เมื่อเริ่มมีรายได้ และถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบเสียภาษี ก็จะต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด ทั้งการศึกษาจากคู่มือ หรือสอบถามผู้รู้ หรือเข้าไปคุยกับ สรรพากรในท้องที่โดยตรง เพื่อจะได้วางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ เกี่ยวกับการเสียภาษี มีหลายคนที่เลี่ยงภาษี หรือมีเหตุบางอย่างที่ทำให้ต้องเสียค่าปรับเพราะ จ่ายภาษีไม่ถูกต้อง หรือโดนภาษีย้อนหลัง

 

เมื่อมีรายได้ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการทำงาน รายได้จากการเปิดร้านขายของ ฯลฯ จำเป็นต้องศึกษาวิธีการเสียภาษี บางคนเปิดบริษัทรับเหมาก่อ สร้าง มีใบอนุญาตก่อสร้าง แล้วให้คนอื่นนำไปรับงาน แต่ไม่หักภาษีเอาไว้ สุดท้ายก็ต้องมารับผิดชอบเองเป็นแสนบาท บางคนเลี่ยงไม่จ่ายภาษี โดน ภาษีย้อนหลัง ถูกปรับเป็นแสนเช่นกัน เป็นต้น ความน่ากลัวก็คือ มักจะถูกเรียกเก็บภาษีในเวลาที่ชีวิตกำลังมีปัญหาการเงิน

 

การเสียภาษีนั้นมีข้อดี เพราะแสดงถึงการมีรายรับ มีรายได้ ซึ่งบางคนใช้เป็นหลักฐานในการกู้ซื้อบ้านหรือทรัพย์สิน เป็นการต่อยอดสร้างรายได้ แต่ บางคนไม่วางแผนในเรื่องนี้ มีเงินเข้าหลายแสน แต่ทำเรื่องกู้แบงก์ไม่ผ่าน ข้อดีของภาษียังมีอีกมาก ไม่ใช่มีแต่เรื่องต้องจ่ายเงิน ต้องเสียเงินอย่างเดียว ต้องรู้จักวางแผน เพราะในบางกรณีอาจจะทำให้กิจการล้มหายตายจากไปเลยก็ได้ หากมีปัญเรื่องภาษี

 

การเสียภาษีสำหรับคนทำงานประจำ ไม่มีอะไรวุ่นวาย เพราะมีการคำนวณที่ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่คนทำงานส่วนตัว มีรายรับด้านต่างๆ ที่ต่างกันออกไป บางคนค้าขาย บางคนทำงานผ่านเน็ต บางคนรับสินค้ามาขาย ฯลฯ แต่ละอาชีพต้องเสียภาษีต่างกันไป ต้องศึกษาให้ดี หรือหาโอกาสไปคุยกับสรรพากร เพื่อปรึกษาและวางแผนเสียภาษีให้ถูกต้อง การพูดคุยปรึกษากับสรรพากรนั้น ควรเข้าไปคุยกับเขตอื่น เพราะจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากกว่า เนื่องจากเจ้า หน้าที่ก็มีการทำยอดเหมือนกัน บางทีก็ยึดเยียดรายรับให้ผู้เสียภาษีมากเกินจริง เพื่อหวังทำยอดเงิน

 

เมื่อคิดจะเปิดร้านค้าหรือทำมาค้าข้ายแบบใดก็ตาม ปัจจุบันหาข้อมูลได้ง่าย เพราะมีการแขร์กันมาก ดังนั้น ควรสละเวลาศึกษาหาความรู้ให้ละเอียด เพราะเจ้าหน้าที่สรรพากรก็จะมีทั้งพวกทำยอด สำรวจและยัดเยียดตัวเลขจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีเกินจริงให้เรา ดังนั้นต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนเปิด ร้าน

 

หลักเกณฑ์การยื่นแบบเสียภาษี

กรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้ที่มีรายได้ดังต่อไปนี้ จะต้องไปยื่นแบบเสียภาษี แม้ว่าเงินจะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียก็ตาม
1. ถ้าเงินเดือน มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี
2. ถ้ามีรายได้รวมจากงานประจำตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี
3. ถ้ามีเงินเดิอนเกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 25,833.3 บาทต่อเดือน ต้องยื่นแบบเสียภาษี แต่ไม่ต้องเสียเงิน ยกเว้นจะมีรายรับอื่น อย่างโบนัส ทำ ให้มีรายได้เกินนั้น
4. ถ้ามีรายได้ต่อเดือนเกิน 25,833.3 บาทขึ้นไป (ประมาณ 309,999 บาทขึ้นไป) จะต้องยื่นแบบเสียภาษี และต้องเสียภาษี


**

กรณีนี้เป็นการคิดภาษีสำหรับผู้ทำงานประจำ**

 

อัตราภาษีใหม่ประจำปี 2561

อัตราการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
0-150,000 บาท เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสีย
150,01-300,000 เสียภาษี 5%
300,01-500,000 เสียภาษี 10%
500,01-750,000 เสียภาษี 15%
750,01-1,000,000 เสียภาษี 20%
1,000,001-2,000,000 เสียภาษี 25%
2,000,001-4,000,000 เสียภาษี 30%
4,000,001- ขึ้นไป เสียภาษี 35%

 

ตัวอย่างรายรับที่ยื่นแบบเสียภาษีแต่ก็ไม่ต้องเสียเงิน

กรณีต่อไปนี้ จะเป็นผู้ที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 120,001 ถึงประมาณ 309,999 บาทต่อปี แม้จะยื่นแบบเสียภาษีแต่ก็ไม่ต้องเสียเงิน เพราะรายได้ไม่ ถึงเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนด

 

1. กรณีรายรับรวมทั้งปี 150,000 บาท

กรณีมีรายรับทั้งปี 150,000 บาท ขึ้นไป ต้องไปยื่นแบบแสดงภาษีต่อสรรพากรในท้องที่ แต่ไม่ต้องเสียภาษี เพราะไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษา กฏหมายยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ข้อมูลอ้างอิงจาก อัตราภาษีใหม่ประจำปี 2561

 

อัตราการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
0-150,000 บาท เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสีย
...

 

2. กรณีรายรับรวมทั้งปี เกิน 120,000 แต่ไม่เกิน 309,999 บาท

กรณีมีรายรับต่อปีเกิน 120,000 แต่ไม่เกิน 309,999 บาท ต้องไปยื่นแบบแสดงรายได้ แต่ไม่ต้องเสียภาษี เพราะหักค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่าย ส่วนตัวแล้ว เหลือติดลบบาท จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องยื่นแบบแสดงแบบแสดงรายได้

ตัวอย่างรายรับรวมทั้งปีเกิน 120,000 แต่ไม่เกิน 309,999 บาท ไม่ต้องเสียภาษี

เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ จะยกตัวอย่าง สมมุติว่า นาย สมชายมีเงินเดือนๆ ละ 25,000 บาท รวมรายรับทั้งปี 25,000 x 12 เดือน = 300,000 บาท

 

วิธีคำนวณภาษีเบื้่องต้น

1. รายรับรวมทั้งปี 300,000 บาท
2. หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 50% แต่ไม่เกิน 100,000 = ลบออกไป 100,000 เหลือ 300,000 -100,000 = 200,000
3. หักค่าลดหน่อยส่วนตัวอีก 60,000 จะเหลือเงินที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 200,000-60,000 = 140,000

 

เงินที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 140,000 บาท

1. เงิน 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเงินที่จะนำมาคำนวณภาษีเหลืออยู่ 140,000 บาท ไม่เกิน 150,000 บาท จึง ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด (0-150,000 บาท เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสีย) แต่ถ้าเกิดมีโบนัส ก็มีโอกาสเสียภาษีถ้ารวมแล้วเกิน 309,999 บาท

 

อัตราภาษีใหม่ประจำปี 2561

อัตราการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
0-150,000 บาท เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสีย
150,01-300,000 เสียภาษี 5%
300,01-500,000 เสียภาษี 10%
500,01-750,000 เสียภาษี 15%
750,01-1,000,000 เสียภาษี 20%
1,000,001-2,000,000 เสียภาษี 25%
2,000,001-4,000,000 เสียภาษี 30%
4,000,001- ขึ้นไป เสียภาษี 35%


