บทความแนะนำวิธีดูห้องเครื่องยนต์มือสองสำหรับมือใหม่ ไม่มีความรู้เรื่องรถยนต์ เครื่องยนต์ ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งในห้องเครื่องมีรายละเอียดพอสมควร ที่จะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะอาจจะมีรายจ่ายตามมาหลักหมื่นบาทในการซ่อมบำรุง ส่วนใครที่มีรถอยู่แล้ว ก็นำวิธีการดูแบบนี้ไปใช้กับรถตัวเองได้เหมือนกัน เพื่อจะได้จับผิด ตรวจหาชิ้นส่วนที่อาจจะมีปัญหา หรือกำลังจะเกิดปัญหา เพื่อจะได้ซ่อมได้ทันท่วงที ไม่เสียกลางทาง
ภายในห้องเครื่องมีส่วนประกอบหลายอย่าง ที่มือใหม่ หรือผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องรถยนต์ ผู้หญิง อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร วิธีดูง่ายๆ ก็โดยการ ดูว่า มีอะไรแตก หัก ชำรุด มีคราบน้ำคราบน้ำมัน หรือไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือดูแล้ว น่าจะมีความผิดปกติ อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เช่น
1. เครื่องยนต์ที่ดี ต้องแห้งสนิท ไม่มีคราบน้ำมัน ไม่มีน้ำมันเยิ้มตามรอยต่อ ระหว่างปะเก็นฝาสูบกับเครื่องยนต์ หากมีคราบน้ำมันเยิ้มแสดงว่า ต้องมีปัญหาความร้อนหรือปะเก็น ทำให้ฝาสูบโก่ง ผิวสัมผัสไม่เรียบ น้ำมัน เครื่องซึมออกได้ หรือปะเก็นเสื่อมสภาพ กรณีอย่างนี้ก็ย่อมจะมีค่าซ่อมตามมา ให้ก้มดูใต้ท้องรถ ใต้เครื่องยนต์ด้วนย จะต้องแห้งสนิทเช่นกัน
2. สายไฟเป็นระเบียบ จะบ่งบอกถึงสภาพเดิมๆ ของรถ ไม่เคยมีการรื้อถอดหรือซ่อมระบบไฟฟ้า หรือปรับแต่งรถผิดไปจากมาตรฐาน
3. สายพานหน้าเครื่องมีหลายเส้น ให้นำเอาไฟฉายไปด้วย หรือติดตั้งแอปไฟฉาย ในมือถือ เพื่อส่องดูให้ชัดเจน ดูว่า สายพานแตกลายงาหรือไม่ เก่ามากแค่ไหน เพราะสิ่งนี้จะบอกบอกว่า อาจจะได้เวลาต้องเปลี่ยน เพราะหากเสีย ขาดกลางทาง ก็แย่แน่นอน
4. รถบางรุ่น โดยเฉพาะรถเก๋ง ในส่วนนี้ยังมีสายพานไทม์มิ่งและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายรายการ หากไม่มีประวัติการซ่อม จะต้องเปลี่ยนให้เรียบร้อย หากสายพานทามมิ่งขาด จะทำให้เครื่องพังเสียหายได้ แต่ในรถยนต์บางรุ่นจะใช้โซ่แทนสายพานซึ่งมีความทนทานสูง ไม่ต้องเปลี่ยน (อยู่ในพลาสติกสีขาว) ต้องสอบถามเจ้าของรถว่าได้เปลี่ยนครั้งสุดท้ายเมื่อไร ปกติทุก 100,000 กิโลเมตร
5. ในรถยนต์เก่า รถเก๋งที่ไม่เคยมีประวัติการเปลี่ยนสายพานทามมิ่ง และน้ำในหม้อน้ำมีสีแดง มีสนิม ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคราวเดียวเลย เพราะการซ่อมส่วนนี้ค่าแรงสูง เนื่องจากต้องถอดหลายชิ้นส่วน เช่น ปั๊มน้ำ ซีลข้อเหวี่ยง โอริง ชุดสายพานไทม์มิ่งรวมๆ แล้วเกิน 7000 บาทขึ้นไป
