Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 

เปิดรับสมัครสมาชิก Joomla โดยให้ลงชื่อด้วยตนเอง
เป็นลักษณะการเปิดรับสมาชิก ใครที่ต้องการเป็นสมาชิกเว็บไซต์ ก็มาลงชื่อสมัครได้เลย
A. เปิดใช้งานโมดูล Login Form
เปิดใช้งานโมดูล Login Form เพื่อให้มีหน้าจอสำหรับเข้าระบบ และสมัครเป็นสมาชิกเว็บ

 

B. ตั้งค่าเงื่อนไขการรับสมัครสมาชิก
1. คลิก Site>>Global Configuration
2. คลิกแท็ป System
3. User Settings กำหนดค่าต่างๆ ตามนี้
- Allow User Registration = Yes ยินยอมให้ผู้สมัครลงทะเบียนเป็นสมาชิกได้ สำหรับ เว็บไซต์บางแบบที่เจ้าของเว็บ เป็นผู้สร้างรายชื่อสมาชิก ไม่ยินยอมให้สมัครเป็นสมาชิกด้วยตนเอง ก็ต้องเลือก No เว็บไซต์นั้นๆ อาจมีข้อมูลใดๆ ที่เปิดรับเฉพาะสมาชิกที่ต้องเสียค่าบริการเท่านั้น อาจนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีนี้
New User Account Activation = Yes ต้องมีการยืนยันการสมัครสมาชิกหรือไม่ ควร ที่จะทำ เมื่อสมาชิกท่านใดได้สมัครกับเว็บไซต์ของเราแล้ว ทางเว็บไซต์จะส่งอีเมล์ตอบกลับไป ผู้ที่ ได้สมัครเป็นสมาชิกต้องไปเปิดอ่านอีเมล์ แล้วยืนยันการเป็นสมาชิกผ่านทางลิงค์ในอีเมล์ วิธีนี้ช่วย ป้องกันการนำอีเมล์ของคนอื่นมาสมัคร และป้องกันโปรแกรมที่สามารถสมัครเป็นสมาชิกเองได้ ผล ที่ตามมาก็คือการมาลงข้อความก่อกวนในเว็บไซต์ วุ่นวายครับ


การสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์
Joomla
1. เข้าเว็บไซต์ตามปกติ
2. คลิก Create an account
3. พิมพ์ข้อมูลลงไป เช่น ชื่อ นามสกุล
4. พิมพ์ชื่อผู้ใช้ Username เช่น member เป็นชื่อที่จะใช้เข้าระบบ
5. พิมพ์ รหัสผ่าน Password ทั้ง 2 ช่องให้เหมือนกัน
6. คลิก Register

การ Activate ยืนยันการสมัครสมาชิกใน Joomla
เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วจะยังใช้งานไม่ได้ ต้องเข้าไปอ่านอีเมล์ของผู้สมัครแล้วจึงยืนยัน การสมัคร สมาชิกผ่านอีเมล์อีกที ทั้งนี้เพื่อป้องการการแอบอ้างเอาอีเมล์คนอื่นมาใช้งาน ผู้เขียน เลือกให้ส่งอีเมล์ไปที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
1. เข้าไปอ่านอีเมล์
2. จะมีอีเมล์ที่ส่งมาจากเว็บไซต์ ที่ได้ไปสมัครเป็นสมาชิก คลิกที่อีเมล์เพื่ออ่าน
3. ดูบรรทัด to activate ... ให้คลิกลิงค์ด้านล่าง เพื่อยืนยันการสมัครเป็นสมาชิก
4. ทางเว็บไซต์จะแจ้งว่า สามารถใช้งานได้แล้ว

หน้าจอสมาชิกล็อกอินเข้าระบบใน Joomla
1. เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์
2. พิมพ์ username และ password
3. คลิก login เพื่อเข้าระบบ
4. หน้าจอแสดงว่าเข้าระบบแล้ว จะมีเมนูสำหรับสมาชิก
5. ชื่อของสมาชิกที่ได้เข้าระบบแล้ว ชื่อ manitk
6. ถ้าจะออกจากระบบให้คลิก ออกจากระบบหรือ Logout

ตั้งค่าเกี่ยวกับการเข้าระบบของสมาชิกใน Joomla
1. คลิก Extensions>>Module Manager
2. คลิกเลือกโมดูล Login Form

