Sponsored Ads

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

รวมบทความกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโอเอสประเภทต่างๆ เช่น DOS Windows ME/XP/Vista/7/8 การลงโปรแกรมใหม่ การจัดการกับพาร์ติชัน การแก้ปัญหาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวม Tips เป็นต้น

 


สำหรับก็อปปี้ข้อมูล เพื่อสร้างข้อมูลหรือไฟล์อีกชุดหนึ่งที่เหมือนกันทุกอย่าง ในกรณีที่ คุณต้องการนำข้อมูลที่บ้านไปใช้ที่บริษัท ก็สามารถใช้คำสั่งนี้เพื่อก็อปปี้ข้อมูล ลงแผ่นดิสก์เก็ตก็ได้
วิธีใช้คำสั่ง
ก่อนอื่นให้พิจารณาข้อมูลในไดรว์ C: และ A: ก่อน ซึ่งสมมุติว่ามีข้อมูลอยู่ดังนี้

ข้อมูลในไดรว์ C:
Volume in drive C is DISK01
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of C:\
MYWEB <DIR> 01-01-97 1:42p
MSOFFICE <DIR> 03-04-99 11:28a
WINDOWS <DIR> 03-04-99 11:28a
AUTOEXEC BAT 317 01-30-99 11:48p
COMMAND COM 93,880 08-31-98 8:00a
CONFIG SYS 262 03-02-99 9:11a
DOS <DIR> 03-04-99 11:29a
MYWORK <DIR> 03-04-99 11:29a
VIEW BMP 7,257,767 03-04-99 15:32a
SURVEY TXT 5,000 04-04-99 11:32a
4 file(s) 7,357,226 bytes
5 dir(s) 56,744,064 bytes free

ข้อมูลในไดรว์ C: มีทั้งหมด 5 ไฟล์ และ 5 ไดเรคทอรี่ และมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ 56,744,064 ไบต์

ข้อมูลในไดรว์ A:
Volume in drive A is VIRUS SCAN
Volume Serial Number is 1AF9-154D
Directory of A:\
B BMP 43,690 04-07-99 8:40p
MYWORK <DIR> 04-21-99 2:07a
PICTURE <DIR> 04-21-99 2:07a
TEST1 <DIR> 04-21-99 2:07a
A BMP 52,166 04-07-99 8:55p
A TXT 5,964 04-21-99 1:28a
3 file(s) 101,820 bytes
3 dir(s) 1,018,368 bytes free

