พฤติกรรมการกินของคนเรามีโอกาสทำให้ไตทำงานผิดปกติชั่วคราวหรือถาวรได้ การหมั่นสังเกตุความผิดปกติของร่างกายจะช่วยป้องกันไม่ให้ เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยลดความความเจ็บป่วยที่รุนแรง อาหารบางอย่างหากกินมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาในร่างกาย ที่จะสังเกตุได้ เช่น กินอาหารรสเค็มมากเกินไป กินน้ำ เครื่องดื่มมึนเมามากเกินไป ทำให้เกิดอาการบวม ตามหน้า หนังตาบวม นิ้วมือ นิ้วเท้า หรือมีอาการปวดบั้นเอว เมื่อไตเริ่มมีอาหารแย่ เป็นต้น
ตำแหน่งของไตจะอยู่บริเวณบั้นเอว มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วแดง เอามือเท้าสะเอา เอานิ้วโป้งไปด้านหลัง ให้ 4 นิ้วที่เหลืออยู่ด้านหน้า ตำแหน่งของนิ้วโป้งก็จะเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งของไตในร่างกายเรา ซึ่งมี 1 คู่ ซ้ายขวา หากมีอาการปวดบริเวณนี้ ก็แสดงว่า ไตเริ่มมี อาการหนัก ต้องรีบหยุดและเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยด่วน รวมถึงต้องพบแพทย์ เพื่อหาทางป้องกันปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น ต้อง ฟอกไต หรือ ไตวาย
อาการผิดปกติต่างๆ ของไต
อาการผิดปกติของไตนั้น จำเป็นจะต้องสังเกตุร่างกายภายนอกของเราเอง เช่น
อาการของไตที่ไม่หนักหนามากนัก
กรณีนี้จะมีอาการตัวบวม นิ้วบวม หน้าบวม แสดงว่า การขับน้ำออกจากร่างกายทำได้ไม่ดี ก็ควรลดการกินน้ำให้น้อยลง อย่างผู้เขียนชอบกิน เบย เมื่อกินมากๆ นิ้วมือ นิ้วเท้า หน้า หนังตา จะบวม ก็แสดงว่า ควรจะพอได้แล้ว
อาการผิดปกติของไตที่ต้องเริ่มใส่ใจ
อาการผิดปกติต่อไปนี้ จำเป็นจะต้องใส่ใจ หาทางแก้ปัญหา โดยด่วน เพราะแสดงว่า ไตเริ่มจะทำงานหนักถึงหนักมากแล้ว ถ้าปล่อยต่อไปอาจ จะแย่ เช่น
1. ผิวคล้ำ หรือ ดำลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่า ไตไม่สามารถขับของเสีย หรือ ฟอสฟอรัสออกมาได้หมด จนเหลือในร่างกายมากเกินไป ต้องหยุด กินอาหารที่มีฟอสฟอรัส เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืชต่างๆ ถั่ว อาหารทะเล ถ้าเป็นเครื่องดื่ม หรือ อาหารแปรรูปมีข้อมูลข้างขวด ก็ควรดูว่ามี ฟอสฟอรัสหรือไม่ แม้ว่าอาหารชนิดนั้นจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อย่าง โยเกิร์ต ก็ต้องหยุด หรือ งด ซึ่งก็จะมีทั้งพืชผักบางชนิด และเครื่องในสัตว์ ด้วยเช่นกัน
2. อาการคันตามเนื้อตามตัว แสดงว่า หนักขึ้น มีฟอสฟอรัสในร่างกายมาก ไตขับออกมาไม่ไหว ต้องหยุดกินอาหารที่มีฟอสฟอรัส แต่หากมี อาการอ่อนเพลีย ก็แสดงว่า ในกระแสะเลือด มีฟอสฟอรัสต่ำ
