บทความแนะนำแนวทางการฝึกหัดเขียนบทความสำหรับมือใหม่ ที่อยาก หาเงินจากการเขียนบทความ ซึ่งอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ส่วนใหญ่จะเขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะการเขียนบทความนั้นเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน โดยมีเทคเนิคพิเศษด้วยการฝึกหนักๆ เพียงครั้งเดียว แต่ใช้ได้ตลอดไป

 

คำแนะนำสำหรับมือใหม่ฝึกหัดเขียนบทความ

อ่านให้มาก ค้นหาข้อมูลให้มาก พร้อมจดบันทึก

การอ่านให้มากจะช่วยให้มีความรู้ในเรื่องที่จะเขียน เหตุที่หลายคนเขียนไม่ได้ เขียนไม่ออก ก็เพราะไม่มีข้อมูลในหัวนั่นเอง ในการอ่านนั้น ให้จดบันทึกไปด้วย เป็นการฝึกจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน และเป็นการฝึกเขียนไปในตัวเช่นกัน

 

ฝึกเขียนให้มาก

การเขียนเป็นทักษะที่ต้องฝึกบ่อยๆ จึงจะเขียนได้ดี การฝึกเขียนนั้น ให้แก้ไขบ่อยๆ จนกว่าจะได้บทความที่คล้ายกับนักเขียน อาชีพ เขียนเสร็จแล้ว ให้หาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วกลับมาแก้ไขบทความที่ได้เขียนไว้ การแก้ไขหลายรอบ อาจจะเป็นเรื่องน่า เบื่อแต่เป็นการฝึกที่ดี อยากเป็นนักเขียนเก่งๆ ต้องฝึกแบบนี้ เพราะไม่มีงานเขียนใดที่จะสมบูรณ์แบบในการเขียนเพียงครั้ง เดียว นอกจากจะมีประสบการณ์มากจริงๆ

 

หาประสบการณ์ให้กับตัวเอง

การมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องใดๆ รู้ลึก รู้จริง ก็จะเขียนได้ดี บางทีแทบไม่ต้องอ่านหนังสือมากนักก็สามารถเขียนได้ การ สะสมประสบการณ์ไม่เพียงจะมีเรื่องราวมากมายให้เขียนแล้ว ก็ยังมีช่องทางต่อยอดได้อีก เช่น การเป็นวิทยากรหรืออาจารย์ หรือเปิดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

 

เลือกเรื่องเดียว หมวดเดียว ให้เชี่ยวชาญ

การฝึกหัดเขียนบทความสำหรับมือใหม่ ให้เลือกเรื่องที่จะเขียน เพียงเรื่องเดียว หมวดเดียวก่อน ศึกษาหาความรู้ให้มาก ฝึก เขียนให้มากก็จะมีเรื่องให้เขียนไม่รู้จบ

 

ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะเขียนให้ลึกซึ้ง

บทความมีหลายแบบ เรื่องนี้สำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจ เช่น บทความอายุสั้นใช้งานได้ไม่นาน อย่างข่าวต่างๆ บทความ แนวนี้ไม่ควรทำ เพราะใช้ได้ไม่นาน แต่บทความอายุใช้งานยาวๆ อย่าง วิชาการ ภาษา หรือเรื่องราวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน มือใหม่ควรศึกษาการทำบทความในแนวนี้ เขียนครั้งเดียวใช้งานกันยาว

 

ทำความรู้จักบทความทำเงิน

บทความมีหลายประเภท สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรู้ว่า บทความประเภทไหนทำเงินง่าย เช่น บทความแนวรีวิวสินค้าหรือบริการ เขียนแนะนำสินค้า บทความแนวนี้ทำเงินได้ง่าย และเร็วกว่า บทความด้านวิชาการ ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปทำเว็บไซต์หา เงิน Adsense มากกว่า รายได้จะน้อยกว่าเช่นกัน

 

ออกแบบโครงสร้างบทความให้เป็นมาตรฐาน

การออกแบบโครงสร้างบทความที่ดีจะช่วยให้เขียนได้ง่าย และเขียนได้เร็ว เช่น
1. ชื่อ บทความ
2. ย่อหน้าแรกของบทความ ประมาณ 1.5-2 บรรทัด
3. เนื้อหาทั้งหมดของบทความ มีหัวข้อและย่อหน้า โดยแต่ละย่อหน้า อย่าให้ยาวมาก
4. มีสรุปตอนท้ายประมาณ 1.5-2 บรรทัด
5. ภาพประกอบตั้งชื่อตามชื่อบทความ แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษ

 

ถ้าสามารถปฏิบัติได้ตามที่แนะนำ ก็จะมีพื้นฐานในการเขียนที่ดี เมื่อเขียนไปสักพักจนจับทางได้แล้วว่า ตัวเองอยากจะทำ เรื่องอะไร คราวนี้ก็ง่าย เพราะพื้นฐานมีอยู่แล้ว จะทำเรื่องอะไร ก็เขียนออกมาได้ดี บทความมีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงาม น่าอ่าน อ่านแล้วรู้เรื่อง มีสาระ

 

ในขณะที่บางคนเน้นเขียนตามอารมณ์ อยากจะเขียนก็เขียน ไม่มีการแบ่งวรรค แบ่งช่องไฟ แทรกบรรทัดว่าง หรือปรับแต่ง ตัวอักษรให้สวยงาม หากไม่พยายามฝึกเพื่อพัฒนาตัวเอง แม้จะเขียนบทความมาหลายปี ก็ยังไม่สามารถสร้างบทความดีๆ ได้ เพราะไม่ยอมฝึกให้ถูกต้อง ไม่มีการพัฒนาตนเอง

 

ดังนั้นจะเขียนเรื่องอะไร ไม่สำคัญเท่ากับ พื้นฐานในการเขียนต้องแน่น การฝึกเพื่อให้เป็นนักเขียนอาชีพ ต้องฝึกอย่างหนักใน ช่วงแรก คราวนี้จะเขียนเรื่องอะไร ก็ไม่ใช่ปัญหาอย่างแน่นอน

 

แชร์บทความนี้ :