ข้อมูลในไดรว์ A: หรือในแผ่นดิสก์มี 3 ไฟล์และ 3 ไดเรคทอรี่ และมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ 1,018,368 ไบต์
1. COPY C:\SURVEY.TXT A: เป็นการก็อปปี้ไฟล์ชื่อ SURVEY.TXT ที่อยู่ในไดรว์ C:\ ไปเก็บไว้ในไดรว์ A:\ ก่อนที่จะก็อปปี้ ไฟล์ใดๆ ควรพิมพ์คำสั่ง DIR ตาม ด้วยชื่อและนามสกุล ของไฟล์ที่ต้องการก่อน เพื่อดูว่าไฟล์มีขนาดเล็กพอที่จะก็อปปี้ลงแผ่นได้หรือไม่ เช่น DIR SURVEY.TXT และควรที่จะตรวจดูในแผ่นดิสก์เก็ตด้วย ว่ามีพื้นที่ว่างมากพอที่จะเก็บไฟล์ได้หรือไม่ โดยพิมพ์ DIR A: แล้วดูที่บรรทัดสุดท้ายว่ามีพื้นที่ว่าง (Bytes Free) เหลือเท่าไร พื้นที่ว่างจะต้อง มากกว่าขนาดของไฟล์ สำหรับไฟล์ SURVEY.TXT มีขนาด 5,000 Bytes สามารถก็อปปี้ลงเก็บใน แผ่นดิสก์ได้สบายๆ เพราะมีที่ว่างถึง 1,018,368 ไบต์
2. COPY C:\C*.* A:\MYWORK เป็นการก็อปปี้ไฟล์ทั้งหมดที่ชื่อขึ้นต้นด้วยตัว C ที่อยู่ใน เครื่องหรือในไดรว์ C:\> (จาก ตัวอย่างไฟล์ในไดรว์ C: ที่มีชื่อขึ้นต้น ด้วยตัว C: มี 2 ไฟล์คือ CONFIG.SYS และ COMMAND.COM) นำไปเก็บไว้ในไดรว์ A:\ หรือในแผ่นดิสก์ และนำไปเก็บไว้ ในไดเรคทอรี่ชื่อ MYWORK อีกที เมื่อก็ อปปี้เสร็จแล้ว อาจพิมพ์คำสั่ง DIR A:\MYWORK แล้ว Enter เพื่อดูว่าการก็อปปี้สมบูรณ์หรือไม่
3. COPY C:\*.* A: เป็นการก็อปปี้ไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ C: ไปเก็บไว้ในแผ่นดิสก์เก็ต ก่อนจะใช้คำสั่งนี้ให้พิมพ์ DIR C:\*.* แล้ว Enter เพื่อดูว่าขนาดของไฟล์ทั้ง หมดมีขนาดเท่าไร จาก ตัวอย่างขนาดของไฟล์ในไดรว์ C:\> มีขนาดประมาณ 7,357,226 ซึ่งมีขนาดใหญ่มากไม่สามารถก็อปปี้ ลงเก็บในแผ่นดิสก์ได้ เพราะ แผ่นดิสก์มีความจุเพียง 1.44 Mb หรือประมาณหนึ่งล้านสี่แสน สี่หมื่นไบท์ และจากตัวอย่างในแผ่นดิสก์ ก็มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่เพียง 1,018,368 เท่านั้น ใหญ่เกิน กว่าจะก็อปปี้ลง แผ่นได้
4. COPY A:\A.BMP C:\ เป็นการก็อปปี้ไฟล์ชื่อ A.BMP ในแผ่นดิสก์ไปเก็บไว้ในเครื่อง หรือไดรว์ C:\
5. COPY A:\B.BMP C:\MYWORK เป็นการก็อปปี้ไฟล์ชื่อ B.BMP ในแผ่นดิสก์ไปเก็บไว้ ในเครื่องหรือไดรว์ C:\ โดยนำไปเก็บไว้ในไดเรคทอรีชื่อ MYWORK อีก ที
6. สร้างไดเรคทอรี่ชื่อ FROMA ด้วยคำสั่ง MD C:\FROMA แล้วพิมพ์คำสั่ง XCOPY A:\*.* C:\FROMA /S เป็นการก็อปปี้ทุกสิ่งทุกอย่างในแผ่นไปเก็บไว้ในไดรว์ C: โดยนำไปเก็บไว้ใน ไดเรคทอรี่ชื่อ FROMA การใช้คำสั่งนี้จะแตกต่างจากคำสั่ง COPY ก็คือสามารถก็อปปี้ไดเรคทอรีได้ด้วย ควรใช้คำสั่งนี้ก็ต่อเมื่อต้องการก็อปปี้ทุก สิ่งทุกอย่างหรือทั้งหมดเลย หลังจากก็อปปี้เสร็จแล้วใน ไดเรคทอรี่ชื่อ FROMA ก็จะมีโครงสร้างไฟล์และไดเรคทอรี่ต่างๆ เหมือนกับไฟล์และไดเรคทอรี่ ในแผ่นดิสก์ หรือไดรว์ A:\> ทุกประการ หากไม่สามารถใช้คำสั่งนี้ได้ ก็ให้ใช้คำสั่ง COPY เพราะหาก ไม่ได้สร้างแผ่น Startup Disk ตามตัวอย่างในหนังสือแล้ว คุณจะไม่ สามารถใช้คำสั่งนี้ได้
7. XCOPY A:\MYWORK\*.* C:\MYFILE /S เป็นการก็อปปี้ข้อมูลทั้งหมดใน ไดเรคทอรี่ชื่อ MYWORK ที่อยู่ในแผ่นดิสก์ไปเก็บ ไว้ในเครื่องโดยเก็บไว้ในไดเรคทอ รีชื่อว่า MYFILE
ในการใช้งานจริง โอกาสที่จะใช้คำสั่ง COPY ส่วนใหญ่จะเป็นการก็อปปี้ไฟล์ต้นฉบับของ โปรแกรม Windows ลงเก็บในฮาร์ดดิสก์ ก่อนติดตั้งโปรแกรม

