มือถือเป็นของใช้ส่วนต้วที่มีความสำคัญอย่างมาก ผู้คนส่วนใหญ่แทบจะขาดไม่ได้เลย ทั้งใช้เพื่อความบันเทิง การสื่อสาร ฯลฯ ส่วนสำคัญของมือถือก็คือแบตเตอรี่ บทความนี้จะมาแนะนำ 11 วิธีใช้งานและดูแลแบตเตอรี่มือถือ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้มือถืออยู่กับเรานานๆ ราคาแบตเตอรี่อาจจะไม่แพง แต่ค่าแรง ค่าอะไหล่ ค่าวิชาของช่างนั้นแพง

รวมวิธีใช้งานและดูแลแบตเตอรี่มือถือ

1. ชาร์จแบตเตอรี่ 50-70% ขึ้นไป

เมื่อระดับแบตเตอรี่ลดเหลือประมาณสัก 50-70% ขึ้นไป ก็ควรหาที่ชาร์จได้แล้ว หากปล่อยให้แบตเตอรี่เหลือน้อย หรือ แทบหมด หรือ หมดเกลี้ยงบ่อยๆ ก็จะส่งผลทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว จากประสบการณ์ใช้งานมาหลายเครื่อง แนะนำว่า 70% ก็ชาร์จได้แล้ว

 

2. ใช้มือถือมาก ต้องมีหลายเครื่อง

สำหรับใครที่มีพฤติกรรมใช้มือถือค่อนข้างมาก ใช้ Facebook, Line, Youtube ฯลฯ ก็จำเป็นจะต้องมีมือถือหลายเครื่อง เพราะการมีเครื่องเดียว แบตเตอรี่หมดเร็วต้องชาร์จบ่อย การชาร์จไปด้วยใช้งานไปด้วย จะไม่ส่งผลดีต่อแบตเตอรี่และอาจจะเสี่ยงกับไฟลัดวงจร ไฟไหม้ เพราะแบตเตอรี่จะมีความร้อนสูงขึ้น อาจจะเลี่ยงไปใช้สมาร์ททีวีแทนกรณีเน้นดูหนัง ช่วยถนอมสายตามากขึ้น

 

3. มีหลายเครื่อง ปิดไวไฟเมื่อไม่ใช้งาน

สำหรับใครที่ใช้มือถือหรือแท็บเล็ตหลายเครื่อง เพื่อสลับกันใช้งาน เครื่องไหนไม่ใช้ หรืออยู่ระหว่างชาร์จ การปิดไวไฟ จะช่วยประหยัดแบตเตอรี่ไม่น้อยเลย จากที่ทดสอบแบตเตอรี่จาก 100% เมื่อปิดไวไฟ กว่าจะลดแต่ละ 1 % ใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่เปิดไวไฟไว้ แบตเตอรี่หมดเร็วหลายเท่าตัว ซึ่งเป็นผลมาจากตัวเครื่องเองที่ใช้ไวไฟ และ แอปบางตัวก็ใช้การเชื่อมต่อเน็ตในเบื้องหลัง จึงทำให้แบตเตอรี่หมดเร็ว

 

4. ใช้อุปกรณ์อื่นแชร์ฮอตสปอตแทนมือถือ

สำหรับใครที่ใช้มือถือหลายเครื่อง ไม่มีเน็ตบ้าน ต้องแชร์ฮอตสปอตผ่านมือถือหรือแท็บเล็ต วิธีนี้ก็จะทำให้มือถือที่ทำหน้าที่แชร์เน็ต แบตเตอรี่หมดเร็ว เมื่อหมดเร็ว ก็ต้องชาร์จบ่อยๆ ชาร์จบ่อยๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียกับแบตเตอรี่ หรือรูชา์จ ชุดสายแพร์ชาร์จ อาจจะเริ่มมีปัญหา ชาร์จไม่เข้าบ้าง ช้าลงบ้าง หรือชาร์จมาก

 

ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้อุปกรณ์อื่นแชร์เน็ตแทน เช่น พ็อกเก็ตไวไฟ USB เราเตอร์ไวไฟใส่ซิม แต่ละแบบจะมีข้อดี ข้อเสียต่างกัน จำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ส่วนตัวแล้วแนะนำ USB เราเตอร์ไวไฟใส่ซิม มีความยืดหยุ่นมากกว่า อยู่บ้าน ในรถ ที่ทำงาน ก็เสียบกับหัวชาร์จมือถือเพื่อจ่ายไฟ ออกนอกสถานที่ก็เสียบกับพาวเวอร์แบงก์

 

5. พกหัวชาร์จหรือพาวเวอร์แบงก์ติดตัว

หัวชาร์จควรพกติดเพื่อจะได้ชาร์จแบตเตอรี่ได้ทันทีเมื่อมีการเดินทาง ส่วนพาวเวอร์แบงก์ก็จำเป็นจะต้องมีติดตัวเช่นกัน โดยเลือกใช้พาวเวอร์แบงก์ที่ใช้ประโยชน์อื่นได้มากที่สุด เช่น แบบมีพัดลมในตัว ใช้เป็นพัดลมได้ มีไฟฉายในตัว กรณีนี้ก็จะใช้ประโยชน์ได้บ่อยๆ และคู้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

