บทความแนะนำ 24 เรื่องควรรู้สำหรับมือใหม่ใช้มือถือแอนดรอยด์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใดๆ กับเครื่อง หรือหากเกิดปัญหาใดๆ ก็จะแก้ไข ได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนเครื่อง มือถือพัง มือถือหาย การซื้อเครื่องใหม่ จะตั้งค่าต่างๆ ให้เหมือนเดิมได้ไม่ยาก หากจำข้อมูลสำคัญบางอย่างได้ อีกทั้งหากรู้จักวิธีดูแล ก็จะใช้งานมือถือได้อีกนาน

 

มือถือแอนดรอยด์มีโอกาสพังได้ง่ายๆ หรือเกิดปัญหาได้ตลอดเวลาจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมือถือประเภทนี้ เพื่อจะได้หาทางป้องกันไว้ ก่อน หรือ รู้วิธีดูแลรักษา เพื่อให้สามารถใช้งานได้นานๆ

 

 

ตัวอย่างเรื่องควรรู้เกี่ยวกับมือถือแอนดรอยด์

1. ข้อมูลประจำเครื่อง

เรื่องแรกเลยก็คือ ข้อมูลประจำเครื่อง ยี่ห้อ รุ่น รหัสประจำเครื่อง เผื่อในกรณีที่จำต้องซื้ออะไหล่เอง โดยสั่งจากเน็ต หรือซื้อของแต่ง อย่างเคส ฟิล์ม จะได้เลือกได้ถูกต้อง การดูรุ่นของมือถือ ให้เข้าไปที่การตั้งค่า แล้วแตะเลือก เกี่ยวกับโทรศัพท์ จากนั้นก็ดูรหัสรุ่นของเครื่อง และรุ่นของระบบ ปฏิบัติการว่าใช้แอนดรอยด์รุ่นใด

 

2. อีเมลประจำเครื่อง

มือถือแอนดรอยด์จะต้องมีอีเมลประจำเครื่อง จึงต้องรู้ว่า เครื่องนั้นๆ ใช้อีเมล์อะไล และต้องรู้รหัสผ่านด้วยเช่นกัน จดไว้ในที่ที่ปลอดภัย ห้าม หมายอย่างเด็ดขาด เพราะหากอีเมลและจำรหัสผ่านได้ กรณีเครื่องมีปัญหา ก็เอาอีเมลนี้ไปตั้งค่าในเครื่องใหม่ ก็จะดึงข้อมูลเก่าๆ กลับมาได้ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ภาพถ่าย วิดีโอ ภาพต่างๆ

 

3. อย่าลืมตั้งค่าอีเมล์ในแอป Line

เรานิยมใช้แอป Line กันมาก ก็อย่าลืมนำอีเมล์และรหัสผ่านของเรา ไปตั้งค่าในแอปนี้ เผื่อกรณีแอป Line มีปัญหา ต้องติดตั้งใหม่ หรือเครื่องหมาย ซื้อเครื่องใหม่ ต้องติดตั้งแอป Line ใหม่ การกู้คือนข้อมูลก็แค่นำอีเมลและรหัสผ่านไปตั้งค่า ก็จะดึงข้อมูลกลับคืนมาได้ ดังนั้นข้อมูลนี้มีความสำคํญ มาก ให้ใครตั้งค่าให้เรา ก็จะต้องจำชื่ออีเมล์และรหัสผ่านให้ได้ ต้องจดเอาไว้ให้ดี แอป เฟสบุ๊คก็เช่นเดียวกัน ต้องนำอีเมล์ไปตั้งค่าเชนกัน

 

4. การดูแลและใช้งานแบตเตอรี่

การใช้เครื่องจนแบตเตอรี่หมดเกลี้ยงเป็นประจำ จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว โดยเฉพาะเครื่องที่ถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่เองไม่ได้ ซึ่งจะมีค่าเแลี่ ยนแพง ดังนั้นเมื่อปริมาณแบตเตอรี่เริ่มลดลง เหลือสัก 50-70% ขึ้นไป ก็ควรหาที่ชาร์จได้แล้ว ควรซื้อพาวเวอร์แบงก์ความจุสูงๆ ไว้ติดตัว เพื่อจะ ได้ชาร์จได้ตลอดเวลา

