เมื่อเริ่มทำงานมีรายรับเดือนหลักหมื่นบาทขึ้นไป หลายคนจะเริ่มคิดถึงการมีรถยนต์สักคัน ต่างจากคนรุ่นก่อนที่เน้นการมีบ้านก่อน จะคิดถึงเรื่องรถซึ่งส่งผลให้สามารถตั้งตัวได้เร็วกว่า เพราะการมีรถมีแต่จะทำให้เงินหดหายไป

 

 

เปรียบเทียบการซื้อบ้านหรือรถยนต์ในราคาที่เท่ากัน

ผู้เขียนอาจจะโชคดีมีเพื่อนหลายคนที่มีความคิดเรื่องการบริหารเงินต่างกัน อย่างการซื้อบ้านในงบประมาณ 1 ล้านกว่าบาท ซื้อรถ ยนต์ และไม่ลงทุนทำอะไรเลย ใช้ไปวันๆ เดือนๆ นึ่คือคน 3 ประเภทที่น่าจะเป็นตัวอย่างให้เห็นได้อย่างชัดเจนประกอบเนื้อหาบท ความนี้

 

ผลกำไรในอนาคตจากการซื้อบ้าน

เพื่อนคนแรก ซื้อบ้านราคาล้านต้นๆ ผ่านไปไม่ถึง 7 ปี ราคาปรับสูงมากเกินเท่าเท่าตัว และมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นทุกปี ถ้าขาย บ้านก็ทำกำไรหลักแสน สบายๆ เวลาที่ผ่านไปก็สร้างความมั่งคง มั่นคงทางการเงินให้เพื่อนคนนี้พอสมควร หากเรียนจบใหม่ แล้วเริ่ม ผ่อนบ้านให้เร็ว ก่อนอายุ 30 การหาเงินล้านด้วยวิธีนี้จะเห็นว่า ไม่ยากเลย ถ้าเลือกทำเลได้ดี ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นมากกว่านี้

 

จำนวนเงินที่ลดลงเพราะการซื้อรถยนต์

เพื่อนคนที่สองซื้อรถในราคาเท่าๆ กับซื้อบ้าน ผ่านไป 7 ปี รถราคา 1,000,000 บาท เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี อาจจะเหลือเพียง 600,000-700,000 บาทเท่านั้น และหากผ่านไป 7 ปี อาจจะเหลือเพียง 400,000 กว่าบาทเท่านั้น เงินหายไป 700,000 บาท แต่ หากนับรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าประกันภัย ภาษี พ.ร.บ. ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ปีละไม่น้อยกว่า 60,000 บาท ภายใน 7 ปีก็ไม่ต่ากว่า 400,000 บาท รวมทั้งหมดแล้ว จะมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ประมาณ 1 ล้านบาทต้นๆ เลยทีเดียว

ผู้อ่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการซื้อรถยนต์นั้น ทำให้เงินหายไปไม่น้อยเลย แต่หากซื้อบ้านก่อน ก็จะช่วยชดเชยกันได้ และหาก บ้านมีราคาปรับตัวสูงขึ้น อาจทำรีไฟแนนซ์ เพื่อหาเงินก้อนมาซื้อรถยนต์ อาจจะซื้อมือสองแทนป้ายแดง หรือลงทุนอย่างอื่นได้อีก เพราะการมีบ้าน มีทรัพย์สินที่มีความมั่นคง การทำธุรกรรมการเงินจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า อย่างการผ่อนรถ หากมีบ้านก็อาจจะ ไม่ต้องใช้คนค้ำ หรือทำธุรกรรมอื่นๆ ก็เช่นกัน

หากวางแผนจะทำธุรกิจให้รุ่งโรจน์ในอนาคต ต้องซื้อบ้านก่อน เพื่อหาทางต่อยอดสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อความเจริญ รุ่งเรืองของกิจการต่อไป แต่การมีรถ ไม่ช่วยอะไร มีแต่เป็นภาระ และมีแต่รายจ่าย

แนะนำ รวมบทความน่ารู้เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ 

 

ไม่ซื้อบ้าน แต่ซื้อรถบ้าน อาศัยอยู่ตามอุทยานแห่งชาติ

หากทำงานอิสระ และชอบเดินทางท่องเที่ยว การหาซื้อรถบ้านสักคันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะคนเกษียณ อาจจะเน้นนำ เงินไปลงทุนกับการเล่นหุ้น แล้วก็เดินทางไปเรื่อยๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีอุทยานแห่งชาติมากมายที่สามารถอยู่ได้เรื่อยๆ ถ้าในอนาคต ไม่มีการเปลี่ยนกฏ ข้อบังคับใดๆ

 

การเก็บเงินไว้โดยไม่ได้ลงทุน มีโอกาสใช้เงินหมด

ส่วนผู้เขียน เน้นใช้ชีวิตแบบอิสระ แบบสุขนิยม เน้นซื้อรถยนต์มากกว่าวัตถุประเภทอื่น ใช้รถรวมทั้งหมด 11 คัน หมดเงินไปหลัก ล้านบาท กับรถยนต์ แต่สุดท้ายราคาที่ตกลงไปเรื่อยๆ จากรถป้ายแดง ราคาหลักแสนก็จะเหลือแค่หลักหมื่นบาทเท่านั้นเอง ลองดู ประกาศขายรถในเว็บไซต์ต่างๆ รถยนต์ทุกประเภทจะมีราคาลดเหลือต่ำสุดตั้งแต่แจกฟรีถึงแสนบาทบวกลบ และราคาก็ไม่ตกลงไป มากกว่านี้อีกแล้วรถยังอยู่ในสภาพดี โดยจะกินเวลาประมาณ 20 ปี ราคาก็จะเหลือไม่ถึงแสนบาท และคงอยู่แค่นั้น ในขณะที่การซื้อบ้าน ราคาจะเพิ่มขึ้น

 

คนฉลาดนั้นจะมีทาง วิธีคิดในการบริหารเงิน หลายแบบเช่น ซื้อบ้านก่อน เมื่อราคาปรับสูงขึ้นก็รีไฟแนนซ์ ผ่อนเบาๆ แล้วซื้อรถ โดยต้องใช้รถไปยาวๆ เกิน 15 ปี ก็คุ้มค่าการลงทุน คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป แต่หากเปลี่ยนรถบ่อยเกินไป มีแต่ขาดทุน เสียเงินเปล่า

 

กรณีศึกษาทั้ง 3 แบบที่เป็นการแชร์ประสบการณ์ตรงนี้ ก็คงจะช่วยให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า หากต้องการตั้งตัวให้เร็ว การซื้อบ้านต้องมาก่อนรถ จึงจะมีโอกาสตั้งตัวได้ เมื่อเริ่มมีรายได้ อย่าได้คิดถึงการมีรถ เพราะ การซื้อรถมีรายจ่ายมาก มีแต่จะทำให้เงินลดลงไปเรื่อยๆ อ่านไปขำๆ ครับ เพราะถ้าผู้อ่านมีเงินเดือนสูง มีเงินก้อน ส่วนใหญ่ก็ซื้อรถก่อนแน่นอน ผู้เขียนก็เหมือนกัน แต่จะซื้อรถตู้ เพราะใช้เป็นบ้านได้