บทความนี้จะมาแนะนำแนวทางเอาตัวรอดในการขายสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะขายผ่านเน็ต ขายผ่าน Facebook หรือขายตามปกติในร้าน ค้าทั่วไป ขายให้ลูกค้าโดยตรง ซึ่งจะมีการขายตัดราคากัน สินค้าชนิดเดียวกันแต่ราคาต่างกันหลักสิบบาทหรือหลักร้อยบาท การค้าขายในปัจจุบัน โดยเฉพาะการรับสินค้าคนอื่นมาขายต่อย่อมมีโอกาสเจอเรื่องแบบนี้ จึงต้องหาทางรับมือ
ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าตามร้านค้าทั่วไป หรือขายผ่านเน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ การขายตัดราคา หรือลดราคา สินค้า ชนิดเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่จะพบเจอเป็นประจำ อย่างเมื่อก่อนสินค้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ จะมีราคาต่างกัน ร้านอยู่ห่างกันไม่ถึง 3 เมตร แต่ราคาต่างกันหลักร้อยบาท การประกอบคอมพิวเตอร์สมัยก่อน จะมิชิ้นส่วนต่างๆ หลายชิ้น การเดินหาสินค้าราคาถูกจะช่วยประหยัด เงินหลักพันบาทต่อการประกอบคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เคสร้านนี้ขายพันกว่าบาท แต่ร้านที่อยู่ชั้น 3 ขายไม่ถึงพันบาท เป็นต้น แต่เป็นสินค้าตัว เดียวกัน ใครขยันเดินหาสินค้าก็จะช่วยประหยัดเงิน
แต่ในยุคนี้ การเปรียบเทียบราคาสินค้าทำได้ง่ายกว่านั้น เพราะมีเว็บไซต์ที่รวบรวมราคาสินค้ามาเปรียบเทียบให้เป็นอย่างชัดเจน สินค้าชนิด เดียวกัน ตัวเดียวกัน ราคาต่างกัน ยกตัวอย่างกาแฟตัวเดียวกันที่ขายในเว็บไซต์ต่างๆ บางร้านขาย 353 บาท บางร้านขาย 280 ค่าส่งฟรีอีกต่างหาก กรณีนี้ร้านที่ขายแพงกว่า ก็ย่อมจะเสีย เปรียบ อาจจะขายยากกว่า หรือขายไม่ได้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้เขียนขอเดาว่า เจ้าที่ขายถูก น่าจะเป็นรายใหญ่ที่มีเงินทุนสูง อาจจะซื้อสินค้ามาเป็นจำนวนมาก จึงได้ ราคาถูกกว่า และสามารถลดราคาได้ถูกกว่าเจ้าอื่น ซึ่งซื้อในปริมาณน้อยกว่า
ส่วนอีกมุมมองหนึ่งก็คือ เป็นการระบายสินค้าให้เร็วที่สุด หากซื้อมากักตุนไว้มาก เพราะอาจจะเห็นว่าสินค้ามีแนวโน้มจะลดราคาต่ำมาก หาก เก็บไว้อาจจะขาดทุน เนื่องจากสินค้าในเน็ตมีผู้ขายหลายราย และไม่รู้ว่าจะมีใครขายตัดราคาถูกกว่านี้อีกหรือไม่ หรือไม่เช่นนั้นก็เน้นกำไรน้อยแต่ ขายได้ปริมาณมาก ก็จะได้กำไรมาก วิธีคิดของพ่อค้าอาจจะไม่เหมือนกับมือใหม่หัดขายของ ขอแค่ขยับตัวนิดหน่อย แล้วได้เงินจะมากหรือน้อย ก็ เอา แต่มือใหม่หัดขายบางคนไม่คิดอย่างนั้น มักจะคิดว่าต้องทำกำไรมากๆ ไว้ก่อน เมื่อไม่ยอมลดราคาลงมาแข่ง ก็ต้องหากลยุทธอื่นในการแข่งขัน หากต้องการขายสินค้าตัวเดียวกัน
