คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เป็นหนังสือ บทความ เรื่องน่ารู้ ในหมวดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การติดตั้งโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประยุกต์สร้างเป็นอาชีพต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งผู้เขียน ขอแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพนักงานบริษัทและกลุ่มอาชีพ อิสระ
พนักงานบริษัท
ส่วนมากจะเป็นผู้ที่จบมาทางด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือไม่ก็ศึกษาด้วยตนเองและมีผลงาน ด้านคอมพิวเตอร์มาเสนอ ขณะสมัครงานด้วย หากเป็นงานที่เกี่ยว กับการวางระบบ การพัฒนาโปรแกรม โอกาสที่จะรับผู้ที่ไม่ได้จบมาโดยตรงจะค่อนข้างน้อยกว่า บางที่ให้ความสำคัญมาก เพราะผู้จบมา โดยตรงย่อมมีพื้นฐาน สามารถอบรมเพิ่มเติมได้ไม่ยาก
ตำแหน่งงานต่างๆ ของกลุ่มพนักงานบริษัท
1. Programmer, Computer Support, นักวิเคราะห์ระบบ นักออกแบบโปรแกรม ตำแหน่ง เหล่านี้จะเน้นรับผู้ที่จบมาโดยตรง
2. Computer Graphic เป็นตำแหน่งที่เน้นรับผู้ที่จบมาด้านศิลปที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมออกแบบกราฟิคได้ด้วย งานนี้อาจมีลุ้นสำหรับบุคคลทั่วๆ ไป ขอเพียงมีผลงานดีๆ นำ เสนอบวกกับมีฝีมือดี ก็หางานได้ไม่ยาก
3. ช่างซ่อม-ประกอบเครื่อง ติดตั้งโปรแกรม ด้านนี้เน้นผู้มีประสบการณ์มากกว่า ไม่จำเป็น ต้องจบโดยตรง หรืออาจไม่จำเป็นต้องมีวุฒิปริญญาด้วยซ้ำ (ทางร้าน จะได้กดค่าแรงได้ต่ำๆ หน่อย)
4. อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่างๆ เน้นผู้ที่จบด้านการสอน และมีความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถฝึกหัดได้ง่าย แนวนี้ถ้าคุณจบ ปริญญาตรีขึ้นไป สาขาไหนๆ ก็ตาม ขอเพียงมีความสามารถด้านการสอนและคอมพิวเตอร์
อาชีพอิสระ
เป็นกลุ่มที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประกอบธุรกิจของตนเอง เป็นเจ้านายตัวเอง ซึ่งก็มีมากมายหลายอาชีพเช่น
1. บริษัทจำหน่ายซอฟท์แวร์ อาจผลิตเพื่อจำหน่ายเอง หรือนำเข้ามาจำหน่าย หรือรับหน้าที่ เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย
2. โปรแกรมเมอร์ อาจเป็นการรวมตัวกันตั้งเป็นบริษัทหรือลุยเดี่ยว ขึ้นอยู่ความเก่งกาจและ ลักษณะโปรแกรมที่พัฒนา ถ้าเป็นการพัฒนาหรือรับเขียน โปรแกรมที่เกี่ยวกับงานบัญชี ระบบงาน ขนาดใหญ่ คงต้องทำเป็นทีม หลายคนช่วยกัน หากเป็นงานขนาดเล็ก ออกแบบโปรแกรมสำหรับงาน ในโรงเรียนหรือหน่วย งานขนาดเล็กก็สามารถลุยเดี่ยวทำคนเดียวได้ แต่งานอาจหนักหน่อยถ้าเป็นการ ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเอง เพราะจะต้องรอบรู้หลายด้านประกอบกัน เช่น งานผลิต โปรแกรมเกี่ยวกับ ซีดีสอนต่างๆ คุณต้องรู้ทั้งเนื้อหาของงานที่จะทำรู้วิธีสอน วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ การหาตลาด ฯลฯ
ลักษณะการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป ที่น่าจะยังไปได้ดี ยังพอมีทางทำ ตลาดได้ (แต่ก็ขึ้นอยู่กึ๋นด้านธุรกิจของคุณด้วย) เช่น
2.1. โปรแกรมประเภทรวมความรู้หรือเรื่องน่าสนใจ อาจมีราคาไม่แพงนัก เน้นการหา สปอนเซอร์มาเป็นทุนในการผลิต อาจจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอมหรือหนังสือ พร้อมซีดีรอมประกอบ เนื้อหา ด้านในอาจมีแบนเนอร์โฆษณาของแต่ละสปอนเซอร์ที่ให้ทุนมา ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่คงนึกกัน หัวหมุนเหมือนกันว่าจะเขียน โปรแกรมเกี่ยวกับอะไรดี สำหรับตัวอย่างที่มีวางจำหน่ายบ้างแล้ว เช่น ซีดีรวมหมายเลขโทรศัพท์ ซีดีรอมรวมสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย เป็นต้น
2.2. ซีดีรอมสอนการใช้โปรแกรมต่างๆ หรือเสริมการเรียน ติวเตรียมตัวสอบ ตลาดแนวนี้ แม้จะมีคู่แข่งมาก แต่ก็ยังพอไปได้เรื่อยๆ ความเสี่ยงก็ไม่มากนัก จะ หนักหน่อยก็การลงทุนครั้งแรก ต้องทำซีดีอย่างน้อย 1000 แผ่น ลงทุนประมาณ 35000 บาท ตกแผ่นละ 35 บาท ส่วนราคามักตั้งกัน ค่อนข้างสูง ความเสี่ยงน้อย มาก แต่ควรเลือกโปรแกรมที่เป็นที่นิยมมากๆ และเลือกผลิตให้แหวกแนว จากที่คนอื่นๆ ผลิตออกมาด้วย เพื่อความสบายขายคล่อง
