การใช้ซิมเทพแบบรายปี จ่ายครั้งเดียว ไม่ยาวๆ 12 เดือนไม่ต้องเติมเงิน สามารถใช้งานกับมือถือทั้งเล่นเน็ต และโทรฟรี หรือจะใช้กับพ็อกเก็ต ไวไฟ หรือ เราเตอร์ไวไฟใส่ซิมก็ได้ แต่ก็มีข้อดีข้อเสียกับการใช้งานกับอุปกรณ์แต่ละแบบที่ควรรู้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ก็อาจจะเสีย เงินไปโดยไม่สมควร
ทำความรู้จักซิมเทพใช้เน็ตรายปีกันก่อน
ซิมเทพรายปีจะเป็นซิมสำหรับใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก หรือจะใช้โทรออกรับสายได้ตามปกติก็ได้ กรณีของโปรเน็ตแบบไม่อั้นมักจะใช้โทรฟรีในเครือข่าย เดียวกันได้ด้วย ซิมแบบนี้จะมีข้อดีอย่างมาก ช่วยประหยัดเงิน จ่ายครั้งเดียวใช้ได้ 12 เดือน เสียเงินแค่ปีละครั้งเท่านั้นเอง ทั้ง Dtac, AIS True จะมีขายทุกค่าย แต่จะหาซื้อได้เฉพาะตามเว็บไซต์ หรือเฟสบุ๊ค ร้านมือถือทั่วไปจะไม่นำมาขาย เพราะกำไรน้อย เนี่องจากขายได้ เพียงปีละครั้งเท่านั้นเอง
วางแผนใช้งานซิมเทพรายปีให้คุ้มค่า
การใช้ซิมเทพมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้เชื่อมต่อเน็ต และ ใช้โทรออกฟรีในเครือข่ายเดียวกันได้ ดังนั้นสมาชิกในบ้าน หรือผู้ที่เราต้องติดต่อบ่อยๆ จึงควรจะใช้ซิมแบบเดียวกัน ประหยัดเงินทั้งค่าเน็ต และ ค่าโทรศัพท์ การใช้งานกับมือถือ ก็ใช้ซิมนี้เป็น SIM 2 ส่วน SIM 1 ก็ให้เป็นซิมหลัก เบอร์ ประจำตัวที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะใช้กับธนาคาร หรือ ไว้ติดต่อเพื่อนฝูง และเมื่อครบ 1 ปี แล้วก็ถอดซิมเทพในช่อง SIM 2 ออก หักและโยนทิ้ง แล้วซื้อใหม่ ปีต่อปี การใช้งานก็ง่ายๆ แต่นี้เอง
เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ไปดูตัวอย่างซิมเทพของ DTAC กันครับ มีโปรโมชัน 4 แบบ
1. แบบแรก ความเร็ว 10 Mbps โทรฟรีในเครือข่าย Dtac ด้วยกัน แต่โทรนอกค่ายไปหา AIS, True หรือ ซิมค่ายอื่นๆ จะคิดเงิน 0.99 บาทต่อนาที ซิมแบบนี้จึงเหมาะจะนำไปใช้ใส่ในพ็อกเก็ตไวไฟ หรือ เราเตอร์ใส่ซิม ซึ่งเราจะไม่มีการโทรออก เพราะอุปกรณ์ 2 ประเภทนี้ โทรออก รับสายไม่ได้ ด้วยความเร็ว 10 Mbps หากเป็นครอบครัวเล็กๆ ไม่เกิน 5 คน ก็แชร์เน็ตให้กันได้สบายๆ ไม่ต้องใช้เน็ตบ้าน ประหยัดเงินต่อปีหลายพันบาท
2. แบบที่ 2 60 GB/เดือน ความเร็ว 100 Mbps ต่อเน็ตได้เร็วมาก คิดตามปริมาณการใช้งาน เหมาะสำหรับการใช้งานคนเดียวเอาไว้โทรฟรี และ เอาไว้ดูยูทูป เล่นเฟสบุ๊ค ไลน์ ปริมาณรับส่งข้อมูล 60 GB ต่อเดือน ก็กำลังพอดีรองรับกับคนทั่วไป โปรนี้ใช้โทรฟรีได้ทั้งเครือข่าย Dtac และเครือ ข่ายอื่น แต่หากเป็นคนว่างงาน เล่นเน็ตทั้งวันทั้งคืน วิดีโอคอลบ่อยๆ โปรนี้น่าจะไม่พอ
3. แบบที่ 3 ความเร็ว 4 Mbps จะใช้เน็ตได้แบบไม่อั้น ที่ความเร็ว 4 Mbps เหมาะสำหรับใช้งานคนเดียว เอาไว้โทรออกฟรี และ เล่นเน็ต จาก ประสบการณ์ในการใช้งาน ความเร็วในการเชื่อมต่อเน็ตบางครั้งจะลดลงอย่างมาก จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่ชอบดูวิดีโอ Youtube หรือวิดีโอคอล แบบภาพคมชัด
