บทความแสดงตัวอย่างการติดตั้ง WordPress ภาษาอังกฤษ สำหรับสำหรับการฝึกทำทดลองทำเว็บภาษาอังกฤษใน Xampp ซึ่งเป็นการทดลองติดตั้ง WordPress ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง

 

ดาวน์โหลด WordPress รุ่นภาษาอังกฤษ

สำหรับการดาวน์โหลด WordPress รุ่นล่าสุดให้ไปที่ แล้วคลิก Download WordPress ...
https://wordpress.org/

 

เมื่อดาวน์โหลด WordPress รุ่นภาษาอังกฤษ มาแล้วจะได้ไฟล์ซิพ (wordpress-4.6.1.zip) ให้แตกไฟล์ซิพ ก็จะได้ไฟล์ สำหรับนำไปติดตั้งใน Xampp หรือในเว็บไซต์จริงต่อไป (WordPress มีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆ ขณะอ่านบทความนี้ อาจจะเป็น เวอร์ชั่นอื่น เช่น 4.7, 4.8, 4.9.... แต่ไม่ต่างกัน ให้แตกไฟล์ซิพก็จะพบไฟล์ติดตั้ง)

 

สร้างโฟลเดอร์สำหรับติดตั้ง WordPress ใน Xampp

1. ในโฟลเดอร์ htdocs ของ Xampp ให้สร้างโฟลดอร์ชื่อ Wordpress หรือตั้งชื่อตามชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการติดตั้ง
2. จากนั้นให้ก็อปปี้ไฟล์และโฟลเดอร์ของ WordPress มาไว้ในนี้ เพื่อรอการติดตั้งต่อไป

 

ตัวอย่างการติดตั้ง WordPress ภาษาอังกฤษใน Xampp

สำหรับการติดตั้ง WordPress รุ่นภาษาอังกฤษในคอมพิวเตอร์ของเราเอง บน Xampp จะมีขั้นตอนดังนี้

 

สร้างฐานข้อมูล MySQL สำหรับ Wordpress ใน Xampp

การติดตั้ง Wordpress จำเป็นต้องมีฐานข้อมูล MySQL ให้สร้างด้วย PhpMyAdmin
1. เข้าโปรแกรม PhpMyAdmin โดยพิมพ์ localhost/phpmyadmin
2. คลิก Database
3. ช่อง Create Database คลิกและพิมพ์ชื่อฐานข้อมูล แล้วคลิก Create
4. ตัวอย่างชื่อฐานข้อมูล wordpress สำหรับติดตั้ง WordPress ได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว


ตั้งค่าไฟล์ฐานข้อมูล MySQL ให้ Wordpress ก่อนจะติดตั้ง

ก่อนจะทำการติดตั้ง WordPress ใน Xampp จำเป็นต้องตั้งค่าเรียกใช้งานไฟล์ฐานข้อมูลในไฟล์ wp-config.php ของ WordPress เสียก่อน
1. เข้าไปในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ของ WordPress ใน Xampp ที่รอการติดตั้ง ซึ่งจะอยู่ใน htdocs อีกที แล้วค้นหาไฟล์ชื่อ ชื่อ wp-config-sample.php
2. จัดการเปลี่ยนชื่อเป็น wp-config.php
3. เปิดไฟล์โดยคลิกขวา แล้วคลิกคำสั่ง Edit เพื่อแก้ไขไฟล์


4. ป้อนข้อมูล MySQL ลงไปตามที่ได้สร้างไว้ในหัวข้อก่อนหน้า การตั้งค่าฐานข้อมูลใน Xampp สำหรับติดตั้ง WordPress จะ ตั้งค่าตามตัวอย่าง เช่น ชื่อฐานข้อมูลใช้ชื่อตามที่ได้สร้างไว้ ก็คือ wordpress ('DB_NAME', 'wordpress')
5. ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล ใช้ชื่อมาตรฐานของ Xampp ก็คือ root ('DB_USER', 'root')
6. ส่วนรหัสผ่าน ให้ลบออก ปล่อยว่าง ไม่ต้องมีรหัสผ่าน ('DB_PASSWORD', '')
7. เสร็จแล้วให้บันทึกไฟล์เก็บไว้


/** The name of the database for WordPress */
define('DB_NAME', 'wordpress');

/** MySQL database username */
define('DB_USER', 'root');

/** MySQL database password */
define('DB_PASSWORD', '');

 

เริ่มการติดตั้ง WordPress บน Xampp ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง

หลังจากตั้งค่าต่างๆ ก่อนติดตั้ง WordPress รุ่นภาษาอังกฤษเสร็จแล้ว คราวนี้ ก็จะทำการติดตั้ง
1. เข้าโปรแกรมเว็บบราวเซอร์แล้วพิมพ์ localhost/wordpress (wordpress เป็นชื่อโฟลเดอร์ที่ได้เก็บไฟล์รอติดตั้งนั่นเอง) 2. ก็จะเข้าหน้าให้ตั้งค่า หัวข้อเว็บพิมพ์ลงไป ให้ใช้ชื่อเว็บไซต์
3. ชื่อผู้ใช้ ให้ใช้ชื่ออื่น กรณีทำเว็บไซต์จริง ห้ามใช้ admin ให้ใช้ชื่อที่จำยาก ป้องกันการเจาะระบบ มีพวก @$% ผสมในชื่อ ด้วย
4. รหัสผ่านก็เช่นกัน พิมพ์ลงไปให้เหมือนกันทั้งสองช่อง ทั้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้พิมพ์ใน Notepad แล้วก็อปปี้มาวาง จะได้ ไม่ผิดพลาด
5. กรณีตั้งรหัสผ่านง่ายๆ ต้องคลิกติ๊กถูก Confirm use of weak password เพื่อยืนยันการใช้รหัสผ่านง่ายๆ ในการทำเว็บไซต์ จริงๆ ห้ามใช้รหัสผ่านง่าย 123456 เหมือนตัวอย่าง การทดลองติดตั้งในเครื่องหากใช้รหัสผ่านยากเกินไป เวลาเข้าระบบจะ ยุ่งยาก แต่เว็บไซต์จริงๆ ต้องตั้งให้ยากๆ เช่น DK$ske3D5Kew
6. พิมพ์อีเมล์ลงไป หากทำเว็บไซต์จริง ห้ามผิดอย่างเด็ดขาด เพราะโปรแกรมจะส่งข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านไปที่อีเมล์นี้
7. คลิกติ๊กถูก ไม่อนุญาตให้ Search ... ให้พวก Google, Yahoo มาเก็บไปแสดงผลในการค้นหาหรือไม่ การทดลองในเครื่อง ให้ติ๊กถูก ไม่เปิดใช้งาน แต่ทำเว็บไซต์จริง ห้ามคลิกติ๊กถูก
8. คลิก ติดตั้งเวิร์ดเพรส


9. จะปรากฏหน้าจอแจ้งว่า การติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว Success!
10. คลิก เข้าสู่ระบบ Log In


11. พิมพ์ ชื่อผู้ใช้ Username และรหัสผ่าน Password แล้วคลิก Lon In
12. แต่หากต้องการดูหน้าจอเว็บ WordPress ในเดี๋ยวนั้น ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ให้ชี้และคลิกปุ่มขวาของเมาส์ที่ Back to ชื่อ เว็บไซต์ แล้วคลิก Open Link in new tab เพื่อเปิดดูหน้าเว็บไซต์


13. หน้าจอระบบการจัดการกับบทความในเว็บไซต์ จะเป็นแบบนี้ สิ่งสำคัญก็คือ URL สำหรับเข้าระบบ เช่น localhost/wordpress/wp-admin โดยที่ชื่อ wordpress เป็นชื่อโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ของ WordPress นั่นเอง ซึ่งจะสรุปข้อมูล สำหรับเข้าระบบเพื่อปรับแต่งจะเป็น URL ดังนี้
localhost/wordpress/wp-admin
Username : ตามที่ได้ตั้งไว้ในข้อที่ 3
Password : ตามที่ได้ตั้งไว้ในข้อที่ 4


14. ส่วนการดูหน้าจอเว็บ WordPress ที่ได้ทดลองติดตั้งในเครื่อง ให้เปิดแท็ปใหม่แล้วพิมพ์ localhost/ชื่อโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ WordPress เช่น localhost/wordpress
15. เว็บไซต์ที่ใช้ Wordpress หน้าตาจะเป็นแบบนี้ดูเรียบง่ายมากเกินไป เราต้องเปลี่ยนธีมให้หน้าจอสวยกว่านี้


16. ส่วนการปรับแต่งหน้าตาให้ดูสวยงามแบบนี้ ไม่ยาก แค่เปลี่ยนธีม เท่านั้นเอง เหมือนเปลี่ยนหน้ากากมือถือ อยากได้เว็บ สวยๆ ก็หาธีมสวยๆ มาใช้งาน จากตัวอย่างนี้จะเป็นธีม Supra ของ Fthemes.com

 

ในการติดตั้งจริงๆ แล้วจะเลือกภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับ WordPress เพราะข้อมูลที่ใส่เข้าไป ก็ จะเป็นภาษาไทย และผู้อ่านก็จะเลือกอ่านเฉพาะบทความเป็นหลัก ไม่มีผลอะไรมากนัก

 

Sponsored Ads