โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
รวมบทความกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโอเอสประเภทต่างๆ เช่น DOS Windows ME/XP/Vista/7/8 การลงโปรแกรมใหม่ การจัดการกับพาร์ติชัน การแก้ปัญหาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวม Tips เป็นต้น
สำหรับ DOS นั้นเมื่อพิมพ์ DIR แล้วกด Enter จะปรากฏข้อความต่างๆ ขึ้นมา โดยแจ้งให้ ทราบว่าในไดรว์ C: มีข้อมูลทั้งหมด 11 ไฟล์ โดยมีขนาดทั้งหมด 306,637 ไบต์ (หน่วยวัดความจุ ข้อมูลในไฟล์วัดเป็นไบต์) และ 14 ไดเรคทอรี่ เหลือพื้นที่ว่าง 6,744,064 ไบต์ และเมื่อใช้คำสั่ง DIR โปรแกรมจะแสดงเฉพาะ รายชื่อไฟล์ที่อยู่ในไดรว์ C: เท่านั้น ถ้าต้องการดูข้อมูลในไดเรคทอรี่เช่น PM6 <DIR> ให้พิมพ์คำสั่ง DIR C:\PM6 แล้วกด Enter เพื่อให้คอมพิวเตอร์แสดง เฉพาะข้อมูลในไดเรคทอรี่ PM6
หากเปรียบเทียบลักษณะการจัดเก็บข้อมูลในตู้เก็บเอกสารกับคอมพิวเตอร์ แฟ้มเอกสารอาจ เปรียบได้กับไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ส่วนลิ้นชักก็เปรียบได้กับไดเรค ทอรี่ (Directory) ที่เก็บข้อมูล ในตู้เอกสารสามารถสร้างลิ้นชักได้จำนวนจำกัด แต่ในคอมพิวเตอร์สามารถสร้างไดเรคทอรี่ได้ไม่จำกัด จำนวน
- Details
- Category: คู่มือใช้งาน DOS
- Hits: 1510
ไฟล์เปรียบเทียบได้กับแฟ้มเอกสารต่างๆ ที่คุณเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสาร ไฟล์อาจเป็นชื่อ แฟ้มหรือชื่อโปรแกรม ในระบบ DOS ชื่อ ไฟล์จะยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร เช่น COMAND.COM COMMAND.DOS แต่ใน Windows จะมีชื่อยาวตั้งแต่ 1 ถึง 256 ตัวอักษร ตามด้วยจุดและนามสกุล อีก 3 - 4 ตัวอักษร ทั้งนี้อาจจะมีหรือไม่มีนาม สกุลก็ได้ นามสกุลของไฟล์ก็คล้ายกับนามสกุลของคนเรา จะบอกให้รู้ถึงชาติตระกูลของไฟล์หรือโปรแกรมนั้นว่าเป็นไฟล์ประเภทไหน สร้างขึ้นจากโปรแกรมอะไร เมื่อใช้คำสั่ง Dir เพื่อดูรายชื่อไฟล์ จะพบว่าชื่อและนามสกุลจะอยู่แยกกัน แต่เวลาที่เรียกใช้งานจะต้อง เขียนติดกันโดยคั่นชื่อและนามสกุลด้วยจุด นอกจากชื่อและ นามสกุลแล้ว โปรแกรมก็ยังแสดงขนาด วันที่และเวลาที่ได้สร้างไฟล์นั้นๆ ด้วย เช่น
NETLOG TXT 15,821 03-15-00 11:49p NETLOG.TXT
หมายความว่าไฟล์ชื่อ NETLOG.TXT มีขนาด 15,821 ไบท์ สร้างเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ปี 2000 เวลา 11:49 ส่วน a คือช่วงเช้า p คือช่วงบ่าย
นามสกุลของไฟล์ ต้องจำให้แม่น (File Extension)
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับไฟล์ที่ต้องจดจำก็คือ นามสกุล เพราะจะเป็นตัวแบ่งแยกให้รู้ว่าไฟล์นั้นๆ เป็น ไฟล์ประเภทใด เช่น
