แม้ว่าจะไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้ามากนัก แต่ 2 สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว ต้องการกำลังไฟ กินไฟฟ้ากี่วัตต์ และปลั๊กไฟพ่วงรองรับไฟกี่วัตต์ มีมาตรฐาน มอก หรือไม่ เรื่องเหล่านี้มีความสำคัญ เพื่อที่จะได้เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย และ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า

 

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน มีความเกี่ยวข้องกับผู้อยู่อาศัย จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อจะได้ใช้งานให้ปลอดภัย และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น

 

ความรู้เรื่องอัตรากินไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด (วัตต์)

เครื่องไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีอัตรากินไฟมากน้อยต่างกันไป หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีหน่วยเป็น วัตต์ ตัวอย่างเช่น
1. พัดลม Family Be fresh รุ่น FM TA-12 W กินไฟ 45 วัตต์ (45 W) หมายความว่า พัดลมเครื่องนี้กินไฟประมาณ 45 วัตต์ ต่อชั่วโมง


2. หม้อหุงข้าว ยี่ห้อ Sharp รุ่น KSH-D06 ความจุ 0.6 ลิตร กินไฟ 300 วัตต์ หมายความว่า หม้อหุงข้าวตัวนี้กินไฟประมาณ 300 วัตต์ ต่อชั่วโมง


3. การดูข้อมูลวัตต์ (Watt) ของอุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถค้นหาข้อมูลได้จากเน็ต หยิบมือถือขึ้นมา เข้าแอป Chrome
4. พิมพ์ ยี่ห้อ รุ่น ตามด้วยคำว่า Watt ตัวอย่าง หม้อหุงข้าว Sharp รุ่น KSH-D06 วัตต์
5. จากนั้นก็ค้นหาข้อมูลจำนวนวัตต์ ของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เช่น หม้อหุงข้าวรุ่นนี้กินไฟ 300 วัตต์


6. หากยังเก็บกล่องเอาไว้ ก็ดูข้างกล่อง เช่น หลอดไฟยี่ห้อนี้ กินไฟ 12w เป็นต้น เมื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้ ก่อนจะโยนกล่องทิ้ง ให้ถ่ายรูปเก็บไว้ทุกครั้ง เก็บเป็นข้อมูล เผื่ออาจจะซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน หรือ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้นๆ

 

วัตต์ ของอุปกรณ์ไฟฟ้า และการเลือกใช้งานให้เหมาะสม

เมื่อรู้จัก วัตต์ แล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ต่อไปก็คือ เครื่องไฟฟ้า ในบ้าน ในห้อง ที่ใช้อยู่นั้น วัตต์มาก วัตต์น้อย มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้เลือกใช้งานให้เหมาะสม ประหยัดค่าไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น
1. หม้อหุงข้าว Sharp รุ่น KSH-D06 ความจุ 0.6 ลิตร กินไฟ 300 วัตต์
2. หม้อหุงข้าว Sharp รุ่น KSH-D11 ความจุ 1.1 ลิตร กินไฟ 485 วัตต์ ตัวนี้จะกินไฟมากกว่า รุ่นความจุ 0.6 ลิตร


3. หากต้องการประหยัดค่าไฟ ก็ต้องเลือกตัวแรก Sharp รุ่น KSH-D06 ความจุ 0.6 ลิตร กินไฟ 300 วัตต์ แต่ทั้งนี้ก็มีตัวแปรที่ทำให้เราต้องตัดสินใจ เช่น อยู่คนเดียว อยู่หอพัก ค่าไฟฟ้าแพง การเลือกรุ่น ความจุ 0.6 ลิตร จะช่วยประหยัดค่าไฟ ส่วนข้อเสียก็คือ กำลังไฟน้อย กว่าข้าวจะสุก จะใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย
4. แต่หากอยู่บ้าน ค่าไฟฟ้าไม่แพง และต้องการให้ข้าวสุกเร็ว มีสมาชิกหลายคน 2-3 คน ก็เลือกรุ่น ความจุ 1.1 ลิตร หรือ มากกว่านั้น กินไฟฟ้ามากกว่าก็จริง แต่ด้วยค่าไฟบ้านถูกกว่าค่าไฟหอพัก เงินที่จ่ายไปกับค่าไฟฟ้า ก็จะใกล้เคียงกัน หรือ อาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำไป แต่ข้าวสุกเร็ว ยิ่งร้านอาหารด้วยแล้ว ยิ่งต้องเลือกหม้อหุงข้าวที่สุกเร็ว ไม่เช่นนั้นลูกค้าก็จะรอไม่ไหว


