พาวเวอร์แบงก์สำหรับใช้งานกับแอร์การ์ดไวไฟได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ จะมีร่องด้านข้างให้เสียบแอร์ดการ์ด ทำให้ไม่เกะกะ สะดวกในการพกพา ซึ่งต่างไปจากพาวเวอร์แบงก์ทั่วไป แต่ก็มีข้อเสียเช่น ราคาสูง แต่แบตเตอรี่ความจุน้อยกว่า และมีความหนา

 

การใช้แอร์การ์ดแบบไวไฟ ใช้งานง่าย เสียบซิมเน็ต ซิมเทพรายปี รายเดือน ก็จะกระจายสัญญาณเน็ตได้ทันที กรณีใช้งานในบ้านจะเสียบกับคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค ทีวี หัวชาร์จมือถือ ปลั๊กไฟที่มีช่อง USB ก็ทำได้ตามสะดวก เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น อย่างผู้เขียนซึ่งใช้ซิมเน็ต ไม่มีเน็ตบ้าน มีมือถือหลายเครื่อง ไม่อยากใช้มือถือแชร์เน็ต เพราะแบตเตอรี่หมดเร็ว ต้องชาร์จบ่อย ซึ่งส่งผลทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว ตูดชาร์จมีปัญหาเร็ว จึงต้องหาแอร์การ์ดมาใช้งานแทน

 

ส่วนการใช้แอร์การ์ดนอกบ้าน หากเสียบกับพาวเวอร์แบงก์ทั่วไป ก็จะไม่สวย ไม่เข้ากัน ดูเกะกะ ไม่เหมือนกับพาวเวอร์แบงก์ที่ออกแบบมาสำหรับแอร์การ์ดโดยเฉพาะ แต่จะต้องพกพาทั้งพาวเวอร์แบงก์และมือถือติดตัวไปด้วย เพราะต้องเผื่อไว้โอนเงิน หรือใช้เน็ต อาจจะไม่สะดวกตรงจุดนี้ หากใส่ซิมเน็ตในมือถือ ก็จะนำติดตัวไปเครื่องเดียวก็พอ

 

 

พาวเวอร์แบงก์แบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับแอร์การ์ดโดยเฉพาะจึงมีราคาสูง และตัวเลือกน้อย ทำให้ราคาแพงกว่าแอร์การ์ดทั่วไป ในความจุแบตเตอรี่ที่ใกล้เคียงกัน รุ่นนี้ราคา 516 บาท แบตเตอรี่ 5200 mAh ซึ่งหากเทียบกับพาวเวอร์แบงก์ทั่วไป ราคานี้คงจะได้พาวเวอร์แบงก์หลัก 10000 mAh อย่างแน่นอน

 

เลือกพาวเวอร์แบงก์ให้เข้ากับแอร์การ์ด

ในการเลือกซื้อทั้งพาวเวอร์แบงก์และแอร์การ์ดมาใช้งานนั้น จำเป็นต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน ในเรื่องการจ่ายไฟจากพาวเวอร์แบงก์ให้แอร์การ์ด หากจ่ายไฟไม่พอแอร์การ์ดจะไม่ทำงาน ผู้เขียนเลือก 2 รุ่นนี้ จากที่ได้ทดลองใช้งานต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง ไม่มีปัญหา ไม่ดับ ไม่รีเซ็ต ส่วนความร้อนก็มีนิดหน่อย

 

 

ความเสถียรของการจ่ายไฟให้แอร์การ์ด

สำหรับรุ่นนี้หลังจากได้ทดลองใช้งานต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ไม่ดับ ไม่รีเซ็ต ความร้อนมีนิดหน่อย อุ่นๆ ระดับของแบตเตอรี่ยังไม่ลดเลย ยังสว่าง 4 ช่อง ทางร้านแจ้งไว้ว่าใช้งานได้ 10 ชั่วโมง น่าจะทำได้ตามนั้น แต่การใช้งานจริง ไม่ควรปล่อยให้แบตเเตอรี่หมดเกลี้ยงบ่อยๆ เรื่องความร้อนหากร้อนมาก อาจจะเปิดฝาหลังแอร์การ์ดก็ได้ จะช่วยให้การะบายความร้อนทำได้ดีขึ้น หรือ ร้อนมากก็จับไปตั้งหน้าพัดลม

 

