บทความนี้จะมาแนะนำไอเดียส่วนตัวในการวางแผนใช้เงิน บริหารเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล คนละครึ่ง เฟส 3 เพื่อหาวิธีใช้เงินให้คุ้มค่ามากที่สุด เพราะเงินที่ได้มา 3000 บาทนั้น หากคำนวณกันตามจริงอาจจะเหลือเงินให้ใช้จริงไม่ถึง 2000 บาทเท่านั้น หากไม่คิด ไม่วางแผน ไม่ศึกษาให้ดี แต่หากวางแผนดี ก็อาจจะได้เงินเพิ่มมากขึ้นเกิน 3000 บาท
ความช่วยเหลือจากรัฐบาลในช่วงวิกฤติโควิด-19 คนละครึ่ง เฟส 3 รอบนี้ คาดว่าน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ดังนั้นจึงต้องวางแผนการใช้จ่าย บริหารเงินให้ดี เพราะเงินน้อยๆ แบบนี้ จะหมดเร็วมาก เนื่องจากมีรายจ่ายแฝง หรือ ตัวแปรที่ยากในการควบคุม ทำใหัเสียเงินมาก แต่สิ่งที่ได้รับ ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายออกไป
หากไม่วางแผนการใช้จ่าย หรือ อาจจะได้เงินมาใช้จ่ายน้อยมาก ไม่ถึง 2000 บาท ก็เป็นได้ อีกทั้งยังมีตัวแปรอื่นๆ อีกที่ทำให้เงินที่จ่ายออก ไปนั้น ไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้กลับคืนมา ตัวอย่างเช่น
1. ค่าใช้จ่ายกับชั่วโมงเน็ต โปรเน็ต เพราะการใช้จ่ายเงินจะต้องใช้แอปเป๋าตัง หากไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ก็จะไม่สามารถแสกนจ่ายเงินได้ ค่าใช้ จ่ายในส่วนนี้ จะมีตั้งแต่ 500 ถึง 1000 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับว่าสมัครใช้งานโปรเน็ตแบบใด ถ้าใช้ซิมเทพแบบ 6 เดือนจ่ายครั้งเดียว ก็มีขายใน ราคาประมาณ 519 บาท เป็นต้น ดังนั้นเงินที่ได้มา 3000 ก็จะเหลือ 2000 - 2500 บาทเท่านั้น เพราะนี่คือรายจ่ายที่จะต้องจ่ายอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้
2. ราคาสินค้าที่บรรดาร้านค้าคนละครึ่งต่างพากันปรับราคาสูงขึ้น ทำให้เงินที่จ่ายออกไปนั้น จ่ายมาก แต่ได้ปริมาณสินค้าไม่มากนัก โดยเฉพาะ สินค้าที่จำเป็นอย่าง ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำยาล้างจาน อาหารสำเร็จ อาหารตามสั่งทั้งหลาย ภาพ ตัวอย่างบะหมี่ห่อละ 40.- ปริมาณน้อยมาก กินไม่อิ่ม แต่หากซื้ออาหารสำเร็จมาทำกินเอง จะได้ปริมาณมากกว่า
ผู้เขียนได้สำรวจราคาสินค้าต่างๆ ในร้านคนละครึ่งและโลตัส พบว่า สินค้าหลายรายการ ที่มีราคาต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น
1. สบู่แพ็ค 4 ก้อน 39 บาท ก้อนละไม่ถึง 10 บาท แต่ในร้านของชำ ร้านคนละครึ่งขายก้อนละ 15 - 17 บาท
2. น้ำยาล้างจาน ในโลตัส บางยี่ห้อ ขาย 9 บาท แต่ในร้านคนละครึ่งบางร้าน ขาย 15 บาท