2.3. โปรแกรมเฉพาะทาง เป็นโปรแกรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของโปรแกรมเมอร์ แต่ละคน เช่น โปรแกรมแปลไทย ช่วยให้การแปลข้อความ ภาษาอังกฤษเป็นไทยทำได้ง่ายขึ้นแนวนี้ทำ ตลาดยาก ไม่ใช่เพราะโปรแกรมไม่ดี แต่คนนิยมก็อปปี้มากกว่าซื้อของแท้ โปรแกรมเมอร์ดีๆ แบบนี้ เลยรอดยาก เพราะคนไทยเราเก่งเรื่องการแก้ ป้องกันอย่างไร ไทยแก้ได้หมด นี่นับว่าเป็นความอัจฉริยะ ประการหนึ่ง การพัฒนาโปรแกรมบางตัว จึงกลายเป็นไปในลักษณะเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวมไปเลย ไม่ได้ เบี้ยแต่ก็ได้บุญ ส่วนบางโปรแกรมที่ยังมีขายอยู่บางทีก็แพงเกินไป ( คิดๆ ไปก็สมควรแล้วที่โดนก็อปปี้)
2.4. โปรแกรมด้านฐานข้อมูล การบริหารงานในหน่วยงานขนาดเล็ก แนวนี้ก็ยังไปได้เรื่อยๆ ยังมีทางทำตลาดได้ บางท่านทำ โปรแกรมสำหรับงานโรงเรียนโดย เฉพาะ โดยเน้นการขายตรงมากกว่า ติดต่อลูกค้าที่เป็นโรงเรียนต่างๆ ด้วยตนเอง มีการแก้ไขข้อมูลบางอย่างให้เหมาะสมกับโรงเรียนนั้นๆ โดยเฉพาะเช่นเครื่อง หมายประจำโรงเรียน ทำให้ยากต่อการก็อปปี้ เพราะในการพิมพ์ ใบประกาศนียบัตร ต่างๆ ที่ต้องมีเครื่องหมายประจำโรงเรียน เมื่อก็อปปี้ไปแล้วก็ไม่สามารถนำไป ใช้ได้ คุณอาจนำเทคนิคนี้ ไปประยุกต์ใช้ก็ได้ แต่จะเหนื่อยหน่อย เพราะหาลูกค้าได้น้อยกว่า และต้องติดต่อโดยตรงเองทุกรายด้วย และแต่ละรายก็เชื่อเหลือเกินว่า จะต้องมีการตัดแปลงจนกว่าจะสมใจลูกค้า ก็ไม่เป็นไร เพราะกินยาว อยู่แล้ว ทุกครั้งที่โปรแกรมมีปัญหา ก็ต้องเรียกเราไปจัดได้ วางกับดักไว้ปีละครั้ง ก็ได้กินทุกปี ความคิด ชั่วร้ายจริงๆ ให้ตายเถอะ!!! รูปแบบสินค้าอาจทำออกมาเป็นแผ่นซีดีรอม แผ่นดิสก์แล้ว แต่ความใหญ่ เล็กของโปรแกรม
3. อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ ช่วงหลังๆ เศรษฐกิจค่อนข้างแย่ สถาบันสอนคอมพิวเตอร์ หลายที่พากันปิดตัวลง อาชีพแนวนี้ก็เลยลำบากหน่อย แต่การสอนตาม บ้านหรือหน่วยงานต่างๆ ก็ยัง พอมีทางไปได้ แต่ต้องเตรียมตัวพอสมควร เตรียมเอกสารประกอบการสอน แบบฝึกหัด ศึกษา โปรแกรมต่างๆ ให้รอบรู้ลึกซึ้งพอ สมควร และจะให้ดีผู้สอนควรสอบประกาศนียบัตรต่างๆ เพื่อเสริม บารมีให้กับตัวเอง โอกาสในการหางานจะได้ง่ายขึ้น เช่น สอบประกาศนียบัตรต่างๆ เกี่ยวกับการ สอน โปรแกรมของบริษัทไมโครซอฟท์ Microsoft Windows 98 Microsoft Office ฯลฯ จะทำให้ดู มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เพราะจะเป็นตัวยืนยันว่า คุณเป็นผู้รู้ จริงเกี่ยวกับโปรแกรมนั้นๆ สำหรับผู้มี เงินทุนหนาสักหน่อย อาจเปิดสถาบันสอนคอมพิวเตอร์ สำหรับช่วงนี้ก็มีเปิดกันพอสมควร โดยเฉพาะ เนื้อหาที่เกี่ยวกับ อินเตอร์เน็ต กราฟิคสามมิติ การซ่อมประกอบเครื่อง ค่อนข้างจะไปได้ดี
4. บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ (Maintenance) เป็นงานที่ค่อนข้างเหนื่อยหน่อย แต่หาก มีการจัดการที่ดี ก็น่าสนใจ มีหลายบริษัทที่รับดูแลระบบ คอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรต่างๆ โดยคิดค่า บริการเป็นรายเดือนหรือรายปีหรือตามแต่จะเรียกใช้ แนวนี้ลงทุนน้อย ใช้สมองเป็นส่วนมาก ควรจะมี เพื่อนๆ ช่วยกัน หลายคน เพื่อกระจายกันทำงาน แต่ต้องกำหนดขอบเขตการบริหาร ให้ชัดเจนให้ลูกค้า รู้ว่า ขอบเขตบริการจำกัดเพียงใด ไม่เช่นนั้นเหนื่อยตายแน่ เพราะลูกค้าส่วน ใหญ่จะแยกไม่ออกว่า ส่วน ใดที่เป็นส่วนที่ต้องบริการ เช่น บริการดูแลเฉพาะระบบมีปัญหา โปรแกรมทำงานแปลกๆ รวนบ่อย แต่มีลูกค้าที่ใช้โปรแกรมบางตัวไม่เป็น ก็ถามปัญหาเกี่ยวกับวิธีใช้โปรแกรมเหล่านั้นๆ กรณีนี้ต้องชี้ ให้เห็นข้อแตกต่างชัดๆ ลงไปเลยว่า เกินความรับผิดชอบ เป็นต้น อีกเรื่องที่สำคัญก็คือเรื่องเงิน บริหาร ให้ดีก็แล้วกัน ทำให้เพื่อนๆ แตกคอกันได้ง่ายๆ
5. จัดตั้งศูนย์ซ่อมคอมพิวเตอร์ เน้นบริการ ไม่ขูดรีดให้มากนัก รับประกันการซ่อม หรือจัด ทำเป็นสมาชิกรายปีสำหรับลูกค้าที่เป็นบริษัท ก็ยังพอมีช่องทางไป ได้