1. ไฟล์รูปภาพ จะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลต่อไปนี้ Bmp, Cgm, Wmf, Eps, Tiff, Jpg, Gif, Ta, Pex, Psd, Cdr, Max ฯลฯ การดูว่าไฟล์ภาพ แต่ละภาพเป็นภาพอะไร จะต้องใช้โปรแกรมไว้วิว หรือแสดงภาพโดยเฉพาะ เช่น ACD See, Thumbplus หรือใช้ โปรแกรมที่สร้างไฟล์ภาพนั้นๆ ขึ้นมา เช่น
- ไฟล์ภาพแบบ Bmp ให้เปิดด้วยโปรแกรม Paint
- ไฟล์ภาพแบบ Psd ให้เปิดด้วยโปรแกรม Photoshop
- ไฟล์ภาพแบบ Cdr ให้เปิดด้วยโปรแกรม CorelDraw
2. ไฟล์เอกสารหรือไฟล์ข้อความ เป็นไฟล์ที่มีเนื้อหาด้านในเป็นข้อความ จะเป็นไฟล์ที่มี นามสกุล Txt, Doc, Rtf, No ในการเปิดอ่านข้อมูลในไฟล์เหล่านี้ จะใช้ โปรแกรม Word, Notepad, PageMaker หรือใช้โปรแกรมที่สร้างไฟล์นั้นๆ เช่น
- ไฟล์เอกสารแบบ Doc ให้เปิดด้วยโปรแกรม Word
- ไฟล์เอกสารแบบ Txt สามารถเปิดอ่านด้วยโปรแกรมสำหรับพิมพ์เอกสารได้ทุกโปรแกรม หรือใช้คำสั่ง DOS ก็ได้ พิมพ์ Type ตามด้วยชื่อไฟล์ เช่น TYPE MY DATA .TXT (MY DATA .TXT เป็นชื่อไฟล์ข้อความ)
3. ไฟล์ฐานข้อมูล เป็นลักษณะไฟล์ที่มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ เช่น ข้อมูลสินค้า ข้อมูล รายชื่อพนักงาน ฯลฯ
ไฟล์เหล่านี้จะมีนามสกุล Dbf, Mdb ในการเปิดอ่านไฟล์เหล่านี้ เช่น
- ไฟล์ฐานข้อมูลแบบ Dbf สามารถเปิดอ่านด้วยโปรแกรม dBase, Ms Access, Foxpro
- ไฟล์ฐานข้อมูลแบบ Mdb สามารถเปิดอ่านได้ด้วยโปรแกรม Ms Access ซึ่งเป็นหนึ่งใน โปรแกรมชุด Microsoft office
4. ไฟล์ระบบ อาจเป็นไฟล์ระบบของโปรแกรม DOS หรือไฟล์หลักของโปรแกรมต่างๆ เป็น ไฟล์ต้องห้าม ไม่รู้จักดีพอ อย่าไปยุ่งกับไฟล์เหล่านี้ เพราะอาจทำให้ เครื่องไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติ จะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล COM, EXE, SYS, INI, DLL
5. ไฟล์อื่นๆ ไฟล์เหล่านี้อาจจัดประเภทค่อนข้างยาก จึงแยกชนิดของไฟล์ตามโปรแกรมที่ใช้ สร้างไฟล์นั้นๆ เช่น
- Xls เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรม Excel
- Ppt เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรม PowerPoint
- P65 เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรม PageMaker v. 6.5
- Pmd เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรม PageMaker v. 7.0
- Pdf เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรม Acrobat
- Ai เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
- Htm, Html เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรมช่วยในการออกแบบโฮมเพจ เช่น Dreamweaver, Frontpage, NetObject ฯลฯ ในการเปิดอ่านจะใช้โปรแกรมเว็บ บราวเซอร์เช่น Internet Explorer หรือ Netscape
