สายคาดหน้าอกใช้กับมือถือช่วยให้การถ่ายภาพถ่ายวิดีโอสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถใช้งานได้หลายแบบ เช่น ขับรถท่องเที่ยว ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ เดินท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างการทำงานฝีมือ อาหาร ก็สามารถใช้ถ่ายวิดีโอ ถ่ายภาพได้เช่นเดียว กัน ใช้แทนขาตั้งมือถือได้ในบางกรณี ซึ่งมีความสะดวกกว่า และราคาถูกกว่า

 

หากจะต้องใช้มือถือถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ก็จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยจับมือถือ ซึ่งก็มีทั้งขาตั้งมือถือแบบต่างๆ ให้เลือกใช้ แต่ สายคาดอกใช้กับมือถือ ก็มีความสะดวกในการใช้งานเช่นกัน อย่างเช่น
1. การทำงานฝีมือ สามารถถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ เลื่อนวัตถุให้เข้ามาใกล้กล้องได้ง่ายกว่า ทำงานคนเดียวได้ ไม่ต้องมีคนคอยถ่ายวิดีโอ ถ่ายภาพ
2. การถ่ายวิดีโอสอนใช้แอปในมือถือ รีวิวสินค้า ก็สามารถใช้การอุปกรณ์ตัวนี้ได้


3. การขับรถมอเตอร์ไซต์ ปั่นจักรยาน การเดินท่องเที่ยว สามารถคาดหน้าอกจับมือถือถ่ายวิดีโอขณะเดินทางท่องเที่ยวได้

 

การซื้อสายคาดอกใช้กับมือถือและอุปกรณ์เสริม

สำหรับอุปกรณ์ที่จะต้องซื้อจะมี 2 ตัวก็คือ สายคาดหน้าอก และ ที่จับมือถือ เพราะที่แถมมากับสายคาดหน้าอกนั้น ไม่มีความ แข็งแรงมากพอ อาจจะทำให้มือถือหลุด หล่น เสียหายได้ โดยเฉพาะขณะขับรถ


ตัวอย่างที่จับมือถือที่มากับสายคาด จะเป็นแบบยืดแล้วหนีบ ซึ่งยังไม่ทันได้ใช้งานเลย ก็พังเสียแล้ว แต่ที่จับมือถือแบบหมุนเกลียว จะมีความทนทานมากกว่า จับมือถือได้แน่นกว่า

 


สำหรับที่จับมือถือแบบหมุนเกลียว แนะนำตัวนี้ราคา 40 กว่าบาท สามารถแยกชิ้นส่วนให้มีขนาดเล็กลง และใช้งานได้ง่ายขึ้น การใช้ งานมีความแน่นหนา ล็อกมือถือได้แน่นมาก

 

ควรใช้มือถือแบบใด?

สำหรับมือถือที่จะนำมาใช้กับสายคาดหน้าอก ควรเป็นมือถือที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และที่สำคัญ ต้องมีกันสั่น
1. กรณีใช้ iPhone ก็เลือก iPhone 7 ขึ้นไป (ราคาประมาณ 4500 ขึ้นไป) จะมีกันสั่น เวลาเดินหรือขับรถถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ภาพในวิดีโอจะไม่สั่น ดูแล้วปวดตา
2. กรณีใช้มือถือแอนดรอยด์ ก็เลือกรุ่นที่มีกันสั่น ซึ่งมักจะมีราคาสูงหลักหมื่นบาท แต่ก็มีบางรุ่นเป็นรุ่นเก่าแล้ว แต่ก็ยังใช้งานได้ดี มีกันสั่น เช่น Samsung A50/A50s/A51 ราคาประมาณ 6000 บาทขึ้นไป
3. ใช้มือถือแอนดรอยด์ราคาถูกทั่วไป ไม่มีกันสั่น แต่ก็สามารถปรับแต่งได้ ด้วยแอป Google Photo ซึ่งมีอยู่แล้วในมือถือแอ นดรอยด์ทุกรุ่น และเมื่อปรับแต่งลดการสั่นแล้ว วิดีโอที่ได้ก็จะสั่นน้อยลง แต่ทำได้ไม่ดีเหมือนมือถือที่มีกันสั่นโดยตรง

 

วิธีประกอบสายคาดหน้าอก

1. ก่อนอื่นไปทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ได้มาทั้งหมด จะมีสายคาดซึ่งมีร่องสำหรับติด ขาตั้งมือถือ
2. ตัวล็อกขาตั้งมือถือ
3. ที่จับมือถือแบบหนีบ และที่รองจับมือถือ


4. การประกอบอุปกรณ์ทั้งหมดตามที่ได้มา ก็เริ่มจากการติดขาตั้งมือถือ กับแผ่นสายคาดหน้าอก วางและกดให้ลงร่องเพื่อล็อก ดัน จากบนลงล่าง


5. สวมที่จับมือถือแบบหนีบ และที่รองจับมือถือเข้าด้วยกันให้แน่น


6. นำที่จับมือถือแบบหนีบ (ไม่แนะนำให้ใช้ ไม่แข็งแรงมากพอ มือถือหลุดร่วงได้) ไปติดตั้งกับแผ่นสายคาดหน้าอก และติดตั้งตัวหมุนล็อกให้แน่น


7. การใช้ที่จับมือถือแบบหมุนเกลียว ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าแบบยืดแล้วหนีบ จำเป็นจะต้องใช้แผ่นยางรอง หนาสัก 3 มิลลิเมตร