แนวทางเอาตัวรอดแบบต่างๆ
เมื่อจะต้องเจอกับคู่แข่งในลักษณะนี้ ต้องขายสินค้าตัวเดียวกัน โดยเฉพาะการรับสินค้าของคนอื่นมาขายต่อก็ย่อมจะมีความเสี่ยง เพราะการ ซื้อสินค้ามานั้น ก็อาจจะจ่ายเงินสดออกไปแล้ว สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งลงทุน อาจจะซื้อสินค้าไม่มาก ทำให้มีต้นทุนสูงกว่าเจ้าใหญ่ๆ ซึ่งซื้อจำนวน มากได้สินค้าถูกกว่า ก็ย่อมจะลดราคาได้มากกว่า ดังนั้นก็ต้องหากลยุทธมาช่วยขายสินค้า เพราะหากปล่อยนานไป ราคาสินค้าลดลงเรื่อยๆ คราวนี้ จะลำบาก หากราคาใกล้เคียงกับทุนที่ซื้อมา
การสร้างฐานลูกค้าของเราเอง
แนวทางการสร้างฐานลูกค้าของเราเองอาจจะแยกเป็น 2 ช่องทางใหญ่ก็คือ
1. ฐานลูกค้าออนไลน์
ฐานลูกค้าแบบนี้ เช่น LIne เฟสบุ๊คเพจ Youtube IG อีเมล์ ซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องเหล่านี้ อาจจะเป็นปัญหาสำหรับคนรุ่นเก่า แต่ก็ต้องศึกษา เพราะหากไม่ปรับตัว ก็รอดยาก ให้ศึกษาเฟสบุ๊คเพจที่ขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา เป็นแนวทาง การสร้างฐานลูกค้าไว้แบบนี้ ก็จะทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้ แม้ว่าจะมีการแข่งขัน ตัดราคา ลดราคามากกว่าก็ตาม เพียงแต่ก็ต้องมีโปรโมชัน ลด แลกแจกแถม ให้คุ้มค่า เพื่อไม่ให้ลูกค้าหนีไปซื้อกับเจ้าอื่น และหากมีลูกค้าประจำมากพอสมควรแล้ว ก็จะมีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ
ลูกค้าออนไลน์ในลักษณะนี้ บางคนเล่นเฟสบุ๊ค แต่ไม่ซื้อของกับเว็บไซต์อื่น ก็จะไม่รู้ว่าราคาสินค้าเท่าไรกันแน่ ไม่เคยติดตามราคา ไม่เคย เปรียบเทียบราคา แต่เรื่องนี้ ไม่ช้าไม่นาน ก็จะรู้ ในตอนนี้มีกลุ่มผู้ใช้มือถือที่ยังไม่เก่งในการใช้มือถือค้นหาข้อมูลมากนัก จึงยังไม่รู้ว่า สินค้าอะไร มีราคาเท่าไร ถูกหรือแพงกว่ากันมากแค่ไหน ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่เมื่อใดที่รู้ การนำสินค้าของคนอื่นมาขายแบบนี้ อาจจะกลายเป็น เรื่องยากทันที อนาคตจะทำไม่ได้แล้ว
2. สร้างฐานลูกค้าออฟไลน์
เป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป ที่ไม่ได้ใช้เฟสบุ๊ค ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต กรณีมีหน้าร้าน ก็จะเป็นคนทั่วไปที่มาอุดหนุนที่ร้านนั่นเอง เช่นเดียวกัน ลูกค้าบางคน ใช้มือถือยังไม่เก่ง ไม่รู้ว่าจะซื้อสินค้านั้นๆ ได้ที่ไหน จึงยังอุดหนุนที่ร้านต่อไป
การสร้างฐานลูกค้าจะช่วยให้สามารถขายสินค้าต่อไปได้ และยังสามารถขายสินค้าชนิดอื่นได้ด้วยเช่นกัน กรณีสินค้านั้นๆ อาจจะไม่สามารถ ขายได้อีกต่อไปแล้ว ก็หาสินค้าตัวอื่นมาขายได้ โดยที่ยังมีฐานลูกค้าประจำอยู่ ส่วนกรณีขายตามร้านค้าทั่วไป ก็เช่นกัน หากมีลูกค้าประจำ ก็จะ ยังมีโอกาสขายสินค้าต่อไปได้ ส่วนการเก็บข้อมูลลูกค้าก็มีหลายแบบ เช่น เก็บอีเมล์ เก็บหมายเลขโทรศัพท์ เอาไว้แนะนำสินค้าใหม่ๆ
