เขียน CD/DVD
รวมบทความสอนใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแผ่น CD/DVD การจัดการแผนซีดี หรือดีวีดี การบันทึกข้อมูลลงแผ่น การก็อปปี้แผ่น สร้างแผ่นซีดีหรือดีวีดีแบบต่างๆ โดยใช้โปรแกรมยอดนิยมอย่าง Nero
บทความสอนวิธีการก็อปปี้แผ่นซีดีด้วยโปรแกรม Clone CD
1. ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับเข้าไปในช่องอ่าน
2. คลิกปุ่ม Copy CD
3. จะเข้าสู่หน้าจอโปรแกรมให้กำหนดการทำงานเกี่ยวกับการก็อปปี้ซีดี ให้คลิกเลือกลักษณะ ของแผ่นซีดีต้นฉบับว่าเป็นแบบใด Audio CD, Data CD...
- Audio CD แผ่นซีดีออดิโอหรือแผ่นซีดีเพลง
- Data CD แผ่นซีดีเก็บข้อมูล อาจเป็นไฟล์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- Game CD แผ่นซีดีประเภทเกมสำหรับคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ซึ่งบางแผ่นจะมีรหัสผ่าน หรือได้รับการป้องกันการก็อปปี้ จะไม่สามารถก็อปปี้ด้วยวิธีธรรมดาได้
- Multimedia Audio CD แผ่นซีดีประเภทมัลติมิเดียมีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว อาจเป็นโปรแกรมประเภท CAI สำหรับสอนเด็ก แผ่นซีดีสอนต่างๆ
4. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำงานต่อ
5. จะปรากฏหน้าจอ ให้เลือกที่เก็บอิมเมจไฟล์ที่โปรแกรมจะสร้างขึ้นมา ในกระบวนการก็อปปี้ ซีดี ให้คลิกปุ่ม Browse เพื่อไปเลือกที่เก็บ
6. โปรแกรมจะเริ่มต้นอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีต้นฉบับ
7. หลังจากอ่านข้อมูลเสร็จแล้ว ก็จะให้เปลี่ยนแผ่นซีดี ให้ใส่แผ่นซีดีเปล่าเข้าไป (Please remove Source CD and insert Destination CD!) ใส่แผ่นเข้าไปแล้วคลิกปุ่ม OK
8. จะปรากฏหน้าจอให้กำหนดเกี่ยวกับการเขียนข้อมูล
9. คลิกเลือกความเร็ว (Write Speed) เลือก Max
10. อาจคลิกตัวเลือก Simulation Writing เพื่อทดสอบเขียนข้อมูลก่อนเขียนจริง
11. คลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มต้นก็อปปี้ซีดี (ท่านใดที่ได้ติดตั้งเวอร์ชันทดลอง ก็จะปรากฏกรอบ ข้อความแจ้งเกี่ยวกับสิทธิในการใช้โปรแกรมนี้ ให้คลิกปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบข้อความนั้นๆ)
12. โปรแกรมจะเริ่มทำการเขียนข้อมูล เสร็จแล้วจะปรากฏกรอบข้อความแจ้งว่า ก็อปปี้เสร็จ แล้ว (Copy finished!) ให้คลิกปุ่ม OK แล้วก็ออกจากโปรแกรม Clone CD
- Details
- Category: ก็อปปี้แผ่นซีดีด้วย Clone CD
- Hits: 3997
ทำความรู้จักการเขียนซีดี
ลักษณะการเขียนซีดีหรือการเบิร์นแผ่น ก็จะเป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องหรือในซีดีแผ่น ต้นฉบับไปเก็บไว้ในแผ่นซีดีหรือแผ่นดีวีดี ข้อมูลที่นำไปใส่ในแผ่น ชนิดของข้อมูลจะเป็นตัวบ่งบอก หรือแยกความแตกต่างของแผ่นซีดีที่ได้เช่น ถ้านำเอาเพลง MP3 อย่างเดียวไปเขียนลงแผ่นก็จะเรียก ว่าแผ่นซีดีเพลง MP3 หรือถ้าเอาวิดีโอ ไปเขียนลงแผ่นก็จะเรียกว่าแผ่นวีซีดี เป็นต้น
