Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 

สร้างร้านค้าออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตกับฟรีเว็บไซต์
ฟรีเว็บไซต์หลายที่ ได้เปิดให้บริการ สามารถไปลงทะเบียนเปิดร้านค้าได้ทันที
A. ตัวอย่างร้านค้าออนไลน์ฟรีที่ pantown.com
ทางผู้ให้บริการหลักก็คือ เว็บไซต์ pantip.com แต่ได้สร้างบริการฟรีเว็บไซต์ขึ้นมาเน้น ให้เป็นชุมชนออนไลน์ มีผู้ไปใช้บริการสร้างร้านค้าออนไลน์มากมาย โดยใช้รูปแบบการขายสินค้า แบบง่ายๆ ขายสินค้าผ่านเว็บบอร์ด
1. ไปที่ www.pantown.com
2. กรณีต้องการสมัครเปิดใช้บริการร้านค้าฟรีหรือเว็บไซต์ฟรีให้คลิกที่ เปิดหม่บ้านใหม่ แล้วทำตามคำแนะนำในการสมัคร
3. หรือคลิกเลือกร้านค้าออนไลน์ตามต้องการ เพื่อดูตัวอย่างร้านค้า

 

B. ตัวอย่างร้านค้าออนไลน์ฟรีที่ tarad.com
เว็บไซต์แห่งนี้เปิดตัวเป็นตลาดออนไลน์ จึงมีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก นับแสนร้าน มีคน เข้าชมเป็นแสนคนเช่นกัน การเปิดฟรีเว็บไซต์ที่นี่จึงมีโอกาสในการขายสินค้าได้มากกว่าที่อื่นๆ มี บริการ รองรับหลายแบบ ทั้งฟรีร้านค้า หรือร้านค้าที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายปี มีระบบชำระเงิน รองรับ หลายแบบเช่นกัน
ดูตัวอย่างร้านค้าออนไลน์
1. ไปที่ www.tarad.com
2. คลิกหมวดหมู่ของสินค้า ก็จะเข้าไปยังข้อมูลร้านค้าออนไลน์ให้เลือกเข้าชม
3. ลองคลิกดู เพื่อศึกษาตัวอย่างร้านค้าออนไลน์กันก่อน

4. ลักษณะร้านค้าออนไลน์แบบฟรีที่ tarad.com จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน หน้าตาร้านค้า คล้ายกัน การใช้งานก็คลิกหัวข้อต่างๆ ได้เลย

วิธีสร้างร้านค้าออนไลน์ที่ tarad.com
เมื่อเข้าใจ ลักษณาของร้านค้าออนไลน์ คราวนี้ก็มาสร้างร้านอย่างที่เราต้องการ แต่ร้านค้า ฟรีแบบนี้จะยอมให้ใส่สินค้าในร้านได้เพียง 35 รายการเท่านั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีสินค้าที่จะขาย ไม่มากนัก หรือจะเปิดเป็นอีกสาขาเพิ่มก็ได้ โดยอาจมีเว็บไซต์หลักที่สร้างร้านค้าออนไลน์อยู่แล้ว ก็มาเปิดเพิ่ม แล้วใส่สินค้าลงไปเพียง 35 รายการ ตามที่ tarad.com กำหนดไว้ แต่ให้สร้างลิงค์ เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์หลักอีกที กรณีที่ลูกค้าต้องการดูสินค้ามากกว่านั้น
ข้อดีก็คือที่ tarad.com มีคนเข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมาก ไม่ต้องใช้การโฆษณามากมาย เมื่อ เทียบกับการเปิดร้านค้าเป็นของตัวเอง ต้องประชาสัมพันธ์พอสมควร จึงจะมีคนรู้จักและเข้ามาใช้ บริการ แต่ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหา เราสามารถมาขอลงโฆษณาในเว็บไซต์นี้ได้ เพื่อแนะนำให้ผู้อื่นรู้จัก เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของเรา

Free Website ร้านค้าฟรี
การเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์นี้ จะต้องเลือกแบบ Free Website ซึ่งจะใส่สินค้า ได้เพียง 35 รายการเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองขายสินค้า และมีสินค้าไม่มากนัก
1. ไปที่เว็บไซต์ www.taradquickweb.com
2. คลิก สมัครเปิดร้านค้าฟรี
3. คลิกเลือกแบบ Free Website ซึ่งมีรายละเอียดตามที่ได้แจ้งไว้ เช่น ใส่สินค้าในร้าน ได้เพียง 35 ชิ้นเท่านั้น
4. ส่วนที่เหลืออีก เช่น Silver, Bronze, Gold ... ต้องเสียค่าเช่าร้านค้าเป็นรายปี
5. คลิก เริ่มต้นเปิดร้านค้า

6. คลิก สมัครสมาชิก
7. คลิก ยอมรับ

 

8. ทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อสมัครใช้บริการ เปิดร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเอง

สร้างร้านค้าออนไลน์กับฟรีเว็บไซต์
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง โดยการสมัครเป็นสมาชิกกับฟรี เว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งมีให้เลือกใช้บริการมากมาย หลังจากสมัครใช้งานฟรีเว็บไซต์แล้ว ก็จัดการติดตั้ง โปรแกรมร้านค้าออนไลน์ วิธีนี้จะสามารถปรับแต่งร้านค้าได้ตามต้องการ

ตัวอย่างรายชื่อฟรีเว็บไซต์
เป็นตัวอย่างฟรีเว็บไซต์บางส่วนที่ผู้เขียนรวบรวมจากอินเตอร์เน็ต
http://0fees.net
http://www.thmy4.com
www.THZHost.com
www.000webhost.com
http://www.co-th.us
http://www.krubpom.com
http://www.pr.in.th
www.987mb.com
www.thaifreebox.com
http://www.icuub.com
http://www.imhost.inc.gs
www.bytehost.com
http://www.imhost.inc.gs
www.jairakhosting.com
www.asis.co.th/freehost
http://www.todayload.com/freehost.htm
http://www.nanacity.com
www.hostingdd.co.cc
http://www.freebox.in.th

การเช่าพื้นที่สร้างเว็บไซต์ทำร้านค้าออนไลน์
วิธีนี้จะเป็นการเช่าพื้นที่เช่าโดเมนเพื่อสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ด้วยตนเอง การปรับแต่ง ร้านค้า หน้าตาร้านค้า การใส่สินค้า ปรับแต่งได้ทุกอย่างตามที่เราต้องการ การเช่าฟรีพื้นที่ทำเว็บไซต์ และจดโดเมนชื่อร้าน จะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายปีตั้งแต่ 800.- ขึ้นไป ดูน่าเชื่อถือกว่า

 

