สำหรับใครที่ใช้มือถือรุ่นนี้ Redmi Note 10 Pro หรือยี่ห้ออื่นก็ตาม ที่แทบจะไม่เคยทำตกหล่น แต่อยู่ดีๆ ชาร์จไม่เข้า ขึ้นโลโก้กระพริบๆ ลองแก้ไขเองง่ายๆ ก่อน ด้วยการถอดขั้วแบตเตอรี่ทิ้งไว้สักพักใหญ่ แล้วเสียบเข้าเหมือนเดิม จากนั้นก็ลองชาร์จ บางทีอาการอาจจะยังไม่หนักถึงขั้นเมนบอร์ดหรือซีพียูเสียก็ได้ 

 

ไม่เพียงมือถือยี่ห้อนี้ แต่ยี่ห้ออื่น หากเจอปัญหาชาร์จไม่เข้า ขึ้นแต่โลโก้ กระพริบบนหน้าจอ ก็ลองแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันได้ ซึ่งรุ่นนี้มีค่าซ่อมประมาณ 2,000 บังเอิญไปเจอในยูทูป แต่ลองถอดขั้วแบตเตอรี่ออก แล้วปรากฏว่า กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม รอดตัวไป ไม่เสียเงินค่าซ่อมหลักพันบาท

 

ส่วนใครที่ทำเองไม่เป็น ไม่อยากเสี่ยง ก็ไปที่ร้านซ่อมมือถือใกล้บ้าน แล้วคุยกันก่อน ลองซ่อมตามวิธีนี้ก่อน (ทำใจล่วงหน้าว่าร้านอาจจะไม่โอเค เพราะได้เงินน้อย) แกะฝาเครื่อง ถอดแบตเตอรี่ออกสักพักใหญ่ แล้วต่อเข้าเหมือนเดิม น่าจะไม่กี่ร้อย ไม่เสี่ยงทำเครื่องพัง แต่หากอาการหนักกว่านั้น ก็อย่าซ่อมเลย ไม่คุ้ม ถ้าเป็นอีก ก็เสียเงิน เพิ่มเงินอีกหน่อย หาเครื่องใหม่ดีกว่า

 

เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น

สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นก็จะมีดังนี้
1. ปิ๊กกีตาร์บางๆ
2. ไดร์เป่าผม
3. ไขควงเล็กๆ หาซื้อตามร้านทุกอย่าง 20 บาท มีขาย

 

วิธีแกะเครื่อง

พร้อมแล้วก็ไปเริ่มแกะเครื่องกันเลย สำคัญมาก ศึกษาให้ดีเสียก่อน ดูวิดีโอสอนทำในยูทูป ให้ละเอียด มีจุดไหนต้องระวัง เพราะถ้าพลาด ทำจอแตก จะเป็นเรื่องใหญ่ 
1. ก่อนจะแกะเครื่อง ไปดูกันก่อนว่า มีการทากาวตำแหน่งใดบ้าง ใต้ฝาครอบหลัง ซึ่งต้องระวังแตก เวลาแกะเครื่อง ตำแหน่งทากาวไว้จะเป็นเส้นสีเขียว


2. เริ่มต้นด้วยการเป่าลมร้อนไปให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน เน้นด้านขวามือเป็นพิเศษ ให้เริ่มแกะฝาจากฝั่งขวามือ ดังภาพ ต้องใจเย็นสอดปิ๊กกีตาร์ไป ก็เป่าลมร้อนไปทั้งสี่ด้าน เพื่อให้กาวละลาย ฝาหลังเป็นแก้ว ถ้าแตกก็หลายบาท
3. ตำแหน่งสายแพร์ห้ามรูดปิ๊กกีตาร์ดผ่าน เป่าลมร้อน แล้วเปิดได้เลย เพราะฝั่งทางนี้ กาวบางมาก แค่เป่าลมให้ร้อน ก็เปิดฝาได้ง่ายๆ


4. คลายสกรูเล็กๆ ทั้งหมด เก็บใส่ภาชนะให้ปลอดภัย ไม่หล่นหาย


5. สกรูจะมีอยู่ตัวหนึ่งที่ปิดสติ๊กเกอร์ mi ทับไว้ ถ้าไม่สังเกตุอาจจะหาไม่เจอ อยู่ด้านบนตรงกลาง


6. การแกะฝาที่อยู่ตรงกลาง ใช้เล็บจิกเข้าไปได้เลย ใช้ความระวังพอสมควร จอแตกจะเป็นเรื่องใหญ่ ต้องระวังสายแพร์สแกนนิ้วด้วย


7. แกะขั้วแบตเตอรี่ออก แล้วทิ้งไว้สักพักใหญ่ๆ จากนั้นเสียบกลับที่เดิม
8. ลองชาร์จ เพื่อดูว่าชาร์จได้หรือไม่ ถ้าไฟเข้าก็ขอแสดงความยินดีด้วย เครื่องไม่มีปัญหา เมนบอร์ด หรือ ซีพียูไม่พัง ซึ่งค่าซ่อมประมาณ 2000 บาท จากที่สอบถามจากทางร้าน แต่หากเป็นศูนย์ค่าเปลี่ยนแพงกว่านี้


9. จากนั้นก็ลองชาร์จ ถ้าโลโก้ไม่กระพริบ และ เปอร์เซ็นต์การชาร์จค่อยๆ เพิ่มขึ้นก็แสดงว่า น่าจะกลับมาใช้ได้


10. เมื่อชาร์จไปสักพัก จนมีไฟมากพอแล้ว ก็ลองเปิดเครื่อง กดปุ่มเปิดเครื่อง ถ้าเครื่องสามารถกลับมาใช้งานได้ ก็ประกอบเครื่องกลับเข้าไปเหมือนเดิมให้เรียบร้อย ส่วนกาวนั้นเมื่อแกะจนเสียแล้ว ก็ต้องจะสั่งซื้อกาวมาใช้ เพื่อติดฝาหลังกลับที่เดิม

 

กาวไม่ต้องลอกออก

เมื่อแกะฝาหลังออกมาแล้ว ก็จะพบกาวตามขอบฝาหลัง หากไม่ใช่ช่าง ไม่มีเครื่องมือ การประกอบเครื่องกลับเหมือนเดิม กาวพวกนี้ก็เหนียวพอจะยึดฝาหลังได้แน่นพอสมควร แต่อาจจะไม่กันน้ำ ถ้าแกะกาวออก ก็จะต้องสั่งซื้อกาวเสียเงินเพิ่มอีก เมื่อติดฝาหลังเหมือนเดิมแล้ว ก็เป่าด้วยลมร้อนอีกที กาวก็จะละลายติดกันแน่นพอสมควร

 

ส่วนอีกทางเลือก็คือใช้เคสมาช่วยยึดฝาหลังกับเครื่องให้แน่น แต่ก็ต้องหมั่นถอดมาทำความสะอาดบ่อยๆ กันตัวเครื่องและฝาหลังเป็นรอย

 

สรุป

สำหรับใครที่เจอปัญหาแบบนี้ บางทีก็เรียกว่า แบตเตอรี่น็อค ให้ลองใช้วิธีนี้ดูก่อน ถ้าทำเองไม่เป็น ก็ต้องพึ่งพาร้าน แต่ต้องระวังจะเจอร้านไม่ดี อาจจะเหมาว่าอย่างอื่นเสีย กรณีของผู้เขียนถ้าไม่ลองถอดแบตเตอรี่ออก และนำเครื่องไปซ่อมทันที ก็มีรายจ่ายรออยู่ประมาณ 2,000 บาทเลยทีเดียว

 

Sponsored Ads