Sponsored Ads

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

รวมบทความกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโอเอสประเภทต่างๆ เช่น DOS Windows ME/XP/Vista/7/8 การลงโปรแกรมใหม่ การจัดการกับพาร์ติชัน การแก้ปัญหาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวม Tips เป็นต้น

 


การตรวจนับจำนวนไดรว์บน DOS จะยากกว่า แต่ถ้าเป็น Windows ก็เพียงแต่ดับเบิ้ลคลิก ที่ไอคอน My Computer ก็จะปรากฏกรอบข้อความแสดงจำนวนไดรว์ ภายในเครื่อง ซึ่งจะมีไดรว์ต่างๆ ดังนี้
1. 3.5 Floppy [A:] เป็นไดรว์ A: แทนตำแหน่ง A:\>_ หรือเอพร๊อมพ์ บน DOS เป็น สัญลักษณ์แทนฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์


2. System [C:] เป็นไดรว์ C: แทนตำแหน่ง C:\>_ หรือซีพร๊อมพ์ บน DOS ส่วน System เป็นชื่อไดรว์นี้หรือ Volume Label บน DOS จะมีหรือไม่มีก็ได้ ให้จด จำที่ตัว C: ก็พอ


3. DATA1 [D:] เป็นไดรว์ D: แทนตำแหน่ง D:\>_ หรือดีพร๊อมพ์ บน DOS


4. CDROM [E:] เป็นซีดีรอมไดรว์ E: แทนตำแหน่ง E:\>_ บน DOS
ในเครื่องนี้ก็มีทั้งหมด 4 ไดรว์ ในไดรว์ C: และ D: จะเป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งอาจเป็นฮาร์ดดิสก์ ตัวเดียวที่แบ่งไว้ 2 ไดรว์หรือเป็นฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวมีตัวละไดรว์ก็ได้ หลายคนที่อาจเกิดคำถามในใจว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นๆ มีหรือไม่มีฮาร์ดดิสก์ สังเกตไม่ยาก ไดรว์ A:\> แทนตำแหน่ง ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ไว้อ่านแผ่น ดิสก์ ส่วนซีดีรอมไดรว์ถ้าถูกกำหนดเป็นไดรว์ C: เมื่อใด ก็แสดงว่าใน เครื่องนั้นๆ ไม่มีฮาร์ดดิสก์หรือมีแต่ไม่ทำงาน อาจเสียหรือตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง เครื่อง เลยตรวจ ไม่พบว่ามีฮาร์ดดิสก์ต่อพ่วงอยู่ภายใน


ในฮาร์ดดิสก์อาจมีข้อมูลใดๆ อยู่ การดูรายชื่อไฟล์ ก็จะใช้คำสั่ง DIR C: หรือ DIR D: แต่การดู ข้อมูลในไดรว์ A: หรือ ซีดีรอมไดรว์นั้น จะต้องใส่แผ่นที่ต้องการดู ข้อมูล ใส่แผ่นไปในช่องอ่านเสียก่อน แล้วจึงพิมพ์คำสั่ง DIR A: เพื่อดูข้อมูลในแผ่นดิสก์ หรือ DIR E: เพื่อดูข้อมูลในแผ่นซีดีรอม แต่บน ฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องใส่แผ่นอะไร เข้าไป เพราะฮาร์ดดิสก์ก็เป็นสื่อบันทึกข้อมูลเหมือนกับแผ่นดิสก์หรือแผ่น ซีดีรอม เพียงแต่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่นิยมถอดเข้าถอดออก เพราะบอบบาง เสียง่าย และแพงกว่า


ใน DOS เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ที่เป็น A:\>_, C:\>_, D:\> ฯลฯ จะเป็นสัญลักษณ์ แสดงว่า ขณะนั้นกำลังทำงานอยู่ในไดรว์ใด ถ้าเป็น A:\>_ ก็ แสดงว่ากำลังทำงานอยู่ในไดรว์ A: หรือ แผ่นดิสก์เก็ตนั่นเอง แต่ถ้าไฟล์หรือข้อมูลของเราอยู่ในไดรว์ C: ก็ต้อง เปลี่ยนตำแหน่งเครื่องหมาย พร้อมรับคำสั่งจาก A:\> ก็เปลี่ยนเป็น C:\> เพื่อไปจัดการกับข้อมูลในไดรว์ C:\> ถ้าเครื่องหมายพร้อม รับคำสั่งเป็น A:\> การพยายามใช้คำสั่ง DOS เพื่อไปจัดการกับข้อ มูลในไดรว์ C: อาจผิดพลาดได้ จึงต้องเปลี่ยนไดรว์เสียก่อน