ทำความรู้จัก Webhosting และ Domain
ก่อนจะเลือกเช่าพื้นที่หรือ Webhosting และชื่อเว็บไซต์หรือ Domain เราจะมาทำความ รู้จักคำศัพทต่างๆ กันก่อน ว่าในประกาศหรือโปรโมชันของแต่ละบริษัทนั้น มีความหมายว่าอย่างไร
1. Domain โดเมนหรือชื่อเว็บไซต์เช่น www.siamebook.com, www.yahoo.com ชื่อ โดเมนจะต้องจดทะเบียนขอใช้ชื่อนั้นๆ เป็นรายปี โดเมนหรือชื่อเป็นไซต์มีหลายประเภท ตามลักษณะ การประกอบธุรกิจของเจ้าของโดเมนนั้นๆ (com, net, org, info ฯลฯ )ที่นิยมกันมากจะเป็น .com (อ่านว่าดอทคอม)
2. Webhosting หรือ Hosting เป็นบริการให้เช่าพื้นที่สำหรับทำเว็บไซต์ โดยทางผู้ให้ บริการจะแบ่งพื้นที่ในเซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์อีกประเภทหนึ่ง) มาทำเป็นพื้นที่สำหรับให้เราสร้าง เว็บไซต์ จากนั้นก็ติดตั้งโปรแกรมประเภทเว็บเซิร์ฟเวอร์ลงไป
3. Disk Space เป็นขนาดของพื้นที่ที่ผู้ให้บริการแบ่งไว้ให้ คล้ายๆ กับการแบ่งพื้นที่ใน เครื่องของเราเอง แบ่งเป็นไดรว์ๆ เช่น 100 MB, 1 GB, 5 GB เป็นต้น การเลือกขนาดของพื้นที่ ก็ให้ดูว่าข้อมูลที่เราต้องการนำไปไว้ในเว็บไซต์มีมากแค่ไหน สำรวจดูข้อมูลในเครื่องของเราก่อน ไม่ต้องเผื่อไว้มากนัก เพราะเน้นเก็บไฟล์ภาพและข้อความเท่านั้น การพิจารณาเลือกพื้นที่มากหรือ น้อยให้ดูที่ลักษณะของเว็บไซต์ ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่เป็นเว็บบอร์ดเน้นให้คนอื่นมาพิมพ์ข้อความหรือ นำภาพมาโพสต์ ก็เลือกเยอะๆ ไว้ก่อน เพราะมันจะค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ เหมือนน้ำหยดลงถัง จะ เต็มในสักวัน
4. Data Transfer เป็นอัตราการรับส่งข้อมูลระหว่างเว็บไซต์ของเรากับคอมพิวเตอร์ที่ ได้เข้าไปใช้บริการ ซึ่งอาจเป็นผู้เข้าไปชมเว็บไซต์ เมื่อมีการเข้าไปดูข้อมูล ก็จะเกิดการรับส่งไฟล์ จากเว็บไซต์ของเราไปยังเครื่องของคนที่เข้ามาดู หรืออาจเป็นข้อมูลของเราเองที่ก็อปปี้เข้าไปไว้ใน เว็บไซต์ของเรา ยกตัวอย่างง่ายๆ โปรโมชันนั้นๆ กำหนด Data Tranfer ไว้ที่ 5 GB หรือ 5,000 MB เราเอาไฟล์ภาพขนาด 5 MB ไปวางไว้ ถ้ามีคนเปิดดูภาพนั้นๆ 1000 ครั้ง อัตรารับส่งข้อมูล ระหว่างเว็บไซต์เพื่อนำภาพไปแสดงที่เครื่องของคนที่เข้ามาดูจะเท่ากับ 1000 x 5 = 5,000 MB หรือ 5 GB เว็บไซต์ธรรมดาๆ ที่มีแต่ภาพขนาดเล็กและข้อความ ก็ยากที่จะเกิน 5 GB แต่ถ้ามีไฟล์ ขนาดใหญ่ อาจเป็นไฟล์เพลง MP3 ให้ดาวน์โหลด ก็มีโอกาสเกิน หรือมีผู้เข้าชมมากๆ ก็มีโอกาส เช่นกัน เมื่อใช้เกิน ส่วนใหญ่ก็จะคิดเงินเพิ่ม เช่น 1 GB ต่อ 100 บาท เป็นต้น ตรงนี้ก็ต้องดูว่าจะมี คนเข้าเว็บไซต์ของเรามากแค่ไหน ถ้าเป็นเว็บไซต์สำหรับโรงเรียน ก็ต้องเลือก Unlimited ไว้ก่อน เลย เพราะเผื่อเกินอัตราที่กำหนด ก็จะไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
5. MySQL เป็นฐานข้อมูลสำหรับเว็บไซต์ ผู้ให้บริการบางรายก็ให้น้อย 1-10 ฐานข้อมูล หรือบางรายก็ให้แบบ Unlimited เต็มที่เลย เท่าไหร่ก็ได้ ไม่อั้น แล้วจะเลือกแบบไหนดี ตรงนี้ให้ พิจารณาโครงสร้างและขนาดหน่วยงานของคุณ เป็นร้านเดี่ยวๆ มีไม่กี่สาขาหรือเป็นร้านที่มีสาขา ทั่วประเทศ ถ้าเป็นร้านเดี่ยวๆ 1-10 ฐานข้อมูลก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นร้านค้าหรือหน่วยงานที่มี สาขาจำนวนมาก ก็เลือกแบบ Unlimited ไว้ก่อน เช่น ร้านเซเว่น (สมมุตินะครับ) มีสาขาทั่วประเทศ ก็จะสร้างฐานข้อมูลแยกไปตามสาขาไม่เกี่ยวกัน แบบนี้ก็ต้องเลือกแบบไม่จำกัดหรือ Unlimited
6. Subdomain ซับโดเมนเป็นเว็บไซต์ย่อยในเว็บไซต์นั้นๆ สมมุติว่า เว็บไซต์หลักชื่อว่า www.seven.com เว็บไซต์ย่อยก็จะเป็น www.branch1.seven.com, www.branch2... การ พิจารณาเลือก Subdomain ก็ต้องดูที่หน่วยงานของเราว่าเป็นหน่วยงานแบบเดี่ยวๆ มีสาขาย่อย หรือส่วนงานย่อยกี่ส่วน แต่ละส่วนต้องการมีเว็บไซต์รองจากเว็บไซต์หลักหรือไม่ ตัวอย่างการใช้ ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Subdomain = www.branch1.seven.com ลูกค้าที่เป็นร้านค้าของเซเว่นสาขา ที่ 1 ถ้าต้องการเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์เฉพาะของสาขานี้ก็จะไปที่ www.branch1.seven.com ไม่ ต้องไปเว็บไซต์หลัก www.seven.com ถึงแม้จะมีเว็บไซต์ย่อยจำนวนมาก แต่การชำระเงินค่าเช่า พื้นที่ทำเว็บไซต์และค่าจดโดเมน จะเท่าเดิม
7. FTP Account เมื่อมีการสร้างซับโดเมน เพื่อให้แต่ละสาขาหรือส่วนงานมีเว็บไซต์ย่อย เป็นของตนเองแล้ว การสร้าง FTP Account ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างให้แต่ละเว็บไซต์ย่อย เพื่อให้ แต่ละเว็บไซต์ย่อย สามารถอัพโหลดข้อมูลด้วยโปรแกรมประเภท FTP อย่าง FileZilla เพื่อก็อปปี้ ไฟล์ไปไว้ในเว็บไซต์ย่อยของแต่ละสาขาได้ จะไม่ใช้ FTP Account ของเว็บไซต์หลัก เพราะจะ สามารถจัดการกับข้อมูลของสาขาอื่นได้ อันตรายถ้าพลาดลบหรือแก้ไข FTP Account, MySQL และ Subdomain จะสัมพันธ์กัน ถ้าเลือก Unlimited ไม่จำกัด ก็ต้องเลือก 3 ค่านี้เหมือนกัน
8. E-Mail Account ปกติเราจะใช้อีเมล์กับเว็บไซต์ยอดนิยม hotmail, yahoo หรือ gmail แต่ถ้าหน่วยงานนั้นๆ เป็นโรงเรียนต้องการให้นักเรียนแต่ละคนมีอีเมล์เป็นของตนเอง การ เลือกโปรโมชัน E-Mail Account แบบ Unlimited จะดีกว่า เพราะสามารถสร้างอีเมล์ได้ไม่จำกัด แต่การใช้งานอีเมล์ในรูปแบบนี้จะมีข้อเสียก็คือ ไม่มีระบบป้องกันอีเมล์ขยะที่ดีพอ ถ้าแต่ละคนไม่ เข้าไปดูและลบข้อมูลในอีเมล์ของตนเอง รับรองว่าอีเมล์ขยะมหาศาลแน่นอน การเลือกคุณสมบัติ ของเว็บไซต์ที่เน้นการใช้อีเมล์ จึงต้องหาข้อมูลให้รอบคอบก่อน
9. Multi Domain โดเมนจะเป็นชื่อเว็บไซต์ เช่น www.siamebook.com ส่วนใหญ่จะให้ 1 โดเมนต่อ 1 hosting แต่บางเจ้ายินยอมให้ใช้มากกว่า 1 โดเมน ถ้าได้เลือกเช่าพื้นที่ทำเว็บไซต์โดย มีขนาด 100 MB มีอัตรารับส่งข้อมูลที่ 10 GB ต่อเดือน กรณีที่ใช้มากกว่า 1 โดเมน ก็สามารถแบ่ง พื้นที่แยกเป็น 50 MB สำหรับ 2 เว็บไซต์ อัตรารับส่งข้อมูลก็เช่นกัน แยกเป็นเว็บไซต์ละ 5 GB