 

ตัวอย่างการก็อปปี้ไฟล์ต้นฉบับของ Windows ME จากแผ่นซีดีรอมลงเก็บในฮาร์ดดิสก์
1. บูทเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk ของ Windows ME และคอยจนกระทั่งปรากฏ เครื่องหมาย A:\> ระหว่างบูทเครื่อง ก็สังเกตด้วยว่าซีดีรอมไดรว์เป็นไดรว์ อะไร ในที่นี้ซีดีรอมของ ผู้เขียนเป็นไดรว์ F:
2. ใส่แผ่นซีดีเก็บไฟล์ต้นฉบับของ Windows ME เข้าไปในช่องอ่าน
3. สร้างที่เก็บไฟล์ในไดรว์ D: (หรือไดรว์อื่นๆ) ด้วยคำสั่ง MD D:\WINME ในที่นี้ เป็น การสร้างไดเรคทอรี่สำหรับเก็บไฟล์ไว้ในไดรว์ D: ชื่อ WINME เพราะหาก ไม่สร้าง เมื่อก็อปปี้ไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ไฟล์ก็จะไปปนกับไฟล์ของโปรแกรมอื่น ทำให้วุ่นวายกันไปหมด
4. ตรวจดูในแผ่นซีดีรอมว่าไฟล์ต้นฉบับถูกเก็บไว้ในไดเรคทอรี่ใด ด้วยคำสั่ง DIR F: ถ้าเป็น แผ่นไฟล์ต้นฉบับของแท้ไฟล์จะถูกเก็บไว้ในไดเรคทอรี่ชื่อ WIN9X ส่วนแผ่นก็อปปี้ประเภทรวมสารพัด โปรแกรม ก็สังเกตไม่ยาก เพราะมักจะตั้งชื่อคล้ายๆ กัน เดาไม่ยาก เช่น WIN9X, WINME เป็นต้น
5. เริ่มต้นก็อปปี้ไฟล์โดยพิมพ์คำสั่ง COPY F:\WIN9X\*.* D:\WINME ความหมายเป็นการ ก็อปปี้ไฟล์ทุกไฟล์ (*.*) ที่อยู่ในแผ่นซีดี (F:) อยู่ในไดเรคทอรี่ WIN9X ไปไว้ในไดรว์ D: โดยนำไป เก็บไว้ในไดเรคทอรี่ WINME ชื่อไดเรคทอรีอาจตั้งชื่อเหมือนกัน แต่ต้องอยู่คนละที่

ลักษณะการพิมพ์คำสั่ง
A:\>_ (ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งเป็น A:\>_ เพราะเราบูทเครื่องจากแผ่น Startup Disk ของ Windows ME)
A:\>MD D:\WINME (สร้างไดเรคทอรีชื่อ WINME ไว้ในไดรว์ D:)
A:\>DIR F: (ดูข้อมูลในแผ่นซีดีรอมไดรว์ F: จะพบว่าที่เก็บไฟล์ต้นฉบับคือ WIN9X)
Volume in Drive F:
.......
A:\>COPY F:\WIN9X\*.* D:\WINME (ก็อปปี้ไฟล์ต้นฉบับในแผ่นซีดีรอมไปไว้ที่ไดเรคทอรี WINME ในไดรว์ D:)
(ข้อความแสดงการก็อปปี้)
A:\>_ (ก็อปปี้เสร็จแล้วก็จะแสดงเครื่องหมาย A:\>_ เหมือนเดิม เป็นการสิ้นสุดการทำงาน)

เครื่องของผู้อ่านย่อมจะไม่เหมือนเครื่องของผู้เขียน ตำแหน่งไดรว์ ลักษณะของไฟล์ ในเครื่อง จะไม่เหมือนกัน จึงต้องดัดแปลง ใช้คำสั่งให้ถูกต้อง ในเครื่องของ คุณซีดีรอมไดรว์อาจเป็น E: แต่ทะลึ่ง พิมพ์คำสั่ง ตามตัวอย่างในหนังสือก็มีแต่ผิดกับผิด เช่น COPY F:\WIN98\*.* D:\WIN98 หาก ซีดีรอมไดรว์ของเครื่องเป็นตัว อื่นเช่น D: ก็ต้องแก้คำสั่งเป็น COPY D:\WIN98\*.* D:\WIN98
การใช้คำสั่ง DELTREE
คำสั่งนี้ใช้สำหรับลบไดเรคทอรี่ที่ไม่ต้องการออกจากเครื่อง
วิธีใช้คำสั่ง
1. DELTREE MYDATA ลบไดเรคทอรี่ชื่อ MYDATA เมื่อพิมพ์คำสั่งและกด Enter แล้วจะปรากฏข้อความถามว่าต้องการลบหรือไม่ ให้พิมพ์ตัว Y ที่แป้นพิมพ์ แล้วกด Enter เพียงเท่านี้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในไดเรคทอรี MYDATA ก็จะถูกลบ ก่อนจะกดตัว Y ควรตรวจให้ถี่ถ้วนก่อนว่า เป็นไดเรคทอรี่ที่ต้องการลบจริงๆ ไม่เช่นนั้นซวย นะครับท่าน ในไดเรคทอรี่ MYDATA ซึ่งมีไดเรคทอรี่ ย่อยคือ LETTER และ PICTURE หากต้องการลบเฉพาะไดเรคทอรี่ย่อยเช่น ต้องการลบ LETTER ให้พิมพ์คำสั่ง CD MYDATA เพื่อเข้าไปในไดเรคทอรี่ชื่อ MYDATA ก่อน แล้วจึงพิมพ์คำสั่ง DELTREE LETTER เพื่อลบไดเรคทอรี่ย่อยชื่อ LETTER แต่ถ้าหากใช้คำสั่ง DELTREE MYDATA ไดเรคทอรี่ย่อยที่อยู่ข้างในคือ LETTER และ PICTURE ก็จะถูกลบไปด้วย
ตัวอย่างการพิมพ์คำสั่ง
A:\>_ (ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งอยู่ที่ A:\> แสดงว่าขณะนี้กำลังทำงานอยู่ในไดรว์ A:)
A:\>DIR C: (ดูข้อมูลในไดรว์ C: ไดเรคทอรี MADATA <DIR> เป็นเป้าหมายที่จะโดนลบ)
Volume in drive C is DISK01
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of C:\
MYWEB <DIR> 01-01-97 1:42p
MADATA <DIR> 05-02-02 2:02p
WINDOWS <DIR> 03-04-99 11:28a
MSOFFICE <DIR> 03-04-99 11:28a
...............................................................................................
A:\>C: (พิมพ์คำสั่ง C: แล้วกด Enter เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งไดรว์จาก A: ไปที่ไดรว์ C: ที่ๆ มีไดเรคทอรีที่จะลบ)
C:\>_ (ตำแหน่งไดรว์เปลี่ยนมาอยู่ที่ไดรว์ C: )
C:\>DIR C:\MYDATA (ใช้คำสั่งนี้ดูข้อมูลภายในไดเรคทอรี MYDATA)
Volume in drive c: is Disk01
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of C:\MYDATA
LETTER <DIR> 03-05-02 1:53a (ข้อมูลเหล่านี้อยู่ใน MYDATA <DIR>
PICTURE <DIR> 11-07-02 11:04p
CAR TXT 166 07-06-02 10:14a
..................
C:\>CD MYDATA (เข้าไปในไดเรคทอรี MYDATA)
C:\MYDATA> (ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งเปลี่ยนเป็น C:\MYDATA>_ )
C:\MYDATA>DELTREE LETTER (พิมพ์คำสั่ง DELTREE LETTER เพื่อลบไดเรคทอรี LETTER)
Delete directory "LETTER" and all its subdirectory? (y/n) Y (กด Y เพื่อลบ)
C:\MYDATA> (ลบเสร็จแล้วจะแสดง C:\MYDATA>_)
C:\MYDATA>CD.. (พิมพ์คำสั่ง CD.. แล้วกด Enter เพื่อออก)
C:\>_ (กลับมาที่ C:\>_ เป็นอันเสร็จสิ้นการทำงาน)
C:\>DELTREE MYDATA (พิมพ์คำสั่ง แล้วกด Enter จะปรากฏข้อความถามว่าจะลบหรือไม่ให้กด Y แล้ว Enter เพื่อลบ)
Delete directory “MYDATA” and all its subdirectories? [yn] Y (กด Y เพื่อลบ)
C:\> (ลบเสร็จแล้วก็จะแสดงเครื่องหมาย C:\>_ ก็เป็นอันสิ้นสุดการทำงาน)