ความนิยมเกี่ยวกับการเขียนซีดีส่วนใหญ่ก็จะเป็นการทำแผ่นซีดีเพลงทั้งแผ่นซีดีเพลงแบบออ ดิโอและแบบ MP3 ไว้ฟังในรถหรือแจกจ่ายเพื่อนฝูง และการก็อปปี้แผ่นซีดี บางทีเรามีแผ่นจริงอยู่แต่ ไม่อยากใช้ ซื้อมาค่อนข้างแพง ก็จัดการก็อปปี้ลงแผ่นซีดีไว้ใช้งาน ตัวจริงเก็บไว้ แผ่นซีดีเปล่าราคา ประมาณ 5-6 บาทเท่านั้น ถ้าแผ่นเสียก็ทำใหม่ได้ไม่ยาก
รูปแบบการเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดี
ถ้ามีเครื่องเขียนซีดีหรือดีวีดี เราก็จะสามารถสร้างแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้หลายรูปแบบเช่น
1. แผ่นซีดีเพลงแบบออดิโอ
หลายๆ คนก็จะจับเพลงโปรดมารวมไว้ด้วยกัน เพราะศิลปิน บางท่านก็จะมีเพลงเด่นๆ อยู่ไม่กี่ เพลง คงไม่สะดวกแน่ถ้าต้องพกพาหลายๆ แผ่นติดตัวหรือติดรถ ถ้าจับมารวมกันไว้ในแผ่นเดียวจะ สะดวกในการฟังมากกว่า
2. แผ่นซีดีหรือดีวีดีรวมเพลง MP3, WMA หรือ MP4
แผ่นซีดีเพลงแบบออดิโอแผ่นหนึ่งมีประมาณ 18-20 เพลง ในขณะที่แผ่นซีดีรวมเพลง MP3 จะเก็บเพลงประมาณ 200 เพลง ส่วนแผ่นดีวีดี MP3 ก็เก็บเพลงได้ประมาณ 900 เพลง ถ้าในรถติด เครื่องเล่น DVD ไว้ด้วย ก็พกพาแผ่นดีวีดี 2-3 แผ่นก็ฟังกันจนเบื่อแน่นอน ไม่ต้องใส่แผ่นเข้าออกอยู่ บ่อยๆ แผ่นเดียวคุ้ม นอกจากแผ่น MP3 แล้วก็ยังมีแผ่นเพลงแบบ WMA หรือ MP4
3. แผ่นวิดีโอซีดีหรือดีวีดี
อาจเป็นการนำภาพวิดีโอที่ถ่ายไว้ด้วยกล้องดิจิตอล หรือsหนังที่ตัดต่อจากแผ่นวีซีดีมาสร้างใหม่ เป็นแผ่นวิดีโอซีดีในรูปแบบของตนเอง รวมเฉพาะฉากหนังหรือรวมวีซีดีคาราโอเกะเพลงที่ชอบๆ ไว้ ด้วยกันก็ได้ ถ้ามีวิดีโอซีดีจำนวนมาก ก็อาจรวมไว้ในดีวีดีแผ่นเดียวก็ได้ เช่น มีหนังโปรดหลายๆ เรื่อง ก็จับมารวมไว้ในดีวีดีแผ่นเดียวได้
4. แผ่นซีดีหรือดีวีดีเก็บข้อมูล
ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น ก็คงจะนึกไม่ออกว่าอะไรคือข้อมูล เป็นเรื่องไกลตัวไปหน่อย แต่ ถ้าเป็นคนที่มีโอกาสหรือต้องใช้คอมพิวเตอร์ คุณก็จะรู้เองว่าอะไรคือข้อมูล ทุกคนต้องมีอยู่แล้ว เช่น ไฟล์งานที่เจ้านายให้พิมพ์ ภาพลับๆ ที่ไปดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต ไฟล์เพลง MP3 วิดีโอคลิปที่ถ่าย ไว้ด้วยกล้องดิจิตอล หรือไปดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
ถ้าจะอธิบายในความหมายกว้างๆ อะไรก็ตามที่คุณเห็นในหน้าจอคอมพิวเตอร์นั่นก็คือข้อมูล การเขียนซีดีหรือดีวีดีข้อมูล ก็เพื่อจะนำข้อมูลที่มีอยู่ไปเก็บไว้ในแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลมีปริมาณไม่มากนัก หรือนำไปเก็บไว้ในแผ่นดีวีดี หากข้อมูลมีจำนวนมาก เพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น คอมพิวเตอร์เสีย ก็ ไม่เป็นไร เพราะได้ก็อปปี้ข้อมูลเก็บไว้ในแผ่นซีดีหรือแผ่นดีวีดีเรียบร้อยแล้ว