5. ตัวอย่างอื่นๆ เพิ่มเติมเช่น ไฟเพดาน กำลังไฟ 40 วัตต์ เปิดดวงเดียว ให้ความสว่างเพียงพอ ทั้งห้อง แต่ค่าไฟแพง
6. กรณีนี้ก็เปลี่ยนไปใช้โคมไฟกับหลอดไฟ 12-24 วัตต์ วางไว้ใกล้ๆ ตัว ก็ให้ความสว่างมากพอ วิธีนี้จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้


7. อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น เตาอบไฟฟ้ายี่ห้อ Sharp รุ่น กำลังไฟ 800 วัตต์ เน้นทำอาหารกินเอง กำลังไฟน้อย ก็จะใช้เวลานานสักหน่อย กว่าอาหารจะสุก แต่ก็ช่วยประหยัดไฟ
8. ส่วนกรณีที่เปิดร้านค้า เช่น ขายพิซซ่า ใช้อบพิซซ่า ต้องการเตาอบไฟฟ้าที่มีกำลังไฟแรงๆ หลักพันวัตต์ ซึ่งจะใช้เวลาอบน้อยกว่า ลูกค้าก็จะได้รับของเร็วขึ้น กรณีนี้การใช้เตาอบรุ่นกำลังไฟน้อย 800 วัตต์ ก็คงจะไม่ได้การ ช้าเกินไป ลูกค้ารอไม่ไหวแน่ เหมือนเตาไมโครเวฟใน 7-11 กำลังวัตต์สูง ใช้เวลาไม่นาน แต่เตาแบบนี้ถ้าเอามาใช้ตามหอพัก บ้านเช่า ค่าไฟกระฉูดแน่นอน

 

เมื่อมีความเข้าใจในเรื่อง วัตต์ หรือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า ก็จะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม ประหยัดเงินไม่ต้องซื้อรุ่นราคาแพง และประหยัดค่าไฟฟ้าด้วยเช่นกัน อย่างน้อยก็จะรู้ได้ทันทีว่า ตัวนี้ ตัวนั้น กินไฟมากน้อยเพียงใด ควรจะใช้ตัวใด โดยเฉพาะผู้พักอาศัยอยู่ในหอพัก บ้านเช่า ค่าไฟฟ้าแพงกว่าผู้อาศัยอยู่ตามบ้าน เสียค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้าโดยตรง

 

ความรู้เรื่องปลั๊กไฟฟ้า

เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับ วัตต์ ของอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดแล้ว คราวนี้ ก็จะง่ายในการเลือกใช้ปลั๊กไฟให้มีความปลอดภัย ซึ่งปลั๊กไฟแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นนั้น จะสามารถรองรับกำลังไฟได้ไม่เท่ากัน เช่น บางรุ่นรองรับกำลังไฟได้มากถึง 3000 W เป็นปลั๊กไฟที่มีมาตรฐาน มอก มีความปลอดภัย

 

วัตต์ของปลั๊กไฟ เกี่ยวข้องกับ วัตต์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไร

ในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เรามักจะใช้ปลั๊กพวง เพราะสิ่งที่จะต้องทำนั้น อาจจะอยู่ไกลจากปลั๊กไฟ การเลือกใช้ปลั๊กพ่วง ปลั๊กรางเหล่านี้ จะต้องเลือก วัตต์ ให้มากกว่า วัตต์ ของอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกัน ไม่เช่นนั้น จะทำให้ร้อน จนเกิดปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น
1. การใช้สว่านเจาะผนัง ใช้กำลังไฟ วัตต์ สูง จำเป็นจะต้องใช้ปลั๊กพ่วงที่รองรับ วัตต์สูงๆ ขนาด หลายพันวัตต์แบบนี้ (3680w)
2. ส่วนการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ก็ต้องดูว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าใด ที่ต้องการกำลังไฟสูง เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500 วัตต์ / ไดร์เป่าผม 2000 w / เตาอบไฟฟ้า 800 วัตต์ กรณีนี้ ก็ต้องเลือกซื้อปลั๊กไฟคุณภาพดี เพื่อเอามาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้โดยเฉพาะ ถ้าเสียบทุกชิ้นกับปลั๊กตัวเดียวกัน ปลั๊กไฟจะต้องมีจำนวนวัตต์ มากกว่า วัตต์ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกัน (500 + 2000 + 800 =2500w)
3. ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้วัตต์น้อยๆ จะใช้ปลั๊กราคาถูก ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะใช้ไฟน้อยมาก เช่น หัวชาร์จมือถือ วิทยุ เครื่องเสียง