- Zip เป็นไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรมบีบย่อไฟล์เช่น Winzip หรือ Pkzip ไฟล์บนอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะถูกบีบย่อไว้เป็นไฟล์แบบ zip เพื่อให้มีขนาดเล็กไม่เสียเวลา ดาวน์โหลดหรืออัพโหลด
- Details
- Category: คู่มือใช้งาน DOS
- Hits: 3740
ไดเรคทอรี่ (อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Folder) เป็นการแบ่งพื้นที่ของดิสก์ออกเป็นส่วนๆ คล้ายๆ กับการสร้างลิ้นชักในตู้เก็บเอกสาร เพื่อเก็บไฟล์ เก็บโปรแกรมแยก จากกัน เพื่อความเป็นระเบียบ สำหรับ DOS เวอร์ชัน 6.22 หรือต่ำกว่า ชื่อไดเรคทอรี่จะยาวไม่เกินแปดตัวอักษรอาจจะมีนามสกุลด้วยก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 ตัว ส่วน DOS 7.0 ขึ้นไป (DOS 7.0 เป็น DOS ที่มาพร้อมกับ Windows 95) จะมีชื่อได้ ยาวถึง 256 ตัวอักษร ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณควรที่จะสร้างไดเรคทอรี่เพื่อเก็บ ข้อมูลต่างๆ แยกไว้ให้เป็นระเบียบ ข้อดีก็คือทำให้การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว หากไม่มีการสร้างไดเรคทอรี่ ความ วุ่นวายย่อมจะเกิดขึ้น
คุณลองนึกภาพ หาก คุณมีแฟ้มเอกสารต่างๆ เช่น แฟ้มเอกสารข้อมูลลูกค้า 3000 คน รายรับรายจ่าย 1500 ใบ การเงิน 4200 ใบ แล้วคุณก็เก็บทุกอย่างไว้รวมกัน ไม่มีการสร้าง ไดเรคทอรี่ เพื่อแยกเก็บให้เป็นระบบระเบียบ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อใครสักคนต้องการข้อมูลเหล่านั้น
เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในหน้าจอโปรแกรม Windows ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไดรว์ C: เพื่อให้โปรแกรมแสดงข้อมูลในไดรว์ C:
ไอคอนสีเหลืองที่แทนความหมายของโฟลเดอร์ ก็เป็นตัวเดียวกับไดเรคทอรีบน Windows เรียกว่าโฟลเดอร์ แต่บน DOS เรียกว่า ไดเรคทอรี แต่ก็คือตัวเดียวกัน การสร้างไดเรคทอรีหรือโฟลเดอร์ ไว้เก็บไฟล์ จะช่วยให้สามารถแยกเก็บไฟล์เป็นกลุ่ม ประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันได้ ลองนึกภาพการแบ่ง นักเรียนเป็นห้องๆ การ ค้นหานักเรียนจะทำได้ง่ายกว่าข้อมูลในคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน
ใน DOS การตั้งชื่อไฟล์จะมีข้อจำกัด ห้ามเกิน 8 ตัวอักษร บวกกับนามสกุลอีก 3 ตัวอักษร รวมกันก็ 11 ตัวอักษร ถ้าชื่อยาวกว่านี้ก็จะถูกย่อให้สั้นลง เช่น MY DOCUMENT <DIR> ถูกย่อเป็น MYDOCU~1 <DIR>
ประเภทของไดเรคทอรี
