Sponsored Ads


ก่อนอื่นเราลองนึกถึงตรายางที่ใช้ประทับตราโรงเรียนโล้โก้ต่างๆ ลักษณะของตรายาง ตรงพื้น จะถูกแกะเป็นรูปภาพสัญลักษณ์ หรือข้อความ ในการใช้งาน จะใช้ตรายางทาบที่หมึกแล้วนำไปปั้มลงบน กระดาษ ลักษณะของเพลทก็คล้ายๆ กับตรายาง ลักษณะ การใช้งานคล้ายๆ กัน เพียงแต่เพลทจะเป็นแผ่น สังกะสีด้านหนึ่งราบเรียบ แต่อีกด้านหนึ่งถูกแกะเป็นรูปภาพหรือข้อความ ตามแต่การออกแบบหนังสือ แต่ละหน้าของนักออกแบบ
เพลทมีสองแบบ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพลทแบบเดียวเท่านั้น เพราะเป็นเพลทที่ใช้กันอยู่ในระบบการ พิมพ์แบบออฟเซ็ท เรียกว่า เพลทออฟเซ็ท ลักษณะจะเป็นแผ่นสังกะสี เนื้อเพลทถูกแกะเป็นภาพหรือข้อความตามแต่การออกแบบแต่ละหน้าของหนังสือ เมื่อนำไปใช้งาน ส่วนที่เป็นภาพซึ่งจะถูกเคลือบด้วยน้ำยา จะทำหน้าที่รับหมึก ส่วนที่เป็นพื้นขาวจะไม่รับหมึก เมื่อคลึงหมึกลง บนกระดาษ จึงติดเป็นรูปเฉพาะจาก ส่วนของเพลทที่รับหมึก


ในการพิมพ์จะนำเพลทไปติดเข้ากับแท่นพิมพ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่นทรงกลม มี 3 ส่วนด้วยกัน ส่วน A เป็นเพลทลูกคลึงหมึก ทำหน้าที่ทาหมึกลงบนเพลท ทำให้ภาพหรือข้อความที่แกะไว้บน เพลทถูกถ่าย ติดไปกับส่วน B ซึ่งเป็นยางซึ่งจะทำหน้าที่ปั๊มหรือถ่าย ภาพหรือข้อความลงบนกระดาษอีกที ก็จะปรากฏภาพ หรือข้อความออกมาตามที่ได้ออกแบบไว้

 

เพลทจะสัมพันธ์กับสีที่ใช้ในการพิมพ์ หากเป็นการพิมพ์ขาวดำ จะใช้เพลทเพียง 1 เพลท ทาหมึกสีดำ <I>(Black) ลงบนเพลท เมื่อเครื่องพิมพ์ทำงานน้ำหมึกจะถูกถ่ายลงบน กระดาษกลายเป็นภาพขาวดำตามต้องการ การพิมพ์ในลักษณะนี้อาจเรียกว่า การพิมพ์ สีเดียว อาจพิมพ์โดยใช้สีฟ้า (C) สีบานเย็น (M) สีเหลือง (Y) หรือสีดำ (K) แล้วแต่ความต้องการของผู้ผลิตหนังสือ แต่การพิมพ์ ด้วยสีดำจะให้ภาพที่คมชัดและเป็น ที่นิยมพิมพ์มากกว่า


หากเป็นการพิมพ์สี เช่น พิมพ์สี่สี ก็แสดงว่าใช้เพลท 4 แบบ คือ ฟ้า (C) บานเย็น (M) เหลือง (Y) และดำ (K) ต้นทุนการ ผลิตหนังสือแบบสี่สี จึงแพงกว่าการพิมพ์หนังสือแบบสีเดียวหรือขาวดำ เพราะต้อง ใช้หมึกพิมพ์และเพลทถึง 4 แบบและต้องพิมพ์ 4 ครั้ง ในครั้งแรกอาจพิมพ์ด้วยสีเหลือง พิมพ์เสร็จเปลี่ยน เพลทเป็นสีบานเย็น และใส่กระดาษที่ได้พิมพ์ด้วยสีเหลืองเสร็จแล้ว เข้าไปอีกครั้ง จากนั้นจึงพิมพ์สีบาน เย็นทับลงไป การพิมพ์สีฟ้าและสีดำก็ปฏิบัติคล้ายๆ กัน ก็จะได้ภาพสี่สีออกมาตามต้องการ ขั้นตอน ยุ่งยากกว่า ในขณะที่การพิมพ์สีเดียวพิมพ์ครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย ไม่ต้องเปลี่ยนเพลท เปลี่ยนหมึก เปลี่ยน กระดาษ แต่ขั้นตอนทั้งหมดอาจยุ่งยากสำหรับคนเท่านั้น ไม่ยุ่งยากสำหรับเครื่องพิมพ์ เพราะสามารถพิมพ์ ออกมาได้ในขั้นตอนเดียว

ภาพหรือข้อความในหน้าหนังสือที่เราออกแบบไว้ ที่มีสีต่างๆ ผสมกันนั้น เมื่อนำไปทำเพลท สี ทั้งหมดจะถูกแยกออก เป็นสีเหลือง สีฟ้า สีบานเย็น และสีดำด้วยเครื่องแยกสี ในขั้นตอนนี้จะเป็นหน้า ที่ของร้านแยกสีทำเพลท หน้าที่ของนักออกแบบก็คือ การกำหนดสีให้ถูกต้องตามตาราง เทียบสีและจัดรูป เล่มอย่าให้ผิดพลาดเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรยุ่งยาก