6. ตรวจดูข้อต่อต่างๆ ท่อต่างๆ อยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่
7. คราบน้ำ คราบน้ำมันตามจุดต่างๆ จะบอกได้ว่า มีอะไรผิดปกติบ้าง หรือรั่วซึม ห้องเครื่องยนต์ที่ดีต้องแห้งสนิท อาจมีแค่ฝุ่น โคลน ดินเท่านั้น
8. กระปุกน้ำมันเกียร์ น้ำมันพาวเวอร์หรือพวงมาลัยพาวเวอร์ กระปุกน้ำมันต่างๆ ระดับน้ำมันในกระปุกมากน้อยหรือพอดี อยู่ระหว่าง Min และ Max
9. ในห้องเครื่องของรถยนต์แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน จำเป็น ต้องศึกษาก่อนจะเดินทางไปดูรถรุ่นนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันหาข้อมูลได้ไม่ยาก
10. ตรวจสอบน้ำมันเครื่องโดยชักตัววัดน้ำมันเครื่องออกมา แล้วดูสีของน้ำมันเครื่อง ต้องออกสีน้ำตาล ปริมาณต้องมากพอ ไม่น้อยกว่าระดับที่กำหนด อยู่ระหว่าง F และ L ต้องไม่น้อยกว่า L ไม่เช่นนั้นแสดงว่า เครื่องอาจจะมีปัญหา หรือเจ้าของรถใช้อย่างเดียว ไม่ค่อยดูแลถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลา หากรถยังมีสภาพใหม่ อายุไม่มากนัก จะไม่มีปัญหา เฉพาะรถเก่าๆ เท่านั้น ที่จะมีปัญหาขนาดนี้หรือรถติดแกีส เพราะเครื่องยนต์จะสึกหรอเร็วกว่า
11. หากสีน้ำมันเครื่อง เป็นสีดำมาก แสดงว่า ไม่ค่อยจะได้ถ่ายน้ำมัน เครื่อง หรือไม่ถ่ายตามระยะ เครื่องยนต์สึกหรอมากกว่าปกติ เว้นแต่จะเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล น้ำมันเครื่องดำอยู่แล้ว
12. หากน้ำมันเครื่องมีลักษณะเหมือนมีน้ำปน (ต้องวัดหลังจากดับเครื่องสักพักใหญ่) แสดงว่าเครื่องยนต์มีปัญหาน้ำสามารถเข้าไปผสมกับน้ำมันเครื่องได้
13. เหล็กวัดน้ำมันเครื่องเมื่อดึงออกมาให้เอากระดาษทิชชู่ซับ จะได้ดูผลได้ชัดๆ ถ้าเป็นตะกอนสีดำมาก แสดงว่าเครื่องเริ่มหลวมแล้วจะเห็นได้ชัดในรถจักรยานยนต์ ดำและข้นมาก
14. ตรวจสอบการรั่วซิมของน้ำมันเครื่องในตำแหน่งหน้าเครื่องหรือสาย พานต่างๆ เอามือแตะใต้สายพาน หากไม่มีการรั่วซึมจะต้องไม่มีคราบน้ำมันติดมือเหมือนตัวอย่าง คันนี้เพิ่งจะซ่อมมา ยังมีอยู่บ้าง
15. ในรถเก่าอาจจะมีปัญหานี้ ซึ่งเกิดจากซีลข้อเหวี่ยงและโอริง หน้าเครื่องท้ายเครื่อง ทำให้น้ำมันซึมออกมาที่หน้าเครื่องได้ เมื่อได้รถเก่า รถมือสองมาแล้ว อย่าขับเร็วแรง ออกตัวปรู๊ดปร๊าด หากยังไม่ซ่อมชิ้นส่วนเหล่านี้ให้เรียบร้อยก่อน การออกตัวแรงๆ ยังจะส่งผลเสียต่อหม้อน้ำที่เริ่มสกปรกมากเช่นกัน จะทำให้ตันเร็วขึ้น หรือเกิดปัญหาระหว่างทางได้
16. ดูใต้ท้องรถมีน้ำมันเยิ้มหรือไม่ ดูให้ออกว่าน้ำมันมาจากจุดใดบ้าง เพราะจะบอกได้ว่าจุดใดมีปัญหา เช่น ใต้ห้องเครื่องมีน้ำมันเยิ้มใต้ตำแหน่งสาย พานแสดงว่ารั่วซึมจากหน้าเครื่อง อาจจะเป็นโอริง หรือซีลหน้าเครื่อง