5. การก็อปปี้แผ่นซีดีหรือแผ่นดีวีดี
น่าจะเป็นรูปแบบที่หลายๆ คนนิยมใช้บริการ รองจากการเขียนแผ่นซีดีเพลง เช่นก็อปปี้ แผ่นซีดีเพลงที่มีอยู่หรือก็อปปี้แผ่นวีซีดี ก็อปปี้แผ่นหนังดีวีดี เป็นต้น เอาแผ่นต้นฉบับเก็บไว้ แล้ว ใช้แผ่นก็อปปี้ให้พังเป็นแผ่นๆ ไป เสียก็ก็อปปี้ใหม่ ถ้าใช้แผ่นจริง แผ่นเจ๊ง ก็ต้องซื้อใหม่ แพงกว่า
6. แผ่นซีดีหรือแผ่นดีวีดีแบบอื่นๆ
ยังมีรูปแบบการเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดีอีกหลายแบบ แต่จะใช้กันในวงแคบเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า เช่นแผ่นซีดีสำรองระบบในคอมพิวเตอร์เก็บไว้ แผ่นซีดีแบบ Autorun ที่ผู้พัฒนาโปรแกรมจัดทำขึ้นมาเพื่อขายโปรแกรมของตนเอง แผ่นซีดีนำเสนอข้อมูล แผ่นสอนการใช้ งานโปรแกรมต่างๆ แต่แผ่นประเภทนี้ก็จัดอยู่ในกลุ่มแผ่นซีดีข้อมูลอีกประเภทหนึ่ง
- Details
- Category: แปลงหนัง แปลงเพลง เขียนวีดีโอ CD/DVD Nero
- Hits: 1364
อุปกรณ์เกี่ยวกับการเขียนซีดี/ดีวีดี
A. แผ่นซีดีสำหรับบันทึกข้อมูล
แผ่นซีดีที่ไว้บันทึกข้อมูลนั้นมีหลายแบบด้วยกัน คือ CD-R, CD-RW, ซึ่งความสามารถและการ ใช้งาน ก็จะแตกต่างกันไป ดังนี้
1. CD-R (Compact Disc-Recordable) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในส่วนของข้อความ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ แต่จะบันทึกได้ครั้งเดียว นอกเสียจากจะฟอร์แมทให้เป็นรูปแบบพิเศษ ก็จะ สามารถใช้งานได้เหมือนกับการใช้แผ่นดิสก์เก็ต แต่ต้องใช้กับซีดีรอมไดรว์ที่สามารถเขียนและอ่านได้
แผ่นซีดีอาร์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด มีให้เลือกหลายราคา ตั้งแต่ 5-6 บาทขึ้นไป (ถ้าซื้อ เป็นจำนวนมาก) ส่วนเรื่องของคุณภาพในการใช้งาน ก็คงต้องลองทดสอบ อาจซื้อมาลองบันทึกข้อมูล หลายๆ แบบ หลายๆ ยี่ห้อ
รายละเอียดบนแผ่นซีดีอาร์
บนแผ่นซีดีอาร์ส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดหรือสกรีนข้อความต่างๆ เช่น
- 650 MB/74 min จะเป็นแผ่นซีดีไว้บันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกที่ความจุ 650 MB หรือ บันทึกเสียงได้ 74 นาที อยากรู้ว่า สามารถบันทึกข้อมูลได้กี่เพลง ก็เอา 74 หารด้วย 5 ประมาณเอาว่า เพลงหนึ่งยาว 5 นาที
- 700 MB/80 min จะเป็นแผ่นซีดีไว้บันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกที่ความจุ 700 MB หรือ บันทึกเสียงได้ 80 นาที
