Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 

ข้อมูลทั่วไปของเว็บไซท์
1. ชื่อเว็บไซท์ พิมพ์ลงไป เช่น Thai Camping
2. URL ของเว็บไซต์ เช่น www.thaicamping.com (ชื่อสมมุติ)
3. ใส่ภาพโลโก้ของเรา ก็เลือกไฟล์นี้ไปก่อนเราจะไปแก้ไขในภายหลัง
4. คำขวัญ หรือสโลแกนเว็บของเรา ก็พิมพ์ลงไป
5. วันเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ พิมพ์วันที่ลงไป
6. อีเมล์ของผู้ดูแลเว็บ ก็พิมพ์ลงไป ก็สมมุติตามตัวอย่างของผู้เขียนก็ได้
7. จำนวนรายการในหน้ายอดฮิต คลิกเลือกจำนวนที่ต้องการ
8. จำนวนเรื่องหรือบทความต้องการแสดงกี่เรื่องในหน้าแรกก็คลิกเลือก
9. จำนวนเรื่องหรือบทความที่ผ่านมา แสดงหน้าละกี่รายชื่อ
10. Ultramode เลือก ไม่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์อื่นเข้ามาดึงหัวข้อประกาศในเว็บของเรา ไปแสดง ในเว็บอื่น

11. อนุญาตให้ผู้ไม่ประสงค์ออกนามส่ง เลือก ไม่ ผู้ไม่ประสงค์ออกนามอาจหมายถึงผู้ชมทั่วไปที่เข้า มาเยี่ยมเว็บไซต์ของเราการเลือกไม่ เป็นการไม่ยินยอมให้โพสต์ข้อความใดๆ เข้ามาในเว็บไซต์เข้ามาดูได้อย่าง เดียว
12. ธีมที่ใช้ให้คลิกเลือกค่านี้ไปก่อน ลักษณะของธีมก็เปรียบได้กับหน้ากากของมือถือ การเปลี่ยน ธีมก็จะทำให้หน้าจอโปรแกรมดูแปลกออกไป
13. ภาษา คลิกเลือก Thai
14. เวลาก็เลือก th_TH

1. เลือกแบบหลายภาษาใน PHPNuke
1. แบบหลายภาษาทำงาน คลิกเลือก ไม่ ไม่ยินยอมให้โพสหรือลงข้อความแบบหลายภาษาในเว็บไซต์ ในที่นี้เราใช้งานภาษาไทยภาษาเดียวเท่านั้น
2. แสดงธงชาติ เลือก ไม่ ไม่แสดงรูปธงชาติเพื่อให้เลือกภาษา แสดงข้อความ เข้าใจง่ายกว่า

3. ข่าวสารท้ายหน้าใน PHPNuke
เป็นข้อความหรือรูปภาพที่ต้องการให้แสดงไว้ทุกหน้าของเว็บเพจโดยแสดงด้านล่างก็คือ footer หรือ ข่าวสารท้ายหน้านั่นเองถ้าไม่ต้องการก็ลบออกได้

4. ปรับแต่ง Backend ใน PHPNuke
เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยินยอมให้เว็บไซต์อื่นดึงหัวข้อหรือบทความในเว็บไซต์ของเราไปใช้งาน
1. ช่อง ชื่อ Backend พิมพ์ชื่อเว็บของคุณ
2. ช่อง ภาษา Backend พิมพ์ภาษา เช่น en-us

5. เมล์เรื่องใหม่ไปผู้ดูแลเว็บใน PHPNuke
เป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับการส่งอีเมล์แจ้งให้เจ้าของเว็บรู้ เมื่อมีการส่งบทความหรือโพสบทความ ข่าวสารใด ๆ ลงในเว็บไซต์
1. แจ้งข่าวสารใหม่ทางอีเมล์ คลิกเลือก ใช่
2. อีเมล์ที่ส่งข่าว/เรื่อง พิมพ์ชื่ออีเมล์ที่จะรับข้อมูลจากผู้ส่ง
3. ชื่อเรื่องอีเมล์ ก็พิมพ์ลงไป
4. ข่าวสารอีเมล์ ก็พิมพ์ลงไป
5. อีเมล์สมาชิก (จาก) พิมพ์ชื่ออีเมล์ที่ต้องการให้ปรากฎในช่อง from เพื่อให้รู้ว่าใครส่ง

6. รูปแบบการตรวจสอบใน PHPNuke
เป็นรูปแบบการตรวจสอบ ลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของสมาชิก

7. ส่วนเพิ่มข้อเสนอแนะใน PHPNuke
เป็นข้อเสนอแนะติชมเว็บไซต์จากผู้เยี่ยมชม
1. จำกัดปริมาณข้อมูล ให้พิมพ์ได้แค่ไหน กี่ไบต์
2. ชื่อแทนผู้ส่งจะใช้ชื่อว่าอย่างไร เช่น ผู้เยี่ยมชม, Guest หรือ Anonymous

