ความหมาย : สำนวนนี้ใช้แทนความหมายว่ายอมแพ้ ยกธงขาว ยอมยกธง ไม่ขอสู้ เพราะสู้ไม่ได้ หรือ ขอพักเจรจา ในช่วงสงครามที่มีการรบกัน ฝ่ายที่เสียเปรียบ สู้ไม่ได้ เมื่อยอมแพ้ก็จะยกธงขาว ปักธงขาว เพื่อเจรจายอมแพ้ แต่สำนวนนี้ก็สามารถมาใช้ในความหมายถึงการขอยอมแพ้ในการแข่งขันทุกเรื่อง ใช้สำนวนนี้ได้ทั้งหมด

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่ไม่ถูกชะตากัน หรือไม่ชอบหน้ากัน เหมือน ไม้เบื่อ ไม้เมา เจอกันไม่ได้ ต้องมีปัญหากัน หรือมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่งอาจจะเคยมีเรื่องกันมาก่อน หรือไม่ชอบหน้ากันมาตั้งแต่ชาติก่อน

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงการต่อสู้กับศัตรู คู่แข่งที่มีกำลังเหนือกว่าอย่างมาก เหมือนเอา ไม่ซีก งัดไม้ซุง ไม่มีทางทำให้ไม้ซุงขยับได้อยู่แล้ว การต่อสู้มีหลายรูปแบบ และสนามแข่งขันก็ต่างกันไป บางอย่าง แม้จะเป็นไม้ซีกเล็กๆ ก็มีสิทธิ์งัดไม้ซุงให้ขยับไปไกลๆ ได้ เพราะกลยุทธการแข่งขัน โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจนั้นเปลี่ยนไป

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่ไม่ได้เรื่องได้ราว ขี้เกียจ ทำอะไรก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นคน ไม่เอาถ่าน คนประเภทนี้ อาจจะมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย ลูกคนเดียวไม่ต้องทำอะไร หรืออาจจะเป็นคนที่โชคดีมีลูกหลานที่ร่ำรวย การงานดี ไม่ต้องทำอะไร ลูกหลานดูแลได้

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงประสบการณ์ขีวิตของคนเราในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ที่ทำให้ตัวเองสามารถหยุดกระทำสิ่งที่ไม่ดีได้อย่างเด็ดขาด ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา ถ้าไม่เห็นผลเสียที่เกิดขึ้นตามมา ก็ไม่รู้หรือไม่สำนึกถึงความผิดพลาด และหยุดกระทำเรื่องนั้น คนเรามักจะเป็นแบบนี้ ถ้าไม่เจอประสบการณ์ร้ายๆ ด้วยตัวเองก็ยากจะสำนึกและเลิกกระทำเรื่องไม่ดี