- 2x-40x เป็นความเร็วในการบันทึกข้อมูล การเลือกซื้อต้องเลือกให้สัมพันธ์กับเครื่องเขียน ซีดีของเราด้วย เช่น เครื่องของเรา มีความสามารถในการเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ที่ความเร็วสูงสุด แค่ 16x ก็ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ที่ความเร็ว 40x ความเร็ว 1x จะประมาณ 150 Kb/วินาที เป็น ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องบันทึกซีดีลงแผ่นซีดี
- Compact disc Recordable ข้อความนี้จะบอกให้รู้ว่าเป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ อย่างเดียวเท่านั้น
2. CD-RW (Compact Disc-Rewritable) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลเหมือนกับ CD-R แต่จะ สามารถเขียนและลบข้อมูล แล้วบันทึกซ้ำใหม่ได้หลายครั้ง เช่นเดียวกันกับการใช้แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ แต่ว่าแผ่น CD-RW นี้จะอ่านและบันทึกข้อมูลได้เฉพาะกับ CD-RW DRIVE เท่านั้น บนแผ่นจะสกรีน ข้อความต่างๆ ไว้เช่น
- Compact disc Rewritable บ่งบอกว่าเป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลและลบข้อมูล เพื่อ เขียนซ้ำลงไปใหม่ได้
แผ่นดีวีดีแบบต่างๆ
แผ่นดีวีดีจะมีความจุสูงกว่า มีหลายแบบให้เลือกใช้ ที่นิยมในปัจจุบันก็จะมีแผ่น DVD-5 และ DVD-9 ต่างกันที่ความจุ DVD-5 มีความจุ 4.7 GB แผ่น DVD-9 มีความจุ 8.5 GB ลักษณะการใช้ งานแผ่นดีวีดีจะเน้นการก็อปปี้หนังมากกว่า เพราะคนธรรมดาทั่วๆ ไป น้อยคนจะมีข้อมูลจำนวนมาก ให้ต้องบันทึกลงแผ่นดีวีดี ที่พอจะมีอยู่บ้างก็คือกลุ่มผู้ใช้กล้องถ่ายวิดีโอ
1. แผ่น DVD-R เป็นแผ่นดีวีดีแบบลบ ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว เป็นแผ่นที่ราคา ถูกที่สุด มีความจุให้เลือกที่ 4.7-8.5 GB เป็นแผ่นที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่
2. แผ่น DVD-RW เป็นแผ่นดีวีดีแบบลบ ที่สามารถเขียนซ้ำและลบได้
3. แผ่น DVD+R เป็นแผ่นดีวีดีแบบบวก ราคาสูงกว่าแบบลบ คุณภาพก็ดีกว่า คุณสมบัติ คล้ายๆ กัน แต่อนาคตราคาและคุณภาพไม่น่าจะต่างกันนัก
4. แผ่น DVD+RW เป็นแผ่นดีวีดีแบบบวก ที่สามารถเขียนซ้ำและลบได้
B. ซีดีไรเตอร์หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูล
ซีดีไรเตอร์หรือเครื่องเขียนซีดี
เป็นอุปกรณ์ช่วยบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี มีชื่อเรียกแบบต่างๆ เช่น ซีดีไรเตอร์ เครื่องเขียนซีดี CD-RW ไดรว์
CD-RW ไดรว์ หรือเครื่องเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีแบบ CD-R และ CD-RW จะมี 2 แบบ ให้ เลือกคือ Internal สำหรับติดตั้งภายใน และ External สำหรับติดตั้งภายนอก