 

5. การดูแลจอภาพ

ทุกวันนี้เรานิยมใช้มือถือแอนดรอยด์ที่มีขนาดใหญ่ หน้าจอใหญ่ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ หากมือถือมีการตกหล่น ก็จะสร้างปัญหาให้กับ จอภาพทันที จอแตก ทำให้ใช้งานไม่ได้ และค่าซ่อมจอ จะค่อนข้างแพง เพราะซ่อมเองไม่ได้ ต้องพึ่งช่าง ซึ่งจะคิดเงินแพงมาก แม้ว่าราคาอะไหล่่จะไม่ ได้แพงมากนัก ดังนั้นจึงควรติดฟิล์ม หรือใส่เคสเพื่อป้องกัน หรือใช้งานด้วยความระมัดระวัง สิ่งสำคัญมาก ต้องรู้รหัสรุ่นมือถือของเรา เผื่อว่าจะได้สั่ง จอมาเปลี่ยนเอง เพราะวิธ๊เปลี่ยนก็ไม่ยาก ในยูทูป มีวิดีโอสอนให้ฝึกทำตามได้

 

6. การดูแลลำโพงของมือถือ

การเปิดเสียง อย่าเปิดระดับเสียงจนสูงสุด อาจจะทำให้ลำโพงแตก ตามมาด้วยค่าซ่อม เปิดแค่เกือบจะสุดก็พอ ในมือถือบางรุ่นจะมีข้อความเตือน ว่า อาจจะทำให้ลำโพงเสีย ก็ควรปฏิบัติตาม เพื่อยืดอายุการใช้งาน

 

7. การดูแลปุ่มเปิดปิดเครื่อง

ในมือถือบางรุ่น ปุ่มนี้พังเร็วมาก และมีค่าซ่อมหลายร้อยตามมา ดังนั้นจึงต้องหาทางป้องกัน ด้วยการกดเบาๆ อย่าบี้แรงๆ และใช้วิธีเปิดปิดหน้า จอด้วยวิธีอื่น มือถือบางรุ่นจะใช้การเคาะหน้าจอ เพื่อเปิดเครื่องก็ได้ บางรุ่นใช้การกดปุ่ม ลดเสียง เพิ่มเสียง แทนได้ ก็สลับกันใช้งาน เพื่อยืดอายุปุ่ม เปิดปิดเครื่องให้ใช้งานได้นานๆ

 

8. การดูแลตูดชาร์จ

ในมือถือบางรุ่น โดยเฉพาะมือถือราคาถูก ตูดชาร์จมีแนวโน้มจะพังง่าย ดังนั้นเวลาใช้งาน จึงแนะนำให้เสียบสายชาร์จเข้าออกตรงๆ อย่าโยกซ้าย ขวา บน ล่าง จะทำให้แผ่นสัมผัสเคลื่อนตัวออก ไม่แตะกัน ไฟก็จะไม่วิ่ง ทำให้ชาร์จไม่เข้า จะให้ดีควรซื้อสายชาร์จแม่เหล็กมาใช้ หากจะต้องชาร์จ บ่อยๆ เพราะการชาร์จบ่อยๆ มีโอกาสทำให้ตูดชาร์จเสียได้เร็วมากขึ้น

 

