การใช้งานมือถือหรือแท็บเล็ต Android มีโอกาสสร้างปัญหาให้ผู้ใช้มากกว่า iPhone/iPad ซึ่งมีสาเหตุจากหลายประการด้วยกัน หากรู้ใน เรื่องนี้ ก็จะช่วยลดปัญหากวนใจขณะใช้งานได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะสร้างปัญหากวนใจ ไม่รู้จักจบจักสิ้น มือถือแบบนี้มีราคาถูก ของถูกและดี มักจะไม่ไปด้วยกัน แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่แม้จะเป็นของดี แต่ก็ยังสร้างปัญหาให้เราได้อยู่ดีเช่นกัน

 

มือถือหรือแท็บเล็ต Android เป็นระบบเปิด ที่ทางผู้พัฒนาก็คือ Google อนุญาตให้บริษัทต่างๆ สามารถนำระบบปฏิบัติการ Android ไปใช้กับมือถือหรือแท็บเล็ตของตนเองได้ เมื่อความหลากหลายเกิดขึ้น ปัญหาก็จะเกิดขึ้นตามมา ต่างจาก iPhone/iPad จะมีเพียงผู้ ผลิตเพียงรายเดียว จึงควบคุมปัญหาในการผลิตได้ดีกว่า

 

ตัวอย่างปัญหาต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้นกับมือถือหรือแท็บเล็ต Android

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ในมือถือหรือแท็บเล็ตแทบทุกเครื่อง การหาทางป้องกันไว้จะเป็นเรื่องดี เพราะเมื่อเกิดปัญหา การ ใช้บริการช่างหรือศูนย์ซ่อมจะมีค่าใช้จ่าย และเสียเวลาทำงานทำการ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับมือถือหรือไอทีมากนัก

1. ปัญหาจอแตก

จอมือถือหรือแท็บเล็ต Android มี 2 ชั้น จอที่แตกบ่อยจะเป็นจอทัชสกรีนด้านนอกมากกว่าจอด้านใน กรณีของจอทัชสกรีน การเปลี่ยน เองไม่ยากนัก ต้องระวังหลายร้านคิดราคาแพงมาก ตัวอย่างราคาจอทัชสกรีนใน lazada ไม่ถึง 400 บาท แต่ตามศูนย์ หรือร้านค้าใน ห้าง ร้านตู้มือถือ มักจะคิดราคาหลักพันบาท โดยจะคิดกำไรอย่างต่ำไม่น้อยกว่า 500 บาท เลยทีเดียว

เพื่อแก้ปัญหานี้ให้ซื้อซองหรือเคสเพื่อช่วยปกป้องหน้าจอ การใช้งานต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะกรณีให้เด็กๆ ใช้งาน เพราะจอ ชั้นนอกจะทากาวเฉพาะขอบทั้ง 4 ด้านเท่านั้น ตรงกลางไม่มีอะไรรองรับ การกดแรงๆ ทำให้จอแตกได้

 

2. ปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม

การใช้งานแบตเตอรี่ของมือถือหรือแท็บเล็ต อย่าใช้จนหมด ให้ชาร์จให้บ่อยที่สุด แบตเตอรี่ลดเหลือ 70% ก็ชาร์จได้เลย ควรมี พาวเวอร์แบงค์ติดตัว เพื่อจะได้ชาร์จได้ตลอดเวลา การใช้มือถือหรือแท็บเล็ตจนแบตเตอรี่เหลือน้อยมากหรือหมดบ่อยๆ แบตเตอรี่จะ เสื่อมเร็ว

การซื้อแบตเตอรี่มีทางเลือกราคาถูกโดยสั่งจากเน็ต เพียงแต่ต้องสำรวจให้ตรงรุ่น เพราะการซื้อจากห้าง หรือศูนย์จะคิดราคาแพงมาก

กรณีของแท็บเล็ตก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้ไม่ยาก โดยแกะฝาครอบด้านหลังออก แล้วก็เปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้เลย ไม่ยาก ไม่ แพงด้วย โดยสั่งแบตเตอรี่จากเน็ตเองให้ตรงรุ่นเช่นกัน

 

3. ปัญหาเครื่องทำงานช้า

แอปต่างๆ ในมือถือ Android จะทำงานตลอดเวลา เหมือนโรงงานสร้างไฟล์ต่างๆ ไฟล์ขยะ และอื่นๆ ตลอดเวลา ทำให้หน่วยความจำ เหลือน้อย เครื่องจะทำงานช้าลง หากเครื่องเริ่มทำงานช้ามาก ก็จัดการปิดแล้วเปิดเครื่องใหม่หรือใช้โปรแกรมเคลียหน่วยความจำอย่าง Es Task Manager ซึ่งต้องทำบ่อยๆ เช่นกัน หรือทุกครั้งที่รู้สึกว่าเครื่องทำงานช้าลง

 

4. ปัญหาการอัพเดทตัวระบบทำให้เครื่องรวน

การอัพเดทรอม อัพเดทระบบอาจจะทำให้เครื่องรวน เครื่องมีปัญหา ก่อนจะทำการอัพเดทจึงต้องศึกษาในเรื่องนี้ให้ดี ไม่เช่นนั้นเครื่อง จะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น เปิดเครื่องแล้ว อาจจะค้างที่โลโก้ ไม่ยอมขยับไปไหน ทำอะไรไม่ได้

การอัพเดทระบบของ Android อัตโนมัติ บางอย่างสามารถยกเลิกได้ หากไม่อยากเจอปัญหา การใช้ระบบเดิมๆ จากโรงงานไปจนกว่าจะ ไม่สามารถใช้งานเครื่องได้ ย่อมจะดีกว่า แน่นอน เพราะปัญหาเกี่ยวกับระบบ แอปต่างๆ จะมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก

 

5. ปัญหาการอัพเดทแอปแล้วใช้งานไม่ได้

ระบบแอนดรอยด์มีการอัพเกรดรุ่นเป็นรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น จาก 4.4.4 เป็น 5.0, 6.0, 7.0 .... การอัพเดทบ่อยๆ อาจจะส่งผล ทำให้แอปบางตัวในเครื่องมีปัญหา อย่างแอป Line ในมือถือที่ใช้ระบบ Android 4.4 หากอัพเดท Line เป็นรุ่นใหม่จะทำให้ใช้งานไม่ได้ ดังนั้นในมือถือรุ่นเก่า หากไม่อยากให้เครื่องมีปัญหา ก็อย่างอัพเดทให้บ่อยมากนัก

 

6. หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปมากเกินไป

การติดตั้งแอปต่างๆ มากเกินไปจะส่งผลทำให้เครื่องทำงานช้า เพราะแอปที่ได้ติดตั้งส่วนใหญ่จะแย่งหน่วยความจำไปใช้งาน จึงทำให้ เครื่องเริ่มทำงานช้าลง จนต้องรีเซ็ตเครื่องใหม่ หรือฮาร์ดรีเซ็ต ซึ่งจะลบข้อมูลในเครื่องทั้งหมด

 

7. อีเมล์ Gmail ในมือถือ Andorid ต้องจำรหัสผ่านให้ได้

เมื่อเกิดปัญหากับมือถือหรือเท็บเล็ตระบบ Android หากจำรหัสผ่านอีเมล์ Gmail ที่ใช้ลงทะเบียนเพื่อใช้งานเครื่องไม่ได้ ก็จะมีปัญหาใน การแก้ไขอย่างมาก ดังนั้น เมื่อได้เครื่องมาแล้ว การสร้างอีเมล์ Gmail ในเครื่อง ได้ตั้งรหัสผ่านอะไรไว้ ให้เขียนลงกระดาษ แล้วเอา กล้องถ่ายรูป ถ่ายเก็บไว้ คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน จะจำรหัสผ่านไม่ได้ เพราะเวลาสมัครก็ให้ทางร้าน ดำเนินการสมัครให้

นอกจากนี้การใช้งานแอปบางตัวอย่าง Line, Facebook หรือแอปใดๆ ก็ตามที่มีการลงทะเบียน จำเป็นต้องจดรหัสผ่านและจำข้อมูลการ เข้าใช้งานให้ได้เช่นกัน เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหาต้องล้างใหม่ ก็จะไม่สามารถดึงข้อมูลเก่ากลับมาได้

 

8. ปัญหาตูดชาร์จเสีย

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดบ่อย เช่น ชาร์จไฟไม่เข้า หรือจากเดิมที่เคยใช้ OTG ได้ อยู่ๆ ก็ใช้งานไม่ได้ ราคาอะไหล่ชิ้นนี้ ไม่แพง แต่ช่างส่วนใหญ่คิดราคาประมาณ 500 บาทรวมอุปกรณ์ เอากำไรไม่น้อยกว่า 400 บาทขึ้นไปเลยทีเดียว

 

9. ปัญหาความชื้นทำให้จุดเชื่อมต่อมีปัญหา

ในตัวมือถือหรือแท็บเล็ตจะมีจุดเชื่อมต่อหลายจุด ความชื้นจะให้จุดเชื่อมต่อต่างๆ โดยเฉพาะสายแพร์เกิดปัญหา ไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาญกันได้ ต้องถอดมาทำความสะอาด อาการที่จะพบเช่น เครื่องเปิดได้ตามปกติ แต่หน้าจอเป็นสีขาว หรือกรณีเครื่องมีปัญหาหาสาเหตุไม่ได้ ก็อาจจะต้องใช้ทำความสะอาดจุดเชื่อมต่อต่างๆ

 

10. ค่าซ่อมมือถือหรือแท็บเล็ตค่อนข้างแพง

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับมือถือหรือแท็บเล็ต Android ค่อนข้างแพง ตั้งแต่การซื้อเครื่องเลยทีเดียว เช่น การตั้งค่าเครื่อง การสมัครอีเมล์ การสมัคร Line การสมัคร Facebook ฯลฯ บางรายคิดเงินไม่น้อยกว่า 100 บาทต่อรายการ สมัคร Line ก็ 100 บาท เฟสบุ๊คอีก 100 บาท เป็นต้น

ส่วนการซ่อมไม่ต้องพูดถึง ช่างหรือร้านค้าอาศัยว่า คนรู้เรื่องพวกนี้น้อย และทำเองไม่ได้ จึงคิดเงินอย่างเต็มที่ เช่น ค่าเปลี่ยนทัชสกรีนจอนอก บางรายคิดที่ 2,200 บาท ทั้งๆ ที่ ราคาอะไหล่ 300 กว่าบาทเท่านั้นเอง

 

ปัญหาต่างๆ ที่มักจะเกิดกับมือถือหรือแท็บเล็ต Android บ่อยๆ ปัจจุบันมีการแชร์ข้อมูลกันผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่าน Youtube เยอะมาก ดังนั้นมีปัญหาอะไรก็ตามแต่ หาข้อมูลก่อน พิมพ์ชื่อรุ่นของเครื่อง และปัญหา ทุกเรื่อง มีคำตอบแน่นอน เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพราะบางครั้งก็เป็นปัญหาง่ายๆ ที่สามารถซ่อมเองได้ไม่ยากเลย