Sponsored Ads

ข้อมูลของ ตำลึง ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ หรือ สรรพคุณ ในการใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บป่วย หรือ บำรุงสุขภาพ หรือ ใช้ ตำลึง เป็นอาหาร วิธีการ ปลูก การดูแล ตลอดจนตัวอย่างการแปรรูป ตำลึง เป็นสินค้าขายยอด พันธุ์ ราก เถา ราคาซื้อขาย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ ปลูกไว้ใช้ประโยชน์ หรือ ปลูกไว้ขาย สร้างรายได้

 

 

ข้อมูลทั่วไปของ ตำลึง

ตำลึง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ivy gourd coccinia ส่วนชื่อภาษาไทย นั้นมีหลายชื่อ เช่น ตำลึง ผักแคบ ผักตำนิน สี่บาท เป็นต้น ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มี มือเกาะต้นไม้อื่น กิ่งไม้ หรือค้าง เป็นพืชผักที่สามารถพบได้ทั่วไป ขึ้นได้หลายที่ จากนกหรือสัตว์ป่าที่กินผลสุก แล้วถ่ายออกมา

 

 

การนำ ตำลึง ไปประกอบอาหารแบบต่างๆ

ส่วนของตำลึง ที่นิยมนำไปใช้ประกอบอาหาร จะมี ใบ และ ยอดอ่อน ซึ่งสามารถนำไปทำเมนูง่ายๆ ได้ หลายอย่าง เช่น
1. ยอดอ่อนตำลึงลวกจิ้มน้ำพริกต่างๆ น้ำพริกปลาทู น้ำพริกกระปิ
2. ต้มจืดใบตำลึง เป็นอีกเมนูที่นิยมนำตำลึงไปประกอบอาหาร
3. ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่สำเร็จรูป ใส่ใบตำลึง เป็นเมนูง่ายๆ สำหรับคนที่อยากจะได้สารอาหารดีๆ จากใบตำลึง
4. ใบตำลึงฝัดน้ำมันหอย
5. ฝักอ่อนตำลึงผัดไข่ เมนูนี้อาจจะหากินได้ยากสักหน่อย เพราะผลตำลึง หาได้ไม่ง่ายนัก หั่นเป็นชิ้นบางๆ นำมาผัดกับไข่
6. ใบตำลึงผัดไข่ ไข่น้ำใส่ใบตำลึง
7. ต้มเครื่องในหมู ต้มเลือดหมูใส่ใบตำลึง
8. ซอสลูกตำลึง นำลูกตำลึงสุกมาทำซอส
9. แกงจึดตำลึงใส่ลูกชิ้น
10. เกาเหลาตำลึงหมูสับ

 

คุณค่าทางโภชนาการชอง ตำลึง

1. ยอดและใบมีโปรตีน
2. ตำลึงมีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา
3. บำรุงผิวพรรณ
4. ซ่อมแซม และ สร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย
5. มีแคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
6. ใบช่วยบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
7. มีวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

 

สรรพุคณทางยา การรักษา ของ ตำลึง

การใช้ ตำลึง เป็นยารักษานั้น จะต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เพราะไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบัน หรือ สมุนไพรจะมีผลข้างเคียงเสมอ ดังนั้นจึงอาจจะ ศึกษาเป็นความรู้ หากต้องอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ห่างไกล ก็อาจจะนำมาใช้รักษา ตัวอย่างเช่น
1. ใช้ใบตำลึง พอกบริเวณที่เป็นเริม หรือ งูสวัด
2. ใช้ใบตำลึง ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
3. ใช้ใบตำลึงตำให้แหลกคั้นเอาน้ำ ทาบริเวณผิวที่เกิดอาหารคัน ผดผื่นคัน หรือ ถูกแมลงมีพิษกัดต่อย
4. ใช้ใบตำลึงขับสารพิษในลำไส้
5. ใช้ใบตำลึงช่วยแก้ไข้ตัวร้อน
6. ใช้เถาตำลึงต้ม ดื่มเพื่อรักษาเบาหวาน
7. ใช้เถาตำลึงต้มกับน้ำไว้ดื่ม แก้อาการวิงเวียนศรีษะ
8. ใช้เถาตำลึงต้มทำเป็นน้ำไว้หยอดตา แกอาหารตาฟาง ตาแตะ ตาแดง
9. คั้นเอาน้ำจากเถาตำลึง ทาบริเวณที่อักเสบ
10. ใช้รากตำลึง ตำพอกแผล
11. ใช้รากตำลึง
12. ใช้รากตำลึงช่วยลดไข้ แก้อาหารอาเจียน

 