6. รับออกแบบกราฟิคสื่อสิ่งพิมพ์ เกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ช่วงนี้เป็นช่วงขาลง ไม่ค่อย มีงานเข้ามาเท่าไรนัก แต่ก็สามารถดัดแปลงไปได้เรื่อยๆ จาก เดิมที่เคยรับทำสิ่งพิมพ์ ก็เปลี่ยนมาถ่าย สติ๊กเกอร์แทน ออกแบบโฮมเพจ แสกนภาพ ฯลฯ ประยุกต์ไปตามสถานการณ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกึ๋นของคุณ แต่ข้อเสียก็คือ การ ลอกเลียนแบบ เมื่อคุณทำออกมาประสบความสำเร็จก็จะมีคนเลียนแบบ บางทีก็แย่ เหมือนกัน กว่าจะคิดออก ก็ตั้งนาน ยังไม่คุ้มทุน ก็มีคู่แข่งตามมาเพียบ
7. Web Designer รับบริการออกแบบเว็บเพจ โฮมเพจ งานแนวนี้ก็ไม่ต่างกับงานออกแบบ สิ่งพิมพ์เท่าไรนัก ช่วงนี้มีนักออกแบบเว็บมากมาย เกิดขึ้นมาราวกับ ดอกเห็ด ประกอบกับได้มีการสร้าง โปรแกรมช่วยในการสร้างเว็บไซท์ที่ใช้งานง่ายมากกว่าเดิมมาก ทำให้แนวโน้มการหางาน ทำได้ไม่ง่ายนัก นอกจากจะมีลูกเล่น แพรวพราวและรู้เทคนิคชั้นสูงที่คนส่วนใหญ่เป็นกันน้อย เช่น การเขียน CGI หรือ ASP การสร้างเว็บไซท์เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล การจัดทำระบบอินทราเน็ต ซึ่งไม่ เป็นเพียงการสร้าง โฮมเพจอย่างเดียว แต่ต้องรู้เรื่องระบบเน็ตเวิร์คด้วย แนวนี้ค่อนข้างยากเกินกว่าคนส่วนใหญ่จะทำได้
8. นักเขียน เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทน ทุ่มเทอย่างมากถึงมากที่สุด กว่าจะนำอักษรแต่ ละตัวมาประสมกันจนกลายเป็นหน้า กว่าจะรวมแต่ละหน้าเป็นเล่มทั้ง เล่ม เนื้อหามีความสัมพันธ์กัน และพอเป็นเล่มแล้วต้องขายได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จบกัน แต่หากผลงานเข้าตาประชาชน ก็หาเงินแสนมา นอนกอดได้ไม่ยาก อาจเริ่ม ต้นจากการเป็นนักเขียนให้กับนิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยส่ง บทความไปให้ทางกองบรรณาธิการพิจารณา แล้วค่อยๆ พัฒนาฝีมือ เขียนเป็นเล่มเสนอ สำนักพิมพ์ต่างๆ แต่ถ้าเล่มไหนที่คิดว่าขายได้แน่ๆ และมีเงินทุนพอ ก็ทำเองไปเลย คุ้มกว่า ความเสี่ยงน้อยมาก อย่างไร ก็ไม่ขาดทุนอยู่แล้ว ในการทำหนังสือต้อง พิมพ์อย่างน้อย 3000 เล่ม ใช้ทุนมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่ กับความหนาบางของหนังสือ ปีหนึ่งๆ ผลิตผลงานดีๆ คุณภาพคับแก้วสักสองสามเล่ม ก็ไม่ต้องไปทำ อะไรอย่างอื่นแล้ว รับรองมีเงินเหลือเฟือ เผื่อไว้ใช้ปีหน้าได้สบาย แต่บอกไว้ก่อนว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่เช่นนั้นก็คงจะมีนักเขียนกันเกลื่อนเมือง ถนนสายนี้เหมาะ สำหรับผู้ที่ชอบเข็นครกใบโตขึ้นภูเขาหรือ ฝนทั่งให้เป็นเข็มที่เล็กและดีที่สุดในโลกเท่านั้น
ความเสี่ยงสูงพอสมควรสำหรับหนังสือแนววิชาการ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ ก็เพราะไอ้การ ลอกเลียนแบบอีกนั่นแหละ ก็ปล่อยวาง เป็นเรื่องของตลาด การค้า เสรี อย่าไปคิดมาก ปวดหัว
9. อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นบริการให้เช่าใช้อินเตอร์เน็ตควบคู่กับการเสริฟอาหารและเครื่องดื่ม ต่างๆ ก็พอไปได้ ส่วนมากจะไม่เปิดอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว อาจมีเกมให้เล่นด้วย บางทีก็มีหนังสือ การ์ตูนให้เช่าด้วย มีรายได้จากอันนั้นนิดอันนี้หน่อย แต่รวมๆ แล้วก็อยู่ได้สบาย สิ่งสำคัญก็คือทำเล หากมีงบและทำเลดี ก็ น่าลงทุน แต่ควรศึกษาเกี่ยวกับการเซ็ตระบบให้เป็นด้วย จะได้แก้ปัญหาเองได้ นอกจากนี้หากไม่มีงบมากพอ การรับบริการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ก็เป็นอีก อาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ แต่จัดบริการให้ดีก็แล้วกัน เพราะร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่มีปัญหาเกิดขึ้นกันได้ทั้งวัน สุดท้ายก็เตรียม ยาแก้ปวดหัวไว้ด้วย
10. ร้านบริการพิมพ์งาน เข้าเล่ม หากคุณเปิดร้านออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ก็อาจบวกบริการนี้เพิ่ม เข้าไปด้วยก็ได้ ลงทุนไม่สูงมากนัก หาทำเลใกล้ๆ สถานศึกษา ก็ ยังพอมีงานเข้ามาเรื่อยๆ