A:\>_ (ตำแหน่งของไดรว์เป็น A:)
A:\>C: (พิมพ์คำสั่ง C: แล้วกด Enter เพื่อเปลี่ยนไดรว์)
C:\> (ตำแหน่งไดรว์เปลี่ยนจาก A:\> เป็น C:\>_)
C:\DOS> (ตำแหน่งการทำงานอยู่ที่ไดรว์ C: และไดเรคทอรี DOS)

จากตัวอย่าง
1. ตอนนี้อยู่ที่ตำแหน่งไดรว์ A: สังเกตุได้จากเครื่องหมาย A:\>
2. เมื่อพิมพ์ C: (พิมพ์ตัว C และตัวโคล่อน ที่ปุ่ม ซ แต่ต้องกดปุ่ม Shift ค้างไว้ขณะที่พิมพ์ ) แล้วกด Enter
3. เครื่องหมายเอพร๊อมพ์ก็จะเปลี่ยนเป็น C:\>_ ก็แสดงว่าได้เปลี่ยนไดรว์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
4. ในบางครั้งเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งอาจเป็น C:\DOS>_ ก็แสดงว่าในขณะนั้น ตำแหน่ง การทำงานอยู่ที่ไดรว์ C: และอยู่ในไดเรคทอรี DOS การเปลี่ยนตำ แหน่งไดรว์ ก็สามารถเปลี่ยนได้เลย โดยพิมพ์ A: หรือ D: แล้วกด Enter


การใช้คำสั่ง DIR เพื่อดูข้อมูลในแผ่นซีดี ผู้เขียนจะเน้นการดูรายชื่อไฟล์และไดเรคทอรี่ ในแผ่นซีดีที่เก็บไฟล์ต้นฉบับของ Windows 95/98/ME/2000/XP เช่น
1. ใส่แผ่น Startup Disk ของ Windows98/ME เข้าไปในช่องอ่านแล้วเปิดเครื่อง จะปรากฏ ตัวเลือกในการบูท ให้เลือกบูทแบบ CD-ROM Support
2. ขณะบูทให้สังเกตข้อความต่างๆ ที่แสดงผลการตรวจสอบขณะบูทเครื่อง โดยเฉพาะ ตำแหน่งของซีดีรอม ในเครื่องของผู้เขียน จะเป็น ไดรว์ F:
3. เมื่อปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งแล้ว ให้ใส่แผ่นซีดีรอม เข้าไปในช่องอ่าน พิมพ์คำสั่ง DIR F: แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อให้โปรแกรม แสดงรายชื่อไฟล์บนหน้าจอ


คำสั่ง CD (Change Directory) เป็นคำสั่งสำหรับเข้าไปในไดรเรคทอรี่ เพื่อดูข้อมูล ลบ หรือ จัดการกับข้อมูล ไฟล์ ในลักษณะต่างๆ
คำสั่ง MD (Make Directory) สำหรับสร้างไดเรคทอรี่ หากต้องการสร้างไว้เก็บข้อมูลใดๆ