3. อาหารหัวใจทำงานผิดปกติ เต้นผิดจังหวะ ปวดหัวใจ ก็แสดงว่า ได้รับโพแตสเซียมมากเกินไป และไตขับออกไม่ทัน ก็ต้องลดอาหาร พืชผักผลไม้ ที่มีแร่ธาตุชนิดนี้ เช่น มะม่วงสุก กล้วย ทุเรียน ขนุน
อาการผิดปกติของไตที่ต้องใส่ใจอย่างเร่งด่วน
อาการปวดบั้นเอว ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทันทีที่มีอาการในลักษณะนี้ โดยเฉพาะปวดในเวลาที่นั่งนิ่งๆ ไม่ขยับตัว แสดงว่า เป็นอาการที่เกิดจากไต แต่หากขยับตัวแล้วปวด ก็มักจะเป็นที่กล้ามเนื้อ หากมีอาหารแบบนี้ จำเป็นจะต้องหยุด และไปพบแพทย์ หรือหยุดกิน อาหารที่ทำให้ไตทำงานหนักทันที เช่น
1. อาหาร หรือ พืชผักที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ไข่แดง เมนูข้าวไข่เจียวจึงต้องเลี่ยง
2. อาหารประเภททอด ผัด ทุกชนิด
3. พืชผักที่มีโพแตสเซียมสูง
4. อาหารที่มีไขมัน น้ำตาล
5. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อหมู เนื้อวัว เครื่องในสัตว์
6. อาหารสำเร็จรูปที่มีเครื่องปรุงต่างๆ เช่น เกลือ ผงชูรส น้ำตาล ซอส บะหมี่สำเร็จรูปทั้งหลาย
7. น้ำดืมที่มีวิตามินและเกลือแร่
8. อาหารประเภทขนมปัง คุกกี้
9. อาหารประเภทซอง ปลากระป๋อง เพราะมีเกลือมาก
10. อาหารประเภทเส้น อย่างก๋วยเตี๋ยว ส่วนใหญ่จะใส่ผงชูรัสหนักมาก
11. อาหารประเภทต้องเข้าเตาไมโครเวฟทั้งหลาย ในมินิมาร์ทต่างๆ ต้องงด เพราะส่วนใหญ่จะมีเกลือ และ เครื่องรสหลายอย่างที่จะทำให้ไตทำ งานหนักเหมือนเดิม
เมื่อไตมีปัญหา ชีวิตจะทุกข์ทรมานมาก ในเรื่องอาหารการกิน โดยเฉพาะหากเป็นคนที่เน้นรสชาติอาหารเป็นหลักแล้ว บางคนยอมป่วย แต่ไม่ ยอมลดอาหารรสชาติอร่อย ซึ่งความอร่อยนั้นก็มาจากเครื่องปรุงรสนั่นเอง และเครื่องปรุงเหล่านี้ ก็จะยิ่งทำให้ไตมีปัญหามากขึ้น หากเป็นคนมี ครอบครัวก็จะลำบากหน่อย เพราะมักจะเป็นภาระของคนรอบข้าง
หยุดกินอาหารปรุงสำเร็จ อาหารตามสั่ง
หากมีอาการของไตรุนแรงแบบนี้ ก็ควรไปพบแพทย์ แต่หากไม่สะดวก ไม่มีเวลา ก็จะต้องหยุด หรือ เปลี่ยนพฤติกรรมการกินทันที บรรดา อาหารสำเร็จทั้งหลาย ต้องหยุดทันที เพราะจะมีเครื่องปรุง ทั้งเกลือ ผงชูรส หรือ มีแร่ธาตุที่จะทำให้ไตทำงานหนัก อาหารสำเร็จเหล่านี้กินไม่ได้ เลยแม้แต่รายการเดียว บรรดาขนม นม ขนมปัง เครื่องดื่มกาแฟ ของมึนเมา ก็ต้องหยุด เมื่อไตมีปัญหาแล้ว จะเหลืออาหารที่สามารถกินได้น้อย มาก
ตัวอย่างการทำอาหารกินเอง
1. กินอาหารที่ไม่มีเครื่องปรุง เน้นจืดๆ ใช้กระเทียมปรุงรสแทนเกลือ ใช้หอมหัวใหญ่ให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นต้น อาจจะใส่เกลือ หรือน้ำปลาบ้าง แต่นิดเดียว หรือ น้อยที่สุด
