Sponsored Ads

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

เป็นหนังสือ บทความ เรื่องน่ารู้ ในหมวดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การติดตั้งโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ

 


โน้ตบุ๊คแต่ละรุ่นจะมีประสิทธิภาพในการใช้งาน ที่รองรับกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการและ แอพพลิเคชันหรือโปรแกรมเสริมต่างๆ แต่ละเวอร์ชันไม่เหมือนกัน แรมหรือหน่วยความจำที่ติดตั้ง มาพร้อมกับเครื่องในครั้งแรกที่ซื้อมา อาจจะเหมาะสมกับการใช้งานกับโปรแกรมต่างๆ ในขณะนั้น แต่ เมื่อมีการออกเวอร์ชันใหม่ เครื่องอาจทำงานช้าลงเมื่อรันโปรแกรมเหล่านั้น การเพิ่มแรมหรือ อัพเกรดแรม จะช่วยให้สามารถใช้โปรแกรมรุ่นใหม่ได้ แต่เพียงแค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น
แรมที่ใช้ในโน้ตบุ๊คจะมีหลายแบบ คล้ายกับที่ใช้ในเครื่องพีซี แต่ละแบบประสิทธิภาพ การใช้งานก็ต่างกันเรียงตามลำดับจากเก่าไปหาใหม่ดังนี้ DRAM, SDRAM, DDR-RAM, DDR2-RAM ลักษณะของแรมที่ใช้ก็จะมีผลต่อราคาเครื่องด้วย แรมมีขนาดเล็กกว่าพีซี แต่ราคาแพงกว่าเป็นเท่าตัว การอัพเกรดแรม จึงไม่ใช่ทางเลือก ที่ดีหนึ่ง เป็นแค่วิธีเพิ่มความสามารถในระยะสั้นเท่านั้น
แรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันอาจแยกได้ 2 แบบ
1. SDRAM แรมสำหรับโน้ตบุ๊ครุ่นเก่า เช่น PC100, PC133
2. DDR-RAM/DDR2-RAM แรมสำหรับโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ เช่น PC2100, PC2700

 


การ์ดขยายสำหรับพีซีจะเป็นการ์ดที่เสียบกับสล็อตแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ เครื่อง ในโน้ตบุ๊คจะใช้การ์ดในลักษณะ PC Card หรือ PCMCIA (Personal Computer Memory Card Internation Assosiation) ซึ่งมี 3 แบบ คือ
Type I เป็นพีซีการ์ดที่มีขนาด 3.3 mm. (ความหนา) ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยความจำหรือแรม สำหรับ เพิ่มให้กับโน้ตบุ๊ค
Type II เป็นพีซีการ์ดที่มีขนาด 5.0 mm. จะเป็นการ์ดโมเด็ม เน็ตเวิร์ค การ์ดเสียง การ์ด GPRS เป็นต้น
Type III เป็นพีซีการ์ดที่มีขนาด 10.5 mm เป็นฮาร์ดดิสก์
การ์ดต่างๆ จะมีขนาดเล็กประมาณนามบัตรแต่หนากว่า ส่วนราคาว่ากันที่หลักพัน

 


การสื่อสารหรือถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโน้ตบุ๊คกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ ในโน้ตบุ๊คจะมีพอร์ต หรือช่องทางสื่อสารแบบต่างๆ ให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น พอร์ตขนาน (Paralell) พอร์ตซีเรียล ฯลฯ
1. พอร์ตเหล่านี้จะอยู่ด้านข้างหรือด้านหลัง ส่วนโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่บางรุ่น อาจอยู่รอบตัว ทั้ง ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง
2. พอร์ตเครื่องพิมพ์
3. พอร์ต VGA สำหรับต่อจอภาพ
4. พอร์ตโมเด็ม สำหรับต่อสายโทรศัพท์
5. พอร์ต PS/2 สำหรับต่อเมาส์หรือคีย์บอร์ดแบบ PS/2
6. พอร์ตสำหรับต่อไมค์ หูฟัง
7. PCMCIA พอร์ตสำหรับการ์ดขยาย
8. พอร์ต S-Video สำหรับต่อออกจอทีวี
9. พอร์ตสำหรับสายเน็ตเวิร์ค
10. พอร์ต USB สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตยูเอสบี

 

 

 

 