9. การตั้งค่าการใช้กล้อง

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องก็คือ ขนาดความละเอียดของภาพ อย่าให้ใหญ่เกินไปนัก จะทำให้พื้นที่ในมือถือเต็มเร็ว หากเป็นการถ่ายภาพ ถ่าย เล่นๆ ไม่ได้ถ่ายเพื่อนำไปทำสิ่งพิมพ์ แค่เอาไว้ดู ก็ตั้งค่ากล้องไว้ที่ 3- 5 ล้านพิกเซลก็พอแล้ว แม้ว่ากล้องจะสามารถตั้งค่าได้สูงๆ อย่าง 13 ล้าน 20 ล้านพิกเซล แต่ภาพถ่ายที่ได้ ก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ทำให้พื้นที่ในมือถือเต็มเร็วมาก

 

 

10. การติดฟิล์มฃ่วยป้องกันหน้าจอ

การทำมือถือแอนดรอยด์ร่วงหล่นเพียงครั้งเดียว ก็อาจจะทำให้เครื่องพังได้ทันที ดังนั้นจึงควรติดฟิล์มเพื่อป้องกันหน้าจอ กรณีตกหล่น ให้ตรวจสอบ รหัสรุ่นของเครื่อง แล้วก็สั่งซื้อเองได้เลยทางเน็ต

 

11. ปกป้องมือถือด้วยเคส

การใช้เคส แนะนำให้ใช้เคสแบบมีฝาปิด เพราะในกรณีเครื่องตกหล่น จะช่วยป้องกันเครื่องได้ ลดโอกาสทำให้หน้าจอแตก เพราะมีฝาป้องกัน ควร เลือกเคสที่มีความหนา แข็งแรง เพราะจะให้การปกป้องที่ดีกว่า

 

12. ติดตั้งแอปกันไวรัส

การใช้มือถือแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อเน็ตตลอดเวลา จึงมีโอกาสได้รับไวรัสที่มากับอินเตอร์เน็ต เมื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ หรือการติดตั้งแอปบางตัว ที่จะพยายามต่อเน็ต หรือมีการส่งข้อมูลเข้ามาในเครื่อง โดยเจ้าของแอปเหล่านั้น จึงต้องติดตั้งแอปป้องกันไวรัส เช่น Avast และควรหมั่นตรวจ ค้นหา กำจัดไวรัสด้วยเช่นกัน

 

13. การใช้ SD-Card

มือถือแอนดรอยด์จะสามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยการใช้ Micro SDCard ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้ผ่านเน็ต อุปกรณ์ตัวนี้จำเป็นจะต้องมี เพราะการใช้ มือถือ ก็มักจะถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอกันทุกวัน พื้นที่จึงมีโอกาสเต็มเร็วมาก ยิ่งการตั้งค่ากล้องที่ความละเอียดสูงด้วยแล้ว ไฟล์ภาพถ่าย ไฟล์วิดีโอจะมี ขนาดใหญ่มากตามไปด้วย ทำให้พื้นที่เต็มเร็ว

 

14. การซิงค์ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์กับที่เก็บข้อมูลในเน็ต

ผู้ใช้มือถือแอนดรอยด์จะได้รับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี ซึ่งเราจะสามารถซิงค์ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในเครื่องไปเก็บไว้ได้ และสามารถดึงกลับมาได้ จึงต้อง รู้วิธีการสำรองข้อมูลเหล่านี้ โดยจะเข้าไปจัดการในการตั้งค่า สิ่งสำคัญจะต้องจำอีเมล และ รหัสผ่านให้ได้ กรณีเครื่องพัง ซื้อเครื่องใหม่ ก็เพียงแต่นำ ข้อมูลเหล่านั้นไปตั้งค่าในเครื่องใหม่ ก็จะสามารถดึงข้อมูลกลับคืนมาได้

 

15. การจัดการกับไฟล์ขยะในเครื่อง และหน่วยความจำ

ในมือถือแอนดรอดย์จะมีแอปบางตัวที่ทำงานตลอดเวลา จึงทำให้หน่วยความจำหายไป ส่งผลให้เครื่องทำงานช้าลง จึงต้องเคลียหน่วยความจำทุกวัน หรือเมื่อพบว่า เครื่องทำงานช้าลง และไฟล์ขยะก็อาจจะเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะทุกครั้งที่เราลบไฟล์ ภาพ วิดีโอ ระบบก็จะนำไฟล์เหล่านั้นไปเก็บไว้ในถัง ขยะก่อน จะยังไม่ลบออก จึงต้องลบข้อมูลในถังขยะด้วย เพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บในมือถือ