2. กินอาหาร พืชผัก ที่มีโพแตสเซียมต่ำ เช่น ผักกาดขาว บวบเหลี่ยม ทำข้าวต้ม การกินผักนั้น ควรลวก กรณีทำอาหารประเภทต้ม ก็อย่ากินน้ำ อย่างเมนูผักโขมต้มใส่หมูสามชั้นแบบนี้ เป็นอันตรายต่อไตอย่างมาก สำหรับคนที่ไตมีปัญหา ต้มจับฉ่ายก็เช่นกัน
3. ลดการกินเนื้อสัตว์ ให้กินเฉพาะไข่ขาว (ไข่แดงห้ามกิน เพราะมีฟอสฟอรัสสูง) เนื้อไก่ และ เนื้อปลา โดยไม่ปรุงรส ใช้การต้ม หรือ นึ่ง เน้นรส ชาติจืดๆ
4. ลดอาหารประเภทผัด ทอด ยกเว้นแต่จะใช้น้ำมันรำข้าวกรณีผัดทอด หรือใช้น้ำมันมะกอกเหยาะในอาหารประเภทต้ม หลังจากตักใส่ชามและ ไม่ร้อนมากแล้ว น้ำมันมะกอกจะไปช่วยลดไขมันเลวในร่างกาย
5. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อาจจะตั้งน้ำไว้เลย 1 ขวด 1.5 ลิตร เพื่อจะได้รู้ว่าในแต่ละวันดื่มน้ำไปมากน้อยเพียงใด ดื่มหมดขวดหรือไม่ วิธีนี้ ง่ายกว่าการนับเป็นแก้ว ดูสีของน้ำปัสสาวะ หากเข้มแสดงว่า ดื่มน้ำน้อยไป ต้องออกสีเหลืองอ่อนๆ จึงจะพอดี บางคนจะตั้งขวดน้ำไว้ใกล้ตัว เพื่อ ความสะดวก กลางดึกแม้จะลุกไปเข้าห้องน้ำ ก็จะดื่มน้ำด้วยเช่นกัน
ส่วนใครที่ไม่สะดวกในการทำอาหารกินเอง การซื้ออาหารสำเร็จ ก็พยายามเน้นอาหารจีด ไม่ต้องใส่เกลือ ไม่ต้องสนใจว่ารสชาติจะเป็นอย่างไร บางแม่ครัวให้เข้าใจ เพราะบางคนก็จะคิดว่า ไม่อร่อยจะกินได้หรือ อาจจะซื้อเครื่องปรุงรสไว้ที่บ้าน เอาไว้เติมเอง ตามปริมาณที่ปลอดภัยต่อ ไต
ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนที่เคยมีปัญหากับไตมากๆ จนต้องรักษาตัวเกือบเดือน นอนซม ขยับตัวแทบไม่ได้ เหมือนกับร่างกายครึ่งซีก ตั้งแต่เอวถึงศรีษะ และเอวถึงปลายเท้า ไม่ใช่ร่างเดียวกัน ควบคุมไม่ได้ โชคดีที่ทำงานส่วนตัว ไม่ต้องไปทำงานที่ไหน ทำงานอยู่ในบ้าน จึงไม่มี ปัญหา แต่หากทำงานบริษัท เป็นลูกจ้าง หรือ พนักงาน ก็คงจะสร้างปัญหาให้อย่างแน่นอน ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติและหาทาง รักษาแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้เจ็บหนัก
แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ก็ต้องศึกษาว่าอาหาร พืชผักแต่ละชนิดมีวิตามิน หรือ แร่ธาตุอะไรบ้าง การกินอาหารตามร้านอาหาร หรืออาหารปรุงสำเร็จ ส่วนใหญ่จะมีแต่สิ่งที่ทำร้ายไตทั้งสิ้น ทั้งเกลือ เครื่องปรุงรสต่างๆ เนื้อสัตว์ จึงควรหาโอกาสทำอาหารคลีนๆ กินเองบ้าง เน้นอาหารรสจืด เพื่อ สุขภาพที่ดีในอนาคต เพราะเวลาที่คนเราจะเจ็บป่วยนั้น ก็มักจะเป็นช่วงเวลาที่แย่ เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อย่างผู้เขียนเคยเจ็บป่วยหนักๆ ก็ ช่วงที่การงานไม่ดีนัก การดูแลสุขภาพตัวเอง จึงเป็นเรื่องสำคัญ มีเงินก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะร่างกายของเราไม่มีอะไหล่มาทดแทน