สำหรับใครที่ซื้อคอมพิวเตอร์มือสอง ใช้ Windows 10 แบบ 64 บิต ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบครบชุด พร้อมใช้งาน ราคาจะอยู่ประมาณ 4000-4500 บาท โดยจะได้สเปคเครื่องเป็นซีพียู Intel Core i3 / i5 แรม 4 GB และฮาร์ดดิสก์แบบธรรมดา ไม่ใช่แบบ SSD คอมพิวเตอร์สเปคนี้พอจะใช้งานทั่วไปได้ แต่อาจจะมีอาการหน่วงๆ ซึ่งก็สามารถอัปเกรดได้ในงบหลักร้อยบาทขึ้นไป
ส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มือสอง ติดตั้ง Windows 10 ใช้ซีพียู Intel Core i3 / i5 แรม 4 GB ฮาร์ดดิสก์แบบธรรมดา การ์ดจอออนบอร์ด ที่มีขายในเว็บไซต์ขายสินค้าดังๆ 2-3 เว็บในขณะนี้ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป ใช้โปรแกรม Word, Excel, PowerPoint ดูหนังฟังเพลง ใช้เน็ต ดูวิดีโอยูทูป อาจจะมีอาการหน่วงๆ เล็กน้อย เปิดเครื่องไม่เร็วนัก แอปบางตัวโดยเฉพาะแอปจัดการภาพ แต่งภาพ หรือแม้แต่การดูภาพ ก็จะมีอาการหน่วงให้เห็นอย่างได้ชัด
ดังนั้นการอัปเกรดเครื่องให้เร็วขึ้น แรงขึ้น อาจจะจำเป็นจะต้องทำ ซึ่งอาจจะเริ่มจากงบน้อยๆ ไปก่อน ตามลำดับดังนี้
Step 1 : อัปเกรดฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD
กรณีเครื่องนั้นๆ ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ซึ่งการทำงานจะช้ากว่าฮาร์ดดิสก์แบบ SSD สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ การอัปเกรดอุปกรณ์ตัวนี้
1. ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำงานช้ากว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD แต่มีราคาถูกกว่า การใช้งานกับ Windows 10 แบบ 64 บิต ไม่ควรใช้ เพราะทำงานช้าเมื่อต้องใช้งานกับ Windows 10 64 บิตร จะดูหน่วงๆ ช้าๆ ในการใช้งานบางแอป จึงเหมาะกับ Windows 7 หรือ Windows 10 32 Bit มากกว่า
2. ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD หรือ Solid State Drive ทำงานเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน แต่จะมีราคาสูงกว่า
3. ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ราคาประมาณ 300-400 บาท การอัปเกรดคอมพิวเตอร์มือสองให้ทำงานเร็วขึ้น จึงควรเริ่มต้นด้วยอุปกรณ์ตัวนี้ก่อนตัวอื่น หากพบว่า หลังอัปเกรดแล้ว เครื่องยังทำงานช้า ก็จัดการอัปเกรดใน Step 2 ต่อไป
4. ส่วนขนาดความจุฮาร์ดดิสก์ ใช้ขนาด 60 - 120 GB ก็เพียงพอแล้ว โดยที่หากติดตั้งโปรแกรมค่อนข้างมาก ก็ใช้ขนาด 120 GB เอาไว้ติดตั้ง Windows และ แอปอื่นๆ ส่วนฮาร์ดดิสก์เก่าติดเครื่องมานั้น ก็ใช้เก็บข้อมูล
5. ก่อนซื้อ ก็ควรตรวจสอบพื้นที่เก็บข้อมูลในไดรฟ์ C: เสียก่อน ว่ามีการติดตั้งโปรแกรมไว้มากน้อยเพียงใด ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ This PC
6. คลิกที่ This PC
7. ชี้ลูกศรที่ ไดรฟ์ C: คลิกปุ่มขวาของเมาส์ แล้วคลิก Properties
8. ตัวอย่างเครื่องนี้ ไดรฟ์ C: มีการใช้ติดตั้ง Windows 10 และ แอปต่างๆ รวมแล้วมีขนาดประมาณ 43 GB