8. ส่วนเพิ่มรูปภาพใน PHPNuke
กำหนดเกี่ยวกับลักษณะการแสดงเมนูหรือหัวข้อในเมนูผู้ดูแลเว็บจะแสดงเป็นแบบรูปภาพหรือ ข้อความอย่างเดียว
1. ลักษณะการแสดงแบบ รูปภาพ+ข้อความ
2. ลักษณะการแสดงแบบ ข้อความอย่างเดียว

9. ส่วนเพิ่มอื่น ๆ
1. เปิดใช้งานแหล่งที่มา เลือก ใช่ เพื่อดูรายชื่อเว็บไซต์อื่นที่ลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรา
2. แสดงเว็บไซต์ที่ลิงค์เข้ามาสูงสุด 1000 รายการ
3. ในแบบสำรวจจะยอมให้ผู้ชมโพสหรือลงข้อเสนอแนะหรือไม่ คลิกเลือก ใช่หรือไม่ ก็ตามแต่ลักษณะ ของเว็บไซต์
4. ให้มีข้อเสนอแนะในบทความ โดยผู้ชมเป็นผู้โพสหรือไม่ก็คลิกเลือกตามต้องการ การยินยอมให้ โพสข้อเสนอแนะถ้ามีสมาชิกเกเร ก็อาจทำให้เกิดข้อถกเถียงกันได้ ต้องลองดู

10. ส่วนของสมาชิกใน PHPNuke
กำหนดค่าเกี่ยวกับการใช้งานของสมาชิกที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์
1. รหัสผ่านต่ำสุดต้องมีกี่ตัวอักษร
2. ใช้งานข่าวสารสาธารณะ แนะนำให้เลือก ไม่ เพราะการส่งข้อความลักษณะนี้ ผู้ที่กำลังออนไลน์หรือ เข้าเว็บไซต์อยู่ในขณะนั้นจะสามารถมองเห็นทั้งหมด ถ้าส่งข้อความที่ไม่ดีออกไปก็จะเป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียง บุคคลที่ไม่หวังดีจะทำให้เว็บไซต์เสียหายได้
3. อ่านหัวข้อข่าว ยอมให้สมาชิกอ่านหัวข้อข่าวได้หรือไม่ เลือก ใช่
4. อนุญาตให้สมาชิกเปลี่ยนจำนวนบทความ เลือก ใช่

11. ส่วนของการตัดคำหยาบใน PHPNuke
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกรองคำหยาบ โปรแกรมใช้ * แทนข้อความหรือคำเหล่านั้น
1. คลิกเลือก ลักษณะการตัดคำหยาบตามต้องการ
2. เลือกใช้ ** แทนคำหยาบ
3. หลังจากปรับแต่งเสร็จแล้ว ก็คลิกปุ่ม บันทึกการเปลี่ยนแปลง
4. ผลที่ได้ คำต้องห้ามจะถูกแทนที่ด้วย *******

เมนูผู้ดูแลเว็บใน PHPNuke
ส่วนประกอบหลักๆ ของ PHPNuke ก็คือ เมนูและโมดูลลักษณะการสร้างเว็บไซต์ ก็จะเกิดจากการปรับ แต่งใน 2 ส่วนนี้ จากนี้ก็ใส่ข้อมูลลงไป ก็จะกลายเป็นเว็บไซต์แบบPHPNuke การปรับแต่งส่วนต่างๆ โปรแกรม ก็ได้เตรียมคำสั่งไว้ให้แล้ว อยู่ในเมนูผู้ดูแลเว็บ

 

1. สำรองข้อมูล สำรองข้อมูลในฐานข้อมูล MySQL เก็บไว้
2. เมนู จัดการกับเมนูในช่องซ้ายมือ เช่น แสดง ซ่อน แก้ไข กำหนดสิทธิ์ ลบ เพิ่มเมนู เปลี่ยน ตำแหน่งไว้ทางซ้ายมือ ตรงกลางจอหรือด้านขวามือ
3. แก้ไขผู้ดูแลเว็บ แก้ไขหรือเพิ่มรายชื่อผู้มีสิทธิดูแลเว็บไซต์ กรณีมีผู้ดูแลมากกว่า 1 คน ก็แบ่งกัน รับผิดชอบ เช่น ให้คนนั้นดูแลเรื่องโฆษณา คนนี้ดูแลเว็บบอร์ด เป็นต้น
4. กลุ่มสมาชิกแก้ไข ลบ สร้างกลุ่มสมาชิกที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์
5. HTTP ที่ส่งผู้ชมเข้ามาแสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่ลิงค์มาหาเว็บไซต์ของเรา ทำให้รู้ว่ามีเว็บไซต์ใดลิงค์มา ยังเว็บของเราบ้าง
6. IP BAN หมายเลขไอพีที่ถูกแบนห้ามเข้าเว็บไซต์ของเรา ใช้เพื่อห้ามผู้เข้าเยี่ยมชมที่ใช้ไอพีใดๆ ห้ามเข้ามาใช้ บริการเว็บไซต์ของเรา
7. ประกาศ จักการกับประกาศที่จะปรากฏในหน้าแรก กลางจอ สามารถแก้ไข เพิ่ม ลบ ได้
8. Moderation กำหนดเกี่ยวกับผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมความประพฤติของสมาชิกที่เข้ามา เยี่ยมชมเว็บไซต์