3. แก้ไขข้อมูลได้ตามต้องการ
Title = ชื่อโมดูลในบทก่อนๆ ได้เปลี่ยนชื่อไปแล้ว เป็นภาษาไทย เช่น สมาชิกเข้าระบบ
Position = left หรือเลือกได้ตามต้องการ
4. ตั้งค่าใน Module Parameters
Pre-text เป็นข้อความที่ต้องการให้แสดงด้านบนช่อง ให้พิมพ์ Username และ Password เพื่อเข้าระบบ
Post-text เป็นข้อความให้แสดงด้านล่างช่องให้พิมพ์ Username และ Password
Login Redirection Page ระบุหน้าเว็บเพจที่ต้องการให้สมาชิกไปยังหนัานั้นๆ เมื่อมีการ เข้าระบบแล้ว ให้สร้างบทความใดๆ เช่น บทความต้อนรับสมาชิกแล้วก็อปปี้ URL มาวาง
Logout Redirection Page ระบุหน้าเว็บเพจที่ต้องการให้สมาชิกไปยังหนัานั้นๆ เมื่อมีการ ออกจากระบบแล้ว เช่น อาจให้ไปที่บทความใดบทความหนึ่ง ที่เขียนในลักษณะการกล่าวลา
Greeting แสดงข้อความยินดีที่สมาชิกได้เข้าเว็บไซต์ ปกติจะเป็น Hi! ตามด้วยชื่อสมาชิก
Name/Username กรณีที่ได้เลือกให้แสดงข้อความยินดีที่สมาชิกเข้าเว็บไซต์ ให้แสดงชื่อ ผู้ใช้หรือ Username แนะนำเลือก Name
Encrypt Login Form ใช้การเข้ารหัสป้องกันชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านหรือไม่ ตรงนี้เซิร์ฟเวอร์ ต้องรองรับระบบ SSL จึงจะใช้งานได้
5. เสร็จแล้วคลิก Save


เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาพิเศษ ต้องการให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานนั้น ต้องเป็นสมาชิกที่เจ้า ของเว็บไซต์เป็นผู้สร้างรายชื่อขึ้นมาให้เท่านั้น ในแต่ละเดือนหรือแต่ละปี อาจมีการเก็บค่าบริการ ส่วนคนทั่วๆ ไป อาจเปิดให้ใช้งานข้อมูลได้เพียงบางส่วน ยั่วน้ำลายให้อยากเข้าใช้ก็พอ แต่ป้องกัน ดีๆ นะครับ ระวังโดนเจาะระบบ

 

A. ตั้งเงื่อนไขการรับสมัคร
1. กำหนดค่า Allow User Registration = No ไม่เปิดให้ลงทะเบียน
2. ในหน้าจอสำหรับเข้าระบบ ก็จะไม่มีลิงค์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์

B. เจ้าของเว็บไซต์สร้างรายชื่อสมาชิกเอง
1. คลิก Site>>User Manager
2. คลิก New

3. พิมพ์รายละเอียดลงไป เสร็จแล้วคลิก Save
Name ชื่อ สมาชิก จะเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ก็ได้ เช่น มานิตย์
Username ชื่อสำหรับเข้าระบบ manit (ใช้ภาษาอังกฤษ)
Password รหัสผ่าน
E-mail อีเมล์ ต้องใช้อีเมล์จริงๆ เพราะจะมีการส่งข้อความไปให้ยืนยันการสมัครสมาชิก
New Password ใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน กรณีสมาชิกท่านนี้ลืมรหัสผ่าน
Verify Password ใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน กรณีสมาชิกท่านนี้ลืมรหัสผ่าน
Group กลุ่มของสมาชิก ค่ามาตรฐาน = Registered
Back end Language ภาษาด้านหลังสำหรับการทำงานกับเว็บไซต์
Front end Language ภาษาด้านหน้า ถ้าได้ติดตั้งภาษาไทยลงไปก็เลือกภาษาไทย
User Editor เลือกใช้โปรแกรมสำหรับเขียนบทความ กรณีเป็นสมาชิกแบบ Author หรือ Editor หรือ Publisher
Help Site คู่มือการใช้งาานจูมล่า
Time Zone เวลาของไทย เลือก UTC +07:00
Contact Information ข้อมูลการติดต่อ ถ้ามีก็ระบุลงไป

4. เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ก็เข้าไปตรวจสอบอีเมล์ คลิกชื่อจดหมายที่ส่งเข้าไป
5. คลิกลิงค์ ยืนยันการเป็นสมาชิก
6. การยืนยันแบบนี้ ถ้าเอาอีเมล์ของคนอื่นมาสมัครก็จะเข้าไปยืนยันไม่ได้ เป็นการป้อง กันการนำอีเมล์คนอื่นมาใช้


ถ้าเปิดรับสมัครนักเขียนประจำเว็บไซต์ Joomla ก็สามารถแก้ไขจากสมาชิกธรรมดาให้เป็นสมาชิก ที่เป็นนักเขียนได้โดยแก้ไข Access Level เป็น Publisher
1. เนื้อหาที่จะนำเสนอในเว็บ ถ้าหาคนมาช่วยสร้างเนื้อหา กรณีที่มีสมาชิกช่วยกันทำเว็บไซต์ หลายคน ก็สร้างสมาชิกแบบ Publisher เพิ่มเข้ามาให้กับผู้เขียนบทความแต่ละคน
2. แต่ในกรณีที่ต้องหาคนมาช่วยเขียนบทความ อาจกำหนดให้เป็นแค่ Author ก็พอ
3. ผู้ใช้แบบ Author จะสามารถเขียนบทความลงเว็บไซต์ได้
4. แต่การจะยินยอมให้บทความนั้น ปรากฏบนเว็บไซต์ ผู้เข้าชมเว็บสามารถมองเห็นและ อ่านบทความได้นั้น ต้องให้สมาชิกแบบ Publisher เป็นผู้ตรวจสอบเนื้อหาเสียก่อน แล้วจึงจะ เผยแพร่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถอ่านได้

ตัวอย่างการเข้ามาเขียนบทความโดยนักเขียน
1. สมาชิกแบบ Author ที่มีหน้าที่เขียนบทความ ทำการล็อกอินเข้าระบบ
2. พิมพ์ Username และ Password
3. คลิก Login เข้าระบบ
4. คลิก เขียนบทความลงเว็บ (Submit an Article)
5. ช่อง Title พิมพ์ชื่อบทความ เดินป่าที่แม่วงก์
6. ช่องด้านล่าง พิมพ์เนื้อหา
แหล่งดูนกยอดนิยมอีกหนึ่ง จะอยู่ทางภาคเหนือของไทย มีนกหลากหลายชนิด ไปที่นี่ต้อง ไปกันหลายๆ วัน เพื่อจะได้มีเวลาเดินสำรวจตรวจตรา ส่องดูนกนานาชนิด เพราะมีเยอะมากๆ
....

7. ในส่วน Publish ช่อง Section เลือกหัวข้อหลักของบทความเช่น สำรวจธรรมชาติ
8. ช่อง Category คลิกเลือกหัวข้อย่อยเป็น เดินป่า
9. Access Lever เลือกผู้ชมแบบ Public ให้คนทั่วๆ สามารถเข้ามาอ่านบทความได้
10. คีย์เวิร์ด เป็นคำจำกัดความสั้นๆ เกี่ยวกับบทความนั้น เพื่อประโยชน์ในการค้นหาข้อมูล
11. Published เลือก Yes เพื่อเผยแพร่บทความนั้น
12. คลิก Save
13. เมื่อเขียนบทความ แล้วส่งเข้าเว็บไซต์ บทความจะถูกเผยแพร่ในส่วน Latest News
14. และเมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้ว ก็คลิก Log out เพื่อออกจากระบบ

อ่านเพิ่มเติม
Show on Front Page จะให้แสดงในหน้าแรกหรือไม่
Start Publishing คลิกเลือกวันที่ต้องการให้เริ่มเผยแพร่
Finish Publishing กำหนดวันหยุดเผยแพร่บทความ
การลบ การบล็อกสมาชิกนิสัยไม่ดี
เป็นการลบรายชื่อสมาชิกหรือบล็อกสมาชิกที่นิสัยไม่ดี หรือเข้ามาก่อกวน ไม่ให้เข้าระบบได้ อีกต่อไป
1. คลิกติ๊กถูกชื่อสมาชิก
2. ต้องการลบ ก็คลิก Delete
3. คลิก Enable ให้เป็น x บล็อกไว้ชั่วคราว ดูว่าเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ ถ้าดีขึ้นก็เปิด ให้ใช้งานได้