8. หากไม่ใช้แหวนรอง เมื่อล็อกที่จับมือถือแบบหมุนเกลียวให้แน่ ตำแหน่งจะไม่ขนานกับแผ่นคาดหน้าอก แต่จะเฉียงแบบนี้
9. ตัวอย่างการใช้แหวนรอง เมื่อล็อกให้แน่นแล้ว มือถือจะขนานกับแผ่นคาดหน้าอก แบบนี้


10. แหวนรองจะต้องใช้ยาง เพราะจะให้ความยืดหยุ่น หดตัวได้ ทำให้ปรับตำแหน่งได้ง่ายกว่า อาจจะใช้ยางในจักรยานยนต์ ก็ได้


11. ประกอบเรียบร้อยพร้อมใช้งาน การสวมให้ปลดล็อกตัวนี้ก่อน แล้วจึงสวมกับตัว จากนั้นก็ล็อกให้แน่น
12. ขณะใช้งาน ก็หมุนปลดล็อกที่จับมือถือ เพื่อจะได้เลื่อนลง และสามารถใส่มือถือ หรือ ดูหน้าจอมือถือได้ โดยไม่ต้องถอดมือถือ ออกมา แต่คนสายตายาว อาจจะไม่สะดวก ใกล้เกินไป มองไม่ชัด

 

ผลการทดลองใช้งาน

สำหรับผลการทดลองใช้งาน ผู้เขียนได้ทดสอบกับมือถือ 2 แบบ คือ iPhone ที่มีกันสั่น และ มือถือแอนดรอยด์ราคาถูกทั่วไป ไม่มีกันสั่น ผลที่ได้ก็ตามนี้

การใช้งานกับ iPhone 7 ที่มีกันสั่น
การทดลองแบ่งเป็น 4 แบบดังนี้
1. ขับมอเตอร์ไซต์บนทางเรียบ ถนนดำทั่วไป วิดีโอที่ได้ นิ่งดี ไม่สั่นมากนัก ภาพดูละมุน สบายตา
2. ขับทางป่า มีหลุมมีบ่อ ก็มีอาการสั่นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ทำให้ปวดตา
3. เดินชมป่า เดินชมวิว ให้ภาพที่ไม่สั่นมากนัก ยังใช้งานได้
4. ใช้มือถือ ถือมือ จะให้ความนิ่งมากกว่าวิธีที่ทดลองในข้อที่ 3

 

สรุปการใช้งานกับมือถือที่มีกันสั่น และใช้กับการขับรถมอเตอร์ไซต์ วิดีโอที่ได้ ก็ไม่สั่นมากนัก สามารถนำไปใช้งานได้

 

การใช้งานกับมือถือแอนดรอยด์ไม่มีกันสั่น
การทดลองแบ่งเป็น 4 แบบเช่นกัน
1. ขับมอเตอร์ไซต์บนทางเรียบ ถนนดำทั่วไป วิดีโอที่ได้ สั่น กระตุกตามกระเด้งของรถ
2. ขับทางป่า มีหลุมมีบ่อ สั่น กระตุกตามกระเด้งของรถมากขึ้น
3. เดินชมป่า เดินชมวิว วิดีโอที่ได้ จะสั่นตามจังหวะการเดิน
4. ใช้มือถือ ถือมือ จะให้ความนิ่งมากกว่าวิธีที่ทดลองในข้อที่ 1-3

 

สรุป การใช้งานกับมือถือที่มีไม่ระบบกันสั่น จะทำให้วิดีโอกระตุก สั่น ตามจังหวะเดิน หรือ การกระเด้ง กระดอนของรถ ขณะขับขี่ แต่กรณีใช้มือถือแอนดรอยด์ ก็ยังมีทางแก้ไขได้ โดยใช้แอป Google รูปภาพ หรือ Google Photos ก็จะช่วยลดการสั่น กระตุกลงไป ได้บ้าง ก็พอจะนำไปใช้งานจริงได้

 

การทดลองถ่ายวิดีโอขณะทำกิจกรรม

การทดลองใช้งานอีกลักษณะหนึ่ง จะเป็นการคาดหน้าอก ติดมือถือ แล้วถ่ายวิดีโอขณะทำงานต่างๆ เช่น ซ่อมเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือสอนใช้แอปในมือถือ พบว่า เป็นวิธีที่ดีมาก เพราะไม่เกะกะ และสามารถมองเห็นหน้าจอได้ สามารถเลื่อนวัตถุเข้ามาใกล้กล้อง หรือเลื่อนห่างจากกล้องได้ตามต้องการ สามารถทำงานคนเดียวได้ ไม่ต้องมีคนช่วยถ่ายภาพ

ใครที่จะทำวิดีโอสอนงานประดิษฐ์ สอนใช้มือถือ หรือสาธิต แสดงการทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง สายคาดหน้าอกสำหรับมือถือแบบนี้ ถือว่าลงตัวมาก ไม่เกะกะ เหมือน การใช้ขาตั้งมือถือ สามารถมองเห็นในหน้าจอได้อย่างชัดเจน ช่วยให้การจัดวางองค์ประกอบในวิดีโอทำได้ง่าย 

 

อีกทางเลือกที่ประหยัดกว่าในงบประมาณ 100 บาท

ผู้เขียนแนะนำอีกหนึ่งทางเลือกประหยัดกว่า ใช้งานง่ายกว่า และไม่ดูเป็นจุดสนใจของสายตาชาวบ้านที่พบเห็น ด้วยการนำเคสของมือถือที่ผู้อ่านใช้ มาเย็บเชือกกระเป๋าสะพายติดเข้าไปแล้วใช้คล้องคอ ขับรถถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ หรือ เดินถ่ายวิดีโอก็ได้ 

<br>