 

6. เลือกมือถือรุ่นที่เปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้ง่าย

หากกำลังมองหามือถือใหม่ โดยเฉพาะหากเน้นเป็นเครื่องสำรอง ควรเน้นรุ่นที่สามารถถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้ไม่ยาก อนาคตเมื่อแบตเตอรี่เสื่อม ก็จะสามารถทำเองได้

 

7. ตั้งเวลาเปิด ปิดเครื่อง ให้ได้พักบ้าง

กรณีมีมือถือหลายเครื่อง การตั้งเวลาเปิดปิดเครื่อง จะช่วยประหยัดแบตเตอรี่ได้ เหมาะสำหรับใครที่ขี้เกียจเปิดปิดไวไฟบ่อยๆ ก็ใช้วิธีนี้แทนได้ เฉพาะมือถือหลักเท่านั้น ที่ไม่ปิดเครื่อง เผื่อว่ามีใครติดต่อเข้ามา หรือเรื่องฉุกเฉิน

 

8. เครื่องร้อน ถอดเคสขณะใช้งานหนัก

การใช้มือถือต่อเนื่อง โดยเฉพาะใช้แอปที่กินกำลังเครื่องมาก เช่น เล่นเกม ตัดต่อวิดีโอ เครื่องจะร้อนมาก จึงควรถอดเคสขณะใช้งาน เพราะเครื่องจะร้อน ความร้อนจะส่งผลเสียต่อแบเตอรี่

 

9. จะซื้อเครื่องใหม่ เน้นมือถือแบตเตอรี่ความจุสูง

เมื่อพบว่าตัวเองมีพฤติกรรมใช้งานมือถือมากขึ้น การตัดสินใจซื้อเครื่องใหม่ ควรเน้นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ความจุสูงๆ ไว้ก่อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้นานๆ

 

10. ใช้หัวชาร์จแม่เหล็กช่วยถนอมรูชาร์จ

เมื่อใช้งานมือถือค่อนข้างมาก และชาร์จบ่อยๆ ก็ควรหาวิธีถนอมรูชาร์จไม่ให้พังเร็ว เช่น ใช้หัวชาร์จแม่เหล็กมาช่วย จะไม่ต้องถอดหัวชาร์จ เสียบเข้า ถอดออกบ่อยเกินไป จนทำให้เกิดปัญหา แต่วิธีนี้ก็ใช่ว่าจะช่วยป้องกันได้ เพราะความเสียหายอาจจะไปเกิดกับวงจรการชาร์จ ซึ่งต้องเปลี่ยนทั้งแผง เป็นเรื่องต้องทำใจ มือถือที่ชาร์จบ่อยๆ โดยเฉพาะมือถือราคาถูก ใช้วัสดุไม่ดีนัก อาจจะมีปัญหาเร็วมาก

 

11. มือถือรุ่นที่ใช้นั้น มีโอกาสลัดวงจรหรือไม่

มือถือแต่ละรุ่นจะมีโอกาสเกิดการลัดวงจรได้ โดยเฉพาะรุ่นที่ตัวถังเป็นโลหะ อย่าง 2 เครื่องนี้ ขณะเสียบสายชาร์จต้องระวัง อย่างกรณีชาร์จกับคอมพิวเตอร์ อย่าไปโดนหัวชาร์จที่เป็นโลหะ ต้องไม่ยืนเท้าเปล่ากับพื้นปูน พื้นหินอ่อน โดยเฉพาะ iPhone เครื่องนี้ด้วยแล้ว การกดปุ่มโฮมขณะเสียบสายชาร์จมักจะช็อตเบาๆ ทำให้สะดุ้งบ่อยๆ บางคนนอนเล่นจนหลับไป หากเผลอวางขวดน้ำไว้ใกล้ตัว ก็อาจจะเกิดอันตรายได้หากทำขวดน้ำล้ม เรื่องแบบนี้ก็ต้องหาทางป้องกันไว้ก่อน

 

 

ถนอมสุขภาพคนด้วย

หากมีพฤติกรรมใช้งานมือถือค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะใช้โซเชียล เฟสบุ๊ค ยูทูป Tiktok ฯลฯ เมื่อแบตเตอรี่อึดทน หรือ มีหลายเครื่องให้ใช้งาน บางคน รวมทั้งผู้เขียนด้วยจึงติดมือถืออย่างมาก สุขภาพตา ไปแล้ว เริ่มแย่ ส่วนสุขภาพอวัยวะภายในนั้นไม่รู้ เพราะใช้งานหนักมาก นอนตี 3 -4 แทบทุกวัน

 

Sponsored Ads