11. บริการสร้างสื่อแบบมัลติมีเดีย ตัดต่อวิดีโอ บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี สร้างงานนำเสนอข้อมูล หรือสินค้าในรูปแบบมัลติมิเดีย
12. ครอบจักรวาล หากคุณแน่ใจว่าได้ศึกษาวิทยายุทธด้านคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้งแล้วละก็ สร้างทีมให้แกร่งเสียก่อน แล้วรับบริการให้หมด ทั้งเขียนโปรแกรม ออกแบบเว็บ สื่อสิ่งพิมพ์ บริการ ดูแลระบบ นักเขียน ขายเครื่องซ่อมเครื่อง ฯลฯ รับรองว่ารวยเละเลยครับ เจ้านาย (แต่อายุอาจไม่ยืน เพราะทำงานหนัก วัดส่วนสูง ส่วนหนาของร่างกาย เผื่ออืด แล้วก็หาวัดเผื่อไว้เผาด้วย เอ้อ... สาธุ)
การประกอบอาชีพด้านนี้ที่ไม่ค่อยจะมีความเสี่ยง ก็ต้องทำแบบข้ามาคนเดียว คือ ต้องฝึกตน เองให้เก่งหลายๆ ด้าน ไม่ต้องเปิดเป็นสำนักงานหรูหราให้เปลืองค่า เช่า เน้นการบริการแบบเข้าถึงตัว ลูกค้า เช่น การเขียนโปรแกรม งานสอน งานขาย ผู้เขียนเองก็มีชีวิตแบบนี้ ทำงานเสร็จส่งงานให้ ตัวแทนขาย เวลาที่เหลือก็พักผ่อน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หามุขใหม่ๆ มาสร้างงานต่อ สิ่งสำคัญที่ต้อง ระวังให้จงหนัก ก็คืออย่าทำอะไรเกินตัวและไม่แน่ใจว่าจะคุ้มค่าหรือไม่กับเงินที่ลงไป มองหา ช่องว่าง และจังหวะเด็ดๆ แล้วค่อยเสียบ
- Details
- Category: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- Hits: 38050
ศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีวันตายและเจอทางตันเหมือน งานด้านอื่นๆ ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาค้นคว้าอยู่ ตลอดเวลา เพื่อสร้างทางเลือกในการ ประกอบอาชีพให้หลากหลายขึ้น และการสร้างช่องทางเหล่านั้น ใครก็ช่วยคุณไม่ได้ นอกจากตัวคุณเอง ศึกษามากก็พบช่อง ทางมาก
การหมั่นหาช่องว่างทางการตลาดเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ ในอาชีพ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรืออาชีพใดๆ ก็ตาม ลองนึกถึงการเล่นเกม คอมพิวเตอร์ แล้ว...
1. ถามตัวเอง คุณจะยอมเสียเงินเสียเวลาเพื่อเล่มเกมอย่างเดียวเท่านั้นหรือ
2. น่าจะมีช่องทางอะไรที่จะทำเงินจากตรงนี้ได้บ้าง นี่เป็นการสร้างความคิดเพื่อหาช่องว่าง ทางธุรกิจ ส่วนคำตอบก็มีมากมายเลยครับ และสามารถทำเงินได้อีก ด้วย เช่น
- เปิดเว็บไซท์สอนการใช้เกม โดยอาจทำเป็นโปรแกรมสอนวิธีใช้เพียง Demo หรือเวอร์ชัน ทดลองใช้ ถ้าสนใจ ก็สั่งซื้อ เวอร์ชันสมบูรณ์
- เปิดรับสมาชิกโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือน (จะมากน้อย แล้วแต่ความงกของคุณ) อาจ ทำเป็นแผ่นซีดีสอนหรือนำเสนอบนเว็บไซท์ ขายประกอบไปด้วย เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่ไม่อยาก เสียเวลาดาว์โหลด
- หรือทำเป็นหนังสือรวมเทคนิคการเล่นเกม หากทุนน้อย อาจเขียนบทความเกี่ยวกับเทคนิค การเล่นเกม ส่งทางนิตยสาร อาจเป็นรายได้ที่ไม่มากนักแต่ก็ดีกว่า ไม่ได้อะไรเลย
- เปิดร้านเล่นเกมแนวนี้ดีมากๆ เลย เพราะคุณเองก็ชอบเล่นเกมอยู่แล้ว น่าจะดำเนินการ ไปได้ด้วยดี เพราะสามารถแนะนำตลอดจนสอนวิธีเล่มเกมให้กับลูกค้า ได้
- พัฒนาเกมขึ้นมาเอง เขียนเองขายเอง แต่ไม่ง่ายนะครับบอกไว้ก่อน
เราสามารถนำความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในการทำมาหาเงินได้อีกมากมายหลายทาง แต่จะมีอะไรบ้าง นั้นก็คงต้องคิดเอาเอง หาเวลาว่างๆ อยู่กับตัว เองบ้าง จะได้รู้ว่าชีวิตต้องการอะไร ขณะเดียวกันก็พยายามเก็บความรู้ให้มากเข้าไว้ เวลาจะต้องใช้งาน จะได้หยิบมาใช้งานได้สะดวก
คอมพิวเตอร์ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ แต่เป็นเพียงเครื่องมือตัวหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์ สามารถทำงานได้สะดวกขึ้น รวดเร็วและ ถูกต้องแม่นยำ การเรียน คอมพิวเตอร์จึงขึ้นอยู่กับงานที่มนุษย์ ต้องทำและความสนใจส่วนตัว เมื่องานที่ทำไม่ได้เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ก็จะคิดว่ายังไม่จำเป็นต้องเรียน ก็แนะนำว่า ควรหา เวลาว่างๆ เดือนละครั้งก็ยังดี ศึกษาหาความรู้ในภาพรวมกว้างๆ ว่าคอมพิวเตอร์ ทำอะไรได้บ้าง สามารถช่วยงานที่คุณทำอยู่ ได้อย่างไรบ้าง
