Sponsored Ads

บทความนี้จะมาแชร์ไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ในการปลูกพืชผักไว้กินเอง สำหรับคนมีพื้นที่ในบริเวณบ้านไม่มากนัก เพื่อจะได้เลือกวิธีการปลูก การเลือกชนิดของพืชผักที่จะปลูก การดูแลพืชผักหลังการปลูก ตลอดจนแนะนำข้อดีของการปลูกพืชผักไว้กินเอง

 

การเน้นกินผัก เป็นเรื่องดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะผักอุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามินต่างๆ ใยอาหาร และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งปี แต่การปลูกผักไว้กินเอง ก็ต้องศึกษาหลายด้านเช่นกัน

 

การปลูกพืชผักลงกระถาง

การปลูกพืชผักลงกระถาง เป็นวิธีที่ง่าย เพราะสามารถควบคุมน้ำ ปุ๋ย การดูแล ทำได้ง่ายกว่า ซึ่งก็มีแนวทางต่างๆ เช่น
1. พืชผักที่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ก็สามารถปลูกลงกระถางได้ แต่เลือกขนาดกระถางให้เหมาะสม และหมั่นแต่งกิ่งอย่าให้โต ไม้ประเภทนี้จะ เป็นไม้กินใบหรือดอก อย่าง แคบ้าน การปลูกให้ตัดรากแก้วทิ้ง เพื่อไม่ให้ต้นโตมาก


2. ไม้ประเภทเดียวกันที่สามารถปลูกแบบนี้ได้ก็จะมีต้นยอ ไว้นำยอดใบอ่อนมาทำอาหาร ใส่แกงกะทิ รองก้นห่อหมก มะขาม สะเดา กระถินบ้าน ก็เช่นกัน ตัดรากแก้วออก ลดความสามารถในการหาอาหารของราก บังคับต้นไม่ให้โต การปลูกในลักษณะนี้ ต้องหมั่นแต่งกิ่ง กินไม่ทัน ก็ต้อง ตัดทิ้ง อย่าให้โต


3. ส่วนการปลูกผักลงกระถางนั้น อาจจะเน้นการปลูกจำนวนมาก เอาไว้ถอนทั้งต้น เล็กๆ แบบนี้เลย นำมาทำอาหาร ประเภทผัด ทานสดกับ น้ำพริก ขนมจีน ลาบ ต้ม นำมาใส่ในบะหมี่สำเร็จรูป ตามความชอบ


4. การปลูกพืชผักบางชนิดที่มีอายุยืนพอสมควร อย่าง ตำลึง ผักบุ้ง ซึ่งเป็นผักกินไบ เวลาเก็บใบมาทำอาหาร ก็ต้องตัดให้หมด เหลือแต่ตอ จาก นั้นก็ใส่ปุ๋ย กรณีกินไม่ทัน ก็ต้องตัดทิ้งเช่นกัน อย่างตำลึง อย่าปลูกให้เป็นต้นใหญ่ เน้นต้นเล็ก แต่มีหลายกระถาง ก็เพียงพอให้เก็บใบมาทำ อาหารได้

 

การปลูกพืชผักลงดิน

กรณีมีที่ดิน ก็อาจจะทำแปลงผักเอาไว้ หากมีสัตว์เลี้ยงก็กั้นให้รอบ ป้องกันไม่ให้เข้าไปขุดคุ้ยทำลาย ส่วนการปลูกพืชผักนั้น ก็มีไอเดียแนะ นำดังนี้
1. ปลูกพืชผักให้หลากหลาย และเน้นผักที่สามารถนำมาทำอาหารประจำวันได้ เช่น กระถินต้นเล็กๆ สัก 1-2 ต้น แคต้นเล็กๆ 1-2 ตั้น ผักโขม พันใหญ่ยักษ์สัก 2-3 ต้น อย่าปลูกผักชนิดหนึ่งชนิดใดมากเกินไป อย่างผักสลัด ซึ่งบางคนก็นิยมมาก แต่ปลูกแล้วก็ไม่เก็บปล่อยให้โต และแก่ ตายไป ไม่ได้กินมากนัก


