การใช้อินเตอร์เน็ตกับผู้ให้บริการต่างๆ เช่น 3BB, True ฯลฯ ผ่านเน็ตบ้านซึ่งปัจจุบันเรานิยมใช้ WiFi Rounter อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งก็มีแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้นมาแนะนำ ก่อนจะโทรศัพท์เรียกช่าง

 

ปัญหาที่อาจจะเกิดกับการใช้ WiFi Rounter

สำหรับสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดปัญหากับ WiFi Rounter ทำให้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้ ก็มีหลายสาเหตุด้วยกันเช่น

1. ปัญหาจากความร้อน เพราะเรามักจะเปิดใช้งานอุปกรณ์ตัวนี้ ทั้งวันทั้งคืนจะปิดก็ต่อเมื่อเครื่องเสีย ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะทำให้เครื่องร้อน จนหยุดการทำงาน จึงควรหมั่นสังเกตุว่าเครื่องร้อนหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ใช้เครื่องในห้องแอร์ หากร้อนมาก การติดพัดลม เช่น นำพัดลมสำหรับโน้ตบุ๊คมารองตัวเราเตอร์ ก็จะช่วยลดความร้อนลงได้

2. ปัญหาจากตัวอุปกรณ์เอง เครื่องอาจจะเสีย หรือเกิดปัญหา

3. ปัญหาจากการเชื่อมต่อ สายขาด ขายหลุด หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากผู้ให้บริการ

4. ปัญหาจากตัวผู้ใช้เองที่ไม่มีความรู้ในการใช้งาน การดูแล และไม่เข้าใจหลักการทำงานของการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบบนี้

 

การแก้ปัญหาเกี่ยวกับ WiFi Rounter ด้วยตนเองเบื้องต้น

ในกรณีที่อินเตอร์เน็ตมีปัญหา ไม่สามารถเล่นได้ เราอาจลองแก้ปัญหาด้วยตนเองในเบื้องต้นก่อน เช่น
1. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเราเตอร์ ข้อมูลต่างๆ บนตัวเครื่อง ให้จดไว้ ในการติดต่อกับทางเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งข้อมูลได้ เช่น
- ยี่ห้อ รุ่นของเราเตอร์
- หมายเลขโทรศํพท์บ้านของเรา
- หมายเลขสมาชิก
- หมายเลขของคอลล์เซ็นเตอร์ หากแก้ปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ จะได้โทรศัพท์ติดต่อ
- อุปกรณ์ต่างๆ ที่มากับตัวเครื่อง มีอะไรบ้าง


2. เมื่อรู้ข้อมูล ยี่ห้อ รุ่นของเราเตอร์ แล้ว การค้นหาข้อมูล ปัญหายอดนิยมที่มักจะเกิดกับรุ่นนั้นๆ ผ่าน Google ก็จะง่ายขึ้น
3. ลองดูไฟสัญญาณต่างๆ ที่ปรากฏบนตัวเราเตอร์ ปกติจะมีสีเขียว หากมีสีแดง สีส้ม แสดงว่า มีปัญหาที่ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นปัญหาที่ต้องเรียกเจ้าหน้าที่ ให้ติดต่อกับทางคอลล์เซ็ตเตอร์ก่อน ดูเบอร์ที่ติดไว้ที่ตัวเครื่อง เช่น Call Center : เบอร์โทรศัพท์ เพื่อจะได้นัดช่างให้เข้ามาดูแล


4. ที่ตัวเราเตอร์จะมีช่องเสียบสายแลน และมีสายแลนมาให้พร้อมเครื่อง ให้ต่อสายนี้กับโน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ หากยังไม่สามารถเล่นเน็ตได้ ไม่มีสัญญาณเน็ต ก็แสดงว่าเกิดจากฝั่งผู้ให้บริการ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ ถ้าสามารถเล่นเน็ตได้ แสดงว่า เราเตอร์มีปัญหากับการกระจายสัญญาณ WiFi ก็ต้องดูว่าเครื่องหมดประกันหรือยัง ถ้าหมดแล้ว ลองค้นหาตามเว็บไซต์ร้านค้าที่ขายอุปกรณ์เหล่านี้ เช่น jib.co.th หรือยืมเพื่อนบ้านมาลองทดสอบ