* ในกรณีที่มีโบนัส ก็จะทำให้มีรายได้เกิน 309,999 บาท ต่อปี กรณีนี้จะต้องเสียภาษี แม้จะมีเงินเดือน 25,000 บาท ก็ตาม *

 

ตัวอย่างรายรับที่ยื่นแบบเสียภาษีและต้องเสียภาษี

หากมีรายรับเกินกว่า 309,999 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี เพราะเมื่อนำไปคำนวณภาษีแล้ว จะมีส่วนต่างที่จะต้องเสียภาษี

1. กรณีมีรายรับต่อปีเกิน 309,999 บาท ต้องเสียภาษี

กรณีมีรายรับต่อปีเกิน 309,999 บาท หรือมีเงินเดือนมีรายรับเกิน 25,830 บาท ต่อเดือนขึ้นไป จะต้องเสียภาษี เพราะคำนวณแล้ว จะเหลือยอด เงินที่จะต้องนำไปหักภาษี

 

ตัวอย่างรายรับต่อปีเกิน 309,999 บาท ต้องเสียภาษี

เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ จะยกตัวอย่าง สมมุติว่า นาย รุ่งโรจน์มีเงินเดือนๆ ละ 30,000 บาท
รวมรายรับทั้งปี 30,000 x 12 เดือน = 360,000 บาท

ตัวอย่างการคำนวณการเสียภาษีรายรับ 360,000 บาท

สรุปจะนำเงิน 360,000 บาท ไปคำนวณเพื่อเสียภาษี
ตัวอย่างการคำนวณ
1. รายรับรวมทั้งปี 360,000 บาท
2. หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 40% แต่ไม่เกิน 60,000 = ลบออกไป 60,000 เหลือ 360,000 -100,000 = 260,000
3. หักค่าลดหน่อยส่วนตัวอีก 60,000 จะเหลือเงินที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 260,000-60,000 = 200,000

 

เงินที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 200,000 บาท

1. เงิน 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี จะเหลือเงิน 200,000 - 150,000 = 50,000 2. เงิน 50,000 เป็นเงินที่จะนำไปคำนวณภาษี โดยจะเสียภาษีในอัตราที่ 5% (150,001-300,000 เสียภาษี 5% ) หรือ 50,000 x 5% = 2,500 บาท (150,01-300,000 เสียภาษี 5%)

 

อัตราภาษีใหม่ประจำปี 2561

อัตราการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
0-150,000 บาท เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสีย
150,01-300,000 เสียภาษี 5%
300,01-500,000 เสียภาษี 10%
500,01-750,000 เสียภาษี 15%
750,01-1,000,000 เสียภาษี 20%
1,000,001-2,000,000 เสียภาษี 25%
2,000,001-4,000,000 เสียภาษี 30%
4,000,001- ขึ้นไป เสียภาษี 35%

 

สรุปมีรายรับ 300,000 ต่อปี เสียภาษีประมาณ 2,500 บาท

 

* ตัวอย่างนี้เป็นการคำนวณคร่าวๆ การคำนวณจริงจะมีรายละเอียดมากกว่านี้ เพราะบางคนจะมีค่าลดหย่อนมากกว่านี้ ดังนั้นอาจะไม่เสีย ภาษี

 

เมื่อมีรายได้ ก็ต้องเสียภาษี บางคนก็หาทางเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ควรหาวิธีลดหย่อนภาษีให้มากที่สุด และใช้ประโยชน์จากการที่ต้อง เสียภาษีให้มากที่สุด ภาษีมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องศึกษาให้ดี แล้วจะไม่เดือดร้อนในภายหลัง เพราะการหนีภาษีเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะ คนที่ทำธุรกิจมีรายได้จำนวนมาก โดยภาษีย้อนหลังไม่คุ้ม และอาจจะเสียโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย

 

ธุรกิจมีหลายแบบ ซึ่งจะมีวิธีคิดคำนวณภาษีต่างกันไป เปิดร้านเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย ฯลฯ ปัจจุบันหาข้อมูลไม่ยาก เพราะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากมายในเน็ต ดังนั้นสละเวลาสักนิดศึกษาให้ละเอียด เพื่อตัวท่านเอง

Sponsored Ads