ในการเลือกซื้อมาใช้งาน แนะนำให้เลือกแบบอินเตอร์นอลลักษณะเหมือนกับซีดีรอมไดรว์ ทั่วๆ ไป การติดตั้งก็เหมือนกัน แต่ราคาและความสามารถไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง เป็นเครื่องเขียน ที่นิยมใช้กันมาก ราคาไม่แพง ส่วนแบบติดตั้งภายนอก จะไม่นิยมใช้กันสักเท่าไร ราคาสูงแต่ ประสิทธิภาพต่ำ ถ้าเลือกซื้อเครื่องเขียนซีดีที่เชื่อมต่อภายนอกแบบ USB หรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ ความ เร็วในการรับส่งข้อมูลยังไม่ดีพอ ต้องเลือกซื้อแบบ SCSI (สะกัซซี่) ที่ราคาค่อนข้างแพง แม้จะมี ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า
ความเร็วการทำงานของเครื่องเขียนซีดีจะแสดงเป็นตัวเลข เช่น 52x32x52x ความหมาย
52x แรก หมายถึง ความเร็วในการอ่านแผ่นซีดี
32x หมายถึง ความเร็วในการเขียนแผ่น CD-RW
52x หมายถึง ความเร็วในการเขียนแผ่น CD-R
ในความเป็นจริงแล้ว ยากที่จะสามารถทำความเร็วได้ตามที่ระบุ ติดปัญหาหลายอย่าง
คอมโบไดรว์
เป็นไดรว์ที่รวมความสามารถของ CD-RW และ DVD ไดรว์ ที่สามารถอ่านดีวีดีได้อย่างเดียว ไว้ด้วยกัน ส่วนใหญ่จะติดตั้งในโน้ตบุ๊คมากกว่า
ดีวีดีไรเตอร์หรือเครื่องเขียนดีวีดี
DVD-RW ไดรว์จะสามารถเขียนได้ทั้งแผ่นดีวีดีแบบลบ (DVD-R และ DVD-RW) และแผ่น ดีวีดีแบบบวก (DVD+R และ DVD+RW) เป็นเครื่องเขียนข้อมูลที่ครอบคลุมเรื่องการเขียนซีดีและดีวีดี ทั้งหมด สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น CD-R, CD-RW, DVD-R, DVD-RW, DVD+R และ DVD+RW ได้ แต่การเลือกซื้อก็ต้องดูคุณสมบัติข้างกล่องด้วย ว่าครอบคลุมความสามารถทั้งหมดหรือไม่
ปัจจุบันเครื่องเขียนดีวีดีราคาถูกมาก มีให้เลือกตั้งแต่ราคา 1500.- ขึ้นไป และก็จะถูกลงไป เรื่อยๆ อย่างแน่นอน การเลือกซื้อมาใช้งานเลือกแบบติดตั้งภายใน ค่อนข้างคุ้มค่ากว่า
ตัวอย่างข้อความต่างๆ ที่ปรากฏบนกล่องใส่เครื่องเขียนดีวีดี
DVD-R, DVD-RW เครื่องนั้นๆ มีความสามารถเขียนแผ่นดีวีดีแบบลบทั้งแผ่นที่เขียนได้ ครั้งเดียวและเขียนซ้ำได้
DVD+R, DVD+RW เครื่องนั้นๆ มีความสามารถเขียนแผ่นดีวีดีแบบบวกทั้งแผ่นที่เขียนได้ ครั้งเดียวและเขียนซ้ำได้
DVD+R 16X เขียนแผ่น DVD+R ได้ที่ความเร็วสูงสุด 16X
DVD-R 12X เขียนแผ่น DVD-R ได้ที่ความเร็วสูงสุด 12X
DVD+R DL 4X เขียนแผ่นดีวีดีแบบ Double Layer ที่มีควาจุ 8.5 GB ได้ที่ความเร็ว 4X
C. โปรแกรมช่วยเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดี
เมื่อมีแผ่นซีดีหรือดีวีดีไว้บันทึกข้อมูล มีเครื่องเขียนข้อมูลลงแผ่นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ก็คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องเขียนซีดี ขาดโปรแกรมเหล่านี้ เครื่อง เขียนซีดีก็ไร้ประโยชน์ โปรแกรมประเภทนี้ที่นิยมใช้กันมากๆ จะมีดังนี้