 

16. การสำรองข้อมูลภาพถ่าย ภาพ วิดีโอด้วยแอป รูปภาพ

ในมือถือแอนดรอยด์จะมีแอปรูปภาพ หรือ Photos ซึ่งจะมีระบบช่วยสำรองข้อมูลอัตโนมัติ เมื่อเราถ่ายภาพ หรือ ถ่ายวิดีโอ หรือมีการดาวน์โหลด ภาพมาไว้ในมือถือ ระบบก็จะทำการส่งข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ในเน็ต ด้วยแอป Photos หรือแอปรูปภาพ โดยจะได้รับพื้นที่ใช้งานฟรี 15 GB จึงต้อง เรียนรู้วิธีใช้แอปนี้ กรณีพื้นที่ในมือถือเริ่มเหลือน้อย ก็สามารถลบภาพ ลบวิดีโอในเครื่องออกไปได้เลย หากได้สำรองไว้แล้ว

 

17. การสำรองข้อมูลไว้ในแอป ไดรฟ์

ไดรฟ์ หรือ Google Drive เป็นแอปที่ช่วยใก้เราส่งไฟล์ ข้อมูลต่างๆ ในมือถือไปเก็บไว้ได้ โดยจะเก็บไว้ในเน็ต มือถือของเราจำเป็นจะต้องเชื่อมต่อเน็ต เพื่อนำข้อมูลไปเก็บไว้ หากพื้นที่ในมือถือเหลือน้อย ก็ส่งไฟล์ไปเก็บไว้ใน ไดรฟ์ แล้วลบข้อมูลในมือถือออกไปได้เลย

 

18. ระวังการติดตั้งแอปที่ไม่รู้จัก

ในการติดตั้งแอปบางตัว อาจจะพ่วงด้วยแอปอื่น หรืออาจจะมีโฆษณาแนะนำให้ติดตั้งแอปใดๆ หรืออัพเดทแอปใดๆ เช่นกัน ดังนั้น จึงต้องอ่านให้ดี ก่อนจะติดตั้ง เพราะอาจจะสร้างปัญหาตามมา อย่างบางแอปจะมีการส่งข้อมูล โฆษณา บ้าง ข่าวบ้างมาแทบตลอดเวลา ทำให้เครื่องเปิด ปิดหน้าจอ บ่อยๆ แบตเตอรี่จะหมดเร็ว ดังนั้นต้องระวัง อย่าไปแตะ ติดตั้ง หรือ อัดเดท และก่อนจะติดตั้งแอปใดๆ จะต้องจดชื่อไว้ได้วย หากมีปัญหา ก็จัดการ ลบออกไป ไม่เช่นนั้นก็จะยังส่งข้อมูลมาให้เรื่อยๆ

 

19. ระวังอย่าให้ใครรู้อีเมลและรหัสผ่าน

หากรู้อีเมล์และรหัสผ่านของเรา ก็จะสามารถใช้งานข้อมูลต่างๆ ที่เราสำรองไว้ได้ โดยเพียงแค่นำอีเมลและรหัสผ่านไปตั้งค่าในเครื่องใครก็ตาม ก็จะ สามารถดูข้อมูลภาพถ่าย วิดีโอของเราได้ หรือจะดูผ่านคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ดังนั้นเก็บข้อมูลนี้ไว้ในที่ปลอดภัย

 

