ตัวอย่างการจดโดเมนเว็บไซต์เพื่อใช้งานกับ Blogger.com แทนการใช้ชื่อฟรีโดยมีคำว่า blogspot.com ติดมาด้วย เช่น aosphone.blogspot.com การจดโดเมนจะได้ชื่อเว็บไซต์ของเราเองเป็น aosphone.com ดูน่าเชื่อถือกว่า การทำบล็อกอย่างจริงจัง อย่างน้อยที่ต้องมีโดเมน เว็บไซต์เป็นของตนเองแบบนี้

ตัวอย่างการจดโดเมนที่ Hostinglotus

ในการจดโดเมนนั้น ปกติผู้เขียนก็จะมีเจ้าประจำที่ใช้บริการเป็นประจำอยู่แล้ว ก็คือที่ Hostinglotus.com ซึ่งเมื่อก่อนคิดค่าจดโดเมน 289 บาท หลัง จากเงินบาท่อนค่าไปเกือบ 37 บาท ตอนนี้ก็ได้ปรับราคาขึ้นมา 320 บาทต่อปี


หลังจากจดโดเมนเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ให้บริการก็จะส่งข้อมูลการเข้าไปจัดการกับโดเมนดังภาพ ไว้เข้าไปตั้งค่าเพื่อชี้โดเมนไปยัง Blogger.com

 

การตั้งค่าใช้งานโดเมนที่อื่นกับ Blogger

หลังจากได้จดโดเมนกับ Hostinglotus เรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องมาตั้งค่าการใช้งานใน Blogger ดังนี้
1. เข้าระบบ Blogger
2. ไปที่ การตั้งค่า
3. คลิก พื้นฐาน
4. ในส่วน การเผยแพร่ คลิก + ตั้งค่า URL ของบริษัทอื่นสำหรับบล็อกของคุณ


5. คลิกและพิมพ์ชื่อโดเมน ต้องการนำมาใช้งานกับ Blogger เช่น www.aosphone.com
6. บันทึก


7. จะปรากฏหน้าจอแจ้งข้อผิดพลาด เรายังไม่สามารถยืนยันสิทธิของคุณในโดเมนนี้ได้ ข้อผิดพลาด xx
8. ให้ก็อปปี้ข้อมูลคล้ายตัวอย่างด้านล่างนี้เอาไว้ เราจะนำไปตั้งค่าให้กับโดเมนของเราในระบบของผู้ให้บริการจดโดเมนที่ hostinglotus

ฟิลด์ ชื่อ, ป้ายกำกับ หรือ โฮสต์ ฟิลด์ ปลายทาง, เป้าหมาย หรือ ชี้ไปที่
www ghs.google.com
nsnvcclggtnx gv-za3rwrhy3z2cjo.dv.googlehosted.com
9. คลิก ยกเลิก ไปก่อน เราจะมาจัดการอีกทีภายหลัง

 

ตั้งค่า โดเมน ที่อื่นเพื่อใช้กับ Blogger

เข้าระบบของการจัดการโดเมนที่เราได้จดโดเมนไว้ ซึ่งผู้เขียนได้จดโดเมนไว้ที่ Hostinglotus.com ก็จะตั้งค่าดังนี้
1. เข้าระบบจัดการโดเมนของ Hostinglotus


2. คลิกที่ Manage Orders>>List/Search Orders
3. คลิกชื่อโดเมนที่ต้องการชี้ไปยัง Blogger เช่น aosphone.com


4. ในหน้าจอนี้ เลื่อนไปยังส่วน DNS Management
5. คลิก Manage DNS


6. คลิก CNAME Records
7. คลิก Add CNAME Record


8. ตั้งค่า Host Name: ช่องนี้ให้ปล่อยวาง
9. ช่อง Value : = ghs.google.com
10. คลิกปุ่ม Add Record


11. คลิก Add CNAME Record อีกครั้ง


12. ตั้งค่า Host Name: = www
13. Value : = ghs.google.com
14 คลิกปุ่ม Add Record


15. คลิก Add CNAME Record อีกครั้ง


16. ตั้งค่า Host Name: nsnvcclggtnx
17. ช่อง Value : gv-za3rwrhy3z2cjo.dv.googlehosted.com
18. คลิกปุ่ม Add Record


19. ผลที่ได้
20. ปิดหน้าจอการตั้งค่า CNAME


21. กลับไปที่หน้าจอหลักการจัดการกับโดเมน ในส่วน DNS Management คลิก Configure Now