10. Domain Pricing หรือค่าจดโดเมน การใช้ชื่อเว็บไซต์เช่น www.siamebook.com จะมีค่าเช่าหรือค่าจดโดเมนที่ต้องจ่ายเป็นรายปี ไม่จ่ายก็โดนตัดออกจากสาระบบ จะมีให้เลือกหลาย ราคาเช่น 269, 300, 350 เป็นต้น

 

การจดชื่อโดเมนเว็บไซต์ร้านค้า
1. ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อร้านค้า จะมี 2 แบบ ถ้าใช้ฟรีเว็บไซต์สร้างร้านค้า ชื่อก็จะต้องอิงกับ ชื่อฟรีเว็บไซต์ที่ได้สมัครเป็นสมาชิก เช่น www.kcamp.kmancity.net ชื่อร้านค้าก็คือ kcamp ส่วนชื่อฟรีเว็บไซต์ก็คือ kmancity ถ้าจดทะเบียนเว็บไซต์เป็นของตนเอง ก็จะมีชื่อเฉพาะเช่น www.kcamp.net ดูน่าเชื่อถือกว่า เพราะการจดทะเบียนขอชื่อเว็บไซต์หรือชื่อร้านเป็นของตนเอง ก็จะมีข้อมูลของผู้จดทะเบียน ที่สามารถตรวจสอบได้ ดูมีหลักมีฐาน น่าเชื่อถือในการติดต่อ
2. การจดชื่อร้านค้าเป็นของตนเองจะมีค่าใช้จ่ายปีละประมาณ 300-500 บาทต่อปี โดย จะนำ 2 ส่วนมารวมกัน ก็คือค่าจดโดเมนและค่าเช่าพื้นที่ 2 ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกัน รวมๆ แล้วมีให้เลือกตั้งแต่ 700 บาทขึ้นไปต่อปี ซึ่งถือว่าประหยัดมาก ในขณะที่การเช่าพื้นที่ทำร้านค้าจริงๆ จะเสียค่าเช่าต่อปีมากกว่านั้น

การตรวจสอบชื่อเว็บไซต์หรือชื่อโดเมนสำหรับทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ Virtuemart
ก่อนอื่นเราต้องตรวจสอบก่อนว่าเว็บไซต์ที่เราต้องการนั้น มีใครจดทะเบียนใช้งานไปแล้ว หรือยัง ส่วนใหญ่ชื่อดีๆ ไม่มีเหลือแล้ว รูปแบบการตรวจสอบก็มีหลายแบบ
ตัวอย่างการตรวจสอบแบบที่ 1
เป็นการไปตรวจสอบที่เว็บไซต์ 10gb-host
1. ไปที่ www.10gb-host.com
2. เลื่อนไปยังส่วนสำหรับตรวจสอบชื่อเว็บไซต์
3. พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไป
4. คลิกเลือกชนิดของเว็บไซต์เช่น com, net, info
5. เสร็จแล้วคลิก ตกลง
6. โปรแกรมจะแจ้งว่า siamebook.com ชื่อเว็บไซต์นี้มีคนจดชื่อใช้งานไปแล้ว พร้อมกับ แสดงตัวเลือกอื่นที่ยังสามารถใช้งานได้เช่น www.siamebook.net สามารถใช้ชื่อนี้ได้
7. ถ้าต้องการชื่ออื่นๆ ก็ลองพิมพ์แล้วคลิก ตกลง ค้นหาไปจนกว่าจะได้ชื่อตามต้องการ

ตัวอย่างการตรวจสอบแบบที่ 2
1. ไปที่ www.98webhost.com
2. คลิก Order Now
3. คลิกและพิมพ์ เช่น siamebook
4. คลิกเลือกประเภทเว็บไซต์แบบ net
5. คลิกปุ่ม OK
6. ถ้าชื่อยังว่าง ไม่มีใครใช้ ก็จะแสดงข้อความ The domain is available register it now

ตัวอย่างการตรวจสอบแบบที่ 3
1. ไปที่ www.hostinglotus.com
2. ในส่วน ค้นหาโดเมน คลิกและพิมพ์ชื่อโดเมนเป็น siamebook
3. คลิกเลือกแบบ com
4. คลิกตรวจสอบโดเมนว่าง

5. คลิกเลือกประเภทของเว็บไซต์ไว้หลายๆ แบบเช่น com, net, info
6. พิมพ์อักขระลงไปตามที่ตามองเห็น
7. คลิก Lookup เพื่อเริ่มต้นค้นหา
8. จะแสดงผลด้านล่าง เช่น siamebook.com มีคนใช้แล้ว
9. ส่วนชื่อ siamebook.net ยังว่าง สามารถใช้งานได้