4. แบบที่ 4 100 GB/เดือน ความเร็ว 100 Mbps คล้ายกับแบบ 60 GB/เดือน แต่ได้ปริมาณเน็ตมากกว่า เหมาะสำหรับคนที่ต้องโทรศัพท์พูดคุยบ่อยๆ และเล่นเน็ต ดู วิดีโอที่ความเร็วและความละเอียดสูง วิดีโอคอล เน้นใช้งานคนเดียวเท่านั้น โปรนี้เอาอยู่แน่นอน
ผู้เขียนใช้ซิมเทพมา 3 ปี ใช้ทั้งแบบเร็ว (10 MBps) ไม่เร็วมากนัก (4 Mbps) และตามปริมาณข้อมูล (60 GB/100GB) จึงพอจะมองออกว่า ซิมแต่ละแบบจะมีผลต่อการใช้งาน หรือ จะต้องใช้งานอย่างไร ปัญหาในการใช้งานจะมีอะไรบ้าง และใครควรใช้งานแบบใด
ซิมเทพรายปีมีกี่ประเภท
ซิมเทพรายปีของทั้ง Dtac, AIS True มีหลายแบบ การจะนำมาใช้กับเราเตอร์ไวไฟใส่ซิมแนะนำ 2 แบบก็คือ
1. ซิมเทพรายปีคิดตามปริมาณการใช้งาน หรือข้อมูลที่มีการรับส่ง เช่น 70GB, 100 GB ต่อเดือน ซิมเทพแบบนี้เหมาะสำหรับคนใช้งานเน็ตไม่มาก และใช้งานคนเดียว เพราะคนทั่วไปที่เน้นใช้เน็ตดูวิดีโอยูทูป เล่นเฟสบุ๊ค ปริมาณข้อมูลที่แต่ละคนใช้จะไม่เกิน 60 GB - 100 GB ถ้าเกินนี้ก็ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอนกันแล้ว ตัวอย่างซิม เช่น
- ซิมเทพทรู 70 GB ราคา 1329 บาท
- ซิมเทพ AIS ราคา 1529 บาท
- ซิมเทพ Dtac ราคา 1360 บาท
2. ซิมเทพรายปีความเร็วสูงแบบไม่อั้น ซิมแบบนี้ราคาจะแพงขึ้น ซิมพวกนี้เหมาะสำหรับใช้งานกับเราเตอร์ใส่ซิมสำหรับสมาชิกในครอบครัวมีกัน หลายคน สัก 5 คน น่าจะเอาอยู่ หรือมากกว่านี้ หากมีแค่บางคนเท่านั้นที่ใช้เน็ตค่อนข้างมาก ตัวอย่างซิม เช่น
- ซิมเทพทรู 10 MB ราคา 1890 บาท
- ซิมเทพ AIS 8 MB ราคา 2135 บาท
- ซิมเทพ Dtac ราคา 1841 บาท
การใช้ซิมเทพกับอุปกรณ์ต่างๆ
การใช้ซิมเทพกับมือถือ
การนำซิมเทพไปใช้งานกับมือถือเป็นวิธีที่ง่าย แต่เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะนี้
1. ผู้ที่มีมือถือที่สามารถใส่ซิมได้ 2 ซิม ก็ใส่ซิมเทพ ในช่อง SIM 2 ส่วนซิมหลัก ใส่ช่อง SIM 1 กรณีนี้ไปไหนมาไหน ก็พกพาแค่เครื่องเดียว แต่ ต้องมีความรู้ในเรื่องการตั้งค่าซิม จะให้ซิมไหนรับสายได้ ต่อเน็ตได้ โทรออกได้ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสำหรับคนสูงวัย หรือ ไม่มีความรู้ในการใช้มือ ถือสมาร์ทโฟนมากนัก
2. ผู้ที่มีมือถือหลายเครื่อง และแชร์เน็ตได้ ก็ใส่ซิมเทพในมือถือที่ต้องการแชร์เน็ตรวมถึงใช้โทรออกฟรี และ รับสายได้ด้วย ส่วนข้อเสียของการใช้งานแบบนี้ก็คือ จะทำให้แบตเตอรี่มือถือหมดเร็ว ต้องชาร์จบ่อย จึงควรใช้กับมือถือที่มีแบตเตอรี่ความจุสูง
การใช้ซิมเทพกับพ็อกเก็ตไวไฟ
พ็อกเก็ตไวไฟเป็นตัวกระจายสัญญาณเน็ตแบบพกพาได้ การใช้ซิมเทพกับอุปกรณ์ประเภทนี้จะมีเรื่องที่ควรรู้ดังนี้
