสามัคคีกัน เพราะเมื่อมีความ สามัคคีกัน การควบคุมพนักงานก็จะยาก ซึ่งอาจสร้างปัญหา อย่างการประท้วงที่เกิดขึ้นในบางบริษัท วิธีการบริหารบริษัทของ
ชาวต่างชาติบางคนจะใช้วิธีนี้ หรือแม้แต่หน่วยงานของไทยก็อาจจะใช้เช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังรับสมัครพนักงาน เป็นชุด และให้ออกเป็นชุด เช่นกัน เมื่อเริ่มพบว่า พนักงานเริ่มมี ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนยากจะควบคุม นี่คือเรื่องจริงที่จะพบ ได้ในนิคมอุตสาหกรรมบางแห่ง
ในสังคมของชาวบ้านหรือคนที่มีการศึกษาน้อย บางคนมีนิสัย ไม่ดีชอบยุยงให้คนทะเลาะกัน ทำตัวเป็น บ่างช่างยุ ก็ต้องระวัง ฟังหูไว้หู อย่าเชื่อคำพูดของคนอื่นมากเกินไป โดยเฉพาะหากตัว เองเป็นคนต่างถิ่น การมีปัญหากัน มีเรื่องไม่เข้าใจกัน ต้องคุยกัน ปรับความเข้าใจกันก็จะยุติปัญหาได้เร็วกว่า ปัญหาไม่บานปลาย จากคำแนะนำที่ไม่ดีของคนรอบข้าง
การคบหาสมาคมกับคนที่คิดลบ ขี้อิจฉา เห็นคนอื่นดีกว่าตัว เองไม่ได้ บางคนก็จะมีนิสัยชอบยุยงให้คนทะเลาะกัน เป็นพวก บ่างช่างยุ คนประเภทนี้ควรหลีกหนี ให้ห่าง คบกันไปไม่มีประโยชน์