1. Nero นีโร เป็นโปรแกรมเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีที่นิยมมากตัวหนึ่ง
2. Easy CD Creator เป็นโปรแกรมเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีคู่แข่งกันกับ Nero
3. Windows XP โปรแกรม Windows XP ก็มีไดรเวอร์หรือโปรแกรมควบคุมการทำงาน ของซีดีไรเตอร์ สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้เช่นกัน โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมช่วยงานด้านนี้ ความสามารถยังสู้โปรแกรมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่ก็ใช้งานแก้ขัดได้ ถ้าในเครื่องไม่มีโปรแกรม Nero
4. อาจมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะเมื่อซื้อ CD-RW ไดรว์มา ใช้งาน ส่วนใหญ่จะมีแถมโปรแกรมช่วยบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีมาให้อยู่แล้ว อาจเป็นตัวใดตัวหนึ่ง ระหว่าง Nero, Easy CD Creator หรือ Winoncd ฯลฯ
แผ่นโปรแกรม nero
ที่แถมมากับเครื่อง เขียนซีดี/ดีวีดี ส่วนใหญ่จะเป็น nero express
- Details
- Category: แปลงหนัง แปลงเพลง เขียนวีดีโอ CD/DVD Nero
- Hits: 6495
ก่อนจะเขียนข้อมูลลงไปไว้ในแผ่นดิสก์ ก็ควรทำความรู้จักข้อมูลกันก่อน ว่ามีกี่ประเภท ข้อมูล อะไรจะนำไปเขียนซีดีหรือดีวีดีแบบใดได้บ้าง และข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ก่อนอื่นให้เข้าโปรแกรม Windows Explorer ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยจัดการกับข้อมูลที่ต้อง เรียนรู้ ใช้ให้เป็น ใช้ให้คล่อง เพราะการเตรียมข้อมูลเพื่อบันทึกลงแผ่นไม่ว่าจะเป็นการก็อปปี้ ลบ ย้าย ฯลฯ ต้องใช้โปรแกรมนี้
การเข้าโปรแกรม Windows Explorer
1. ชี้ลูกศรที่ปุ่ม Start
2. กดปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด
3. คลิกคำสั่ง Explore
4. หน้าจอโปรแกรม Windows Explorer
5. ในช่องซ้ายมือ ให้คลิกที่ไอคอนต่างๆ เช่น My Computer, ไดรว์ C:, ไดรว์ D: เพื่อดูข้อมูล อาจคลิก + หรือ - เพื่อแสดงข้อมูลย่อยในไดรว์หรือโฟลเดอร์นั้นๆ แล้วจึงคลิกที่โฟลเดอร์สีเหลือง
6. ข้อมูลจะถูกแสดงออกมาในช่องด้านขวามือ
ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องก็คือไฟล์ต่างๆ นั่นเอง แต่ละไฟล์อาจแยกส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ไอคอน ชื่อไฟล์และนามสกุลของไฟล์ ไฟล์ประเภทเดียวกันจะใช้ไอคอนและนามสกุลเหมือนกัน ไอคอน และนามสกุลจึงเป็นตัวแบ่งแยกชนิดของไฟล์ ให้เรารู้ว่าไฟล์นั้นๆ เป็นไฟล์ประเภทใด เป็นไฟล์ของ โปรแกรมใดๆ หรือเป็นไฟล์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง
การแสดงนามสกุลของไฟล์