พอร์ต Paralell หรือ LPT หรือพอร์ตพรินเตอร์

ปกติไว้เชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์ แสกนเนอร์ การถ่ายโอนข้อมูลด้วยสายแลบลิงค์ แต่ก็สามารถ เชื่อมต่อกับสายต่างๆ เพื่อสื่อสารข้อมูลได้ ในโน้ตบุ๊ครุ่นเก่าจะมี พอร์ตนี้ แต่รุ่นใหม่อาจไม่มี จะใช้ พอร์ต USB มากกว่า


พอร์ต Serial หรือพอร์ตอนุกรม หรือ Com1/Com2

 

สำหรับเชื่อมต่อกับเมาส์แบบซีเรียล(หัวเหลี่ยม) โมเด็มแบบต่อภายนอก สาย Hotsync สำหรับ เชื่อมต่อกับเครื่องพีดีเอ สายแลบลิงค์แบบ Serial ไว้ถ่ายโอน ข้อมูลระหว่างโน้ตบุ๊คกับโน้ตบุ๊คด้วยกัน หรือกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ

 

พอร์ตแสดงผลภายนอกหรือพอร์ต VGA

ลักษณะแบบเดียวกับพอร์ตบนการ์ดจอที่ใช้ในเครื่องพีซี ไว้สำหรับนำจอภาพที่ใช้กับเครื่องพีซี มาต่อกับโน้ตบุ๊ค

พอร์ตสำหรับต่อเมาส์และคีย์บอร์แบบ PS/2

พอร์ตนี้ไว้เชื่อมต่อกับเมาส์หรือคีย์บอร์ดแบบ PS/2 เพราะการใช้เมาส์แบบ Track Ball หรือ Touch Pad ที่มากับโน้ตบุ๊ค ไม่มีทางสะดวกเหมือนกับเมาส์ มาตรฐานที่ใช้กับเครื่องพีซี ถ้าเป็น การใช้งานที่บ้านอาจซื้อหาเมาส์หรือคีย์บอร์ดมาไว้สักชุด


พอร์ต Tv-Out, S-Video

 

สำหรับเชื่อมต่อกับทีวีหรือเครื่องเล่นวีดีโอ เป็นการนำสัญญาณจากโน้ตบุ๊คไปแสดงผลที่จอ ทีวี เหมาะสำหรับการบรรยายของ ครู อาจารย์ วิทยากร ดูหนัง คารา โอเกะ

พอร์ตเกี่ยวกับสัญญาณเสียง

พอร์ตเหล่านี้จะมีในเครื่องที่มีการ์ดเสียงก็จะมีช่องสำหรับต่อแจ็คหูฟัง ไมโครโฟน และไลน์อิน สำหรับนำสัญญาณเสียงเข้ามา

พอร์ตอินฟราเรด

สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายด้วยสัญญาณอินฟราเรด ซึ่งอาจเป็นการโอนข้อมูลระหว่างโน้ตบุ๊ค ด้วยกันหรือกับเครื่องพีดีเอ หรือมือถือบางรุ่นที่มีพอร์ตนี้ หรือ เครื่องพิมพ์เลเซอร์บางรุ่น

พอร์ต USB

พอร์ต USB หรือ Universal Serial Bus เป็นพอร์ตที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ได้หลายชนิด มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงกว่าพอร์ต Paralell และ Serial โน้ตบุ๊คในปัจจุบันจะมีพอร์ตนี้ เป็นพอร์ตมาตรฐาน มีอยู่ในทุกเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้พอร์ตสื่อสารแบบนี้ กันมากขึ้น เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม แสกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ฯลฯ เพราะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า พอร์ตแบบเดิม เชื่อมต่อง่าย
พอร์ต USB ในปัจจุบันมีอยู่ 2 เวอร์ชัน คือ 1.1 และ 2.0 ความแตกต่างก็คือ ความสามารถ ในการถ่ายโอนข้อมูลจะทำได้ 12 Mbps และ 480 Mbps ตาม ลำดับ

พอร์ต IEEE 1394

เป็นพอร์ตรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง 400 Mbps สำหรับข้อมูลปริมาณมากๆ โน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ จะมีพอร์ตนี้มาให้อยู่แล้ว ถ้าเป็นการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโน้ตบุ๊ค ด้วยกันเองก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นการถ่ายโอนระหว่างโน้ตบุ๊คกับพีซีก็ต้องซื้อหาอุปกรณ์มาติดตั้งบนพีซีด้วย

Bluetooth
เป็นรูปแบบการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้คลื่นวิทยุ จะมีในโน้ตบุ๊คบางรุ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่จะ เป็นรุ่นที่แพงขึ้นมาอีก

