บทความแนะนำความรู้เกี่ยวกับ Pockett WiFi เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหามาไว้ใช้งาน ซึ่งจะมีทั้งข้อดีข้อเสียที่ควรรู้ เครื่องแแบบนี้ เหมาะกับใคร และมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไร พร้อมแนะนำทางเลือกอื่นที่อาจตรงกับความต้องการใช้งานมากกว่าอุปกรณ์เหล่านี้ จะได้ไม่เสียเงินเปล่า

 

 อุปกรณ์ช่วยแชร์สัญญาณอินเตอร์เน็ตมีหลายแบบ เช่น เน็ตบ้าน พ็อกเก็ตไวไฟ แอร์การ์ มือถือ เสาส่งสัญญาณ คอมพิวเตอร์ แต่ละแบบจะมีข้อดี ข้อเสีย หรือความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลต่างกันไป

 

ในกรณีไม่มีเน็ตบ้าน การใช้มือถือแชร์เน็ตผ่านไวไฟฮอตสปอตเป็นวิธีที่นิยม เพื่อให้มือถือเครื่องอื่นสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ แต่การแชร์เน็ตแบบนี้จะมีข้อเสียก็คือ
1. มือถือที่แชร์เน็ตแบตเตอรี่จะหมดเร็ว ขึ้นอยู่กับว่ามีมือถือเชื่อมต่อกี่เครื่อง เชื่อมต่อหลายเครื่อง แบตเตอรี่จะหมดเร็ว
2. เมื่อแบตเตอรี่หมดเร็ว ก็จะต้องชาร์จบ่อย ทำให้เกิดปัญหาตามมาก็คือ แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว และอาจจะมีปัญหาเรื่องการชาร์จตามมา
มือถือผู้เขียนที่ใช้แชร์แบบนี้ มีปัญหาไปแล้ว 2 เครื่อง ชาร์จช้ามาก บางทีก็ชาร์จไม่เข้า ต้องเปลี่ยนสายแพร์ชาร์จ ตูดชาร์จ จึงต้องหาอุปกรณ์ตัวอื่นมาแชร์เน็ตแทนการใช้มือถือ จึงเป็นที่มาของการหาข้อมูลพ็อกเก็ตไวไฟนั่นเอง แต่การแชร์เน็ตแบบนี้ก็มีหลายเรื่องที่จะต้องรู้ เพราะอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดก็ได้

 

ทำความรู้จักพ็อกเก็ตไวไฟ ข้อดีข้อเสีย

1. Pocket WiFi ทำหน้าที่แชร์สัญญาณเน็ต เพื่อให้มือถือหรือคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คสามารถรับสัญญาณเน็ตผ่านไวไฟได้ แต่ไม่ใช่ทุกรุ่นจะรองรับทุกซิม และทุกค่ายมือถือ จำเป็นต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน


2. ความนิ่งของสัญญาณเน็ต ความเร็วเน็ต ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องพ็อกเก็ตไวไฟ สัญญาณมือถือในบริเวณนั้น และสภาพอากาศที่แย่ สัญญาณเน็ตจะไม่ดี เหมือนสภาพอากาศแดดจัด เมื่อสัญญาณไม่ดี เน็ตก็ไม่แรง อุปกรณ์เหล่านี้หลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีปัญหาเชื่อมต่อเน็ตไม่เสถียร เน็ตหลุดบ่อย จึงต้องศึกษาแต่ละรุ่นให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อ
3. Pocket WiFi มีราคาประมาณ 500 บาทขึ้นไป แต่รุ่นราคาถูกมีแนวโน้มว่าจะพังเร็ว หรือแม้แต่รุ่นราคาสูงเกิน 1500 บาท บางรุ่นก็มีปัญหาเช่นกัน เช่น ต่อเน็ตไม่เสถียร เน็ตหลุดบ่อย เมื่อปล่อยเน็ตนานๆ หรือปล่อยเน็ตให้มือถือหลายเครื่อง เครื่องจะเริ่มร้อน เน็ตก็หลุด


4. ระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องบางรุ่นได้ไม่กี่ชั่วโมง เช่น 4 ชั่วโมง แต่มือถือแอนดรอยด์มือสองบางรุ่นเอามาไว้แชร์เน็ตอย่างเดียว ใช้งานได้นานกว่านี้
5. เครื่องเหล่านี้ถ้าเสียขึ้นมาไม่มีอะไหล่ หายาก และแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุุ่น ก็ยากจะไว้ใจในเรื่องประสิทธิภาพ เพราะส่วนใหญ่เป็นเครื่องจากจีน หากเสียขึ้นมา ต้องทิ้งอย่างเดียว ไม่มีอะไหล่ และไม่คุ้มที่จะซ่อม หรือไม่มีคนรับซ่อม
6. เน็ตหลุดบ่อย ไม่เสถียร ต้องศึกษาแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อ
7. การสั่งซื้อ Pocket WiFi จากเน็ตอาจจะสะดวก แต่หากได้เครื่องมีปัญหาจะสร้างปัญหายุ่งยาก ในการคืนสินค้า อย่างแบตเตอรี่เสื่อม บางคนได้รับเครื่องมาแล้ว ก็มาพร้อมกับปัญหา ใช้งานไม่ได้ หรือใช้งานไปไม่กี่วันก็มีปัญหา
8. บางรุ่นแบตเตอรี่เปลี่ยนไม่ได้ เสียก็ทิ้งอย่างเดียว ควรเลือกรุ่นที่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ เน้นรุ่นที่ให้แบตเตอรี่ความจุสูงไว้ก่อน