22. คลิก Fix Name Servers Automatically


23. หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะแสดงหน้าจอได้ตั้งค่า Nameserver เรียบร้อยแล้ว ต้องรอประมาณ 24-72 ชั่วโมง จึงจะเรียกใช้งานได้

 

กลับไปตั้งค่าเกี่ยวกับโดเมนอีกครั้งใน Blogger

ขั้นตอนสุดท้ายในการตั้งค่าโดเมนที่อื่นเพื่อใช้กับ Blogger ให้กลับไปที่ Blogger อีกครั้ง ไป
1. ไปที่การตั้งค่า
2. คลิก พื้นฐาน
3. คลิก + ตั้งค่า URL ของบริษัทสำหรับบล็อกของคุณ


4. คลิกและพิมพ์ www.aosphone.com
5. คลิก บันทึก


6. ตอนนี้โดเมนที่อื่นถูกเพิ่มเข้ามาเรียบร้อยแล้ว การตั้งค่าโดเมนที่อื่นเพื่อใช้กับ Blogger เสร็จสมบูรณ์
7. แต่ยังต้องตั้งค่าอีกเล็กน้อย ให้คลิก แก้ไข


8. คลิกติ๊กถูก เปลี่ยนเส้นทาง aosphone.com ไปที่ www.aosphone.com เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ กรณีจะเข้าเว็บไซต์
- aosphone.com
- www.aosphone.com
9. คลิก บันทึก เสร็จสิ้นการตั้งค่าโดเมน สุดมาราธอน

 

จบบทความสอนการชี้โดเมนที่จดไว้ที่อื่นมาใช้งานใน Blogger ตอนนี้ต้องรอประมาณ 24-72 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบทำการชี้โดเมนมายังบัญชีบล็อก เกอร์ของเรา

ทดสอบการเข้าใช้งานหลังชี้โดเมนไปที่ Blogger

หลังจากปล่อยให้เวลาผ่านไปสักพักใหญ่ ก็ลองเข้าเว็บไซต์ด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บก็สามารถใช้งานได้แล้ว 1. ผู้เขียนปล่อยไห้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง แล้วลองเข้าเว็บไซต์ โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ เช่น aosphone.com 2. ตอนนี้ก็สามารถเข้าใช้งานได้แล้ว

 

หมายเหตุ

ซึ่งการตั้งค่าให้โดเมนที่จดไว้ที่ hostinglotus ชี้มาที่ blogger.com แบบนี้ ผู้เขียนตั้งค่าเพื่อทดสอบและจับภาพมาทำบทความเท่านั้นเอง แล้วก็จะยก เลิกการทำงาน ชี้โดเมนไปใช้งานที่อื่น การใช้งานบล็อกนี้ จะใช้ชื่อเดิมก็คือ aosphone.blogspot.com และในกรณีที่ได้ชี้โดเมนมาที่ Blogger แบบนี้ เราจะ สามารถเข้าเว็บบล็อกได้ 2 วิธีก็คือ
1. พิมพ์ชื่อบล็อกของเราตามชื่อมาตรฐานเช่น aosphone.blogspot.com
2. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์เช่น aosphone.com หรือ www.aosphone.com

 

คำแนะนำ

ในการทำเว็บไซต์เพื่อใช้งานจริง แนะนำให้ศึกษา ข้อดีข้อเสียการใช้โดเมนกับ Blogger.com ก่อนจะใช้งานจริง แต่ผู้เขียนอยากแนะนำให้เพิ่มเงินอีกหน่อย เพื่อจ่ายค่าเช่าพื้นที่ทำเว็บไซต์อีกประมาณ 300 กว่าบาทขึ้นไป ก็จะสามารถจัดการกับข้อมูลในเว็บไซต์ ของเราได้ทุกอย่าง เพราะเป็นของเราแทบร้อยเปอร์เซ็น หากเน้นการทำเว็บไซต์เพื่อหาเงินออนไลน์ ไม่ควรใช้พื้นที่ฟรีแบบนี้ เว็บไซต์หากทำเนื่อง ก็จะ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อนาคตมีปัญหาแน่นอนกับการใช้พื้นที่ฟรีแบบนี้

การย้ายข้อมูลออกไปยังพื้นที่ใหม่ อาจจะส่งผลให้ URL ผิดพลาด ผู้เข้าชมก็จะหายไป สร้างความเสียหายอย่างมาก ถ้าจะทำเว็บขนาดใหญ่ หรือวาง แผนทำเว็บอย่างต่อเนื่อง อย่าทำแบบนี้เลย กล้าลงทุนอีกหน่อยดีที่สุด

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน :

แชร์บทความนี้ : 

 

Sponsored Ads