แนะนำวิธีฝึกตีคอร์ดกีตาร์กับโปรแกรม Power Tab Editor ซึ่งมีข้อดีหลายด้าน สำหรับผู้ที่กำลังเรียนกีตาร์ด้วยตนเอง ซึ่งเราจะ สามารถสร้างคอร์ดที่ต้องการดีคอร์ด กำหนดจังหวะความเร็วช้าในการตีคอร์ดตามจังหวะโน้ตตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ และตัวเขบ็ต ช่วย ให้การฝึกเล่นกีตาร์มีความถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องมีคนสอน
ความสำคัญของการตีคอร์ดให้เข้าจังหวะ
การตีคอร์ดจะเป็นการใช้มือซ้ายจับคอร์ด ส่วนมือขวาจะดีดสายแบบต่างๆ ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจเรื่องจังหวะ ตีคอร์ดให้เสียงดัง เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ไม่ใช่ตีคอร์ดเหมือนเทปยืด จังหวะสั้นบ้าง ยาวบ้าง จังหวะไม่สม่ำเสมอ ฟังแล้วก็ไม่เป็นเพลง บางคนจะมีปัญหา อย่างมากกับการตีคอร์ด เพราะไม่เข้าใจเรื่องจังหวะ ไม่สามารถตีคอร์ดให้เป็นจังหวะได้ ซึ่งหากสามารถทำได้ ก็จะเล่นกีตาร์ ร้องเพลง ร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะจังหวะตรงกัน
การฝึกตีคอร์ดในโปรแกรม Power Tab Editor จะค่อนข้างง่าย เพราะเราสามารถกำหนดคอร์ดเองได้ ตั้งจังหวะตามโน้ตแต่ละตัว ฟังเสียงตัวอย่างได้ กำหนดความเร็วช้าของจังหวะได้ ช่วยให้การฝึกตีคอร์ดมีความถูกต้อง ลงจังหวะตามโน้ตกีตาร์
ขั้นตอนการฝึกดีดคอร์ดกีตาร์ในโปรแกรม Power Tab Editor
ฝึกจับคอร์ดให้คล่อง
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ต้องฝึกจับคอร์ดให้คล่องเสียก่อน โดยเฉพาะคอร์ดหลักๆ ที่ใช้เล่นเพลงยอดนิยม ซึ่งจะมีกลุ่มต่างๆ ดังนี้ ถ้าฝึก จับคอร์ดได้ทุกกลุ่มก็จะเล่นได้แทบทุกเพลงเลยทีเดียว ต้องใช้เวลาฝึกจับคอร์ดสักพัก ให้จับแต่ละคอร์ดแล้วดีดสายทั้ง 6 เส้น อย่าให้ เสียงบอด
กลุ่มคอร์ด C Am Dm G7 G F
ตัวอย่างเพลง เช่น สาวเชียงใหม่ - จรัล มโนเพ็ชร / ตัดใจไม่ลง เพ็ญ พิสุทธิ์ /ใจไม่ด้านพอ อริสมันต์
กลุ่มคอร์ด D A Bm G Em F#m C
ตัวอย่างเพลง เช่น ช่างมันฉันไม่แคร์ - พงสิทธิ์ คัมภีร์
กลุ่มคอร์ด E A E F#m G#m B C#m Am D
ตัวอย่างเพลง เช่น ทะเลใจ
กลุ่มคอร์ด F Am C Dm Gm Am Bb
ตัวอย่างเพลง เช่น ดาวน์สาว พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
กลุ่มคอร์ด G C Am Em D Bm
ตัวอย่างเพลง เช่น เต็มใจให้ - ศุ บุญเลี้ยง
กลุ่มคอร์ด A C#m Bm D E F#m F#
ตัวอย่างเพลง เช่น คอร์ด อะไรก็ยอม - เสก Loso
กลุ่มคอร์ด B C#m E F#m D#m G#m
ตัวอย่างเพลง เช่น เพลง หมดห่วง เวอร์ชั่น หน้ากากหอย
ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเพลงในแต่ละกลุ่มคอร์ดไว้แล้ว แนะนำให้ฝึกเล่นแต่ละเพลงตามที่ได้แนะนำ เพื่อให้รู้ว่าเสียงคอร์ดเป็นอย่างไร แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ จะต้องรู้ว่าเสียงของตัวเองนั้น เหมาะกับการร้องเพลงด้วยคอร์ดกลุ่มใด ที่ระดับเสียงสามารถร้องได้ดี