3. ข้าวสาร ร้านคนละครึ่งบางร้านขาย กิโลกรัมละ 37.5 บาท หากเทียบกับข้าวสารถุงละ 5 กิโลกรัมในโลตัส ข้าวคุณภาพใกล้เคียงกัน ขาย กิโลกรัมละ ไม่ถึง 30 บาท การซื้อข้าวสารจากร้านคนละครึ่ง เงินที่จ่ายออกไปจะเป็นกำไรของทางร้านเกิน 500 บาทขึ้นไป ผู้เขียนอยู่คนเดียว ใช้ ข้าวสารประมาณ 8- 10 กิโลกรัมต่อเดือน ถ้าซื้อจากโลตัส ก็จะจ่ายประมาณ 8 คูณ 30 เท่ากับ 240 บาทต่อเดือน แต่หากซื้อจากร้านคนละครึ่ง จะจ่ายที่ 8 x 37.5 เท่ากับ 300 บาทต่อเดือน ส่วนต่าง 60 บาท แต่ในโลตัสจะมีข้าวสารราคาถูกกว่านั้น เช่น กิโลกรัมละไม่ถึง 20 บาทเป็นตัว เลือก
4. ไข่ไก่ ในร้านคนละครึ่ง บางร้านจะมีไข่ไก่มาขายด้วย โดยจะเป็นฟองเล็กและราคาสูงกว่าร้านขายไข่ในตลาดสด ตัวอย่างไข่เบอร์ 0 จากตลาดสด 15 ฟอง 60 บาท เทียบกับไข่เบอร์ 1 ในร้านคนละครึ่ง ฟองเล็กกว่า 15 ฟอง 60 บาท เช่นกัน
5. บรรดาร้านอาหารตามสั่งทั้งหลาย พากันปรับราคาสูงขึ้น เกิน 40 บาท แทบทุกร้าน แต่ปริมาณไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย
6. น้ำมันแบบขวดเอาไว้เติมรถมอเตอร์ไซค์ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่จำเป็นจะต้องใช้ และบางร้านก็ปรับราคาสูงขึ้น
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงสินค้าบางรายการเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งเมื่อคิดวิเคราะห์ให้ดีแล้ว จะพบว่า เงินที่จ่ายออกไปกับสินค้าบางอย่าง จ่ายมาก แต่ได้ปริมาณสินค้าน้อยกว่า ดังนั้นจึงต้องวางแผนให้ดี เพราะการใช้เงินให้คุ้มค่านั้น จำเป็นจะต้องซื้ออาหารสด เนื้อ ผัก มาประกอบ อาหารเอง จึงจะคุ้มกับเงินที่จ่ายออกไป
ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ก็ต้องเสาะแสวงหาร้านที่ยังขายในราคาประหยัด หรือ เน้นซื้อกับข้าวสำเร็จ มาเพิ่มปริมาณ เพิ่มเนื้อสัตว์ เพิ่มผักลงไป ร้าน อาหารบางร้านจะทำอาหารรสจัด เติมวัตถุดิบเพิ่มเข้าไป รสชาติก็ยังไม่เพี้ยนมากนัก กินเพื่ออยู่ให้ผ่านช่วงวิกฤติไปได้
สินค้าบางอย่างก็ไม่ควรใช้สิทธิ์คนละครึ่ง อย่างข้าวสาร ข้าวหอมมะลิในโลตัส ขายถุงละ 5 กก. 145 บาท แต่ร้านคนละครึ่ง ขาย 5 กก. เป็นเงิน 187 บาท ส่วนต่าง 42 บาท แต่ละเดือนจะใช้ข้าว 2 ถุง ส่วนต่างก็จะมากถึง 84 บาทต่อเดือน รวม 6 เดือน ก็จะใช้เงินมากถึง 504 บาท
สินค้าในร้านค้าคนละครึ่งมีหลายรายการที่ราคาปกติ แต่ก็ไม่ใช่สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น กาแฟ ของมึนเมา น้ำอัดลม เป็นต้น สินค้า เหล่านี้ไม่ขึ้นราคา แต่กินแทนข้าวไม่ได้
แนะนำวิธีประหยัดเงินกับค่าอินเตอร์เน็ต
การใช้เงินผ่านแอปเป๋าตังจะต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต วิธีประหยัดเงินกับโปรเน็ต หรือ ค่าใช้จ่ายอินเตอร์เน็ต อยากจะขอแนะนำ 2 ทางเลือก ตามนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดเงิน
1. ใช้ซิมเน็ตแบบ 6 เดือน เน้นเอาไว้แสกนจ่ายเงิน และใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกรูปแบบที่ไม่มีการดูวิดีโอ วิดีโอคอล ไม่มีการดาวน์โหลด อัปโหลด ข้อมูลจำนวนมาก จะมีรายจ่ายประมาณ 500 บาทต่อ 6 เดือน ก็เพียงพอสำหรับเอาไว้แสกนจ่ายเงิน
2. สำหรับบ้านที่มีสมาชิกหลายคน ก็อาจจะหาเครื่องราคาถูกเอาไว้ใช้ซิมเน็ตในข้อที่ 1 แล้วแชร์ให้มือถือเครื่องอื่น เอาไว้ให้เครื่องอื่นแสกนจ่าย เงินเช่นกัน เพียงแต่ในการใช้งาน ก็จะต้องนำเครื่องติดตัวไป 2 เครื่อง เอาไว้แชร์เน็ตเครื่องหนึ่ง วิธีนี้ก็จะช่วยประหยัดเงินค่าชั่วโมงเน็ต เพราะหาก ทุกคนในบ้าน ต่างพากันเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแยกกัน อาจจะมีค่าใช้จ่ายหลายพันบาท ซึ่งเป็นเงินที่สามารถประหยัดได้
การวางแผนนำเงินไปลงทุน
บางคนก็มีการวางแผนใช้ประโยชน์จากเงินคนละครึ่งช่วยในการลงทุน เพราะถือว่าความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากใช้ทุนตัวเองเพียงครึ่งเดียว เช่น
1. บางคนวางแผนหาซื้อสินค้าในเน็ต เอาไว้ขายต่อ โดยเน้นสินค้าที่ไม่บูดไม่เสีย ก็อาจจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี การซื้อสินค้านั้น ก็อาจจะให้ทางร้าน คนละครึ่ง สั่งซื้อสินค้ามาขายต่อให้ตัวเองอีกที แล้วแสกนจ่ายเงินผ่านแอป หากสินค้ามีราคาสูง หรือ จำนวนมาก ต้องจ่ายเงินมาก ก็ค่อยๆ ทยอย แสกนจ่ายไปเรื่อยๆ การหาสินค้ามาขายต่อ แม้จะขายในราคาเท่าทุน ก็ยังดี เพราะเงิน 3000 บาท ที่ได้จากรัฐก็จะไม่รั่วไหลไปเป็นกำไรของร้าน ค้า อีกทั้งอาจจะเป็นช่องทางสร้างอาชีพใหม่ มีรายได้ในช่วงสถานการณ์ไม่ดีแบบนี้
2. ซื้อสินค้ามาแปรรูปขายอีกที อาจจะเป็นการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อผลิตสินค้า ประเภทงานฝีมือ หรือ อาหารสดมาแปรรูป บางคนเปิดร้านอาหาร ตามสั่ง ก็สามารถซื้อเนื้อ ซื้อผักกับร้านที่รับคนละครึ่ง ต้นทุนไม่ถึงครึ่ง แต่ทำกำไรได้มากกว่าปกติ เป็นต้น
การวางแผนใช้งานจำนวนน้อยๆ แบบนี้ เป็นเรื่องที่ท้าทาย หากวางแผนได้ดี ก็อาจจะตั้งตัวได้ เพราะเมื่อรวมเงินทั้งหมด ทั้งของตัวเอง และ รัฐบาล ก็จะเป็นเงินมากถึง 6,000 บาท ซึ่งมีตัวเลือกธุรกิจหลายอย่างที่สามารถเริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆ แบบนี้ได้ อย่างผู้เขียน มีมือถือเครื่องเดียว ราคาไม่ถึง 3,000.- ก็ใช้เป็นเครื่องมือช่วยทำมาหากิน เลี้ยงชีพเอาตัวรอดได้ ใช้มือถือช่วยทำงานได้ เขียนบทความลงเว็บไซต์ หาสินค้ามาขาย ผ่านเน็ต ทำช่องยูทูป เป็นต้น