ไดเรคทอรีนั้นอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไดเรคทอรีที่คุณสร้างขึ้นมาเอง (เช่น My Music) เพื่อเก็บข้อมูลตามที่คุณต้องการ และไดเรคทอรีที่ถูกสร้างโดย โปรแกรมที่คุณได้ติดตั้งลงใน เครื่อง (เช่น Windows) ประเภทที่สองนี้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะสร้างขึ้นมาเอง เพื่อเก็บโปรแกรม นั้นให้เป็นระเบียบ จะได้ไม่ไป ปะปนกับโปรแกรมอื่น การที่จะรู้ว่าไดเรคทอรีใดเป็นที่เก็บโปรแกรมอะไร ก็ต้องศึกษาให้มากๆ รู้จักโปรแกรมให้มากๆ เข้าไว้ จากนั้นเมื่อพบไดเรคทอรีที่มีชื่อ เหมือนชื่อโปรแกรม ที่คุณรู้จัก ก็เดาได้เลยว่า นั่นเป็นไดเรคทอรีที่เก็บโปรแกรมนั้นๆ หลักการเดานี้มีความน่าเชื่อถือ พอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ คุณด้วย
เนื่องจากชื่อไฟล์และไดเรคทอรี่ใน Windows สามารถตั้งได้ยาวถึง 256 ตัวอักษร ในการ แสดงผลบน Windows นั้น อาจไม่มีปัญหาอะไร แต่ในการแสดงผลบน DOS จะแสดงชื่อได้เพียง แปดตัวอักษรชื่อยาวๆ ก็จะถูกย่อให้สั้นลง เช่นจาก Program Files จะถูกย่อเป็น PROGRA~1 ส่วนไฟล์ที่ใช้ชื่อภาษาไทยจะกลายเป็นตัวยึกยือ อ่านไม่ออก
PROGRA~1 <DIR> 10-07-99 2:04a Program Files
ตัวอย่างไดเรคทอรี่หรือโฟลเดอร์ต่างๆ
Windows
Windows <DIR> 10-07-99 2:04a Windows
เป็นที่เก็บโปรแกรม Windows 95/98/ME/2000 หรือ XP ถูกสร้างขึ้นมาอัตโนมัติ เมื่อติดตั้ง Windows ลงเครื่อง ภายในก็จะมี ไดเรคทอรีย่อยๆ อีก เช่น
ชื่อโฟลเดอร์แบบย่อ วันที่สร้าง ชื่อโฟลเดอร์แบบยาว
SYSTEM <DIR> 10-07-99 2:04a SYSTEM
COMMAND <DIR> 10-07-99 2:04a COMMAND
SYSTEM32 <DIR> 10-07-99 2:05a SYSTEM32
CATROOT <DIR> 10-07-99 2:05a CATROOT
HELP <DIR> 10-07-99 2:05a HELP
CURSORS <DIR> 10-07-99 2:05a CURSORS
ALLUSE~1 <DIR> 10-07-99 2:18a All Users
JAVA <DIR> 10-07-99 2:05a JAVA
DRWATSON <DIR> 10-07-99 2:08a DRWATSON
CONFIG <DIR> 10-07-99 2:08a CONFIG
MEDIA <DIR> 10-07-99 2:08a MEDIA
MOTOROLA <DIR> 10-07-99 3:00a MOTOROLA
TEMP <DIR> 10-07-99 2:12a TEMP
APPLIC~1 <DIR> 10-07-99 2:06a Application Data
DESKTOP <DIR> 10-07-99 2:18a Desktop
STARTM~1 <DIR> 10-07-99 2:18a Start Menu
SENDTO <DIR> 10-07-99 2:18a SendTo
TWAIN <DIR> 10-07-99 3:40a TWAIN
TWAIN_32 <DIR> 10-07-99 3:40a TWAIN_32
MSAGENT <DIR> 09-05-00 5:19p Msagent
OFFLIN~1 <DIR> 09-05-00 5:29p Offline Web Pages
LOCALS~1 <DIR> 09-05-00 5:49p Local Settings
TSI32 <DIR> 09-19-00 3:10p TSI32
Progra~1 หรือ Program Files
PROGRA~1 <DIR> 10-07-99 2:04a Program Files
เป็นที่เก็บโปรแกมต่างๆ ที่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่องของคุณ ภายในก็จะมีไดเรคทอรี่ย่อยๆ อีกเช่น
ชื่อโฟลเดอร์แบบย่อ วันที่สร้าง ชื่อโฟลเดอร์แบบเต็ม
COMMON~1 <DIR> 10-07-99 2:04a Common Files
CHAT <DIR> 10-07-99 2:04a CHAT
PLUS! <DIR> 10-07-99 2:04a PLUS!