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกกำหนดให้แสดงนามสกุลของไฟล์ออกมาด้วย ซึ่ง จะทำให้การแยกประเภท ชนิดของไฟล์ ทำได้ลำบาก การแสดงนามสกุลของไฟล์ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ในหน้าจอโปรแกรมให้คลิกเมนู Tools>>Folder Options
2. จะปรากฏกรอบข้อความขึ้นมาให้คลิกแท็ป View คลิกให้เครื่องหมายถูกหน้า Hide extension for know file type ให้เครื่องหมายถูกหายไป เพื่อให้โปรแกรมแสดงนามสกุลของไฟล์
3. เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม OK เพื่อปิดกรอบข้อความ
การจำแนกความแตกต่างของไฟล์
วิธีการจำแนกความแตกต่างกันของไฟล์ที่ดีที่สุด ผู้เขียนแนะนำให้จดจำที่นามสกุลของไฟล์ ก่อนอื่นก็อย่าลืมสั่งให้โปรแกรม Windows Explorer แสดงนามสกุลของไฟล์ ไม่เช่นนั้นก็ดูไม่ออก
อาจแบ่งลักษณะของไฟล์ออกเป็น 2 แบบ คือไฟล์ที่สร้างโดยการพัฒนาหรือเขียนโปรแกรม ซึ่งก็เป็นไฟล์หลักและไฟล์ประกอบของโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ นั่นเอง และประเภทที่สองก็คือไฟล์ ที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป อาจเป็น Word Excel ฯลฯ
ไฟล์ที่สร้างโดยการพัฒนาหรือเขียนโปรแกรม
ถ้าไม่รู้จักไฟล์เหล่านี้ดีพอ ก็อย่าไปวุ่นวาย ข้องแวะ เพราะการลบหรือแก้ไขไฟล์เหล่านี้ จะ ทำให้เครื่องไม่ทำงานได้ ไฟล์ต่างๆ เหล่านี้ถ้าจะนำไปเขียนลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีก็จะมีจุดประสงค์เพื่อ สำรองระบบในเครื่องเก็บไว้ ถ้าคอมพิวเตอร์มีปัญหาก็ไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่
1. ไฟล์หลักของโปรแกรม เป็นไฟล์หลักที่สามารถเรียกใช้งานได้ ในแต่ละโปรแกรมจะมีไฟล์ หลักที่สามารถทำงานได้ อย่างน้อย 1 ไฟล์ จะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล COM, EXE หรือ BAT เช่น COMMAND.COM NOTEPAD.EXE
2. ไฟล์ระบบ เป็นไฟล์ประกอบการทำงานของไฟล์หลัก อาจเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลหรือชื่อไฟล์ คล้ายๆ กับตัวอย่าง เช่น DAT, SYS, LOG, DLL, SAM, MSG, PWL, INF, VXD, DRV เป็นต้น
ไฟล์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
การจดจำนามสกุลของไฟล์ ก็จะทำให้เรารู้ว่า ไฟล์นั้นๆ สร้างขึ้นมาจากโปรแกรมอะไร และ การดูว่ามีข้อมูลอะไรบ้างข้างในไฟล์นั้นๆ จะต้องเปิดดูด้วยโปรแกรมอะไร เช่น ไฟล์เพลง MP3 ก็ จะใช้โปรแกรม Winamp หรือ Nero ShowTime เพื่อเปิดฟังเพลง ไฟล์เอกสาร DOC ก็จะใช้โปรแกรม Word เปิดดูข้อความ ข้างใน เป็นต้น
1. Zip ซิพไฟล์หรือไฟล์ที่ถูกบีบย่อไว้ ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ถูกนำมาบีบย่อนั้น อาจเป็น ไฟล์อะไรก็ได้ แต่โปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบย่อและได้ไฟล์ใหม่เป็นไฟล์ซิพ จะใช้โปรแกรม WinZip, PKzip , Winrar ฯลฯ การดูข้อมูลข้างในก็ต้องใช้โปรแกรมเหล่านี้