17. ในรถเก่ามากแล้วอายุเกิน 15 ปี ไม่เคยเปลี่ยนปะเก็นอ่างน้ำมัน เครื่องก็ทำให้รั่วซึมได้เช่นกัน แต่น็อตไม่กี่บาทเท่านั้น ไม่แพง
18. น็อตถ่ายน้ำมันเครื่อง หากขันไม่แน่ ก็ทำให้น้ำมันเครื่องรั่วซึมออกมาได้เช่นกัน ควรเปลี่ยนไหม่ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำมันเครื่อง
19. ใต้ห้องเครื่องยังมีส่วนอื่นๆ อีกที่จะต้องใส่ใจ เพราะเป็นเงินค่าซ่อมทั้งนั้น เช่น ยางหุ้มเพลาขับตัวนอกติดกับล้อรถ สำหรับรถยนต์ขับหน้า อาจฉีกขาด มีจาระบีหลุดออกมาหรือไม่ ปกติจะต้องแห้งไม่เปียกแบบนี้ เพราะมีการรั่วซึม
20. ดูยางหุ้มเพลาขับตัวในเช่นกัน จะอยู่ติดกับเครื่องยนต์ รั่วซึมต้องเปลี่ยนทั้งยางหุ้มเพลาขับและจาระบี
21. ยางหุ้มเพลาขับหากไม่มีรั่วซึมจะแห้งแบบนี้ รถเก่าอายุเกิน 10 ปี หรือ รถใช้งานหนักมีโอกาสรั่วซึมของจาระบี สามารถตรวจสอบ ได้ไม่ยาก ก้มดูใต้ห้องเครื่องก็มองเห็นได้ทันที
22. สำหรับรถที่ใช้พวงมาลัยพาวเวอร์ รถยนต์มือสองบางยี่ห้อ บางรุ่นราคาแพงมาก หลายหมื่นบาท จึงต้องตรวจสอบให้ดี ตัวอย่างพวงมาลัยพาเวอร์รั่วซึม จะมีสภาพดังตัวอย่าง ดูด้านล่าง ไล่จากพวงมาลัยมายังด้านล่าง ใกล้ตำแหน่งล้อหน้าขวา
23. ดูยางรองแท่นเครื่อง จะต้องไม่ฉีกขาด ปกติจะมีอยู่ 4 ตัว บน ซ้ายขวา และ ล่างหน้าหลัง หากฉีกขาด ก็สังเกตุได้จาก เวลาดับเครื่อง แล้วรถมีอาการสั่น ให้เดาไว้ก่อนว่า น่าจะฉีกขาด หากรถเก่ามากแล้ว เกิน 10 ปี ยางแท่นเครื่องฉีกขาด ก็เป็นไปตามสภาพ อายุรถ แต่หากเป็นรถยนต์ใหม่ แสดงว่า ต้องเกิดอุบัติเหตุ ชน ลงข้างทาง ทำให้เครื่องยนต์สะบัดอย่างรุนแรง จนยางแท่นเครื่องขาด
สรุป
สภาพห้องเครื่องที่ดี เครื่องยนต์ต้องแห้ง ไม่มีน้ำมันรั่วซึม เยิ้ม ใต้ท้องเครื่องก็เช่นกัน แต่ในรถเก่าอายุเกิน 15 ปีแล้ว อาจจะมีอาการดังที่ว่า ซึ่งก็ต้องตรวจสอบว่าเกิดจากซีล โอริงหรือปะเก็น หากเกิดจากชิ้นส่วนเหล่านี้ เปลี่ยนก็หายขาด แต่หากเกิดจากเครื่องยนต์มีปัญหา ก็ต้องดูคันใหม่
ชิ้นส่วนต่างๆ ดังที่กล่าวมาทั้งหมดในรถที่เก่ามากแล้ว อาจจะมีรายการต้องทำเยอะมาก แต่ทำแล้วจบ ใช้งานได้อีกนานหลายปี ก็คุ้มกับเงินที่ต้องจ่าย แต่การซ่อมรถที่มักจะมีราคาแพง เพราะช่างหรืออู่คิดค่าซ่อม ค่าอะไหล่แพง เช่น น้ำมันเกียร์ธรรมดากระป๋องละ 90 ก็บวกเพิ่มเป็น 180 หรือมากกว่านั้น และยังคิดค่าแรงเพิ่มอีกต่างหาก
ส่วนจะมากหรือน้อย ก็อยู่กับความใหญ่โต และ รายจ่ายของทางอู่ รายจ่ายมาก็จะคิดเงินกับลูกค้าแพง ซึ่งไม่ใช่ว่า แพงเพราะใช้ของดี แต่แพงเพราะตัวร้านมีค่าใช้จ่ายสูง จึงต้องคิดแพง อะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนหลายชิ้น ค่าแรง ค่าซ่อม ค่าอะไหล่ ก็เลยแพงตามไปด้วย