ก่อนใช้คำสั่งนี้ต้องแน่ใจว่าไดเรคทอรี่ที่จะลบ เป็นไดเรคทอรี่ที่ต้องการลบ จริงๆ จะไปทดลอง ใช้คำสั่งนี้ลบสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ เราเตือนคุณแล้วนะ


คำสั่งนี้ใช้สำหรับลบไฟล์ที่ไม่ต้องการทิ้งไป ในการใช้คำสั่ง DELTREE นั้นจะลบทั้งไฟล์และ ไดเรคทอรี่พร้อมกัน ส่วน DEL จะลบไฟล์อย่างเดียว และตัวอย่างการ ใช้คำสั่งในที่นี้ ห้ามฝึกลบไฟล์ บางตัวตามตัวอย่างโดยเฉพาะ COMMAND.COM เป็นเพียงกรณีศึกษา ที่อยากให้ผู้อ่านได้มองเห็น ภาพแค่นั้นเองว่า การลบนั้นทำ อย่างไร การฝึกลบให้ทดลองกับไฟล์ในแผ่นดิสก์
เพื่อความปลอดภัยไม่ควรลบไฟล์ที่ไม่รู้จัก ไฟล์ที่จะลบต้องแน่ใจว่าไม่ผิดตัว และจะให้ดี ควรฝึกลบในแผ่นดิสก์ให้ชำนาญก่อน เช่น เตรียมแผ่นดิสก์ว่างๆ 1 แผ่น ใส่ลงไปในช่องอ่าน แล้ว ก็อปปี้ไฟล์ลงแผ่นโดยปฏิบัติดังนี้ เพื่อไว้ฝึกลบไฟล์ในแผ่น
1. ในหน้าจอ DOS ให้ก็อปปี้ไฟล์ลงแผ่นเพื่อใช้ฝึกลบ โดยพิมพ์คำสั่ง COPY C:\WINDOWS\*.TXT A: แล้วกด Enter
2. เมื่อก็อปปี้เสร็จและกลับมาที่เครื่องหมาย C:\> แล้ว ให้ก็อปปี้ไฟล์อีกชุดหนึ่ง โดยพิมพ์ คำสั่ง COPY C:\WINDOWS\*.INI A: แล้วกด Enter