5. เราเตอร์อาจจะส่งสัญญาณ WiFi ตามปกติ สามารถเชื่อมต่อได้ แต่เล่นเน็ตไม่ได้ เครื่องมีสัญญาณไฟสีแดงหรือส้น แสดงว่า เกิดปัญหาจากฝั่งผู้ให้บริการ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่


6. ความเร็วในการต่อเน็ตผ่านเน็ตบ้าน นั้นแม้ว่าในแพ็คเกจจะระบุว่าเชื่อมต่อที่ความเร็วสูงเท่านั้น เท่านี้ก็ตาม แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีทางทำได้ เพราะใช้กันหลายบ้าน ก็จะต้องแชร์กันไป เรื่องนี้ต้องลองไปนั่งเล่นเน็ตใกล้จุดกระจายสัญญาณ เช่น เสามือถือ ก็จะรู้ว่า การเชื่อมต่อนั้น ทำได้ที่ความเร็วเท่าไหร่กันแน่ ดังนั้นหากความเร็วไม่เป็นไปตามที่ระบุในโฆษณา ก็ต้องทำใจ และควรหมั่นสังเกตุช่วงเวลาที่เน็ตเร็วหรือช้า จะได้เลือกเวลาได้เหมาะสม


7. การเชื่อมต่อเน็ต หากต้องการความเร็วสูง ต้องต่อสายแลนโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ไม่เชื่อมต่อผ่าน WiFi เพราะความเร็วจะลดลง ลองสังเกตุวันใดที่อากาศไม่ค่อยดี มีฟ้าฝน จะเห็นได้อย่างชัดเจน


8. คอลเซ็นเตอร์ และช่างที่ให้บริการนั้น แต่ละส่วนแยกกัน บางค่าย แยกกันคนละบริษัทเลยทีเดียว ช่างเองก็อาจเป็นคนนอกที่ไปรับงานอีกที ดังนั้น ก็ต้องทำใจกับการให้บริการ เพราะรับงานต่อมาอีกที กรณีมีปัญหาและทางช่างต้องเข้ามาดูแลนั้น ก็จะมีค่าใช้จ่าย หากบริษัทไม่จ่าย ก็คงจะไม่มีช่างคนไหนสามารถทำได้อย่างแน่นอน


9. กรณีต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน WiFi ในบ้าน ให้ต่อสายแลน (หัวต่อคล้ายหัวต่อโทรศัพท์บ้าน แต่ใหญ่กว่า) ที่มาพร้อมเราเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ แล้วจึงเข้าระบบไปตั้งค่า โดยค้นหาข้อมูลการตั้งค่าของเราเตอร์แต่ละตัว ไม่จำเป็นต้องเรียกช่าง


10. เมื่อเกิดปัญหาในการใช้งาน หลังจากลองทดลองตามวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล แนะนำให้ติดต่อทางคอลเซ็นเตอร์ก่อน เช่น ของ True 1686 เพื่อจะได้นัดช่างให้เข้ามาดูแล


11. การใช้มือถือหรือแท็บเล็ตเชื่อมต่อเน็ตบ้านผ่าน Wi-Fi หากเชื่อมต่อไม่ได้ให้ลองปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่

การใช้เน็ตบ้าน มีโอกาสเกิดปัญหาได้หลายแบบ แต่ก็ไม่มากไปกว่านี้ เราจึงควรศึกษาหาความรู้เบื้องต้นว่า ปัญหาน่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง อย่างน้อยเวลาคุยกับคอลเซนเตอร์จะได้บอกปัญหาได้ การแก้ไขจะเร็วขึ้น หากไม่มีพื้นฐานความรู้เลย ก็จะเสียเวลา ทั้งสองฝ่าย

 

แชร์บทความนี้ :

 

Sponsored Ads