2. ไฟล์เอกสาร อาจเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล TXT, DOC, WPD หรือ SAM ที่พบเห็นกันเป็น ส่วนใหญ่ก็จะเป็น TXT และ DOC โดยที่ TXT จะเป็นไฟล์ข้อความที่สร้างด้วยโปรแกรม Notepad ส่วน DOC สร้างด้วยโปรแกรม Wordpad หรือ Microsoft Word โปรแกรมพิมพ์เอกสารที่นิยมใช้ กันมากที่สุด
3. ไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรมนำเสนอข้อมูล เช่น PPT สร้างจากโปรแกรม PowerPoint
4. ไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรมประเภทเสปรดชีท เช่น XLS สร้างจากโปรแกรม Excel
5. ไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรมฐานข้อมูลเช่น WB2 สร้างจากโปรแกรม Quattro ไฟล์ MDB สร้างจากโปรแกรม Access และ DBF สร้างจากโปรแกรม dBASE, Foxbase หรือ Foxpro ไฟล์นั้นๆ สร้างจากโปรแกรมอะไร ก็ต้องเปิดดูข้อมูลข้างในด้วยโปรแกรมนั้นๆ
6. ลักษณะไฟล์เสียงแบบต่างๆ จะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลดังนี้ MID, MP3 ไฟล์เพลง สุดฮิต, WAV, ASF, WMA ฯลฯ ยังมีอีกมาก แต่ไฟล์ที่พบเห็นก่อนบ่อยๆ จะเป็น MP3, WMA และ MP4 มากกว่า
7. ไฟล์คู่มือการใช้โปรแกรมต่างๆ จะมีนามสกุล HLP หรือ CHM เช่น FREECELL.HLP คู่มือสอนวิธีเล่นเกม Freecell
8. ไฟล์รูปภาพ จริงๆ แล้วมีมากกว่านี้ เช่น TIF, BMP (สร้างจากโปรแกรม Paint), GIF, JPG (GIF และ JPG เป็นไฟล์ภาพใช้ในการสร้างเว็บเพจ), WPG, PSD (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Photoshop), CDR (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม CorelDRAW), AI (ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Illustrator) เป็นต้น
9. ไฟล์ที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต เช่น HTM, HTML, ASP, PHP, PL ฯลฯ การเปิดดูข้อมูลใน ไฟล์เหล่านี้ จะใช้โปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer
10. ไฟล์ไอคอนหรือเคอร์เซอร์ เช่น ICO, CUR
11. ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม PageMaker เช่น P65, PMD
12. ไฟล์ที่โปรแกรมใดๆ สร้างขึ้นมาชั่วคราว แล้วอาจลืมลบเมื่อปิดโปรแกรมนั้นๆ เช่น TMP, LOG ไฟล์เหล่านี้สามารถลบได้
13. ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Ghost เช่น GHO
14. ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงหรือไฟล์วีดีโอ เช่น DAT (จะพบในแผ่นวีซีดี), AVI, MOV, MPEG, MP4, WMV และ MPG ฯลฯ
- Details
- Category: แปลงหนัง แปลงเพลง เขียนวีดีโอ CD/DVD Nero
- Hits: 6542
ก็อปปี้แผ่นซีดีด้วย Clone CD Article Count: 1
แปลงหนัง แปลงเพลง เขียนวีดีโอ CD/DVD Nero Article Count: 18
Page 2 of 6