ความเร็วที่ได้กับการใช้ร่วมกับแอร์การ์ดนอกสถานที่

ผู้เขียนได้ทดลองวัดความเร็วการเชื่อมต่อเน็ต 3 ระยะ
1. วางแอร์การ์ดเอาไว้บนโต๊ะ แล้วเดินออกออกไปประมาณ 10 เมตร ความเร็วตกมากเหลือไม่ถึง 1 Mb สำหรับซิมเทพ Dtac 10 Mb
2. ทดสอบที่ระยะ ประมาณ 4-5 เมตร ความเร็วเชื่อมต่อเน็ตทำได้ดีขึ้น
3. วางมือถือติดกับแอร์การ์ด ก็ทำความเร็วเชื่อมต่อเน็ตได้มากขึ้น

 

สรุปความเร็วเน็ตที่ได้

สรุปความเร็วการเชื่อมต่อเน็ต ควรใช้ในระยะประมาณ 4-5 เมตร อยู่ในห้องในบ้าน แต่ถ้าแยกห้อง มีผนังกั้น มีหลายชั้นแอร์การ์ดแบบนี้ ไม่เหมาะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสัญญาณมือถือ ซึ่งควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน บางแห่งสัญญาณมือถือไม่ดี เน็ตช้า บางแห่งเน็ตเร็ว เป็นต้น อย่างการใช้งานในห้อง เน็ตช้า ก็เอาแอร์การ์ดไปไว้ที่ระเบียง ก็เชื่อมต่อเน็ตได้เร็วขึ้น ถือเป็นข้อดี เพราะสามารถนำออกไปวางได้เลย ไม่ต้องลากสายไฟออกไปด้วย การวางอุปกรณ์ให้วางแนวตั้งจะปล่อยสัญญาณได้ดีกว่า

 

ในเรื่องความแรงการปล่อยสัญญาณเน็ตนั้น ไม่แน่ใจว่าสามารถตั้งค่าได้หรือไม่ บางรุ่นจะตั้งค่าได้ แต่แบตเตอรี่จะหมดเร็ว กินไฟ ใช้พลังงานมากขึ้น ตรงนี้ก็เป็นจุดเสีย เพราะหากเป็นมือถือบางรุ่นปล่อยได้ไกลเกือบ 100 เมตร

 

การใช้งานพาวเวอร์แบงก์กับแอร์การ์ด

ในการใช้งานแอร์การ์ดไวไฟกับพาวเวอร์แบงก์ ค่อนข้างง่ายมาก
1. ที่ตัวแอร์การ์ดให้เสียบซิมเน็ต ซิมเทพให้เรียบร้อย แล้วนำแอร์การ์ดไปเสียบกับพาวเวอร์แบงก์
2. ที่ตัวพาวเวอร์แบงก์กดปุ่มเปิดเครื่อง จะขึ้นไฟสัญญาณแสดงระดับแบตเตอรี่ ตัวที่ได้มานี้ชาร์จแบตเต็มมาจากร้าน
3. รอให้สัญญาณไฟเขียนขึ้นที่แอร์การ์ด ก็ใช้มือถือเชื่อมต่อเน็ต ได้เลย
4. ส่วนการหยุดใช้งาน หากกดปุ่มปิดที่ตัวพาวเวอร์แบงก์แล้วไฟไม่ดับ ให้ถอดแอร์การ์ดออก สักพักไฟจะดับเอง

 

สรุป พาวเวอร์แบงก์กับแอร์การ์ดเหมาะสำหรับใคร

ราคาแอร์การ์ดไวไฟ + พาวเวอร์แบงก์ 2 อุปกรณ์นี้ราคารวม 615 + 516 = 1,131 บาท ในราคานี้ก็มีตัวเลือกอื่นเช่น เราเตอร์ใส่ซิม พ็อกเก็ตไวไฟมีแบตเตอรี่ในตัว แต่ตัวนี้มันเหมาะสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม บางคนเท่านั้น ซึ่งใช้ซิมเน็ตเติมเงิน หรือรายเดือน หรือซิมเทพรายปี ไม่มีเน็ตบ้าน ไม่ต้องการใช้มือถือแชร์เน็ต ไม่อยากชาร์จบ่อย กลัวมือถือพังเร็ว ใช้ในบ้านเสียบกับไฟบ้าน ใช้นอกบ้านเป็นบางครั้งเสียบกับพาวเวอร์แบงก์

 

Sponsored Ads