ส่วนท่านใดที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ก็ลองถามตัวเองว่าโปรแกรมที่ใช้อยู่นั้น คุณเรียน รู้ลึกซึ้งสักเพียงใด ไม่แน่หรอกนะอาจมีบางสิ่งที่คุณไม่รู้และสิ่งนั้นๆ สามารถช่วยให้คุณทำงานได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น ทำไมไม่ศึกษาให้มันได้เรื่องได้ราวไปเลย 99.99 % ของคำบอกเล่า ถามง่ายกว่า ถามปุ๊บ ได้คำตอบปั๊บ จะให้ อ่านรึ ไม่เอา ขี้เกียจ เอ้าไม่เป็นไร Up to you
ส่วนผู้ที่คิดจะประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขอบอกว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าเป็นเพียง พนักงานบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แบบนี้ไม่มีปัญหา แต่ ถ้าเป็นการทำธุรกิจส่วนตัวต้อง ฝึกฝนตัวเองพอสมควรเหมือนกัน โดยเฉพาะด้านธุรกิจ เรื่องเงินๆ ทองๆ ตัวผู้เขียนเองไม่ได้เก่ง คอมพิวเตอร์เท่าไรนัก ไม่ได้จบมา ด้านนี้ ไม่ได้รู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง แต่รู้เพียงในภาพรวม กว้างๆ เท่านั้น แต่พอจะมีเพียงสองสิ่งที่รู้มากพอสมควร ก็คือรู้ว่าจะใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ผลิตผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างไร และทำมาหากินได้อย่างไร
สองสิ่งนี้น่าจะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการเรียนคอมพิวเตอร์...
- Details
- Category: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- Hits: 1974
สำหรับตัวอย่างนี้ก็จะเป็นการประกอบเครื่อง Pentium 4 ความเร็ว 1.5 GHz (จิ๊กกะเฮิร์ท) ลักษณะโดยรวมๆ ก็ไม่ต่างไปจากการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น อื่นๆ ซึ่งเราก็จะเริ่มกันตั้งแต่ การเลือกซื้ออุปกรณ์ แล้วก็ประกอบเอง ให้รู้กันไปเลยว่าเราก็ทำได้
ทำความรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ
ก่อนจะเดินเลือกซื้อ ก็ควรทำความรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนว่าหน้าตาเป็นอย่างไร อาจดูจากรูป ต่อไปนี้ก็ได้ และเมื่อรู้จักดีแล้ว ก็เดินเลือกซื้อได้เลย
- Details
- Category: ตัวอย่างการประกอบเครื่อง Pentium 4 1.5 GHz
- Hits: 10556
การเริ่มต้นเลือกซื้ออุปกรณ์ อาจเริ่มต้นจากการดูใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ที่ประกอบสำเร็จ หรือแต่ละร้านได้จัดไว้เป็นชุดๆ ไว้แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะแบ่งไว้หลาย เกรด เกรดต่ำสเป็คต่ำราคาถูก ก็ดู ว่าใช้อุปกรณ์ใดบ้าง ยี่ห้ออะไร สเป็คสูงขึ้นมาหน่อยใช้อุปกรณ์แบบใด คราวนี้เราก็เลือกซื้ออุปกรณ์ ตามนั้นก็ได้ หลายคนอาจ เกิดคำถามว่า เครื่องที่ได้จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใด ขอตอบว่าอยู่ที่คนใช้ คนใช้เครื่องไม่มีความรู้ เครื่องดีแค่ไหนก็ไร้ประโยชน์
1. เลือกซื้อเมนบอร์ด
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่ต้องซื้อและก็ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเมนบอร์ดพอสมควร สิ่งที่ต้องใส่ใจกับการเลือกซื้ออาจ มีดังนี้
- เมนบอร์ดรุ่นนั้นใช้กับซีพียูแบบใดได้บ้าง ของอินเทลหรือ AMD รองรับการอัพเกรดถึงซีพียู ความเร็วเท่าไหร่ ถ้าเป็นมือใหม่ อาจดูจากใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ เมนบอร์ดที่ทางร้านเลือกใช้ ตรงกับที่คุณได้เลือกไว้ในใจหรือไม่ ถ้าใช่ก็ดูว่าใช้กับซีพียูรุ่นใดได้บ้าง
- แรมบนบอร์ดใช้แรมแบบใดได้บ้าง ก็ดูจากคู่มือหรือในใบโฆษณาอีกนั่นแหละ
- เรื่องยี่ห้อของเมนบอร์ด เลือก Asus, ABit หรือ Gigabyte ก็ไว้ใจได้ คุณภาพดีอยู่แล้ว
เมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นแบบ All in One มีทั้งการ์ดจอ การ์ดเสียง การ์ดแลน การ์ดโมเด็ม บางรุ่นมีซีพียูรวมอยู่ด้วย ซื้อเมนบอร์ดอย่างเดียวก็ได้ครบทุกอย่าง เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด เน้น การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทั่วๆไป ใช้พิมพ์งาน อินเตอร์เน็ต
