ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่เชื่อคนง่าย เป็นคน หูเบา ใครพูดอะไรหรือได้ยินข่าวอะไรหรือ รับรู้เรื่องอะไร ก็รีบเชื่อทันที โดยไม่มีการไตร่ตรอง ไม่มีการหาข้อมูล ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ แต่การเชื่อคนง่าย อาจไม่สร้างความเสียหาย หากแค่ฟังเฉยๆ ไม่เผยแพร่ข้อมูลต่อ หรือ ทำตามสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ตัวอย่าง :

บางครั้งเราก็ไม่ได้เป็นตนที่เชื่อคนง่าย เป็นคน หูเบา แต่บางทีอาจเป็นเพราะคำพูดนั้นมีความน่าเชื่อถือก็เลยเชื่อ โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ที่นับถือ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าจะหลอกลวงเรา หรือโกหกเรา

การอยู่ในช่วงเวลาที่กำลังขาดสติหรือชีวิตกำลังมีปัญหา ก็อาจกลายเป็นคน หูเบา เชื่อคนง่ายเพราะในช่วงเวลานั้นอาจขาด การยั้งคิดขาดการไตร่ตรอง ก็อาจเชื่อคนง่ายและเกิดปัญหาตามมา เรื่องแบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่จะป้องกันได้ก็คือการ ฝึกตัวเองในเรื่องสติ ไม่ว่าจะรู้เจอเรื่องร้ายอย่างไรก็ตาม ต้องใจเย็น คิดตรึกตรองให้ดี ก่อนที่จะลงมือทำบางสิ่งบางอย่าง หรือ หากมีใครแนะนำอะไร บอกกล่าวเรื่องอะไร ก็อย่ารีบตกปากรับคำ ควรขอเวลาพิจารณาก่อน เพราะในช่วงเวลานั้นอาจจะยังมีสติ ไม่สมบูรณ์หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ควรค้นหาข้อมูลในภายหลัง ให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ

การเป็นคน หูเบา เชื่อคนง่ายไม่ใช่เรื่องดี แต่ก็อาจมีบางสถานการณ์ที่ทำให้เรากลายเป็นคน หูเบา เชื่อคนง่ายโดยเฉพาะคน ที่กำลังมีปัญหากับความรัก คนที่กำลังอกหัก บางคนโดนเป่าหูอย่างไร คนรอบข้างพูดอย่างไร ก็เชื่ออย่างนั้น คนที่มีปัญหาชีวิต สติในการคิดไตร่ตรองเรื่องต่างๆ ก็ย่อมไม่สมบูรณ์เต็มร้อยอยู่แล้ว หากดื่มของมึนเมาเข้าไป ก็มีโอกาส ที่จะทำให้เชื่อคน ง่ายกลายเป็นคน หูเบา มากขึ้นไปอีก

ดังนั้น การขาดความรู้และประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่มีผลประโยชน์ มีเรื่องของเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ อาจทำให้กลายเป็นคนที่เชื่อคนง่าย กลายเป็นคน หูเบา และโดนหลอกได้ง่าย บางคนมีคนมาหว่านล้อม ชักชวนให้ลงทุน ยก ตัวอย่างผลกำไรที่ได้รับ เป็นจำนวนเงินมากมาย ก็อาจทำให้เกิดความโลภ อยากได้แบบนั้นบ้างกลายเป็นคน หูเบา เชื่อคนง่าย เพราะขาดความรู้ขาดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเงิน จึงเกิดความโลภ หลงเชื่อ และสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองในภายหลัง เพราะมักจะสูญเสียเงินไปกับการถูกชักชวนให้ทำธุรกิจ

Sponsored Ads