9. บางรุ่นไม่มีแบตเตอรี่ในตัว ต้องเสียเงินเพิ่มซื้อพาวเวอร์แบงก์ หรือเชื่อมต่อกับหัวชาร์จมือถือ
10. อุปกรณ์เหล่านี้ เมื่อกลายเป็นของมือสองแล้ว อาจขายต่อไม่ได้ ขายต่อยาก อนาคตต้องทิ้งอย่างเดียว จึงควรเลือกอุปกรณ์อื่นจะดีกว่า อย่างมือถือมือสอง ในราคาใกล้เคียงกัน แต่เตรียมทำใจเรื่องแบตอรี่และปัญหาการชาร์จ
11. อ่านรีวิวสินค้าก่อนซื้อเสมอ การซื้อสินค้าในเน็ตมีข้อดี ก็คือ จะมีการรีวิวสินค้าจากผู้ซื้อใช้งานจริง ที่จะมาบอกเล่าประสบการณ์ในการใช้งาน เครื่องดี ไม่ดี มีปัญหาอย่างไร ก็ยังพอจะหาข้อมูลได้ ดังนั้นจึงต้องศึกษารีวิวสินค้าให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อ
12. พ็อกเก็ตไวไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัว การวางไว้ในที่ร้อน เก็บไว้ในรถยนต์ที่จอดตากแดด เมื่อเจอความร้อนอาจจะเกิดการระเบิดได้
13. พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเรานั้น เวลาบางช่วงอยู่นอกบ้าน แต่บางช่วงก็ต้องกลับบ้าน พ็อกเก็ตไวไฟแม้จะมีแบตเตอรี่ในตัว แต่ก็มีวันหมด อุปกรณ์ตัวนี้จึงไม่ยืดหยุ่นในการใช้งาน เมื่อเทียบกับการใช้แอร์การ์ดคู่กับพาวเวอร์แบงก์
14. พ็อกเก็ตไวไฟจะสามารถใช้กับซิมเทพ หรือซิมเทพรายปีได้ จ่ายครั้งเดียวจบ ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อปี

 

ทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการใช้ Pocket WiFi

สำหรับใครที่จะต้องออกนอกบ้านบ่อย มีมือถือหลายเครื่อง ต้องแชร์เน็ตร่วมกัน และไม่มีเน็ตบ้าน ผู้เขียนแนะนำอุปกรณ์ตัวนี้แทน จะคุ้มกว่า
1. แอร์การ์ดใส่ซิมเทพรายปี จ่ายเงินครั้งเดียว ใช้เน็ตได้ทั้งปี การใช้งานในที่ที่มีไฟฟ้า ก็เสียบแอร์การ์ดกับหัวชาร์จโทรศัพท์ หรือช่องเสียบ USB ในรถยนต์ก็ได้ แอร์การ์ดจะไม่มีแบตเตอรี่ในตัว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อนที่อาจจะทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิด
2. เมื่อต้องออกนอกบ้าน และไม่มีไฟฟ้า ก็ซื้อพาวเวอร์แบงก์ที่ถูกออกแบบมาใช้ร่วมกับแอร์การ์ดโดยเฉพาะหน้าตาแบบนี้ มาไว้ใช้งานด้วยกัน พกพาสะดวกใกล้เคียงพ็อกเก็ตไวไฟ แต่แยกร่างกันไดั เจอที่ไหนมีไฟฟ้า ก็เสียบกับหัวชาร์จมือถือ แต่ข้อเสียก็คือ ต้องพกพาอุปกรณ์ติดตัวหลายชิ้น แต่พาวเวอร์แบงก์ก็สามารถชาร์จอุปกรณ์อื่นได้ด้วย

 

สรุป

จากประสบการณ์ที่เคยใช้อุปกรณ์ประเภทนี้มาหลายแบบ สำหรับใครที่ไม่มีเน็ตบ้าน ไม่มีเราเตอร์ไวไฟ ต้องแชร์เน็ตให้มือถือ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านมือถือ ผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้งานพ็อกเก็ตไวไฟ รวมทั้งมือถือด้วย เพราะในอนาคตจะส่งผลให้มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่หมดเร็ว หรือ การชาร์จมีปัญหา ทางเลือกที่ค่อนข้างยืดหยุ่นก็คือ การใช้แอร์การ์ด + ซิมเทพ + พาวเวอร์แบงก์ วิธีนี้ดีกว่ามาก เพียงแต่จะมีข้อเสียที่ต้องพกพาอุปกรณ์ติดตัวหลายชิ้นติดตัว

 

 

Sponsored Ads