2. อย่าปล่อยให้พืชผักโตเกินไป กินไม่ทันก็ต้องตัดทิ้ง แต่งกิ่ง อย่าง แคบ้าน ชะอม ผักหวานบ้าน ผักโขม เป็นต้น ก็ไม่ควรปล่อยให้สูงกินกว่า หน้าอก หรือศรีษะ ถ้าโตไปกว่านี้ จะเก็บยาก สูงเกินไป เปลืองน้ำ เปลืองปุ๋ย ส่วนผักต่างๆ ก็เช่นกัน อย่างคะน้า อาจจะตัดให้เหลือแต่ตอ เพื่อนำ มาทำอาหาร และปล่อยให้แตกยอดอ่อน เพื่อเก็บในคราวต่อไป จนกว่าจะหมดอายุ ก็ปลูกใหม่

 

ปลูกแต่พอดี อย่ามากเกินไป

การปลูกพืชผักแต่ละชนิดให้พอดี อย่ามากเกินไป จะไม่ลำบากในการดูแล ส่วนเรื่องการนำมาทำอาหารนั้น หากปลูกผักไม่มาก แต่หลาก หลาย ก็เน้นนำมาทำแกงอ่อม กินกับขนมจีน น้ำพริก อาหารประเภทลาบก้อย สุกี้ เน้นวิตามิน และแร่ธาตุที่หลากหลาย

 

 

บางคนจะชอบปลูกผักไว้หลากหลายมาก และที่หนักกว่านั้น ก็คือ ปลูกไว้หน้าบ้าน เอาไว้อวดชาวบ้าน การปลูกแบบนี้ อาจจะเสียเวลาดูแล เปลืองน้ำ เปลืองปุ๋ย

พืชผักที่ไม่ควรปลูก

หากมีพื้นที่ดินน้อย หรือปลูกพืชผักลงกระถาง แต่อยากจะมีแปลงผักของตัวเอง ผักที่ไม่ควรปลูกก็คือ พวกพืชผักไว้กินฝัก กินผล ถั่ว มะเขือ มะละกอ แตงกว่า ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะมีผล มีฝักให้นำมาทำอาหารได้ และมักจะเปลืองปุ๋ย เปลืองน้ำมากด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังมีระยะ เวลาที่ค่อนข้างนาน กว่าจะออกฝัก ออกผล แต่ถ้าอยากจะปลูกจริงๆ ก็อาจจะทำค้างเป็นซุ้มไว้กันแดด เป็นไม้ตกแต่งบ้านไปในตัวด้วย

พืชผักที่ควรปลูก

การปลูกพืชผักนอกจากใช้ใบ ผล หรือ ฝักเป็นอาหารแล้ว ก็ต้องปลูกพืชผักที่เป็นเครื่องปรุงรสชาติอาหารด้วย เช่น ขิง ข่า ตะใคร้ ใบมะกรูด มะนาว โดยคำนึงถึงขนาดพื้นที่ หากพื้นที่น้อย ก็จำเป็นจะต้องเลือกปลูกแค่บางชนิด อย่าง มะกรูด เพราะเน้นใช้ใบปรุงรสอาหาร แต่ไม่ควรปลูกมะนาว ต้นใหญ่กว่าจะออกผล เลือกพื้นที่เป็นต้น

 

สรุป

การมีพืชผักในบริเวณบ้าน จะเป็นเรื่องดี เพราะไม่ลำบากเรื่องแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดเงินค่าอาหารได้พอสมควร อยากจะทำเมนูอาหารแบบใด ก็ทำได้ง่าย หรือแม้จะเป็นเมนูง่ายๆ อย่าง น้ำพริก ขนมจีน ก็นำผักสดมาทานกับอาหาร เหล่านี้ได้เลย