Wireless LAN

เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อกับระบบเวิร์คแบบไร้สาย ช่วยให้เกิดความสะดวก ไม่ต้องเดินสาย เคเบิ้ลให้ยุ่งยาก สามารถเชื่อมต่อได้ แม้จะมีสิ่งกีดขวาง เช่น อยู่คน ละห้อง คนละชั้น


หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกว่า ทำไมการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลบนโน้ตบุ๊คจึงมีหลายรูปแบบ แล้วจะ เลือกแบบไหนดี? ก็อาจพิจารณาดังนี้

 

พอร์ต Serial และพอร์ต Paralell

เป็นพอร์ตมาตรฐานในโน้ตบุ๊ครุ่นเก่า การรับส่งข้อมูลในผ่านพอร์ตนี้จะทำได้ไม่เร็วมากนัก แต่ข้อดีก็คือในเครื่องพีซี ส่วนใหญ่จะมีพอร์ตนี้ การรับส่งข้อมูล ระหว่างโน้ตบุ๊ครุ่นเก่าจึงไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องใช้พอร์ตเสริม ความยืดหยุ่นในการทำการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตสื่อ สารแบบอื่นๆ ใช้เพียงสายแลบลิงค์ราคาไม่เกินร้อยบาท ก็สามารถเชื่อมต่อ โน้ตบุ๊คเพื่อถ่ายโอนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้

พอร์ต USB

ในโน้ตบุ๊คและพีซีรุ่นใหม่ จะมีพอร์ต USB เป็นพอร์ตมาตรฐานในการสื่อสาร มีอยู่ในทุกเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่า เร็วกว่าพอร์ตแบบ Serial หรือ Paralell สายเคเบิ้ลจะแพงกว่า แต่สามารถ เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากชิ้น ถ้าหาซื้อสายรับส่งข้อมูลแบบ USB ได้ในราคาไม่แพงก็น่าเล่นกว่า การเชื่อม ต่อผ่านพอร์ต Serial หรือ Paralell

พอร์ต RJ-45

สามารถรับส่งข้อมูลได้ค่อนข้างมากเหมือนกัน แต่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์คหรือ ระบบเครือข่าย และเครื่องพีซีที่ใช้ก็ต้องมีการ์ดแลนด้วย การเชื่อม ต่อแบบนี้จะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า การเชื่อมต่อทั้งสองแบบข้างต้น เพราะไม่เพียงใช้รับส่ง ถ่ายโอนข้อมูล แต่สามารถทำเป็นระบบเน็ตเวิร์ค แบบง่ายๆ ซึ่งจะทำให้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องเกิดประโยชน์มากกว่า ได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบ เน็ตเวิร์ค ทดสอบการใช้โปรแกรมเกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค ฯลฯ ถ้าไม่ติดที่ความ ยากในการเซ็ตระบบ และผู้รู้ที่มีจำนวนน้อย

พอร์ต IEEE, Bluetooth และ Wireless LAN

เป็นพอร์ตที่ช่วยให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูง ดีกว่าหลายๆ พอร์ตที่กล่าวมา แต่ เหมาะสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล ระหว่างโน้ตบุ๊คด้วยกัน เพราะการ ซื้อหาอุปกรณ์มาติดตั้งเพื่อการสื่อสาร ในลักษณะนี้ อาจไม่คุ้ม แพงและบางอย่างยังต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้งาน เช่น การรับส่งข้อมูลผ่าน สัญญาณวิทยุ
ตอนนี้ก็คงจะเห็นแล้วว่า ทำไมต้องมีพอร์ตสื่อสารไว้รองรับหลายแบบ ก็เพื่อให้โน้ตบุ๊คมีความ ยืดหยุ่นสูงในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ จะเลือกใช้ แบบใด จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ ของคุณ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ควรมีสายแลบลิงค์แบบ Paralell หรือ USB เพราะเป็นพอร์ตมาตรฐาน ที่มีในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ มี สายเหล่านี้ติดตัว ก็สบายใจได้ว่า สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดๆ ก็ได้ และก็ควรมีโปรแกรมช่วยในการเชื่อมต่อด้วย อย่างโปรแกรม Lap Link ที่ทำงานบน DOS ตัวเล็กๆ แต่ใช้งานง่าย สะดวกมาก เมื่อเทียบกับการใช้งานด้วยโปรแกรม Direct Cable Connect