9. โมดูลเป็นคำสั่งจัดการกับโมดูลทั้งหมด ลักษณะของโมดูลก็เปรียบได้กับโปรแกรมเสริมการทำงาน เพิ่มความสามารถให้ PHPNuke
10. จดหมายข่าวคำสั่งสำหรับการเขียนจดหมายข่าวถึงสมาชิก
11. Optimize DBจัดการกับฐานข้อมูล ลดขนาดฐานข้อมูล my SQL ให้เล็กลง
12. ค่าติดตั้งระบบคำสั่งปรับแต่งเว็บไซต์ของเราทั้งหมด เช่น ปรับแต่งข้อมูลทั่วไป เลือกแบบภาษา ข่าวสารท้ายหน้า ฯลฯ
13. เรื่องที่ส่งเข้ามาจัดการกับเรื่องที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมส่งเข้ามา ลงในเว็บไซต์ของเรา
14. ออกจากระบบเลิกใช้งาน ไม่ต้องการปรับแต่งใด ๆ แล้ว ก็คลิกคำสั่งนี้

รายละเอียดคำสั่งย่อยใน เมนู
เมื่อคลิกที่คำสั่ง เมนู ก็จะมีคำสั่งย่อยให้ปรับแต่งการใช้งานโปรแกรมอีกชุดหนึ่งดังนี้

1. เมนูหลัก เป็นส่วนเก็บคำสั่งหรือโมดูล เพื่อเรียกใช้งานตามแต่ผู้ออกแบบจะกำหนด ถ้าเป็นเว็บไซต์ ขนาดใหญ่ มีการสร้างข้อมูลอย่างสมบูรณ์แบบ ก็จะมีโมดูลครบทั้งหมด แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์เล็กๆ ก็อาจใช้งาน เพียงบางโมดูลเท่านั้น เปิดใช้งานหลายโมดูลก็เหนื่อยกับการเตรียมข้อมูลเพื่อใส่ลงไปในแต่ละโมดูล
2. สำหรับผู้ควบคุม เมนูที่แสดงคำสั่งเฉพาะสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์สมาชิกหรือ บุคคลทั่วไปจะมองไม่เห็นคำสั่งเหล่านี้
3. ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่ จะแสดงจำนวนผู้ที่กำลังเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ในขณะนั้น ว่ามีกี่คน เป็นสมาชิก กี่คน บคุคลทั่วไปที่ไม่ใช่สมาชิก มีกี่คน
4. ค้นหา เมนูสำหรับการค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์ของเรากรณีที่มีข้อมูลจำนวนมากๆ ผู้เข้าเยี่ยมชม ก็สามารถพิมพ์คำจำกัดความที่ต้องการค้นหาได้
5. เลือกภาษา เลือกภาษาในการแสดงผลหน้าจอ ของ PHPNuke เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย
6. ตัวอย่างเรื่อง เมนูที่นำข้อมูลเฉพาะหัวข้อเรื่องมาแสดงในหน้าแรก
7. เมนูส่วนตัว เป็นเมนูส่วนตัวสำหรับให้สมาชิกเรียกใช้งาน
8. เข้าระบบ เมนูสำหรับสมาชิก ลงชื่อเพื่อเข้าระบบและสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์
9. แบบสำรวจ เป็นแบบสำรวจความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง เรื่องใด
10. เรื่องใหญ่ประจำวัน เป็นส่วนแสดงเรื่องเด่นๆ โดยนำมาแสดงบนหน้าจอ เฉพาะหัวข้อเรื่อง
11. ทีมพัฒนา เมนูที่แสดงข้อมูลผู้พัฒนาหรือผู้สร้างโปรแกรม PHPNuke
12. เนื้อหารอการอนุมัติ แสดงรายชื่อบทความ บทวิจารณ์ที่สมาชิกส่งเข้ามา รอให้ผู้ดูแลเว็บอนุมัติ หรืออนุญาตให้แสดงข้อมูลในเว็บไซต์
13. ประเภทของเรื่อง แสดงรายชื่อบทความ แยกตามประเภทของเรื่อง ในหน้าจอแรก