ความรู้เกี่ยวกับชิพเซ็ตที่ใช้บนเมนบอร์ด
ชิพเซ็ตอาจถือได้ว่าเป็นตัววัดประสิทธิภาพของเมนบอร์ดแต่ละรุ่น และทำให้เมนบอร์ดมีราคา แตกต่างกันไป การเลือกซื้อจึงต้องดูที่ชิพเซ็ตด้วย
ชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดแบบ Socket A
1. VIA KT333
= รองรับ FSB สูงสุดที่ 266 MHz
= รองรับแรมแบบ DDR SDRAM PC3200 ( DDR SDRAM ที่มีความเร็วในการทำงาน สุงสุดที่ 400 MHz )
= รองรับฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA / 133 หรือรองรับการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความสามารถ ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดได้ถึง 133 เมกกะบิตต่อวินาที (133 Mbps)
2. VIA KT400
= รองรับ FSB 266 MHz
= DDR SDRAM PC3200 หรือ DDR SDRAM ความถี่ 400 MHz
= UDMA / 133
= AGP 8x รองรับการใช้งานกับการ์ดจอแบบ AGP ที่มีความเร็วในการทำงานที่ 8x (8 x 66 =528 MHz )
= RAID รองรับการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า RAID ที่สามารถนำฮาร์ดดิสก์ มาต่อพ่วงกันได้หลายๆ ตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและ สำรองข้อมูล
= USB 2.0 เป็นความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลทางพอร์ต USB รุ่น 2.0 ซึ่งสามารถอ่าน โอนข้อมูลได้เร็วกว่า USB รุ่นแรกๆ
= Firewire เป็นความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการการถ่ายโอนข้อมูลเป็นจำนวนมากและสามารถทำได้เร็วกว่า การเชื่อมต่อแบบอื่นๆ
= Serial ATA รองรับการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ ที่มีความสามารถในการถ่ายโอน ข้อมูลสูงกว่าแบบ UDMA
3. VIA KT266 A
= PSB 333 MHz
= DDR SDRAM PC3200
= UDMA / 133
= AGP 8x
4. AMD 760
= 266 MHz
= DDR SDRAM PC3200
= UDMA / 100
5. NVidia NF 220P
= UDMA / 133
6. SiS 730
= DDR SDRAM
= UDMA / 133
7. SiS 740
= FSB 333 MHz
= DDR SDRAM PC2700,
= UDMA / 133
8. SiS 745
= FSB 333 MHz
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 133
ชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดแบบ Socket 478
1. Intel 845 GE
= Max FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC2700 ( DDR SDRAM 333 MHz )
= UDMA / 100
2. Intel 845 G
= FSB 533 MHz
= UDMA / 100
= USB 2.0
= RAID UDMA / 133
3. Intel 845E
= FSB 533 MHz
= UDMA / 100
= RAID 133
= USB 2.0
4. Intel 845D
= FSB 400 MHz
= AGB 4x
= UDMA / 100
5. Intel 845 PE
= FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC 2700
= UDMA / 133
6. SiS 64S
= DDR SDRAM 266 MHz
= FSB 400 MHz
= AGP4x
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 100
7. SiS 64Sx
= DDR SDRAM
8. SiS 650
= FSB 400 MHz
= AGP 4x
= UDMA / 100
9. SiS 645Dx
= FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 133
= USB 2.0
10. VIA P4x400
= FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 133
= AGP 8x
= USB 2.0
11. VIA P4x266
= PSB 533 MHz
= SDRAM/DDR SDRAM ใช้ได้ทั้งแรมแบบ SDRAM และ DDR SDRAM
2. เลือกซื้อซีพียู
ควรอ่านคู่มือเมนบอร์ดก่อน ว่ารองรับการใช้งานกับซีพียูแบบใดรุ่นใด สูงสุดที่ความเร็วเท่าไร แล้วจึงเลือกซื้อซีพียูที่สามารถใช้งานกับเมนบอร์ดนั้นได้ สำหรับซีพียูที่ เลือกซื้อ ก็เลือกความเร็วระดับ 1 GH ขึ้นไป ก็สามารถใช้งานได้อีกนาน ส่วนเรื่องยี่ห้อ จะเป็นของอินเทลหรือเอเอ็มดี ประสิทธิภาพ ก็ไม่หนีกันเท่าไร แต่ถ้าเน้น สบายใจจริงๆ ก็เลือกอินเทล
3. เลือกซื้อหน่วยความจำ
อ่านรายละเอียดในคู่มือเมนบอร์ดก่อนว่าใช้กับแรมแบบใดได้บ้าง ก็เลือกซื้อแรมแบบนั้น ในตอนนี้ส่วนใหญ่ก็จะใช้แบบ DDR SDRAM
รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับแรม
1. SDRAM PC133
เป็นแรมแบบ SDRAM ความเร็ว 133 MHz
2. SDRAM PC150
เป็นแรมแบบ SDRAM ความเร็ว 150 MHz
3. DDR SDRAM PC1600