โทษของ ตำลึง

อาหารทุกชนิด จะมีสรรพคุณทางยา หรือมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ขณะเดียวกัน ก็จะมีโทษด้วยเช่นกัน หากทานมากเกินไป กรณีของ ตำลึง ก็ เช่นกัน เช่น
1. ตำลึงบางพันธ์จะทำให้เกิดอาหารท้องเสีย ในบางคน อย่างผู้เขียนจะมีปัญหากับตำลึงในหยักแบบนี้ กินเมื่อไรได้เรื่องทุกที ท้องเสีย แต่ใบคล้ายรูป หัวใจ จะไม่มีปัญหาอะไร

 

การปลูก ตำลึง

สำหรับการปลูกตำลึงนั้น ก็มีทางเลือกหลายวิธี เช่น

ขุดต้นตำลึงมาปลูก

สำหรับผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด หรืออาจจะมีป่า มีที่รกร้าง ข้างบ้าน ก็ลองเดินสำรวจ อาจจะเจอต้นตำลึง ก็ขุดมาปลูกได้เลย อย่างต้นเล็กๆ แบบนี้ นก คงจะกินแล้วถ่ายทิ้งเอาไว้

 

การปลูกตำลึงลงกระถาง

สำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัด อาจจะปลูกตำลึงลงกระถางแบบนี้ หมั่นเด็ดยอด อย่าให้ยาวเกินไป หากไม่กินก็ต้องเด็ดทิ้ง ก็จะมีตำลึงไว้กินเรื่อยๆ

 

การปลูกตำลึงลงดิน

กรณีปลูกลงดิน ไว้เก็บยอด เก็บใบมาทำอาหารในบางครั้ง อาจจะหมั่นแต่งยอด อย่าให้ยาวมาก ให้ต้นแค่นี้ก็พอ ปลูกไว้หลายๆ ต้น ก็จะมียอด มากพอ


แต่หากปล่อยให้ยาวเกินไป มักจะมีใบเยอะ ไม่ค่อยมียอด หรือ หากปล่อยให้ขึ้นต้นไม้ ก็จะไม่สามารถเด็ดยอดได้ การปลูกแบบนี้ เปลืองปุ๋ย เปลืองน้ำ

 

 

การปลูกตำลึงจากเถา

วิธีนี้จะนำเถาตำลึงมาตัดเป็นท่อนๆ แล้วนำไปลูกลงดินได้เลย เป็นวิธีที่เร็วกว่า ใช้เมล็ด โดยอาจจะซื้อเถาจากเน็ตมาปลูก หลายๆ เถา อย่าให้ต้น โตนัก แตกยอดเมื่อไร ก็เด็ดมาทำอาหาร หากไม่กิน ก็ต้องเด็ดทิ้ง

 

การแต่งยอดตำลึง

ไม่ว่าจะปลูกแบบใด ก็ตาม อย่าให้ยอดตำลึงยาวเกินไป ควรหมั่นแต่งยอด ไม่กินก็ต้องเด็ดยอดทิ้ง ยกเว้นแต่จะปลูกให้ต้นโต เพื่อตัดเถาไปขาย

 

ตำลึงใบหยัก

ตำลึงจะมีแบบใบหยักคล้ายดังภาพ ซึ่งเมื่อนำมาทำอาหาร อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องเดิน ในบางคนอย่างผู้เขียน ดังนั้นก่อนจะปลูกจึง ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน ควรปลูกตำลึงใบคล้ายรูปหัวใจ

 

การแปรรูป ตำลึง เป็นสินค้าแบบต่างๆ

สำหรับตำลึง จะมีการปลูกแล้วนำไปแปรรูปเป็นสินค้าได้หลายอย่าง เช่น
1. การปลูกเพื่อขายยอดตำลึง ควรปลูกจากเถาจะให้ผลผลิตเร็ว และอย่าทำค้างสูงเกินไป
2. การปลูกตำลึงเพื่อขายเมล็ดพันธุ์ เช่น 20 เมล็ด 10 บาท


3. การปลูกตำลึงเพื่อขายเถาแห้ง เป็นสมุนไพรถุงละ 450 บาท
4. การปลูกตำลึงเพื่อขายเถาเป็นพันธุ์สำหรับนำไปปลูก เช่น 10 เถา 39 บาท
5. การขายโขดตำลึง 150 บาท
6. เถาตำลึงทำเป็นแคลซูล 100 เม็ด 270 บาท
7. รากตำลึงสับตากแห้งถุงละ 300 บาท
8. เถาตำลึงบดเป็นผง 39 บาท

 

สรุป

สำหรับข้อมูลของ ตำลึง ก็หวังว่า คงจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านใดที่สนใจ ทั้งเพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร เป็นยารักษาความเจ็บป่วยของร่างกาย หรือ ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าในรูปแบบต่างๆ ไว้สร้างรายได้ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา