แทปกีตาร์ จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเพลง จังหวะ ตัวโน้ต วิธีการดีดกีตาร์ ตามเพลงนั้นๆ หากสามารถอ่านแทปกีตาร์ได้ สามารถเข้าใจ สัญลักษณ์ต่างๆ บนแทป ก็จะสามารถใช้กีตาร์เล่นเพลงนั้นๆ ได้ทันที แม้จะไม่เคยได้ยินได้ฟังเพลงมาก่อน ช่วยให้การเล่นเพลงต่างๆ ง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาแกะเพลง อ่านแทปแล้วเล่นได้เลย

 

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของแทป เพื่อให้สามารถอ่านแทปได้ สามารถเล่นเพลงได้เร็วขึ้น การทำความเข้าใจ อาจจะใช้เวลา แต่เมื่อเข้าใจดีแล้ว ก็จะเล่นกีตาร์ได้เก่งขึ้นแน่นอน

ส่วนประกอบต่างๆ ของแทป

เปรียบเทียบแทปกีตาร์กับโน้ตบนคอกีตาร์

แทปกีตาร์จะมี 6 สาย เหมือนสายกีตาร์ โดยจะส่วนต่างๆ ที่จะต้องรู้ดังนี้
1. สัญลักษณ์แทนสายกีตาร์บนแทป จะเรียงลำดับจากล่างขึ้นบน เริ่มจากสาย 6 - 5 - 4 - 3 - 2 - 1
2. ตัวอย่างสายกีตาร์จริงๆ สาย 6 - 5 - 4 - 3 - 2 - 1
3. เหนือแทปกีตาร์จะมีบรรทัด 5 เส้น วางตัวโน้ตต่างๆ ลงไป โดยจะสัมพันธ์กับ ตัวเลขบนแทป เพื่อให้รู้ว่าจะตีดสายด้วยจังหวะเร็วช้า เพียงใด
4. ในการดีสายกีตาร์ เมื่อกดสายที่ช่องหรือเฟร็ตใด ก็จะนำตัวเลขไปใส่บนแทป เช่น โน้ตตัว G สาย 6 ช่องที่ 3 ก็จะใส่เลข 3 บนสาย 6 ในแทปกีตาร์ดังภาพ


5. การเล่นเพลงตามแทปกีตาร์ให้วางนิ้วช่วงละ 4 ช่องหรือ 4 เฟร็ต ส่วนใหญ่ตำแหน่งบนแทป ก็จะดีดในตำแหน่งที่ครอบคลุมการวางนิ้ว จะไม่ห่างกันมากนัก เพราะจะเสียเวลาเคลื่อนนิ้ว

 

จังหวะที่กำหนดบนแทป

การใช้แทปจะมีการกำหนดจังหวะที่จะต้องเล่นเพลง เช่น 4/4 มี 4 จังหวะ ซึ่งเป็นจังหวะมาตรฐานที่นิยมใช้กัน 1 - 2 - 3 - 4 วิธี การนับจังหวะง่ายๆ อาจจะใช้การตบเท้านับจังหวะ 1 - 2 - 3 - 4 หรือจะใช้เครื่องช่วยนับจังหวะ หรือติดตั้งแอป Metronome (เม โทรโนม)

 

ความเร็วในการเล่นจังหวะ

แต่ละเพลงจะมีความเร็วในการเล่นจังหวะต่างกันไป โดยจะเป็น บีทต่อนาที หรือ Beat per minute (bpm) เพลงช้า อาจจะใช้เพียง 40 bpm เพลงเร็วอาจจะใช้ประมาณ 80 bpm ขึ้นไป

 

ตัวโน้ตต่างๆ บนแทป

ตัวโน้ตต่างๆ บนแทปเช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ็ต 1 - 4 ชั้น จำเป็นจะต้องมีบนแทปกีตาร์ เพื่อบอกให้รู้ว่าจะต้องดีด โน้ตตัวนั้นที่ความเร็วกี่จังหวะ หรือความยาวเสียงเท่าใด เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกับจังหวะของโน้ตแต่ละตัว ไม่เช่นนั้นจะดีดไม่เป็น เพลง
1. การเขียนตัวโน้ตกำกับ อาจจะเป็นบรรทัด 5 เส้นและวางตัวโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นด้านบนแบบนี้


2. หรืออาจจะเขียนไว้ด้านล่าง ใต้แทปกีตาร์
3. หรืออาจเขียนรวมกับตัวเลขบนแทปไปเลย


4. ตัวอย่างจังหวะของโน้ตแต่ละตัว ความสั้นยาวของเสียง สามารถศึกษาได้จากวิดีโอด้านล่าง

 

การเขียนตัวโน้ตในรูปตัวโน้ตและคอร์ด

การเขียนตัวโน้ตลงบนแทปกีตาร์จะมี 2 แบบ
1. เขียนตัวโน้ตตัวเดียว ต้องดีดทีละตัว ทีละเส้น
2. เขียนตัวโน้ตหลายตัวเรียงกันขึ้นไป จะเป็นคอร์ด ต้องจับทั้งหมดเป็นคอร์ด C แล้วดีดในครั้งเดียว

 

สัญลักษณะอื่นๆ บนบรรทัด 5 เส้น

บรรทัด 5 เส้นที่วางโน้ตแต่ละตัว นอกจากตัวโน้ตแล้วก็ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆ เพื่อให้ดีดกีตาร์ไปตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏ เช่น

Hammer Ons ดีดแล้วตบนิ้วลงบนช่องใดช่องหนึ่ง

เป็นการตบนิ้วไปบนช่องหรือเฟร็ตใดๆ จากตัวอย่าง
1. ใช้นิ้วชี้กดสายไว้ก่อน
2. ยกนิ้วนางลอยไว้เหนือช่องที่จะตบนิ้วลงไป
3. ดีดสายครั้งเดียว แล้วตบนิ้วลงไปทันที เหมือนตะปบ ตบแล้วยกนิ้วขึ้นทันที เหมือนการกดปุ่ม บนแป้นพิมพ์ คล้ายกัน แต่เร็วกว่านั้น อาจจะใช้นิ้วอื่นก็ได้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย แต่นิ้วชี้ต้องกดสายไว้

 

Pull Offs ดีดแล้วยกนิ้วขึ้น

วิธีดีดแบบนี้จะตรงกันข้ามกับ Hammer On ให้เสียงตรงกันข้าม
1. ใช้นิ้วชี้กดสายช่อง 5 เอาไว้
2. ใช้นิ้วที่ต้องการทำพูลออฟ กดช่องถัดไปจากที่ใช้นิ้วชี้กดสายเอาไว้ จะใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง หรือนิ้วก้อย ก็ตามสะดวก
3. ดีดสายพร้อมกับยกนิ้วที่ต้องการทำพูลออฟ ออกทันที ดึงนิ้วออกแบบเฉียงๆ จะให้ดีให้บี้เล็กน้อย แล้วดีดนิ้วออก แต่นิ้วชี้ที่กดไว้ ห้ามยก

 

Slide ดีดแล้วเลื่อนนิ้ว

มีหลายเพลงที่ใช้การดีดแบบสไลด์ หรือดีดแล้วเลื่อนนิ้วที่กดไปช่องอื่น เช่น เพลง สุดใจ ของพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์
1. กดนิ้วช่องใดๆ ดีดแล้วลากไปยังช่องถัดไป ระหว่างลากนิ้วต้องกดให้แน่น เพื่อให้เกิดเสียง
2. ลากไปช่องถัดไป แล้วหยุดที่ช่องนั้นพร้อมกดนิ้วให้แน่น อย่าให้เสียงบอด
3. การสไลด์มี 2 แบบ สไลด์จากโน้ตเสียงต่ำไปหาโน้ตเสียงสูง
4. และการสไลด์จากโน้ตเสียงสูงลงไปหาโน้ตเสียงที่ต่ำกว่า

 

Bend การดันสายให้เสียงสูงขึ้น

การดันสายให้เสียงสูงขึ้น ก็จะให้เสียงที่มีความไพเราะอีกแบบ
1. นิ้วชี้กดช่องใดๆ ไว้ เช่น ช่อง 5 สาย 1
2. นิ้วนางกดสายช่อง 7 สาย 1
3. ดีดแล้วดันนิ้วนางขึ้นด้านบน อย่าดันแรงมากระวังสายขาด

 

การใช้มือซ้ายเล่นโน้ตบนแทป

1. การใช้มือซ้ายกดที่ช่องหรือเฟร็ตต่างๆ ให้กางนิ้วแล้ววางนิ้วลงไป ช่วงละ 4 ช่อง หรือ 4 เฟร็ต
2. ตัวเลขบอกตำแหน่งให้กดแต่ละช่องปกติก็จะครอบคลุมช่วงที่วางนิ้วทั้งหมด แม้จะดูเหมือนว่าตัวโน้ตห่างกันมาก แต่ก็ครอบคลุม สามารถใช้นิ้วกดตัวโน้ตได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนนิ้วไปไปช่องที่ห่างออกไป


3. การใช้มือซ้ายกดสายกีตาร์ อาจจะมีการระบุว่าจะต้องใช้นิ้วใดกดที่ช่องใด ดูที่ตัวโน้ตด้านบน จะมีหลายเลขกำกับไว้

 

การใช้มือขวาดีดสายกีตาร์ตามแทป

การใช้มือขวาดีดสายกีตาร์กรณีเล่นกีตาร์แบบเกา อาจจะมีการกำหนดการใช้นิ้วมือแบบต่างๆ เช่น
1. การใช้นิ้วหัวแม่มือดีดตัวโน้ตบนสายที่ 4 - 5 - 6 ซึ่งเป็นสายเบสของแต่ละคอร์ด
2. การใช้นิ้วชี้ นิ้วนาง นิ้วกลาง หรือนิ้วก้อย ดีดสาย 4 หรือ 3 หรือ 2 หรือ 1

 

ติดตั้งโปรแกรมจัดการกับแทปกีตาร์

การจัดการกับแทปกีตาร์ จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมจัดการแทป ไว้สร้างตัวโน้ตบนแทป หรือนำไฟล์แทปที่มีอยู่มาเปิดเพื่อให้ โปรแกรมเล่นเสียงไปตามแทป ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแทปกีตาร์มากยิ่งขึ้น โปรแกรมแนวนี้มีหลายตัว แนะนำโปรแกรมฟรี เช่น Power Tab Editor ดาวน์โหลดได้ที่

 

Sponsored Ads