20. การใช้งานแอปซื้อขายสินค้า

หากมีคนใช้มือถือร่วมกัน อย่างเด็กๆ ที่กำลังซุกซน ต้องระวังการติดตั้งแอปซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee หรือแม้แต่ธนาคารก็ตาม เพราะ เด็กๆ อาจจะซุกซนเข้าไปสั่งซื้อสินค้า ควรใช้งานแอปเหล่านี้ผ่านทางแอป Chrome สมัครใช้งานด้วยอีเมลและรหัสผ่านประจำเครื่อง และเข้าใช้งาน ทุกครั้งก็ต้องกรอกรหัสผ่าน ซึ่งจะมีความปลอดภัย มากขึ้น ไม่เหมือนการใช้แอป ซึ่งอาจจะเข้าระบบอยู่ตลอดเวลา

 

21. ระวังสายตากับการใช้มือถือในที่มืด

การใช้มือถือแอนดรอยด์ต้องระวังเรื่องสายตา กับการใช้ในที่มืด นอนดูวิดีโอ เล่นไลน์ ก่อนนอน ควรเปิดไฟให้มีแสงมากเพียงพอ

 

22. ตั้งค่าติดตามเครื่องหาย

ในมือถือแอนดรอยด์สามารถตั้งค่าติดตามเครื่องหายได้ ซึ่งเป็นข้อมูล หากเครื่องหายก็จะตามได้ สั่งล้อคเครื่อง สั่งลบข้อมูลในเครื่องได้

 

23. การใช้มือถือแอนดรอยด์เพื่อปกป้องตัวเอง

บางครั้งเราก็อาจจะพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรืออาจจะต้องเก็บหลักฐาน เก็บข้อมูลสำคัญเอาไว้ จึงต้องรู้วิธีใช้มือถือเหล่านี้ช่วย ปกป้องตัวเอง เช่น
1. Live สด เข้า เฟสบุ๊ค หรือ ยูทูป เพื่อรายงานสถานการณ์ที่กำลังประสบ ให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย เป็นหลักฐานไว้ป้องกันตัวเอง ซึ่งมือถือแอนดรอยด์ ทุกเครื่องจะทำได้ทันที ขอเพียงเชื่อมต่อเน็ตเอาไว้


2. การบันทึกเสียง ในมือถือแอนดรอยด์จะสามารถบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ได้ หรือใช้แอปบันทึกเสียง เพื่อแอบบันทึกเสียงโดยไม่ให้รู้ตัวได้ จึงควรทำ อย่างในสถานการณ์ที่ไม่น่าจะปลอดภัย อาจจะแกล้งวางมือถือทิ้งไว้ หรือชาร์จเครื่องไว้ พร้อมกับใช้แอปบันทึกเสียงไปด้วย โดยล็อคหน้า จอไว้ด้วย


3. การใช้แอปแผนที่เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งของเราให้เพื่อนๆ หากรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เช่น ส่งให้ทาง Line
4. อาจจะใช้มือถืออย่างน้อย 2 เครื่อง หากจะต้องเดินทางไปทำธุระสำคัญ อันตราย ด้วยการส่งข้อมูลกลับมาที่เครื่องที่บ้าน เป็นข้อมูลเพื่อติดตาม ตัวเอง

 

24. การใช้มือถือช่วยทำมาหากิน

การมีมือถือแอนดรอยด์เครื่องเดียวก็ใช้ทำมาหากินได้ ขายสินค้าออนไลน์ นำของเก่าไม่ใช้มาขาย หรือทำช่อง Youtube ทำเว็บไซต์ เขียนบทความ ฯลฯ มีช่องทางทำมาหากินมากมายหลายช่องทาง

 

สรุป

สำหรับเด็กๆ หรือคนรุ่นใหม่ จะไม่มีปัญหากับการใช้มือถือแอนดรอยด์มากนัก เพราะเรียนไอที เรียนคอมพิวเตอร และคุ้นกับการใช้มือถือมานาน แต่คนรุ่นเก่า ผู้สูงวัย คนที่ไม่มีพื้นฐานด้านไอที ซึ่งจะเป็นคนอายุสัก 40 กว่าปีขึ้นไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อจะได้ใช้มือถือให้ คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด