การแต่งประโยคภาษาอังกฤษที่ขึ้นต้นด้วย ฉัน หรือ I และสรรพนามที่เกี่ยวโยงกันอย่าง me, my, mine และ myself จะใช้ค่อนข้าง บ่อย ในบทความนี้จะพยายามรวบรวมตัวอย่างประโยคแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์พูดคุยกับชาวต่างชาติได้

 

ประโยคภาษาอังกฤษที่ขึ้นต้นด้วย I หรือ ฉัน... มีเยอะมาก และเวลากับชาวต่างชาติ เราก็มักจะขึ้นต้นด้วย I... เสมอ โดยเฉพาะ I don't know / ไอ ด๊อนทฺ โน / ฉันไม่รู้ ตัวอย่างประโยคการใช้ I และสรรพนามที่เกี่ยวข้องกันต่อไปนี้ อาจจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถพูดได้ เก่งขึ้น แต่งประโยคได้หลายแบบ

 

การใช้ I / ไอ เบื้องต้น

การแต่งประโยคขึ้นต้นด้วย I/ไอ/ หรือฉัน จะเป็นประโยคที่ต้องใช้อยู่บ่อยๆ ในการสนทนา คำว่า I เป็นคำสรรพนามแทนชื่อผู้พูด เช่น ฉันกินข้าว ฉันไปโรงเรียน ฉันไม่รู้...

วิธีใช้งานพื้นฐาน จะใช้ I + กริยาที่ต้องการ เช่น
I smile. / ไอ สมายเลอะ / ฉันยิ้ม
I want to be with you. / ไอ ว้อนท์ ทู บี วิธ ยู / ฉันอยากอยู่กับคุณ
I see. / ไอ ซี / ฉันเข้าใจ
I eat banana / ไอ อีท บานาน่า / ฉันกินกล้วย

คำกริยามีเยอะมาก เช่น กิน เดิน วิ่ง กระโดด อาบน้ำ นอน คลาน ไป พบ ทิ้ง ตะโกน ฯ,ฯ อยากจะใช้คำว่าอะไร ก็จับมาใส่หลังคำว่า ไอ / I

ทุกวันนี้เราใช้มือถือกันเป็นส่วนมาก แนะนำให้ติดตั้งแอป ดิกชันนารี อังกฤษ-ไทย Thai English Dictionary Bravolol - Language Learning แอปนี้ดีมากๆ เราสามารถค้นหาคำที่ต้องการ เช่น เรียนหรือ learn/เลิน ก็จะมีทั้งตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษและการออก เสียง ซึ่งสามารถแต่งประโยคได้ง่ายๆ ด้วยการนำมาต่อหลัง I อย่าง I learn cooking. / ไอ เลิน คุ๊กกิ้ง/ ฉัน เรียน ทำอาหาร เป็น ต้น

 

การใช้ I ตาม Tense /เท้นสฺ

การแต่งประโยคขึ้นต้นด้วย ฉัน หรือ I ตามกาลหรือ Tense/เท้นสฺ ซึ่งจะแยกเป็น อดีต ปัจจุบัน และอนาคต การพูดถึงเรื่องราวใน อดีต ก็ต้องแต่งโปรโยคโดยใช้คำกริยาให้ถูกต้อง ซึ่งคำกริยาจะมี 3 แบบ หรือเรียกว่า กริยา 3 ช่อง ที่จะต้องใช้ให้ถูกต้อง เช่น
- อดีต I learned coooking / ไอ เลินดฺ คุ้กกิ้ง / เล่าเรื่องในอดีต ว่าฉันเคยเรียนทำอาหาร แต่ปัจจุบันไม่ได้เรียนแล้ว จบคอร์สแล้ว
- ปัจจุบัน I learn cooking. / ไอ เลิน คุ๊กกิ้ง/ ฉัน เรียน ทำอาหาร เล่าเรื่องในปัจจุบัน อาจจะวันนี้ เวลานี้ ยังเรียนไม่จบ
- อนาคต I will learn cooking. / ไอ วิล เลิน คุ๊กกิ้ง/ ฉัน จะ เรียน ทำอาหาร เล่าถึงสิ่งที่จะทำในอนาคต อาจจะพรุ่งนี้ อาทิตย์หน้า ปี หน้า

การใช้ I ตาม Tene / เท้นสฺ ไม่ยาก ต้องศึกษาการเปรียนคำกริยาให้เป็นอดีตซึ่งจะใช้การเดิม ed และคำกริยา 3 ช่อง แต่หากไม่มี พื้นฐานมาก่อน จะใช้คำกริยาที่มีความหมายว่าปัจจุบัน ชาวต่างชาติก็พอจะเข้าใจ เพราะคนไทยเราไม่มีประโยคในลักษณะนี้ การพูดว่า ฉันเรียนทำอาหาร เราก็พูดเหมือนๆ กัน

ตัวอย่างการเติม ed สำหรับคำกริยา กรณีเป็นการเล่าเรื่องในอดีต เช่น
learn /เลิน/เรียนรู้ เป็นคำกริยาที่หมายถึงปัจจุบัน หรือเรียกว่า V1 คำกริยาช่องที่ 1
learned /เลินดฺ/เรียนรู้ เป็นคำกริยาที่หมายถึงอดีต หรือเรียกว่า V2 หรือ V3 เป็นคำกริยาช่องที่ 2 หรือช่องที่ 3

ศึกษาการ การใช้ Tense ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างประโยค คำอ่าน คำแปล ได้ที่นี่

 

การใช้ I กับ Verb to Be ฉันเป็น.. ฉันอยู่.. ฉันคือ...

Verb to be จะมีหลายแบบ เช่น is, am, are, was, were และ been สำหรับ ฉัน/I จะใช้กับ am/แอม และ was/เวิส
การใช้ฉันหรือ I กับ Verb to Be /เวิร์บทูบี จะใช้บ่อยมาก โดยจะใช้ในความหมายดังนี้

การพูดถึงสิ่งที่เป็นปัจจุบันเรื่องในเวลานี้ ทุกวันนี้ ขณะนี้

ฉันเป็น.. เช่น I am a teacher. / ไอ แอม อะ ทีเช่อะ / ฉัน เป็น ครู ปัจจุบันนี้ยังเป็นครู สอนอยู่
ฉันอยู่.. เช่น I am at home. / ไอ แอม แอท โฮม / ฉัน อยู่ ที่ บ้าน ตอนนี้อยู่ที่บ้าน มาก็เจอ
ฉันคือ...เช่น I am a new manager of this company. / ไอ แอม อะ นิว เมเนเจอะ ออฟ ดิส คัมพานี / ฉันคือผู้จัดการคนใหม่ของ บริษัทนี้ ขณะนี้ก็ยังทำงานอยู่

การพูดถึงเรื่องที่เป็นอดีตผ่านมาแล้ว ไม่ได้ทำอีกแล้ว

ฉันเป็น.. เช่น I was a teacher. / ไอ เวิส อะ ทีเช่อะ / ฉัน เคย เป็น ครู เป็นเรื่องในอดีต ปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นแล้ว ลาออกแล้ว ฉันอยู่.. เช่น I was at home. / ไอ เวิส แอท โฮม / ฉัน ได้ อยู่ ที่ บ้าน เป็นเรื่องในอดีต อาจจะคุยถามว่า เมื่อวานอยู่ที่ไหน ก็จะตอบ ว่า เมื่อวานอยู่ที่บ้านจะต้องพูดด้วยประโยคแบบนี้
ฉันคือ...เช่น I was a new manager of this company. / ไอ เวิส อะ นิว เมเนเจอะ ออฟ ดิส คัมพานี / ฉันคือผู้จัดการคนใหม่ของ บริษัทนี้ เคยเป็น เคยทำงานที่บริษัทนี้ แต่ปัจจุบันลาออกไปทำงานที่บริษัทอื่นแล้วหรือเกษียณแล้ว

 

การใช้ I กับ Been/บีน จะใช้ในความหมายว่าเคย...

I have been there for 3 hours. / ไอ แฮฟ บีน แดร์ ฟอร์ ทรี อาวเออะสฺ / ฉันได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แต่ขณะที่พูดนั้น ไม่ ได้อยู่แล้ว หากเทียบกับภาษาไทยเราแล้ว อาจจะเป็นการสนทนากันเกี่ยวกับการเดินทางไปสถานที่ใดๆ อาจจะเป็นการจัดงาน นิทรรศการ โดยอาจจะถามว่า ได้ไปงานนิทรรศการไหม คนตอบ อาจจะตอบว่า ไป ฉันได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก็จะพูดด้วย ประโยคในลักษณะนี้ แต่ขณะที่พูด อาจจะเป็นช่วงเวลาก่อนเที่ยง ไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเช้า

 

การใช้ I กับ Verb to Have ฉันมี.. ฉันได้..แล้ว

ประโยคขึ้นด้วยด้วย ฉัน / I กับคำกริยา Have/แฮฟ หมายถึง ฉันมี หรือฉันได้ .. เช่น
การใช้ I กับ have ในเรื่องที่เป็นปัจจุบัน

การใช้ในความหมายว่า ฉันมี..
I have two dogs. / ไอ แฮพ ทู ด้อกซฺ / ฉันมีสุนัขสองตัว

การใช้ในความหมายว่า ฉันได้กระทำ กรณีนี้จะใช้ have เป็นกริยาช่วย จะไม่แปลว่า ได้มี
I have been there for 3 hours. / ไอ แฮฟ บีน แดร์ ฟอร์ ทรี อาวเออะสฺ / ฉันได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ในกรณีนี้จะแปลว่า ฉัน ได้กระทำอะไร ซึ่งก็คือ ฉันได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง เมื่อเช้าอาจจะนัดเจอกัน ก็ไปรออยู่ 3 ชั่วโมง เป็นต้น จะใช้ have + กริยาช่องที่ 3
I have drunk coffee. / ไอ แฮฟ ดรัง คอฟฟี่ /ฉันได้ดื่มกาแฟ แต่ขณะที่พูดไม่ได้ดื่มแล้ว อาจจะดื่มเมื่อเช้า drunk เป็นคำกริยาช่อง 3 ของ drink แปลว่า ดื่ม

การใช้ I have + กริยาช่องที่ 3 จะใช้ในความหมายว่า ได้ทำสิ่งนั้นๆ ไปแล้ว ภายในวันนั้น และขณะที่พูด ก็ไม่ได้ทำอีกแล้ว ประโยค ที่เราจะใช้บ่อยๆ เช่น การถามว่า เมื่อเช้ากินข้าวหรือยัง กินข้าวหรือยัง กินกาแฟหรือยัง อาบน้ำหรือยัง ทำ... หรือยัง เป็นการถามใน เรื่องที่เกี่ยวกับปัจจุบันเวลานั้น วันนั้น เท่านั้น ก็ใช้ประโยคแบบนี้

อาจจะเติม already มีความหมายว่า แล้ว เพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ขึ้น
I have drunk coffee already. / ไอ แอฟ ดรัง คอฟฟี่ ออลเรดดี้ / ฉันได้ดื่มกาแฟแล้ว (เมื่อเช้า ดื่มวันละแก้ว จะชวนดื่มตอนนี้เดี๋ยว จะนอนไม่หลับ)

 

การใช้ I กับ have ในเรื่องที่เป็นอดีต ผ่านไปแล้ว

กรณีนี้จะใช้ในความหมายว่า ฉันเคยมี เช่น
I had two dogs. / ไอ แฮด ทู ด้อกซฺ / ฉันเคยมีสุนัขสองตัว แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว ไม่ได้เลี้ยงอีกแล้ว

การใช้ในความหมายว่า ฉันได้กระทำ หรือเคยกระทำ เรื่องใดๆ ในอดีต เช่น
I had been there for 3 hours. ไอ แฮด บีน แดร์ ฟอร์ ทรี อาวเออะสฺ / ฉันได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง เมื่อวาน หรือในวันที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบแล้ว อาจจะถามว่า เมื่อวานได้ไปเที่ยวงานมอเตอร์โชว์หรือไม่ ก็อาจจะตอบว่า ไป ฉันได้ไปอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง

 

การใช้ I กับ Verb to Do ฉันทำ...

ประโยคขึ้นด้วยด้วย ฉัน / I กับคำกริยา Do /ดู หมายถึง ฉันทำ หรือฉันเคยทำ.
การใช้ I และ Do พูดถึงสิ่งที่เป็นปัจจุบัน วันนี้ เวลานี้ ขณะนี้
I do my homework. / ไอ ดู มาย โฮมเวิร์ค / ฉันทำการบ้าน

การใช้ I กับ Do อาจจะใช้ในการตอบคำถาม เช่น เช่น ถามว่า เธอทำการบ้านเสร็จหรือยัง คนตอบก็จะตอบว่า Yes, I do. ฉันได้ทำ แล้ว
การใช้ I do / ไอ ดู / ฉันได้ทำ ฉันยอมรับในสิ่งที่ทำ ฉันทำแล้ว ก็จะใช้ ไอ ดู

การใช้ I และ Do พูดถึงสิ่งที่เป็นอดีต เรื่องเมื่อวาน หรือวันที่ผ่านมา

I did my homework at school. / ไอ ดิด มาย โฮมเวิร์ค แอท สกูล / ฉันทำการบ้านที่โรงเรียน อาจจะพูดในสถานการณ์ เช่น แม่ ถามลูกว่า ทำการบ้านหรือยัง ลูกก็ตอบว่า ทำแล้ว ฉันทำการบ้านที่โรงเรียน เมื่อวานเลิกเรียนแล้ว ก็นั่งทำการบ้านต่อ ระหว่างรอพ่อแม่ มารับ เป็นต้น

การใช้ do เพื่อเน้นถึงความรู้สึก เช่น
I love you. / ไอ เลิฟ ยู / ฉันรักเธอ การบอกรัก เราอาจจะพูดแบบนี้ เป็นประโยคที่คนไทยรู้จักดีอย่างแน่นอน เพราะเรานิยมพูดกัน มาก
I do love you. / ไอ ดู เลิฟ ยู / ฉันรักเธอจริงๆ นะ เน้นว่า รักมาก ไม่ใช่แค่ ฉันรักเธอเฉยๆ ส่วนใหญ่เราจะใช้เมื่ออีกฝ่ายชวนเลิก งอน ทะเลาะกัน ก็ต้องง้อด้วยคำว่า I do love you ฉันรักจริงๆ นะ ทิ้งฉันไม่ได้นะ เน้นหนัก ว่ารักมากกกก แล้วก็มักจะง้อสำเร็จ

อะไรก็ตามที่รู้สึกว่า ชอบมาก หลงไหลมาก อยากจะพูดออกไป ให้ใช้ I do + v1 ฉัน...มาก

 

การใช้ I กับ Can, Could ฉันสามารถ...

การใช้ I กับ Can จะใช้ในความหมายว่า ฉันสามารถกระทำอะไรได้บ้าง ฉันสามารถ....
การใช้ I can จะใช้ในการพูดเรื่องที่เป็นปัจจุบัน
I can drive a car. / ไอ แคน ไดรฟฺ อะ คาร์ / ฉันสามารถขับรถได้

อยากจะบอกใครๆ ว่าสามารถทำอะไรได้ ก็สามารถแต่งประโยคง่ายๆ ด้วยการใช้ I can + คำกริยาช่องที่ 1

การใช้ I could ฉันสามารถ.. ใช้เล่าเรื่องที่เป็นอดีต

I could drive when i was ten. / ไอ คู้ด ไดรฟฺ เว้น ไอ เวิส เทน / ฉันสามารถขับรถได้ตั้งแต่ฉันมีอายุสิบขวบ

 

การใช้ I กับ Will, Would ฉันจะ...

การใช้ I will... จะใช้ในความหมายว่า ฉันจะ... เป็นการใช้ในความหมายถึง การจะทำอะไรในอนาคต

I will eat fried rice tomorrow.
ไอ วิล อีท ฟราย ไรซฺ ทูโมโรว์
ฉันจะกินข้าวผัดในวันพรุ่งนี้

หากต้องการแต่งประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ฉันจะทำอะไรในอนาคต... ให้ใช้ I will + คำกริยา เช่น ฉันจะไป..., ฉันจะทำ..., ฉันจะ ฯลฯ

 

การใช้ I กับ Shall, Should ฉันควรจะ....

การแต่งประโยคที่ขึ้นต้นด้วย I shall จะใช้ในความหมายว่า ฉันจะ... คล้าย I will
I shall go to school tomorrow.
ไอ ชอลล โก ทู สกูล ทูโมโร
วันพรุ่งนี้ฉันจะไปโรงเรียน

การใช้ I should have + กริยาช่องที่ 3 ในพูดในสิ่งที่ควรจะทำ แต่ไม่ได้ทำ หากเปรียบเทียบกับภาษาไทยเราแล้ว จะเป็นการพูดใน ลํกษณะการโทษตัวเองมากกว่า ว่าควรจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุอย่างนั้นอย่างนี้ตามมา
I should have told her the truth before she left.
ไอ ชู้ด แฮฟ โทล เฮอ เดอะ ทรูธ บีฟอร์ ชี เลฟทฺ
ฉันควรจะบอกความจริงเธอก่อนที่เธอจะจากไป ควรจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ จะใช้ประโยคในลักษณะนี้

 

การใช้ I กับ May, Might ฉันอาจจะ...

การใช้ I may/ไอ เมย์ หรือ I might /ไอ ไม๊ธฺ ในความหมายว่า ฉันอาจจะ

การใช้ I may /ไอเมย์
I may arrive at noon.
ไอ เมย์ อะไรฟฺ แอท นูน
ฉันอาจจะมาถึงตอนเที่ยง

หากต้องการแต่งประโยคที่ขึ้นต้นด้วย ฉันอาจจะ ก็ใช้ I may + คำกริยาช่อง 1 ได้เลย การใช้ may เป็นการคาดคะเนในสิ่งที่มีโอกาส เกิดขึ้น และแน่ใจว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน

I might go home.
ไอ ไมธฺ โก โฮม
ฉันอาจจะกลับบ้าน มีความเป็นไปได้สูงว่า จะกลับบ้านแน่นอน

การใช้ might /ไมธฺ ใช้ในกรณีที่เป็นการคาดคะเนในเรื่องนั้นๆ แต่ไม่แน่ใจนักว่าจะเกิดขึ้นขึ้นหรือไม่ การพูดในสิ่งที่ไม่แน่ใจแบบนี้ เราก็พูดกันบ่อยๆ สำหรับประโยคภาษาไทยของเราเอง เช่น มันอาจจะดีขึ้นก็ได้ ฝนอาจจะตกก็ได้ สิ่งที่คิดอาจจะถูกก็ได้ เป็นต้น

การใช้ I กับ Must, Have to ฉันต้อง...

การใช้ I must จะใช้ในความหมายว่า ฉันต้อง... ฉันต้องการจะทำอะไร ก็ใช้ I must + คำกริยาช่องที่ 1

I must arrive at noon.
ไอ มัสทฺ อะไรฟฺ แอท นูน
ฉันต้องมาถึงเวลาตอนเที่ยง ให้ความมั่นใจว่า ต้องมาเวลาเที่ยง เจอกันแน่นอน การแต่งประโยคแบบอื่น ก็ใช้ I must + คำกริยาที่ต้อง การได้เลย

I have to arrive at noon.
ไอ แฮพ ทู อะไรฟฺ แอท นูน
ฉันต้องมาถึงเวลาตอนเที่ยง การใช้ have to/แฮฟ ทู จะมีความหมายว่า จะต้องทำ เป็นเรื่องสำคัญคอขาดบาดตาย ไม่ทำไม่ได้ จะ ต้องทำ 100% หากต้องการพูดว่า จะต้องทำเรื่องใดจริงๆ หลีกเลี่ยงไม่กระทำไม่ได้ ให้ใช้ have to + คำกริยาช่องที่ 1

 

การใช้ I กับ Need ฉันจำเป็นต้อง

การใช้ I need ใช้ในความหมายว่า ฉันจำเป็นต้อง... หรือฉันต้องการ...

I need cash to buy food.
ไอ นี๊ด แคช ทู บาย ฟู่ด
ฉันต้องการเงินเพื่อซ์้ออาหาร ต้องการอะไร ก็ใช้ I need + สิ่งที่ต้องการ (รถ, บ้าน, ที่ดิน, ฯลฯ )

I need to eat breakfast.
ไอ นี้ด ทู อีท เบรคฟัสทฺ
ฉันจำเป็นต้องกินข้าวเช้า (เพราะสายแล้ว หิวแล้ว) การใช้ need /นี้ด พูดถึงสิ่งที่จะต้องทำ จะใช้ I need to + คำกริยาช่องที่ 1 สิ่งที่จำ เป็นต้องทำ (อาบน้ำ, แปรงฟัน, เข้านอนเร็ว, พักผ่อน ฯลฯ)

 

การใช้ I กับ Dare ฉันกล้าที่จะ...

การใช้ I dare จะหมายถึง ฉันกล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง ก็ระบุลงไป ถัดจาก I dare + คำกริยาช่องที่ 1 (เดินคนเดียว, ขับรถคน เดียว,
จับสัตว์ แมลงมีพิษ กล้าบอกความจริง ฯลฯ)
I dare to catch a snake.
ไอ แดร์ ทู แคช อะ สะเน่ก
ฉันกล้าจับงู

หากต้องการพูดประโยคภาษาอังกฤษว่า ฉันกล้าทำอะไร ให้ใช้ I dare to + คำกริยาช่องที่ 1
I dare to walk alone / ไอ แดร์ ทู วอล์ก อะโลน / เดินคนเดียว

 

การใช้ I กับ Ought to ฉันควรจะ...

การใช้ i ought to .. / ไอ ออธ ทู ใช้ในความหมายว่า ฉันควรจะ โดยมีโครงสร้างประโยค i ought to + คำกริยาช่องที่ 1
I ought to travel by my car.
ไอ ออธ ทู ทราเวิล บาย มาย คาร์
ฉันควรจะเดินทางโดยรถของฉัน อาจจะนัดกันไปเที่ยว แล้วบอกเพื่อนๆ ว่า ฉันควรจะขับรถไปเอง เพราะอาจจะต้องไปทำธุรที่อื่นด้วย การแต่งประโยคแบบนี้ไม่ยาก คิดว่า ตัวเองควรจะทำอะไร ก็เติมคำกริยา ต่อท้าย to ได้เลย

 

การใช้ I กับ Used to ฉันเคยทำ... .ในอดีต

การใช้ I used to... จะหมายถึง ฉันเคยทำอะไรบางอย่างในอดีต แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว

I used to run in the morning.
ไอ ยูส ทู รัน อิน เดอะ มอร์นิง
ฉันเคยวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า (แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว เพราะต้องทำงานแต่เช้า ต้องเปลี่ยนมาออกกำลังกายตอนเย็น)

 

การใช้ I กับ Be used to ฉันเคยชินกับการ...

การใช้ I กับ be used to จะใช้ในความหมายว่า ฉัยเคยชินกับการกระทำอะไรบางอย่าง โดยจะเปลี่ยนจาก be เป็น am เพื่อใช้กับ I

I am used to run in the morning.
ไอ แอม ยูส ทู รัน อิน เดอะ มอร์นิ่ง
ฉัน เคยชินกับการวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า การใช้ประโยคในลักษณะนี้ อาจจะเป็นการเล่าให้ฟัง ว่า เมื่อก่อนเคยชินกับการออกกำลัง กายตอนเช้า แต่ทุกวันนี้ ไม่ได้ทำแล้ว เพราะเข้างานแต่เช้า เลยต้องเปลี่ยนมาออกกำลังกายตอนเย็นแทน ก็เลยต้องปรับตัวยังไม่ชิน

 

การใช้ I กับ Get used to ฉันเริ่มชินกับ

การใช้ I get used to... จะใช้ในความหมายว่า เริ่มชินกับสิ่งใหม่ที่ได้ทำ หรือหลังจากการเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง เพื่อจะทำอะไร บางอย่าง

I get used to run in the evening.
ไอ เก็ท ยูส ทู รัน อิน เดอะ อีฟนิ่ง
ฉันเริ่มชินกับการวิ่งออกกำลังกายตอนเย็น จากเมื่อก่อนจะวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า แต่เพราะงานใหม่ต้องตื่นแต่เช้า จึงไม่มีเวลา หลัง จากได้เปลี่ยนมาออกกำลังกายตอนเย็น ตอนนี้ก็เริ่มชินแล้ว เริ่มชินกับการทำอะไรใหม่ๆ ก็ใช้ I get used to + คำกริยาได้เลย

 

การใช้ I กับ intent to ฉันตั้งใจจะ...

การใช้ I intend to... ในความหมายว่า ฉันตั้งใจจะกระทำเรื่องอะไร ทำเรื่องนั้น เรื่องนี้ เป็นประโยคที่เรามักจะพูดอยู่บ่อยๆ ใน ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า I intend to / ไอ อินเทนดฺ ทู + กริยาช่องที่ 1

I intend to get up early.
ไอ อินเทนดฺ ทู เก็ท อัพ เออลิ
ฉันตั้งใจจะตื่นนอนแต่เช้า

 

การใช้ I กับ Almost ฉันเกือบจะ

การพูดว่า ฉันเกือบ ฉันแทบ หรือ I was almost /ไอ เวิส ออลโมสทฺ... หรือ I almost / ไอ ออโมสทฺ + กริยาช่องที่ 3 เป็น ประโยคที่พูดบ่อยเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในอดีต ตัวอย่างประโยคเช่น

I was almost the winner.
ไอ เวิส ออลโมสท เดอะ วินเนอร์
ฉันเกือบได้เป็นผู้ชนะ อาจจะเป็นการเล่าเรื่องในอดีต อย่าง ฉันเกือบ... มักจะเป็นเรื่องในอดีตที่ผ่านมาแล้ว ก็จะใช้ I was almost + คำ นามหรือคุณศัพท์ เช่น อ้วน ผอม รวย ซวย โชคดี

I was almost bitten by dogs.
ไอ เวิส ออลโมสทฺ บิทเท่น บาย ด้อกสฺ
ฉันเกือบถูกสุนัขกัด ใช้คำว่า I was almost + คำกริยาช่องที่ 3

I almost forgot.
ไอ ออลโมสทฺ ฟอร์ก็อท
ฉันเกือบลืม คำกริยา ลืม/forgot/ฟอร์ก็อท เป็นกริยาช่องที่ 2 ของ forget /ฟอร์เก็ต แปลว่า ลืม หลัง almost ส่วนใหญ่จะเป็นคำกริยา ช่อง 2 เพราะมักจะกล่าวถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ยกเว้นเรื่องที่เกิดในวันเดียวกัน

หากต้องการพูดว่า ฉันเกือบทำอะไรลงไป ฉันเกือบไม่ได้ทำ ฉันเกือบ... ให้ใช้ I almost + กริยาช่องที่ 2 ศึกษาได้จากคำกริยา 3 ช่อง

I almost missed the big match.
ไอ ออลโมสทฺ มิสเสด เดอะ บิ๊ก แมชเช่อะ
ฉันเกือบจะพลาดรายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่

 

การใช้ I กับ Merely I am merely + คุณศัพท์

การพูดประโยคในความหมายว่า ฉันแค่ หรือฉันเพียงแค่ จะใช้ I am merely + คำคุณศัพท์ หรือ I merely + คำกริยา

I am merely lonely.
ไอ แอม เมียหลิ โลนหลิ
ฉันแค่เหงาเท่านั้น แต่งประโยคงายๆ ด้วย I am merely + คำคุณศัพท์ (lonely) ตัวอย่างคำคุณศัพท์เช่น สี ขนาด ลํกษณะภายนอก อ้วน ผอม สวย หล่อ สถานการณ์ คุณสมบัติ (ดี ชั่ว)

I merely feeled surprised
ไอ เมียหลิ ฟิล เซอร์ไพร้
ฉันเพียงแค่รู้สึกแปลใจเท่านั้น แต่งประโยคไม่ยาก ใช้ I merely +คำกริยา+คำนามหรือคุณศัพท์(surprised)

 

การใช้ I แต่งประโยค ขอให้ใครทำอะไร

การพูดว่า ฉันให้ใคร...ทำอะไร (Have+บุคคล+กริยาช่อง 1) หรือขอให้ใคร...ทำอะไร (Ask+บุคคล+to+กริยาช่อง 1)

I have Tom repair my bicycle.
ไอ แฮฟ ทอม รีแพร์ มาย ไบซิเคิ่ล.
ฉัน ให้ ทอม ซ๋อม รถจักรยานของฉัน
การให้ใครสักคนทำอะไรบางอย่าง จะใช้สำนวน I have + ชื่อคน+คำกริยา ที่ต้องการให้ใครสักคนทำอะไร

I ask Tom to do my housework.
ไอ อาสคฺ ทอม ทู ดู มาย เฮาสะเวิร์ค
ฉันขอร้องให้ทอมทำงานบ้าน ต้องการขอร้องให้ใครทำอะไร ก็จะใช้ I ask + บุคคล+to+คำกริยาช่องที่ 1

 

การใช้ I + Wish... I + hope ฉันหวังว่า

การใช้ประโยคในความหมายว่า ฉันหวังว่า... จะใช้ I + Wish... I + hope โดยมีโครงสร้างประโยคดังนี้

I wish to be alone
ไอ วิช ทู บี อโลน
ฉันประสงค์จะอยู่คนเดียว ฉันประสงค์อยากจะทำอะไร แต่งประโยคไม่ยาก I wish to + คำกริยาที่ต้องการ

I wish that you had read the email.
ไอ วิช แดท ยู แฮด เรด ดิ อีเมล์
ฉันหวังว่าคุณจะได้อ่านอีเมล์แล้ว การพูดว่า ฉันหวัง... ให้ใครสักคน ทำอะไร จะใช้โครงสร้างง่าย I wish that+บุคคล+have+ คำกริยา ช่องที่ 3

I hope that you will travel to join in the party.
ไอ โฮบ แดด ยู วิล ทราเวิ่ล ทู จอย อิน เดอะ พาร์ตี้
ฉันหวังว่าคุณจะเข้าร่วมงานเลี้ยงของเรา การคาดหวังอะไรบางอย่าง หวังว่า อย่างนั้นอย่างนี้ แต่งประโยคง่ายๆ ด้วย I home that + บุคคล+ will + คำกริยา

I hope to go to Chiang Mai on someday.
ไอ โฮบ ทู โก ทู เชียงใหม่ ออน ซัมเดย์
ฉันหวังว่าจะได้ไปเชียงใหม่ในสักวันหนึ่ง เป็นการคาดหวังว่าจะได้ทำอะไรสักครั้งหนึ่ง ใช้ I hope to + คำกริยาที่คาดหวังว่าจะทำ

 

การใช้ I + Verb to Be ในความหมายว่าถูกกระทำ

การแต่งประโยคว่า ฉันถูกระทำ... หรือ ถูกทำให้เสียหาย จะใช้ I was + คำกริยาช่องที่ 3 เช่น

I was bitten bitten by dogs.
ไอ เวิส บิทเท่น บาย ด้อกซฺ
ฉันถูกสุนัขหลายตัวกัด

 

การใช้ Me ฉัน ใช้ในความหมายว่า ....ฉัน

การใช้ฉันหรือ I จะทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วน me ใช้เป็นกรรม เป็นผู้ถูกกระทำ เช่น
The dog bites me.
เดอะด็อกไบเซอะมี
สุนัขกัดฉัน ฉัน /me/มี ทำหน้าที่เป็นกรรม แต่งประโยคและต้องการให้ใครมาทำกรรมกับเรา ก็เอาคำว่า me ไว้ต่อท้ายคำกริยา เหมือน bites /ไบเซอะ/กัด ฉัน/me/

 

การใช้ My หรือ ...ของฉัน My ...

การใช้ My จะใช้ในความหมายว่า ของฉัน ตามด้วยคำนามที่ต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น my pen/มายเพ็น/ปากกาของฉัน My pen is on a table.
มาย เพ็น อีส ออน อะ เทเบิ้ล
ปากกาของฉันอยู่บนโต๊ะ การใช้คำว่า My pen จะทำหน้าที่เป็นประธาน

He stole my pen.
ฮี สโตล มาย เพ็น
เขาขโมยปากกาของฉัน คำว่า my pen ในที่นี้จะทำหน้าที่เป็น กรรม

 

การใช้ Mine สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของฉัน

My pen is on a table.
มาย เพ็น อีส ออน อะ เทเบิ้ล
ปากกาของฉันอยู่บนโต๊ะ

His pen is red. mine is blue.
ฮิส เพ็น อีส เรด. ไมน์ อีส บลู.
ปากกาของเราคือสีแดง ปากกาของฉันสีน้ำเงิน การใช้ mine จะแทนความหมายว่า My pen /มาย เพ็น เพื่อไม่ต้องกล่าวถึงซ้ำๆ mine จะแทนความหมายว่า my pen นั่นเอง

 

การใช้ Myself กระทำบางอย่าง....ด้วยตัวของฉันเอง

การใช้ Myself จะใช้ในลักษณะอธิบายหรือพูดถึงการกระทำที่ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เช่น
I learn cooking by myself.
ไอ เลิน คุ้กกิ้ง บาย มายเซล
ฉันเรียนทำอาหารด้วยตัวเอง อยากทำอะไรด้วย

 

บทความนี้ค่อนข้างยาวมากกกกก แต่หากใช้ความอดทนในการอ่านและทำความเข้าใจ ก็จะสามารถแต่งประโยคภาษาอังกฤษที่ขึ้น ต้นด้วยการใช้ สรรพนาม   ฉัน หรือ I/ไอ ในการสนทนากับชาวต่างชาตินั้น การพูดว่า ไอทำอย่างนั้น ไอเป็นอย่างนี้ ฯลฯ จะใช้บ่อย สรุปการแต่งประโยค ด้วย I ในบทความนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่น้อย