วิธีใช้คำสั่ง
1. ใช้คำสั่ง DIR D:\ เพื่อดูข้อมูลในไดรว์ D: จะปรากฏรายชื่อไฟล์ออกมาดัง ตัวอย่าง (แต่ในเครื่องของผู้อ่าน จะปรากฏรายชื่อ ไฟล์ออกมาไม่เหมือนกัน การใช้คำ สั่ง DEL จึงต้องดัดแปลงลบไฟล์โดยพิมพ์ชื่อให้ถูกต้อง)
D:\>DIR D:\ (สั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลในไดรว์ D:)
Volume in drive D is DISK02 => (ข้อมูลถูกแสดงออกมาในหน้าจอ)
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of D:\
MYWEB <DIR> 01-01-97 1:42p
WINDOWS <DIR> 03-04-99 11:28a
MSOFFICE <DIR> 03-04-99 11:28a
AUTOEXEC BAT 317 01-30-99 11:48p
COMMAND COM 93,880 08-31-98 8:00a
CONFIG SYS 262 03-02-99 9:11a
DOS <DIR> 03-04-99 11:29a
MYWORK <DIR> 03-04-99 11:29a
VIEW BMP 7,257,767 03-04-99 15:32a
SURVEY TXT 5,000 04-04-99 11:32a => (เราจะลบไฟล์นี้)
4 file(s) 7,357,226 bytes
5 dir(s) 56,744,064 bytes free
D:\>_

2. DEL SURVEY.TXT ใช้คำสั่งนี้ ถ้าต้องการลบไฟล์ชื่อ SURVEY.TXT ออกไปจากเครื่อง ถ้าพิมพ์คำสั่งถูกต้อง ไฟล์ก็จะถูก ลบออกไป เมื่อใช้คำสั่ง DIR D:\ อีกครั้ง ก็จะไม่พบไฟล์นี้ในเครื่อง
3. DEL C*.* เป็นการลบไฟล์ทุกไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยตัว C ซึ่งจะมีอยู่สองไฟล์ คือ COMMAND.COM และ CONFIG.SYS
COMMAND COM 93,880 08-31-98 8:00a
CONFIG SYS 262 03-02-99 9:11a
4. DEL *.BMP เป็นการลบไฟล์ทุกไฟล์ที่มีนามสกุล BMP ในเครื่องมีอยู่ไฟล์เดียวคือ VIEW.BMP ก็จะโดนลบแค่ไฟล์เดียว
5. การลบไฟล์ในแผ่นดิสก์ เมื่อใช้คำสั่ง DIR A:\ ก็จะพบรายชื่อไฟล์ดังนี้
D:\>DIR A:\ (พิมพ์คำสั่ง DIR A:\ เพื่อดูข้อมูลในแผ่นดิสก์ ซึ่งจะแสดงออกมาดังตัวอย่าง)
Volume in drive A is VIRUS SCAN
Volume Serial Number is 1AF9-154D
Directory of A:\
B BMP 43,690 04-07-99 8:40p
MYWORK <DIR> 04-21-99 2:07a
PICTURE <DIR> 04-21-99 2:07a
TEST1 <DIR> 04-21-99 2:07a
A BMP 52,166 04-07-99 8:55p
A TXT 5,964 04-21-99 1:28a
3 file(s) 101,820 bytes
3 dir(s) 1,018,368 bytes free
D:\> (ตำแหน่งการทำงานในตอนนี้อยู่ที่ไดรว์ D:)
D:\>A: (พิมพ์คำสั่ง A: แล้วกด Enter เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานไปที่ไดรว์ A:\>_ )
A:\> (ตำแหน่งการทำงานถูกเปลี่ยนมาอยู่ที่ไดรว์ A:\>_ )
A:\>DEL A.TXT (คำสั่ง DEL A.TXT จะลบไฟล์ชื่อ A.TXT ออกจากแผ่นดิสก์)
A:\>DEL *.BMP (คำสั่ง DEL *.BMP จะลบไฟล์ทุกไฟล์ที่มีนามสกุล BMP ออกจากแผ่นดิสก์)
A:\>DELTREE PICTURE (คำสั่งนี้จะลบไดเรคทอรีชื่อ PICTURE เมื่อกด Y แล้ว Enter ก็จะถูกลบ)
Delete directory “PICTURE” and all its subdirectories? [yn] Y (กด Y เพื่อลบ)
A:\> (ลบเสร็จแล้วก็จะกลับมาที่เครื่องหมาย A:\> เหมือนเดิม เป็นอันเสร็จสิ้นการทำงาน)


คำสั่งนี้จะทำการจัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ทั้งหมด อาจใช้คำสั่งนี้เพื่อลบไวรัส ในแผ่นดิสก์หรือ ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนใช้คำสั่งนี้จัดการกับฮาร์ดดิสก์ ต้องตรวจให้ถี่ถ้วน และมั่นใจเสียก่อนว่า ต้องการ ฟอร์แมทจริงๆ และฟอร์แมทไม่ผิดไดรว์ด้วยเพราะข้อมูลทั้งหมดจะหายไปชั่วกาล กู้คืนมาไม่ได้ หรือกู้ได้แต่คงไม่ครบแน่นอน

วิธีใช้คำสั่ง
1. FORMAT A: เป็นการฟอร์แมทแผ่นดิสก์เก็ตหรือจัดรูปแบบให้กับแผ่นดิสก์เก็ตใหม่ ทั้งหมด โดยสรุปแล้วก็เป็นการลบทุกสิ่งทุกอย่างในแผ่นนั่นเอง
2. FORMAT A: /S เป็นการฟอร์แมทแผ่นดิสก์ ในขณะเดียวกันก็ก็อปปี้ไฟล์ระบบลงเก็บ ในแผ่นด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถใช้แผ่นนี้บูทเครื่องได้ วิธีนี้เป็นการสร้าง แผ่นบูทดิสก์หรือ สตาร์ทอัพดิสก์นั่นเอง แต่ใน Windows ME จะใช้คำสั่งนี้ไม่ได้
3. FORMAT A: /Q เป็นการฟอร์แมทแบบเร็ว โปรแกรมจะไม่ลบข้อมูลจริงๆ แต่จะทำ เครื่องหมายไว้ว่าได้ลบไฟล์หรือข้อมูล ไปแล้วเท่านั้นเอง

ตัวอย่างการการฟอร์แมทแผ่นดิสก์
C:\>_ (ตำแหน่งการทำงานอยู่ที่ไดรว์ C:\>_ )
C:\>DIR A:\ (ควรใช้คำสั่งนี้ดูข้อมูลในแผ่นดิสก์ก่อนจะฟอร์แมท บางทีอาจใส่แผ่นอื่น ที่มีข้อมูลสำคัญเก็บไว้)
C:\>FORMAT A: (พิมพ์คำสั่ง FORMAT A: แล้วกด Enter)
Insert new diskette for drive a: (โปรแกรมเตือนให้ใส่แผ่นในช่องอ่าน)
and press ENTER when ready... (ถ้าได้ใส่แผ่นแล้ว ก็กด Enter)

Checking existing disk format. (เริ่มทำการตรวจสอบแผ่นดิสก์)
formatting 1.44M
72 percent completed. (เริ่มทำการฟอร์แมทซึ่งทำไปได้ 72% แล้ว)
Format complete. (การฟอร์แมทเสร็จสมบูรณ์แล้ว)

Volume label (11 characters, ENTER for none)? Mybook (จะให้ตั้งชื่อแผ่น เช่นพิมพ์ Mybook แล้วกด Enter)

1,457,664 bytes total disk space (จำนวนความจุทั้งหมดของแผ่นคือ 1,457,664 bytes)
46,080 bytes in bad sectors (มี Bad sectors หรือพื้นที่ที่เสียบนดิสก์ใช้งานไม่ได้อยู่ 46,080 bytes)
1,411,584 bytes available on disk (พื้นที่ที่สามารถใช้งานได้ทั้งหมดจะเหลือ 1,411,584 bytes)

