Sponsored Ads

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

เป็นหนังสือ บทความ เรื่องน่ารู้ ในหมวดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การติดตั้งโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ

 

สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงบนกระดาษแผ่นใส หรือวัสดุชนิดอื่นๆ อาจแบ่งประเภทของ เครื่องพิมพ์ออกเป็น 3 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix) มี 2 แบบ คือแบบ 9 เข็ม และแบบ 24 เข็ม จะใช้หลักการคล้ายๆ กับเครื่องพิมพ์ดีด วิธีพิมพ์ใช้หัวเข็มกระแทกลง บนผ้าหมึก และใต้ผ้าหมึก ก็จะเป็นกระดาษ เครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง นิยมนำไปใช้ในงานพิมพ์ แบบฟอร์มรายงานที่ต้องใช้ กระดาษต่อเนื่อง
2. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink Jet) เป็นเครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น ในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ แบบนี้ ต้องพิจารณาหลายอย่างเช่น คุณภาพการพิมพ์ พิมพ์ออกมา แล้วหมึกเยิ้มหรือไม่ ราคาหมึกต่อ ตลับหนึ่งตลับพิมพ์ได้ประมาณกี่แผ่น บางรุ่นหมึกแพงแต่พิมพ์ได้ น้อย เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป งานนำเสนอหรืองานพรี เซนเทชั่น สามารถพิมพ์ลงบนแผ่นใสได้ มีหมึกเติมหรือไม่
3. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Lazer) ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะแบบที่พิมพ์สีได้ (ประมาณ ครึ่งแสน) แต่ให้คุณภาพงานที่ดี เหมาะสำหรับงานออกแบบสื่อสิ่ง พิมพ์ การทำอาร์ทเวิร์คหรืองานที่ ต้องการความคมชัด หลักการทำงานจะคล้ายๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้หลักการยิงแสงเลเซอร์ ไปสร้างภาพบนกระดาษ ทำ ให้กระดาษร้อน แล้วจึงปล่อยผงหมึกไปยังที่ได้สร้างภาพไว้ เมื่อพิมพ์ เสร็จใหม่ๆ กระดาษจะร้อนและงอ จึงไม่สามารถใส่กระดาษแผ่นเดิมเพื่อพิมพ์ด้านหลังได้ เพราะกระดาษ อาจติดอยู่ข้างใน แต่ก็มีบางรุ่นที่ทำได้ โดยพิมพ์ลงกระดาษแบบหน้าหลังได้ ส่วนราคาก็ต้องชั่งใจ เหมือนกัน แพงครับ

 

การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์
พิจารณาลักษณะการพิมพ์งานของคุณ ว่าพิมพ์ขาวดำหรือสีมากกว่า ถ้าพิมพ์ขาวดำและใช้ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ก็ควรเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ที่มีหัวหมึกพิมพ์ติดอยู่ กับตลับหมึก บางรุ่นที่ หัวหมึกพิมพ์ค่อนข้างทนทานก็จะสามารถเติมได้บ่อยครั้ง การซื้อตลับหมึกอันใหม่ไม่คุ้ม ราคาพันกว่า บาทต่อตลับ แต่หมึกเติมไม่กี่ร้อย เติม ได้ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง คุ้มกว่ามากประหยัดเงินได้เป็นพัน

ทำหน้าที่กรองไฟให้สม่ำเสมอและสำรองไฟชั่วคราวให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่ไฟดับ นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายแล้ว ก็ยังช่วยป้องกันไม่ ให้อุปกรณ์บางตัวเสียหาย เนื่องจาก กระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอและไฟกระชากกรณีเกิดไฟดับ และถ้าต้องทำงานที่สำคัญมากๆ เช่น ระบบงาน ของธนาคารหรือ บริษัทใหญ่ๆ จะต้องมียูพีเอส



อุปกรณ์อื่นๆ

นอกจากอุปกรณ์ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์บางตัว ก็ใช้กันในวงแคบ อาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันเท่าไรนัก เช่น
ลำโพง ปลั๊กไฟ ดิจิไธเซอร์สำหรับงานออกแบบ สื่อบันทึกข้อมูลความจุสูง กล้องวีดีโอสำหรับ การประชุมทางไกล กล้องถ่ายภาพดิจิตอล


Intel Pentium 4 1.6 GHz Socket 478
Intel 850 Chipset
RD RAM 128 MB
Hdd 20 Gb /7200
Fdd 1.44 Mb
CDROM 52x
Geforce 2 MX 400 64Mb TV Out
Sound on board Ac'97
Keyboard multimedia
Monitor 17” Digital
Speaker 120 W
Case 300 W
Modem 56k Internal

ความหมาย
Intel Pentium 4 1.6 GHz => ใช้ซีพียูอินเทลเพนเทียมโฟร์ ความเร็ว 1.6 GHz
Intel 850 Chipsett => เมนบอร์ดใช้ชิพเซ็ตของอินเทลรุ่น i850
RD RAM 128 MB => แรมแบบ RDRAM ขนาด 128 Mb
Hdd 20 Gb /7200 => ฮาร์ดดิสก์ความจุ 20 GB ความเร็ว 7200 rpm
Monitor 17” Digital => จอขนาด 17 นิ้ว แบบดิจิตอล
Geforce 2 MX 400 64Mb TV Out => การ์ดจอแบบ 3 มิติแบบ AGP 64 MB ต่อออกไปยังทีวีได้
CDROM 52X => ซีดีรอมความเร็ว 52x (ยี่ห้ออะไร?)
Sound on board Ac'97 => ใช้การ์ดเสียงแบบออนบอร์ด
Speaker 120 W => ลำโพงแรงขับ 120 W
Modem 56k Internal => โมเด็มติดตั้งภายในแบบ 56 K


โปรแกรมคอมพิวเตอร์คืออะไร
การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้น เราจะต้องใช้คำสั่งเฉพาะที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อควบคุม การทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเกิดจากการเขียน โปรแกรมหรือนำคำสั่ง ที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน มาเรียบเรียงเข้าด้วยกัน อย่างเป็นลำดับขึ้นตอน ตามแต่ ความต้องการของผู้เขียนโปรแกรมหรือผู้พัฒนา โปรแกรม ว่าต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรบ้าง
การมีโปรแกรมอยู่ในเครื่องเป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์ก็จะมากความสามารถตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของเครื่องหรือผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้ไร้ความสามารถ ไม่มี ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ก็ยาก ที่จะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะพบเห็นบุคคลประเภทนี้ ว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ เป็นแค่เครื่องพิมพ์ดีดเท่านั้นเอง โดยไม่คิดจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้าน คอมพิวเตอร์เลย รู้แค่ไหนก็ใช้ไปแค่นั้น ทำตัวรู้มาก จะโดนใช้งาน มีแต่คนจ้องแต่จะใช้ ให้ทำนู่นทำนี่ บางทีก็ไม่ดีเหมือนกัน
สำหรับโปรแกรมต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่นั้น เรียกว่าโปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนา หรือสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้ เราก็สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ถ้าต้องการโปรแกรมที่เหมาะสำหรับ งานของเราจริงๆ เพราะโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีอยู่บางครั้ง ก็ไม่ตรงกับความต้องการของเรา ไม่สามารถ นำมาใช้งานในองค์กร หรือหน่วยงานได้ดีเท่าที่ควร