9. กรณีนี้ก็ควรใช้ฮาร์ดดิสก์ SSD ความจุ 120 GB ไม่ควรใช้แบบ 60 GB เพราะพื้นที่จะเหลือน้อย ทำให้เครื่องทำงานช้า และต้องเผื่อติดตั้งแอปอื่นๆ เพิ่มเติม ในอนาคต
Step 2 : อัปเกรดแรม
ผู้เขียนได้ซื้อคอมพิวเตอร์มือสอง Dell ติดตั้ง Windows 10 ใช้ซีพียู Intel Core i5 แรม 4 GB ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ในการใช้งานนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีอาการหน่วงๆ ดังนั้นหากอัปเกรดฮาร์ดดิสก์แล้ว ยังไม่ดีขึ้น ก็ให้อัปเกรดแรมเพิ่ม
1. เครื่องนี้มีแรมแถวเพียว 4 GB สามารถเพิ่มได้มากถึง 16 GB
2. ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำงานช้า เครื่องมีอาการหน่วง อย่างเห็นได้ชัด
3. ราคาแรม 4 GB ไม่แพง แนะนำให้เพิ่มอีก 4 GB เข้าไปก่อน จากนั้นก็ใช้งานตามปกติ หากพบว่า เครื่องยังคงทำงานช้า ก็จำเป็นจะต้องอัปเกรดใน Step 3 ต่อไป
4. สำหรับการใช้งานทั่วไป แค่ Step 1-2 ก็เอาอยู่แน่นอน เครื่องทำงานเร็วขึ้นอย่างแน่นอน
Step 3 : อัปเกรดการ์ดจอ
คอมพิวเตอร์ที่ใช้การ์ดจอแบบออนบอร์ด ติดมากับเมนบอร์ด จะทำงานช้ากว่า การ์ดจอแยก หากได้อัปเกรดฮาร์ดดิสก์ และ แรมแล้ว เครื่องยังทำงานช้า ก็จำเป็นจะต้องอัปเกรดการ์ดจอแยก
1. เครื่องนี้ติดตั้ง Windows 10 ซีพียู Intel Core i5 แรม DDR3 4 GB ฮาร์ดดิสก์จานหมุน 500 GB การ์ดจอแบบออนบอร์ด
2. การใช้งานบางอย่างมีอาการหน่วง ช้า อย่างเห็นได้ชัด อย่างการเปิดดูภาพถ่าย ที่มีขนาดใหญ่ อย่างภาพนี้มีขนาด 3 MB มีอาการช้าอย่างเห็นได้ชัด
3. กว่าจะเปิดภาพได้เต็มจอแบบนี้ จะมีอาหารหน่วงๆ อย่างเห็นได้ชัด
4. ดังนั้นหากจะต้องจัดการกับภาพขนาดใหญ่ จัดการกับวิดีโอ ตัดต่อวิดีโอ เล่นเกม ก็จำเป็นจะต้องอัปเกรดการ์ดจอ เพราะคอมพิวเตอร์ที่ใช้การ์ดจอออนบอร์ด จะทำงานช้า สังเกตุได้ไม่ยาก จะมีที่เสียบสายการ์ดจอในลักษณะนี้
5. ตัวอย่างการ์ดจอแยก
6. จะเสียบกับสลอตสีฟ้า ตรงนี้
7. ตัวอย่างการติดตั้งการ์ดจอแยก ให้กับคอมพิวเตอร์มือสอง ผลที่ได้ เครื่องทำงานเร็วมากขึ้น เปิดภาพ เปิดดูวิดีโอ ทำได้เร็วมากขึ้น ไม่หน่วงเหมือนการใช้การ์ดจอออนบอร์ด
8. สำหรับราคาการ์ดจอแยก จะค่อนข้างสูง เริ่มต้นไม่น้อยกว่า 600 บาทขึ้นไป และอาจจะแพงถึงหลักหมื่นบาท โดยเฉพาะรุ่นใหม่ การซื้ออุปกรณ์ตัวนี้ จำเป็นจะต้องศึกษาให้ดีถึงความจำเป็นจะต้องใช้งาน จะใช้กับแอปแบบใด เกมอะไรบ้าง และต้องการการ์ดจอแบบใด ที่รองรับการใช้งานกับแอปเหล่านั้น
สรุป
สำหรับใครที่ซื้อคอมพิวเตอร์มือสองจากเน็ตมาใช้งาน เป็น Windows 10 แบบ 64 บิต ใช้ซีพียู Intel Core i3 / Core i5 แรม 4 GB การ์ดจอออนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน อยากจะเพิ่มความเร็วให้เครื่องอีกสักหน่อย ก็จัดการได้ตามนี้ ตามลำดับ งบประมาณ 400-2000 ก็น่าจะเอาอยู่ พอใจแค่ไหน ก็หยุดแค่นั้น การอัปเกรดแค่ 3 Step นี้ก็น่าจะช่วยให้ใช้เครื่องได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เครื่องทำงานเร็วมากขึ้น