 

ปลั๊กไฟช่วยป้องกันไฟกระชาก

เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้อีเล็คทรอนิค บางชนิด ต้องการไฟที่นิ่ง อย่างคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหากเกิดไฟกระชาก อาจจะทำให้วงจรภายในเสียหายได้ ดังนั้น การใช้ปลั๊กไฟกับอุปกรณ์เหล่านี้ ก็จำเป็นจะต้องพิจารณาใช้ปลั๊กไฟที่มีระบบป้องกันไฟกระชากด้วยเช่นกัน (Surge Protection)

 

ปลั๊กไฟช่วยป้องกันไฟเกิน มีเบรกเกอร์

การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ต้องการกำลังไฟ หรือ วัตต์ สูงมากๆ เช่น ตู้เชื่อมไฟฟ้า จะต้องใช้กับปลั๊กไฟที่รองรับวัตต์สูงๆ และมีระบบเบรกเกอร์ตัดไฟเกิน เพื่อป้องกันอันตราย ผู้เขียนเคยเห็นช่างเชื่อมบางคน ใช้ตู้เชื่อมกับปลั๊กไฟที่ไม่รองรับ ปรากฏว่า ปลั๊กไฟร้อน จนลุกไหม้ นี่คือตัวอย่างการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงกับปลั๊กไฟที่ไม่รองรับ จะเป็นอันตรายแบบนี้

 

สรุป

ใครที่ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องศึกษามากมาย เพียงแต่ต้องรู้ในเรื่องพื้นฐานเท่านั้น ก็คือ วัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ปลั๊กไฟพ่วง

1. วัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัวต้องการกำลังไฟ หรือ วัตต์ไม่เท่ากัน จำเป็นจะต้องรู้ในเครื่องนี้ โดยเฉพาะ เครื่องที่ใช้วัตต์สูงๆ อย่าง เตาไมโครเวฟ ไดร์เป่าผม เตาอบ เมื่อซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้งาน ก็ถ่ายรูปกล่อง หรือ ภาพสินค้า เก็บเอาไว้ เพื่อเอาไว้ดูข้อมูลในภายหลัง

 

นอกจากนี้ก็ต้องเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม เช่น อยู่หอ ค่าไฟฟ้าแพง ให้เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟไม่มาก วัตต์น้อย เช่น ใช้หม้อหุงข้าว 300 วัตต์ แทน 500 วัตต์ ใช้โคมไฟ 24 วัตต์ แทนไฟเพดาน 40 วัตต์ ใช้พัดลมตัวเล็กแทนตัวใหญ่ซึ่งกินไฟมากกว่า เป็นต้น แค่นี้ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ไม่น้อย ทั้งนี้ในขณะใช้งาน ก็เดินไปดูมิเตอร์วัดไฟด้วยเช่นกัน เพื่อดูว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นๆ กินไฟมากน้อยแค่ไหน

 

2. ปลั๊กไฟพ่วง

อย่าไปเสียดายเงินกับการซื้อปลั๊กไฟดีๆ ที่ได้มาตรฐาน มอก อย่างน้อยก็ควรซื้อปลั๊กไฟมาตรฐาน มอก ไว้อย่างน้อย 2 ประเภท
1. ปลั๊กไฟไว้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าวัตต์น้อยๆ ชาร์จมือถือ เครื่องเสียง
2. ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐาน มอก ทุกชิ้น รองรับ วัตต์ สูงๆ เอาไว้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงๆ เพื่อความปลอดภัย อย่างหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ ไดร์เป่าผม การใช้กับปลักไฟราคาถูก ไม่ได้มาตรฐาน มอก อาจจะเกิดการลัดวงจร ทำให้ไฟลุกไหม้ได้ 

 

Sponsored Ads