บทความแนะนำแนวทางในการพิมพ์หนังสือเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกสำหรับนักเขียน ซึ่งอาจจะเป็นการลงทุนพิมพ์เอง หรือการส่งต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ใดๆ รับไปดำเนินการหรือใช้บริการ Print on demand

การผลิตหนังสือเพื่อจำหน่ายในปัจจุบันจะมี 2 แนวทางหลักๆ ก็คือ การทำหนังสือในรูปแบบ eBook ไฟล์ PDF ซึ่งไม่มีต้นทุน เพราะเป็นแค่ไฟล์คอมพิวเตอร์เท่านั้น สะดวกในการจำหน่าย จ่ายแจก สามารถส่งไฟล์ให้ดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตได้เลย ส่วนการทำหนังสืออีกวิธีหนึ่งก็คือการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มที่จับต้องได้ ซึ่งจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ขึ้นอยู่กับความหนาและจำนวนเล่มที่ต้องการพิมพ์ ค่าพิมพ์เริ่มหลักหมื่นบาทขึ้นไป

1. การผลิตหนังสือในรูปแบบ eBook นิยมอ่านผ่านมือถือหรือแท็บเล็ต ไม่มีค่าใช้จ่าย จัดรูปเล่มเสร็จแล้ว ก็ส่งขายได้เลย อาจจะขายผ่านเว็บไซต์ของตัวเองหรือส่งไปฝากขายกับเซ็บไซต์ต่างๆ เช่น ebooks.in.th, mebmarket.com เป็นต้น


2. การพิมพ์หนังสือจะเป็นการนำ ebook ในข้อที่ 1 มาพิมพ์เป็นหนังสือเป็นรูปเล่มที่จับต้องได้ การพิมพ์แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายหลักหมื่นบาทขึ้นไป

 

แนวทางการผลิตหนังสือขายเองแบบต่างๆ

สำหรับนักเขียนที่ต้องการพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่มเพื่อขายเอง ก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับงบประมาณเช่น

การพิมพ์หนังสือและเข้าเล่มโดยร้านรับพิมพ์งานใกล้บ้าน

การทำหนังสือแบบนี้จะใช้การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตธรรมดา คุณภาพไม่ดีมาก ร้านรับพิมพ์งานใกล้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีบริการพิมพ์และเข้าเล่มง่ายๆ ซึ่งต้นทุนจะค่อนข้างสูง น่าจะสูงที่สุดเมื่อเทียบกับแบบอื่นที่เหลือ

 

การใช้บริการ Print on demand

รูปแบบการพิมพ์ตามลูกค้าสั่งหรือ Print on demand เป็นการพิมพ์หนังสือ โดยทางผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์จะเลือกหนังสือที่มีผู้อ่านสนใจ ให้ผู้อ่านสั่งจอง เช่น เปิดให้จอง 500 คน ในระยะเวลา 3 เดือน เมื่อมีคนสั่งจองครบตามจำนวนที่เปิดให้จอง จึงจะทำการจัดพิมพ์และส่งหนังสือให้ลูกค้า ส่วนใหญ่จะเป็นแนวนวนิยาย เรื่องสั้นกันมากกว่า ตัวอย่าง Print on demand ของสำนักพิมพ์แจ่มใจ เปิดให้จองผ่านทางเว็บไซต์

 

การพิมพ์ในลักษณะนี้ ก็มีนักเขียนหลายคนนำประยุกต์ใช้ทำการตลาด เพราะไม่เสี่ยงมาก มีผู้อ่านสั่งจองและโอนเงินเรียบร้อยแล้ว เมื่อยอดครบตามที่เปิดให้จอง ก็สั่งพิมพ์แล้วส่งหนังสือให้กับทางผู้อ่าน

 

การพิมพ์กับทางสำนักพิมพ์

การส่งต้นฉบับหนังสือไปให้ทางสำนักพิมพ์ต่างๆ พิจารณา เพื่อจัดพิมพ์ แต่การพิมพ์แบบนี้ไม่ง่ายนักที่จะได้รับการอนุมัติ เพราะสำนักพิมพ์ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะพิมพ์หรือไม่เนื่องจากมีต้นทุนสูง แต่นักเขียนจะไม่เสี่ยง

 

การลงทุนพิมพ์หนังสือด้วยตนเอง

การลงทุนพิมพ์หนังสือเอง หากมีทุนมากพอ และคิดว่าหนังสือขายได้ มีคนสนใจอย่างแน่นอน การกล้าตัดสินใจพิมพ์เองจะมีโอกาสสร้างรายได้ที่ดีกว่ามาก เพราะจะได้ส่วนแบ่งมากที่สุด เมื่อเทียบกับการพิมพ์ทั้ง 3 แบบที่กล่าวมา และหนังสือแต่ละเล่มจะมีต้นทุนต่ำกว่า เพราะพิมพ์จำนวนมาก ซึ่งต้องพิมพ์ขึ้นต่ำ 3000 เล่มจึงจะได้ต้นทุนต่อเล่มราคาถูก

 

หากมีทุนมากพอและมั่นใจว่าหนังสือสามารถขายได้ การลงทุนพิมพ์เองจะมีโอกาสสร้างรายได้มากกว่า เพราะคนไทยยังนิยมการซื้อหนังสือที่จับต้องได้ และการลงทุนพิมพ์เองจะทำให้หนังสือมีต้นทุนไม่สูงมาก เหมือนการพิมพ์แบบอื่นๆ แต่หากศึกษาตลาดไม่ดี พลาดขึ้นมาก็เจ๊งไม่เป็นท่าเหมือนกัน ผู้เขียนเคยลงทุนพิมพ์ไปประมาณ 400,000 พลาด ขายไม่ออก ชั่งกิโลขายได้กิโลละ 5 บาท รวมๆ ได้เงินกลับคืนมาหมื่นกว่าบาท ขาดทุนเกือบสี่แสนบาท  ยังกลัวๆ จนถึงทุกวันนี้เลย แต่หากเล่มไหนที่โดนใจคนซื้อ การหาเงินล้าน ไม่ถึงปี ก็ได้มานอนกอดในบัญชีแล้ว

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน :

Sponsored Ads