1. พ็อกเก็ตไวไฟจะมีแบตเตอรี่ในตัว จึงสามารถใส่ซิมเทพเอาไว้แชร์เน็ตได้ทุกที่ ที่เดินทางไป เหมาะสำหรับคนที่ต้องทำงานนอกสถานที่ มีมือถือ หลายเครื่อง หรือมีทั้งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คด้วยเช่นกัน หรือทำงานร่วมกันหลายคน ก็แชร์เน็ตให้กันได้
2. เมื่อใส่ซิมเทพในพ็อกเก็ตไวไฟแล้วจะไม่สามารถโทรออกได้ จึงควรเลือกโปรเน็ตที่ไม่เน้นโทรออก แต่เน้นใช้งานได้ไม่อั้นเช่น ความเร็ว 10 Mbps 3. การเลือกใช้พ็อกเก็ตไวไฟ ควรเลือกยี่ห้อที่ไว้ใจได้ เช่น D-Link, TP-Link
4. กรณีอยู่บ้าน ห้อง หรืออาคารที่อับสัญญาณมือถือ การใช้พ็อกเก็ตไวไฟจะช่วยได้ เพราะสามารถนำไปวางภายนอกอาคาร นอกห้องได้ อย่าง ห้องผู้เขียน จะต้องนำมือถือที่แชร์เน็ตไปแขวนไว้ที่ระเบียงหลังห้องจึงจะรับสัญญาณเน็ตได้ดีขึ้น
5. การใช้พ็อกเก็ตไวไฟใส่ซิมเทพเพื่อแชร์เน็ตแทนมือถือ จะช่วยให้แบตเตอรี่มือถือไม่หมดเร็วเกินไป เหมาะสำหรับคนที่ต้องใช้มือถือทำงานผ่าน เน็ต
6. พ็อกเก็ตไวไฟจะไม่มีช่องเสียบแลน หากมีอุปกรณ์ที่ต้องเชื่อมต่อผ่านสายแลน ก็ควรใช้เราเตอร์ไวไฟแบบใส่ซิม
.
การใช้ซิมเทพกับเราเตอร์ไวไฟใส่ซิม
เราเตอร์ไวไฟแบบใส่ซิมได้ จะช่วยแชร์สัญญาณเน็ตให้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง บางรุ่นแชร์ได้มากถึง 64 เครื่อง การใช้งานกับซิ มเทพจะมีเรื่องควรรู้ดังนี้
1. การใช้ซิมเทพกับเราเตอร์ไวไฟใส่ซิมเหมาะสำหรับใช้งานในบ้าน ใช้งานแทนเน็ตบ้าน ทั้งแชร์เน็ต ใช้กับกล้องวงจรปิด หรือร้านค้าเอาไว้สแกนรับ เงิน จ่ายเงิน ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายหลักพันบาทต่อปี เพราะซิมเทพราคาประมาณ 2000 บาทต่อปี จ่ายครั้งเดียว แต่เน็ตบ้านจะมีรายจ่ายราย เดือน
2. การเลือกซิมเทพเพื่อนำไปใช้งานกับเราเตอร์ไวไฟใส่ซิม ให้เลือกโปรเน็ตแบบความเร็วสูงและไม่อั้น เช่น 10 Mbps อย่าเลือกแบบคิดตาม ปริมาณข้อมูลอย่าง 60 GB / 70 GB / 100 GB ซึ่งในความเร็วประมาณ 10 Mbps รองรับสมาชิกในบ้านที่เล่นเน็ตแทบทั้งวันได้ 5 คนสบายๆ
3. เราเตอร์ไวไฟใส่ซิม ไม่สามารถโทรออก หรือ รับสายได้ ต้องเสียบไฟบ้านเพื่อใช้งาน ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายไปไหน หรือ พกพา
4. เราเตอร์ไวไฟใส่ซิมมีหลายยี่ห้อ และ หลายแบบ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัย อย่างบ้านหลายชั้นก็ควรใช้แบบ Dual Ban เป็นต้น
TP-Link TL-MR100 เราเตอร์ ไวไฟ ใส่ซิม 1,4xx.-
TP-Link TL-MR200 เราเตอร์ ไวไฟ ใส่ซิม 2,xxx.-
สรุป
บทความนี้ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังวางแผนใช้งานซิมเทพกับอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งมือถือ พ็อกเก็ตไวไฟ หรือ เราเตอร์ไวไฟใส่ ซิม ก็คงจะได้ข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ และเลือกใช้ได้ตรงกับความต้องการ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านข้อมูลในเว็บไซต์ของเรา