DIRECTX <DIR> 10-07-99 2:06a DIRECTX
ONLINE~1 <DIR> 10-07-99 2:07a ONLINE~1
NETMEE~1 <DIR> 10-07-99 2:04a NetMeeting
ACCESS~1 <DIR> 10-07-99 2:04a Accessories
INTERN~1 <DIR> 10-07-99 2:04a Internet Explorer
FRONTP~1 <DIR> 10-07-99 2:04a FrontPage Express
OUTLOO~1 <DIR> 10-07-99 2:04a Outlook Express
UNINST~1 <DIR> 10-07-99 2:19a Uninstall Information
CEQUAD~1 <DIR> 10-07-99 3:02a CeQuadrat
NETWOR~1 <DIR> 10-07-99 3:21a Network Associates
YAMAHA <DIR> 03-16-00 12:36a YAMAHA
WINAMP <DIR> 08-27-00 2:20a Winamp
MJUICE~1 <DIR> 08-27-00 2:20a Mjuice Media Player
POWERQ~1 <DIR> 08-27-00 10:13a PowerQuest
MACROM~1 <DIR> 08-27-00 10:45a Macromedia
ALLAIRE <DIR> 08-27-00 10:50a Allaire
BRADBURY <DIR> 08-27-00 10:50a Bradbury
SWISH1~1 01 <DIR> 08-27-00 10:54a Swish 1.01
XMPLAYER <DIR> 08-27-00 11:26a xmplayer
JAVASOFT <DIR> 08-27-00 11:37a JavaSoft
WINDOW~1 <DIR> 08-27-00 11:27a Windows Media Player
THUMBS32 <DIR> 08-27-00 11:37p Thumbs32
WEBPUB~1 <DIR> 09-05-00 5:25p Web Publish
MICROS~1 <DIR> 09-05-00 5:17p Microsoft Office
WINZIP <DIR> 09-05-00 6:21p WinZip
ADOBE <DIR> 09-06-00 4:48p Adobe
LAPLIN~1 <DIR> 09-19-00 3:10p LapLink 2000
รายละเอียดเกี่ยวกับไดเรคทอรีต่างๆ
ภายใน PROGRA~1 หรือ Program Files
Micros~1 หรือ Microsoft Office
เป็นที่เก็บโปรแกรม Word, Excel, PowerPoint Outlook และ Access
Access~1 หรือ Accessories
เป็นที่เก็บโปรแกรมในกลุ่ม Accessories อยากรู้ว่ามีโปรแกรมอะไร บ้างให้คลิกปุ่ม Start>>Programs>>Accessories รายชื่อโปรแกรมที่ปรากฏขึ้นมาก็ คือโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ใน โฟลเดอร์นี้
ADOBE
เป็นที่เก็บไฟล์หรือโปรแกรมของบริษัท Adobe เช่น Photoshop, PageMaker
WINZIP
เป็นที่เก็บโปรแกรม Winzip โปรแกรมช่วยบีบย่อไฟล์และแตกไฟล์ซิพ
LAPLIN~1 หรือ LapLink 2000
เป็นโปรแกรมช่วยในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่อง
Recycle
เป็นที่เก็บไฟล์ที่ถูกลบไปแล้ว
Mydocu~1 หรือ My Document
เป็นที่เก็บไฟล์ที่คุณได้สร้างขึ้นมา อาจเป็นงานที่พิมพ์ใน Word หรือ Excel ฯลฯ หากติดตั้ง Windows 98 ไว้
เพราะฉะนั้นการดูว่าภายในเครื่องมีโปรแกรมอะไรบ้างอาจเดาจากชื่อไดเรคทอรี่เหล่านี้ ดูส่วนชื่อโฟลเดอร์แบบเต็ม ชื่อ ที่ปรากฏก็คือชื่อของโปรแกรมต่างๆ ภายใน เครื่อง (แต่ไม่ทั้งหมด) อาจพิมพ์คำสั่ง DIR C:\PROGRA~1 แล้วกด Enter เพื่อดูรายชื่อโฟลเดอร์ต่างๆ เหล่านี้
- Details
- Category: คู่มือใช้งาน DOS
- Hits: 8567
ไดรว์จะเป็นสัญลักษณ์แทนตำแหน่งเก็บข้อมูล ไฟล์ หรือโปรแกรมต่างๆ บนฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ ที่สุด ซึ่งฮาร์ดดิสก์ 1 ตัว อาจมีไดรว์เดียวหรือมีมากกว่าหนึ่งไดรว์ สำหรับขนาดของไดรว์จะมีขนาดใหญ่ หรือเล็กจะขึ้นอยู่กับระบบไฟล์ที่ใช้ถ้าเป็นระบบไฟล์แบบ FAT16 จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 2 GB แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ใน ปัจจุบันที่เป็นระบบไฟล์ FAT32 จะมีขนาดไดรว์ที่ใหญ่กว่า แต่ไม่เกิน 2 TB
ในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีจำนวนไดรว์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความจุฮาร์ดดิสก์ ถ้ามีความจุ มาก อาจต้องแบ่งไว้หลายไดรว์ และก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของเครื่อง ถ้า แบ่งไดรว์ไม่เป็นก็อาจมีเพียงไดรว์เดียว และในแต่ละไดรว์อาจมีสร้างไดเรคทอรีหรือเก็บไฟล์ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากหรือน้อยหรือเก็บอะไร ไว้บ้างก็ขึ้นอยู่กับเจ้า ของเครื่องอีกนั่นแหละ
การตรวจนับจำนวนไดรว์บน DOS
การตรวจนับในที่นี้เราจะใช้แผ่น Startup Disk ของ Windows 98 หรือ ME เริ่มจากการ สำรวจภายนอกเสียก่อน ถ้ามีช่องอ่าน แผ่นดิสก์ก็แสดงว่ามีไดรว์ A:\> ถ้ามีเครื่องอ่านแผ่นซีดี ก็แสดงว่า มีซีดีรอมไดรว์ แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นไดรว์อะไร ให้บูทเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้นโปรแกรม จึงจะแจ้งว่าซีดีรอมไดรว์อยู่ที่ตำ แหน่งไดรว์ใด เช่นอยู่ที่ไดรว์ F: ก็แสดงว่าในเครื่องนั้นๆ มีไดรว์ ทั้งหมด A:, C:, D:, E: และ F: มี 5 ไดรว์ตามลำดับ แต่จริงๆ แล้วถ้าเป็นการเปิดเครื่องใช้งานตาม ปกติ ไม่บูทเครื่องจากแผ่น Startup Disk จะมีแค่ 4 ไดรว์ คือ A:, C:, D: และ E: (ซีดีรอมไดรว์) เพราะ การบูทเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk โปรแกรมจะสร้าง ไดรว์จำลองขึ้นมา 1 ไดรว์ โดยจะเป็นไดรว์ ที่มีตำแหน่งก่อนซีดีรอมไดรว์ ก็คือไดรว์ E: นั้นเอง ซีดีรอมไดรว์ก็เลยเลื่อน เป็นไดรว์ F: ก็ไม่ต้องใส่ใจ ไม่มีอะไรผิดปกติ ในคอมพิวเตอร์จะมีไดรว์ทั้งหมดมากน้อยต่างกัน แต่ก็ยังไม่เคยเห็นเครื่องไหนมีมาก ถึง ไดรว์ Z:
ข้อความแสดงตำแหน่งซีดีรอมไดรว์ขณะบูทจากแผ่น Startup Disk จะเป็น F:
MSCDEX Version 2.25
Copyright (c) Microsoft Corp. 1986-1995. All rights reserved.
Drive F: = Driver MSCD001 unit 0 (แสดงตำแหน่งของซีดีรอมไดรว์เป็น F:)
Your CD-ROM is drive F
To view Help, type HELP and then press ENTER
- Details
- Category: คู่มือใช้งาน DOS
- Hits: 3186
สอนใช้ Windows 7 Article Count: 47
คู่มือประจำบ้าน ลงโปรแกรม ด้วยตนเอง Article Count: 63
คู่มือติดตั้งโปรแกรม Windows ME/XP/Vista Article Count: 1
คู่มือจัดการพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ Article Count: 17
สำรองระบบด้วยโปรแกรม Norton Ghost Article Count: 5
คู่มือติดตั้งสารพัดโอเอสด้วย Virtual PC Article Count: 8
คู่มือ มือใหม่ Windows Vista Article Count: 131
เรียนคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง Windows XP Article Count: 116
คู่มือใช้งาน DOS Article Count: 22
รวม Tips และวิธีแก้ปัญหาใน Windows 7 Article Count: 4
คู่มือใช้งาน Windows 8 Article Count: 1
สอนใช้ Windows 10 Article Count: 57
สอนใช้ Windows 11 Article Count: 16
Page 24 of 123