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 200 MHz
4. DDR SDRAM PC2100
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 266 MHz
5. DDR SDRAM PC2700
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 333 MHz
6. DDR SDRAM PC3200
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 400 MHz
7. DDR SDRAM PC3500
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 533 MHz
4. เลือกซื้อการ์ดจอ
ก็เช่นเดียวกันกับซีพียูและแรม ควรอ่านรายละเอียดในคู่มือเมนบอร์ดก่อนว่า ใช้กับการ์ดจอ แบบใดได้บ้าง ซึ่งตอนนี้ก็จะเป็นการ์ดจอ แบบ AGP (AGP2x, 4x หรือ 8x) แต่ต่างกันที่ความเร็ว ของการ์ดจอและกำลังไฟ ต้องเลือกซื้อให้ถูกต้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในเมนบอร์ด
สำหรับมือใหม่ ไม่รู้จะเลือกซื้อแบบใด ก็ไม่ยาก ซื้ออุปกรณ์ทั้ง 4 ชิ้นนี้ในร้านเดียวกัน ซีพียู กับเมนบอร์ด ก็ให้ทางร้านเซ็ตค่าซีพียูบนเมนบอร์ดให้เรียบร้อย ที่เหลือก็ เอามาประกอบเอง ก็ไม่ยาก แล้วครับตอนนี้
ตัวอย่างรายละเอียดเกี่ยวกับการ์ดจอ ( Display Card )
ยี่ห้อ ชิพเซ็ต แรม อินเตอร์เฟส
Albatron Mx440 nVidia GF4Mx440 64M AGP AGP 4x , TVout
DFIx400-T2 SiS Xabre 400 64M AGP AGP 8x , TVout
การ์ดจอแบบแรกใช้ชิพเซ็ตของ nVidia GF4Mx440 เป็นชิพเซ็ตที่ออกแบบมาสำหรับการ เล่นเกม โปรแกรมสามมิติ มีแรมบนการ์ดจอ 64 Mb ยิ่งมีมากยิ่งดี การ์ดที่ใช้รองรับความสามารถ ในการรับส่งข้อมูลที่ 4x น้อยกว่าการ์ดแบบที่ 2 ส่วน TVOut เป็นความสามารถในการนำภาพจาก คอมพิวเตอร์ไปแสดงที่จอทีวีได้ การ์ดทั้งสองตัวมีคุณสมบัตินี้เหมือนกัน
5. การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
ก่อนเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ ก็ต้องดูที่เมนบอร์ดก่อนว่า รองรับการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์แบบใด เช่น UDMA 66/100/133 แล้วเลือกซื้อให้ถูกต้อง เลือกซื้อความเร็วรอบ ที่เหมาะสม เช่น 7200 ต่อนาที การรับประกันก็ต้องพิจารณาเช่นกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1-3 ปี เลือกผู้ขายที่ไว้ใจได้ อย่าง DCOM ก็เคลม ง่ายเวลาฮาร์ดดิสก์มี ปัญหา
รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์
ยี่ห้อ ความจุ(GB) ความเร็วรอบ อินเตอร์เฟส อื่นๆ
IBM DTLA 40 7,200 IDE UDMA/100,Buffer 2MB
Maxtor 80 7,200 IDE UDMA/133, Buffer 2MB, 3 ปี
Seagate ST318404LW 18.2 10,000 SCSI Cheetah
ฮาร์ดดิสก์ทั้ง 3 แบบ แบบแรกความจุ 40 GB ความเร็วรอบในการหมุน 7,200 ยิ่งเร็ว การค้นหา ข้อมูลก็ทำได้ดีกว่า อินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อจะ เป็นแบบ IDE ความสามารถในการรับส่ง ข้อมูล 100 Mbps ( เมกกะบิตต่อวินาที ) ในขณะที่แบบที่ 2 จะสามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่า ทั้งยัง รับประกันตั้ง 3 ปี ส่วนแบบสุดท้ายความจุน้อยแค่ 18.2 GB เท่านั้น แต่คุณภาพห่างชั้นทั้งสองแบบ แรกอย่างมาก ความเร็วรอบ 10,000 อัตราการรับส่งข้อมูลก็สูงกว่า เหมาะ สำหรับเครื่องที่ต้องการ ประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่เปิดกันทั้งวัน ไม่ปิดเครื่องเป็นเดือน
6. การเลือกซื้อจอภาพ
การเลือกซื้อจอ อาจเลือกขนาด 15'' ถ้าเป็นการใช้งานทั่วๆไป พิมพ์งาน เล่นเกม อินเตอร์เน็ต แต่ถ้าเป็นการใช้โปรแกรมประเภทกราฟิค จอ 17'' จะเป็นตัวเลือกที่ ดีกว่า เพราะโปรแกรมประเภทนี้ เครื่องมือเยอะ ถ้าใช้จอขนาดเล็กเครื่องมือจะถูกวางเต็มจอ การใช้งานจะไม่ค่อยสะดวก สิ่งที่ต้อง พิจารณาเมื่อเลือกซื้อจอ นอกจาก ขนาดแล้วก็คงเป็นเรื่องราคา ความละเอียดในการแสดงผลและ ดอทพิทหรือจุดบนจอ
รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับจอภาพ
จอ AOC รุ่น SEN ราคา 3500 ขนาด 15'' 1024x768 0.28mm
จอ Philips รุ่น 105Sll ราคา 4,500 ขนาด 15'' 1280x1024 0.27mm
จอ MAG รุ่น AY565 ราคา 16,000 ขนาด 15'' LCD 1024x768
จอ ADI รุ่น G500FD ราคา 6,500 ขนาด 15'' Flat Trinitron