วิธีการใช้คำสั่ง
ให้พิมพ์คำสั่งที่ต้องการแล้ว Enter
1. CD WINDOWS ต้องการเข้าไปในไดเรคทอรีชื่อ WINDOWS เมื่อกด Enter แล้ว เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งจะเปลี่ยนเป็น C:\WINDOWS> ก็หมายความว่า ตอนนี้เราอยู่ในไดเรคทอรี่ ชื่อ WINDOWS หากต้องการดูว่าในไดเรคทอรี่นี้มีข้อมูลหรือไฟล์อะไรบ้าง ให้พิมพ์คำสั่ง DIR แล้ว กด Enter (อาจลองพิมพ์โดยใช้ตัวเลือก หลายๆ แบบก็ได้)
2. CD\ เมื่อเข้าไปในไดเรคทอรี่ WINDOWS แล้วและหากต้องการออกมาที่ C:\> เหมือน เดิม ให้พิมพ์ CD\ แล้ว Enter
3. MD C:\MYFILE ต้องการสร้างไดเรคทอรี่ชื่อว่า MYFILE ก็พิมพ์คำสั่ง MD MYFILE จะพิมพ์ชื่อไดเรคทอรีเป็นอะไรก็ได้ แต่พยายามอย่าใช้พวกตัวอักษรแปลกๆ เช่น @#%$! เพราะอาจจะ มีปัญหาตามมาภายหลัง ชื่อที่เป็นภาษาไทยด้วย เลี่ยงได้ก็เลี่ยง เถิดครับ ไม่ใช่ไม่อนุรักษ์ภาษาไทย แต่มันจะตายตอนจบกับการสำรอง ข้อมูลในบางครั้ง
4. พิมพ์คำสั่ง DIR C:\MYFILE กด Enter เพื่อดูไดเรคทอรี่ที่ถูกสร้างขึ้นมา
5. CD MYFILE เข้าไปในไดเรคทอรี่ MYFILE ที่ได้สร้างขึ้นมา จากนั้นคุณก็อาจจะสร้าง ไดเรคทอรี่ย่อย หรือ Sub-Directory ใน MYFILE ขึ้นมาอีก เช่น MD LETTER เพื่อสร้างที่เก็บไฟล์ จดหมาย MD PICTURE เพื่อสร้างที่เก็บรูปภาพต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานจริง
เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเรามาดูตัวอย่างการใช้งานจริง
1. พิมพ์คำสั่ง DIR C: แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อดูข้อมูลในไดรว์ C: ซึ่งจะปรากฏรายชื่อไฟล์ และไดเรคทอรีดังนี้
C:\> DIR C:\ (ใช้คำสั่งนี้เพื่อดูข้อมูลในไดรว์ C:)
Volume in drive C is DISK01
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of C:\
MSOFFICE <DIR> 03-04-99 11:28a
MYWEB <DIR> 01-01-97 1:42p
WINDOWS <DIR> 03-04-99 11:28a
...............................................................................................

2. จะพบว่ามีไดเรคทอรีต่างๆ เช่น MYWEB <DIR> ถ้าต้องการเข้าไปดูข้อมูลภายใน ให้พิมพ์ คำสั่ง CD MYWEB แล้วกดปุ่ม Enter และพิมพ์คำสั่ง DIR ส่วน การออกเพื่อให้กลับไปอยู่ที่ เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งเหมือนเดิมให้พิมพ์ CD..

C:\>CD MYWEB (พิมพ์คำสั่ง CD MYWEB แล้วกด Enter)
C:\MYWEB>_ (ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งเปลี่ยนเป็น C:\MYWEB>)
C:\MYWEB>DIR (พิมพ์คำสั่ง DIR แล้วกด Enter เพื่อดูข้อมูลด้านใน ดังข้อความด้านล่าง Volume in ...)
Volume in drive C is DISK01
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of C:\MYWEB
PIG BMP 227,763 03-04-99 15:32a
LETTER TXT 7,000 04-04-99 11:32a
.............................................................................................................
C:\MYWEB>CD.. (พิมพ์คำสั่ง CD.. แล้วกด Enter เพื่อออกจากไดเรคทอรี MYWEB)
C:\>_ (กลับมาอยู่ที่ซีพร๊อมพ์เหมือนเดิม เป็นการสิ้นสุดการทำงาน)

3. พิมพ์คำสั่ง MD MYDATA แล้วกด Enter เพื่อสร้างไดเรคทอรี
C:\>MD MYDATA (พิมพ์คำสั่ง MD MYDATA แล้วกด Enter เพื่อสร้างไดเรคทอรี)
C:\>DIR (พิมพ์คำสั่ง DIR เพื่อให้แสดงข้อมูล ก็จะพบไดเรคทอรีใหม่ MYDATA <DIR> ที่เพิ่งจะถูกสร้างขึ้นมา)

Volume in drive C is DISK01
Volume Serial Number is 3942-17D7
Directory of C:\
MYWEB <DIR> 01-01-97 1:42p
MADATA <DIR> 05-02-02 2:02p (ไดเรคทอรีที่เพิ่งจะถูกสร้างขึ้นมา)
WINDOWS <DIR> 03-04-99 11:28a
MSOFFICE <DIR> 03-04-99 11:28a
...............................................................................................
C:\_