ฝึกตีคอร์ดให้คล่อง
1. การตีคอร์ดจะเป็นการจับคอร์ดด้วยมือซ้าย แล้วใช้มือขวาดีดสาย ในตำแหน่งโพรงเสียง เมื่อสามารถจับคอร์ดได้แล้ว คราวนี้ก็ ฝึกดีคอร์ดให้คล่อง
2. การตีคอร์ดทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ปิ๊ก ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือขวา ใช้การเกา แต่ละแบบยังมีวิธีดีดที่ซับซ้อน เช่น ใช้ปิ๊กผสม การเกา กีตาร์แต่ละแบบ กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์โปร่ง กีตาร์ดคลาสสิค ความยากง่ายในการดีดก็ต่างกัน จำเป็นต้องเลือกสักแบบ เพื่อจะได้ ฝึกให้คล่อง
3. การตีคอร์ดมีหลายแบบ ต้องฝึกดีดให้ได้ทุกรูปแบบ เช่น
- ดีดลง จากสาย 6 ไปหาสาย 1
- ดีดลง สาย 5 ไปหาสาย 1
- ดีดลง สาย 4 ไปหาสาย 1
- ดีดลง จากสาย 3 ไปสาย 1
- ดีดลงแบบต่างๆ สลับการดีดขึ้น เช่น จากสาย 1 ไปหาสาย 6 หรือจากสาย 1 ไปยังสายอื่น ต้องลองฝึกหลายๆ แบบ ฯลฯ
การฝึกตีคอร์ดได้หลายๆ แบบเป็นเรื่องดี เวลาฟังเพลงต่างๆ ก็จะรู้ได้ทันที ว่าใช้การตีคอร์ดแบบใด ก็จะสามารถฝึกเล่นเพลงนั้นๆ ได้ไม่ยาก ดังนั้นต้องพยายามฝึกดีดให้ได้หลายๆ แบบ ศึกษาได้เพิ่มเติมจาก วิดีโอสอนตีคอร์ด แบบต่างๆ
ดูหมายเลขเฟร็ตหรือช่องที่จับคอร์ด
ในการจับคอร์ดแต่ละคอร์ด จำเป็นต้องรู้ว่า คอร์ดที่จับอยู่ขณะนั้น นิ้วมือซ้าย กดสายช่องใดบ้าง เพื่อจะได้นำไปใส่ในโปรแกรม Power Tab Editor
1. ตัวอย่างการจับคอร์ด C จะมีการกดสายหรือไม่กดสายในช่องต่างๆ เช่น
- สาย 6 เปิด ไม่มีการกดสายใดๆ ค่าที่ได้จะเป็น 0
- สาย 5 กดสายในเฟร็ตที่ 3 ก็จะใส่เลข 3 บนสาย 5 ในแทปของโปรแกรม Power Tab Editor
- สาย 4 กดสายในเฟร็ตที่ 2 ก็จะใส่เลข 2 บนสาย 4
- สาย 3 ไม่มีการกดสายใดๆ ค่าที่ได้จะเป็น 0
- สาย 2 กดสายในเฟร็ตที่ 1 ก็จะใส่เลข 1 บนสาย 2
- สาย 1 ไม่มีการกดสายใดๆ ค่าที่ได้จะเป็น 0
2. ตัวอย่างการป้อนตัวเลขบนเส้นแทปในโปรแกรม Power Tab Editor สำหรับคอร์ด C สายจะเรียงลำดับจากล่างขึ้นบน เป็นสายที่ 6, 5, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ
3. คอร์ด C ก็จะเขียนเป็นตัวโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นดังภาพตัวอย่าง
4. กรณีจับคอร์ดทาบ อย่างคอร์ด F ให้ระบุตัวเลขตามนี้ (ส่วนหมายเลข 1 - 4 จะเป็นนิ้วที่ใช้กดสายขณะจับคอร์ด)
- สาย 6 กดสายในเฟร็ตที่ 1 ก็จะใส่เลข 1 บนสาย 6 ในแทปของโปรแกรม Power Tab Editor
- สาย 5 กดสายในเฟร็ตที่ 3 ก็จะใส่เลข 3 บนสาย 5 ในแทปของโปรแกรม Power Tab Editor
- สาย 4 กดสายในเฟร็ตที่ 3 ก็จะใส่เลข 3 บนสาย 4
- สาย 3 กดสายในเฟร็ตที่ 2 ก็จะใส่เลข 2 บนสาย 3
- สาย 2 กดสายในเฟร็ตที่ 1 ก็จะใส่เลข 1 บนสาย 2
- สาย 1 กดสายในเฟร็ตที่ 1 ก็จะใส่เลข 1 บนสาย 1
5. ตัวอย่างการป้อนตัวเลขบนเส้นแทปในโปรแกรม Power Tab Editor สำหรับคอร์ด F สายจะเรียงลำดับจากล่างขึ้นบน เป็นสายที่ 6, 5, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ
6. คอร์ด F ก็จะเขียนเป็นตัวโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นดังภาพตัวอย่าง
การใส่คอร์ดบนแทปกีตาร์ในโปรแกรม Power Tab Editor
1. เข้าโปรแกรม Power Tab Editor ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เริ่มทันที อาจจะเริ่มใหม่โดยคลิกปุ่ม New แล้วคลิก OK ก็ได้
2. กำหนดความเร็วในการเล่น โดยคลิกปุ่ม Tempo Maker
3. คลิกและพิมพ์ 60 เลือกความเร็ว 60 bpm ก็พอ หรือการเคาะ 60 ครั้งต่อนาที
4. คลิก OK
5. เลือกเสียงกีตาร์โดยคลิกปุ่ม Guitar Setup
6. คลิกเลือกเสียงกีตาร์ที่ต้องการเช่น แบบ Clean เสียงใสๆ
7. คลิก OK
8. การใส่ตัวโน้ต สำหรับแต่ละคอร์ด ทำได้ง่ายๆ โดยคลิกเลือกตัวโน้ตก่อน เช่น โน้ตตัวขาว
9. คลิกเลือกสายกีตาร์ในแทปไล่ตั้งแต่สาย 6- 1 และพิมพ์เลขช่องที่กดบนคอกีตาร์ของแต่ละคอร์ด คอร์ด D จะมีตัวเลขดังนี้
- สาย 6 ใส่เลข 0
- สาย 5 ใส่เลข 0
- สาย 4 ใส่เลข 0
- สาย 3 ใส่เลข 2
- สาย 2 ใส่เลข 3
- สาย 1 ใส่เลข 2
10. คลิกเลือกสายกีตาร์ในแทปไล่ตั้งแต่สาย 6- 1 และพิมพ์เลขช่องที่กดบนคอกีตาร์ของแต่ละคอร์ด คอร์ด A จะมีตัวเลขดังนี้
- สาย 6 ใส่เลข 0
- สาย 5 ใส่เลข 0
- สาย 4 ใส่เลข 2
- สาย 3 ใส่เลข 2
- สาย 2 ใส่เลข 2
- สาย 1 ใส่เลข 0
11. คลิกเลือกโน้ตตัวกลมก่อน 12. คลิกเลือกสายกีตาร์ในแทปไล่ตั้งแต่สาย 6- 1 และพิมพ์เลขช่องที่กดบนคอกีตาร์ของแต่ละคอร์ด คอร์ด G จะมีตัวเลขดังนี้
- สาย 6 ใส่เลข 3
- สาย 5 ใส่เลข 5
- สาย 4 ใส่เลข 5
- สาย 3 ใส่เลข 4
- สาย 2 ใส่เลข 3
- สาย 1 ใส่เลข 3
13. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Play เพื่อลองฟังเสียง
14. ขณะฟังเสียงก็จะมีเสียงเคาะจังหวะ 1 - 2 - 3 - 4 ให้ฝึกตบเท้าหรือนับจังหวะ จับคอร์ด ตีคอร์ด ตามนั้น ให้คล่อง
ฝึกแยกจังหวะในเพลง
ในขณะฟังเพลงนั้นให้ฝึกเคาะจังหวะตามเพลง โดยนับ 1 - 2 - 3 - 4 วนไปแบบนี้ จากนั้นก็ดูว่า ในจังหวะตบเท้าลงพื้น เมื่อนับ แต่ละจังหวะ จะลงด้วยคอร์ดใด หรือคำร้องใดก็ทำเครื่องหมายเอาไว้ แรกๆ อาจจะฝึกเขียนจังหวะออกมาดังภาพตัวอย่างด้านล่าง เพื่อ ให้เข้าใจจังหวะและโน้ตที่จะต้องใช้ เมื่อเข้าใจดีแล้ว ก็จะเล่นกีตาร์ได้ดีขึ้น ตีคอร์ดลงจังหวะ และหากสามารถทำแทปกีตาร์ในโปรแกรม Power Tab Editor ได้ด้วยแล้ว ก็จะเข้าใจเรื่องจังหวะมากยิ่งขึ้น
การฝึกแบบนี้ อาจจะน่าเบื่อหรือยากในการพยายามทำความเข้าใจในช่วงแรก แต่ฝึกไม่กี่ครั้งก็จะเข้าใจและเป็นความรู้ติดตัวใช้ได้ ตลอดไป