การขายสินค้าคนละตลาด
ตลาดหรือสถานที่ขายสินค้านั้นๆ มี 2 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งทั้งสองประเภทยังแยกได้อีกหลายที่ ตัวอย่างเช่น
ตลาดออนไลน์
ตลาดออนไลน์จะเป็นการขายผ่านช่องทางต่างๆ เช่น
การขายสินค้าผ่าน Line
การขายสินค้าผ่าน Facebook เพจ
การขายสินค้าผ่าน Youtube
การขายสินค้าผ่าน IG
การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง
การขายสินค้าผ่าน Shopee
การขายสินค้าผ่าน Lazada
ฯลฯ
แต่ละช่องทาง ก็มีลูกค้าที่ต่างกันไป ลูกค้าที่เล่น เฟสบุ๊ค ก็อาจจะไม่ไปดูสินค้าที่เว็บไซต์อ่ื่น ก็จะไม่รู้ว่า สินค้าตัวเดียวกันนั้นมีราคาต่างกัน ก็ยังเป็นโอกาสดี ที่จะสามารถขายสินค้าต่อไปได้ในราคาที่ต่างกัน แต่ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ลูกค้าเหล่านั้นย่อมจะเกิดการเรียนรู้ สามารถค้นหาราคาสินค้า เปรียบเทียบ ราคาสินค้าได้ คราวนี้ การขายก็อาจจะไม่ง่าย เพราะลูกค้าก็อาจจะซื้อกับร้านที่ขายถูกที่สุด
ขายผ่านเน็ตกับร้านค้าทั่วไป
ตลาดแบบนี้ อาจจะเป็นการขายผ่านหน้าร้าน หรือ ตามตลาดนัด ในเรื่องราคาคงยากที่จะตั้งให้แตกต่างกัน แต่ก็อาจจะขายแพงกว่าเน็ต ในเว็บไซต์ต่างๆ ได้ เพราะยังมีกลุ่มลูกค้าที่ไม่รู้ข้อมูลสินค้า เข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต จึงไม่รู้ราคา ก็น่าจะขายสินค้าได้
ในทุกวันนี้การรับสินค้าของคนอื่นมาทำตลาดนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด คนที่ทุนหนาจะได้เปรียบ เพราะสามารถซื้อสินค้าได้ในจำนวนมาก ได้ ราคาที่ถูกกว่า คนที่ทุนน้อย ซื้อสินค้าได้น้อย ทำให้การตั้งราคาก็ต้องตั้งแพงกว่า อย่างกาแฟบางยี่ห้อ หนึ่งห่อใหญ่เหมือนกัน แต่บางร้านขาย 280 ส่วนบางร้าน 490 กว่าบาท แพงกว่าถึง 210 บาทเลยทีเดียว
ดังนั้นเพื่อโอกาสในการเอาตัวรอดในอนาคต ก็ควรสร้างฐานลูกค้าของตัวเองเอาไว้ก่อน ต่อไปจะเอาอะไรมากขาย ก็จะไม่ยากนัก เพราะมีฐาน ลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่งจะเหนื่อยหน่อย หากมีการขายติดราคากันอยู่ตลอดเวลา แต่จะให้ดีที่สุด ก็ควรผลิตสินค้าของเราเอง ซึ่งจะสามารถขายในราคาตามที่เราต้องการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลกับคู่แข่งที่ขายตัดราคา ขายถูกกว่า จะลดราคาก็ทำไม่ได้ เพราะได้กำไรน้อยมาก แต่หากเห็นท่าไม่ดี จะกำไรน้อยแค่ไหน ก็ต้องยอมปล่อย ดีกว่าขาดทุน