512 bytes in each allocation unit. (ขนาดของคลัสเตอร์เท่ากับ 512 ไบต์ )
2,757 allocation units available on disk. (มีคลัสเตอร์ทั้งหมด 2,757 )

Volume Serial Number is 4665-16F2 (เป็นหมายเลขแผ่นดิสก์แผ่นนี้คือ 4665-16F2)

Format another (Y/N)? N (ต้องการฟอร์แมทแผ่นดิสก์ แผ่นอื่นๆ อีกหรือไม่ พิมพ์ N แล้ว Enter ฟอร์แมทแค่แผ่นเดียว)
C:\> (กลับไปที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง เป็นอันเสร็จสิ้นการทำงาน)

การพิจารณาว่าแผ่นดิสก์ แผ่นใดควรจะฟอร์แมท
- แผ่นนั้นๆ เป็นแผ่นเก่าใช้มานานมาก หากต้องการนำมาเก็บข้อมูล ควรจะฟอร์แมท ก่อนก็อปปี้ไฟล์ลงไป เพราะแผ่นที่เก็บไว้นานๆ จะเริ่มเสียเกิดเป็นแบ ดเซ็คเตอร์ไปทีละนิดๆ จนกว่า จะเสียทั้งแผ่น ใช้งานไม่ได้
- ก่อนใช้โปรแกรม Winzip หรือ Pkzip บีบย่อไฟล์ลงแผ่น แผ่นที่นำมาใช้ ควรจะฟอร์แมท ก่อนยกเว้นแผ่นใหม่แกะกล่อง
4. FORMAT C: /S /U จะเป็นการฟอร์แมทไดรว์ C: หรือฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ พร้อมกับ ก็อปปี้ไฟล์ระบบลงไปด้วย ส่วน /U เป็นการฟอร์แมทแบบสะอาดเอี่ยม ชนิดไม่เหลือซากของข้อมูลดๆ เลย คำสั่งในข้อที่ 4 นี้ ให้ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ ก็คือในการเตรียมฮาร์ดดิสก์ สำหรับติดตั้งโปรแกรม ขอย้ำนะครับว่าห้ามทดลอง ไว้ใช้ เมื่อถึงเวลาจริงๆ เท่านั้น แต่หากคุณมีฮาร์ดดิสก์ว่างๆ อยู่ ก็ลองได้ เลยครับ ลักษณะการฟอร์แมทจะไม่เหมือนในข้อที่ 1-3 เพราะจะเป็นการบูทเครื่องจากแผ่น บูทดิสก์หรือ Startup Disk ถ้าเป็นการบูทเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk ของ Windows ME การฟอร์แมทให้พิมพ์ FORMAT C: ไม่ต้องมีตัวเลือก /S /U

ตัวอย่างการฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ด้วยคำสั่ง DOS
A:\> (ตำแหน่งการทำงานต้องอยู่ที่ไดรว์ A:\> สำหรับการฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์)
A:\>FORMAT C: (พิมพ์คำสั่ง FORMAT C:)
WARNING, ALL DATA ON NON-REMOVABLE DISK
DRIVE C: WILL BE LOST!
Proceed with Format (Y/N)? Y (กด Y แล้ว Enter เพื่อทำงานต่อ)
Formatting 1.620 M (จำนวนความจุทั้งหมดของไดรว์ C:)
Format Complete
Writingout file allocation table
complete.
Calculation free space (this may take serveral minutes)...
Complete.
Volume Label (11 characters, ENTER for none)? System (ฟอร์แมทเสร็จแล้วจะให้ตั้งชื่อ แผ่น เช่น System)
A:\>_ (เสร็จแล้วจะกลับมาที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง A:\> เหมือนเดิม เป็นอันเสร็จสิ้น การทำงาน)