ทั้ง 4 รุ่นนี้ เป็นจอขนาด 15'' เหมือนกัน แต่ราคาและคุณภาพก็เรียงตามลำดับ จอที่1 ราคาถูก แต่สามารถกำหนดความละเอียดหน้าจอได้เพียง 1024x768 Dpi และมีดอทพิท 0.28 mm ในขณะที่จอแบบที่2 ความละเอียดจะอยู่ที่ 1280x1024 ดอทพิท 0.27 ดอทพิทขนาดเล็ก ภาพก็ยังคมชัด ส่วนจอแบบ Flat จะเป็นจอแบน มีคุณสมบัติดีกว่าจอทั้งสองแบบแรก ราคาก็เลยสูงกว่า ในขณะที่ จอแบบ LCD จะมีราคาสูงที่สุด และก็เป็นจอที่ดีที่สุดเช่นกัน สบายตา ตัดปัญหาเรื่องแสงสะท้อน ความร้อนต่ำมากๆ จอ LCD บางรุ่นก็จะมีลำโพงติดมาด้วย
7. การเลือกซื้อการ์ดเสียง ( Sound Card ) และลำโพง
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา ถ้าเน้นการฟังที่ได้อรรถรสมากๆ การ์ดเสียงของ Creative ก็เชื่อถือ ได้ แต่ถ้าเน้นกลางๆ คุณภาพเสียง เทียบเท่าการฟังเพลงจากซีดี คุณไม่ ใช่พวกหูเทวดา เป็นหูชาวบ้าน บ้านธรรมดาทั่วๆไป การ์ดเสียงราคากลางๆ ของ YAMAHA ก็ใช้งานได้ดี เลือกที่มีคุณสมบัติ Wavetable ไว้ใช้กับแผ่นคาราโอเกะ อาจ เลือกที่มีหลายชาแนล เช่น 4 หรือ 6 Channels 4 หรือ 6 ทิศทาง ก็แล้วแต่ลักษณะการฟังเพลง ชมภาพยนตร์จากแผ่น VCD / DVD เล่นเกม
การเลือกซื้อการ์ดเสียงก็ต้องสัมพันธ์กับลำโพง เช่นการ์ดเสียงแบบ 5.1 Channels 6 ทิศทาง ถ้าเลือกใช้ลำโพงสำหรับการ์ดเสียง แบบนี้ให้ได้อรรถรสในการฟังจริงๆ ก็ต้องเลือกซื้อลำโพงแบบ 5.1 เช่นกัน มีลำโพง 5 ตัว ให้เสียงแหลม จัดวางในตำแหน่ง หน้า 3 และหลัง 2 ตัว ส่วนตัวสุดท้ายเป็น ลำโพงแบบ ซับวูฟเฟอร์ ให้เสียง ทุ้มจะวางด้านหน้า ถ้าเล่นเกมหรือดูหนัง ก็รับรองว่าได้ บรรยากาศ เหมือนอยู่ในโรงหนังเลยทีเดียว
8. การเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดี
เครื่องอ่านซีดีที่มีคุณสมบัติในการเขียนด้วยจะมีราคาถูกลงมาก แนะนำให้เพิ่มเงินอีกหน่อย เพื่อซื้อเครื่อง CD-RW ไดรว์จะดีกว่า เลือกแบบติดตั้งภายใน มีคุณสมบัติ Burn Proof และ Buffer ยิ่งมากยิ่งดี
9. การเลือกซื้อเคส
เคสหรือกล่องใส่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกประกอบเข้าด้วยกันเรียบร้อยแล้ว จะเลือกซื้อรูปทรง แบบใดก็ตามแต่ใจ แต่เลือกซื้อเคสที่ใช้พาวเวอร์ซัพพลายขั้นต่ำ 300 w น้อยไปกว่านี้ อาจจ่ายไฟไม่พอ ทำให้อุปกรณ์บางตัวอย่างฮาร์ดดิสก์หรือจอภาพเสียหายได้
10. การเลือกซื้อเมาส์
การเลือกซื้อเมาส์ที่มียี่ห้อ แม้ราคาจะแพงไปหน่อยแต่ค่อนข้างทนทาน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมการใช้เมาส์ของคุณด้วย มีผ้าคลุมเมาส์และทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยยืดอายุ การใช้งานได้
11. การเลือกซื้อคีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์ที่เลือกซื้อ ให้ทดลองพิมพ์ข้อความ ปุ่มต่างๆไม่แข็งจนเกินไป เสียงไม่ดังมาก ตำแหน่งของปุ่มต่างๆ อยู่ตำแหน่งที่คุ้นตา คุ้นมือ เพราะการเลือกแป้นพิมพ์ ที่ปุ่มต่างๆถูกจัดวางผิด ที่เวลาพิมพ์ก็จะผิดบ่อย จนน่ารำคาญ
12. การเลือกซื้อโมเด็ม
โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะจะไม่รบกวนการทำงานของซีพียู ขณะทำงาน แต่ราคาจะแพงกว่าแบบติดตั้งภายในอีกเท่าตัว การเลือกซื้อ ก็สอบถามทางร้านว่าแบบใด ปัญหาน้อย ไม่เคลมบ่อย เพราะถ้าเคลมบ่อยก็แสดงว่าเสียง่าย
13. อุปกรณ์อื่นๆ
อาจจะมีอุปกรณ์อื่นๆ อีกหลายรายการที่ต้องซื้อ เช่น ผ้าคลุมเครื่อง แผ่นดิสก์เก็ต แผ่น CD-R แผ่นกันรังสีจากจอภาพ ฯลฯ
- Details
- Category: ตัวอย่างการประกอบเครื่อง Pentium 4 1.5 GHz
- Hits: 1318
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Article Count: 4
ใช้งานเครื่องพิมพ์ใน Windows Vista Article Count: 11
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค Article Count: 35
ตัวอย่างการประกอบเครื่อง Pentium 4 1.5 GHz Article Count: 7
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Article Count: 46
แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ Article Count: 10
สอนใช้ Linux Lite Article Count: 23
Page 21 of 35