หลังจากได้กลับบ้านไปดูแลพ่อซึ่งป่วยอยู่สักพัก ก็ได้แนวคิดในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะคนสูงวัย หรือผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอมากๆ ดูแลตัวเองไม่ได้ ซึ่งแม้แต่แก้วน้ำยังยกไม่ขึ้น เดินเหินไม่ต้องพูดถึง กลายเป็นภาระของสมาชิกทั้งบ้าน ที่จะต้องมาช่วยกันดูแล งานการ ไม่ได้ทำกันเลย

 

ตัวอย่างแนวทางดูแลผู้ป่วยแบบต่างๆ

การเตรียมอุปกรณ์ของใช้สำหรับผู้ป่วย

อุปกรณ์ของใช้สำหรับผู้ป่วย ควรเตรียมไว้เป็นชุดๆ เช่น ทิชชู่ ไม่ควรใช้แบบม้วน เพราะยุ่งยาก ควรใช้แบบแผ่น

ถ้าผู้ป่วยไม่ค่อยมีแรง ควรใช้แก้วขนาดเล็ก อุปกรณ์อื่นๆ อย่าง จาน ชามช้อน ควรแยกสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ เตรียมไว้เป็นชุดๆ เก็บและล้างในครั้งเดียวเพื่อประหยัดเวลาทำงาน

ห้องน้ำ ห้องสุขา ถ้าผู้ป่วยยังพอจะเดินเองได้ ควรทำราวให้จับ เพื่อป้องกันการหกล้ม ส่วนโถส้อม กรณ๊ใช้แบบนั่งยอง ควรซื้อโถ ส้อมแบบนั่ง ซึ่งมีชุดสำเร็จเอามาครอบโถแบบนั่งยองได้เลย เพราะการนั่งถ่ายแบบนี้ สร้างความลำบากให้ผู้ป่วยอย่างมาก

 

การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น

ควรให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายบ้าง อย่าให้นอนซม การฝืนออกกำลังกายจะช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น

ควรแบ่งเวรกันดูแล เหมือนเฝ้ายาม กรณีผู้ป่วยที่อาจจะต้องการการดูแลตลอดเวลา อย่าดูแลแบบนอนหลับๆ ตื่นๆ จะทำให้เพลีย มาก ถ้าไม่ได้หลับไม่ได้นอนจะสร้างปัญหา

 

สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วย

การวางแผนการดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องที่ผู้เขียนให้ความสำคัญมาก พยายามวิเคราะห์และหาวิธีในการดูแลที่จะช่วยลดเวลาในการทำงาน ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ดูแลมีเวลาไปทำอย่างอื่น โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยแล้ว หากไม่วางแผนให้ดี ก็จะ เสียเวลาทั้งวัน งานการก็ไม่ได้ทำ ป่วยคนเดียวพังทั้งบ้านได้เลย เพราะไม่มีใครได้ทำงาน ไม่มีรายได้ การป่วยของพ่อจนกระทั่งเสียชีวิต มีค่าใช้จ่ายเกิน 600,000 บาทเลยทีเดียว สำหรับครอบครัวที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ก็แทบแย่ เกือบได้ขายที่ ขายสมบัติเพื่อนำเงินมารักษา

การดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงวัย

สำหรับท่านใดที่มีผู้สูงวัยในบ้าน จำเป็นต้องศึกษาการป้องกันที่ต้นเหตุไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง เพราะการเจ็บ ป่วยที่หนักหนาสาหัสแบบที่ผู้เขียนเจอมานั้น สร้างความลำบากในการดูแลอย่างมาก เพราะผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นโรคปอด จากการสูบบุหรี่และเผาถ่าน ไม่ดูแลตัวเอง ประมาท เอาแต่คิดว่า ตายก็ช่างมัน ตายก็เผา แต่กว่าจะตาย คนดูแลอยากจะตายแทน งาน การไม่ต้องทำ รายได้ไม่มี ดังนั้นอย่าเอาแต่ใช้ชีวิตประมาทกันอยู่เลย คิดถึงหัวอกลูกหลานที่จะต้องดูแลบ้าง ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น
1. การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง


2. การพยายามทำอะไรด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้ขยับแขนขา การพยายามถนอมร่างกายมากเกินไป ไม่กล้าทำอะไร กลัวเสื่อม กลัวบาดเจ็บ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่แข็งแรง คนที่พยายามทำอะไรเอง จะไม่เจ็บป่วยง่าย ไม่อ่อนแอ
3. อย่าหยุดออกกำลังกายสมอง คิด อ่านหนังสือ เล่นเกม บุตรหลานควรสอนใช้อุปกรณ์ไอที เพราะมีข้อมูล วิดีโอต่างๆ ช่วยคลายเหงา ได้ มีเรื่องราวต่างๆ มากมายให้ดู ไม่เหงา


4. ดูแลตัวเองเรื่องอาหารการกิน อย่าตามใจปากมากเกินไปนัก เจ็บป่วยแล้วลำบากลูกหลาน
5. วางแผนตัวเองเรื่องชีวิตหลังความตายไว้ด้วย เช่น การทำประกันชีวิต เพื่อให้มีเงินค่าจัดการงานศพของตัวเอง เพราะทุกวันนี้แพง มากจริงๆ บางทีสวดศพคืนเดียว แต่หมดเงินหลักแสนบาท เลยทีเดียว
6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทำให้เจ็บป่วย โดยเฉพาะหากครอบครัวไม่ได้ร่ำรวยมากนัก
7. ดูแลเรื่องการเงินของตัวเอง บางคนลูกหลานส่งเงินมาให้ใช้ ก็ใช้เต็มที่ไม่เก็บไว้เผื่อตัวเองยามเจ็บป่วยหรือมีเหตุไม่คาดคิด เพราะลูก หลานที่ส่งเงินมานั้น บางคนก็ไม่มีเงินเก็บ เพราะเงินส่วนที่สามารถเก็บได้ ก็เป็นเงินที่ส่งมาให้พ่อแม่ใช้นั่นเอง บางคนติดเหล้า ติดการ พนัน ลูกหลานส่งเงินมาก็ใช้หมด ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ เกิดการเจ็บป่วย เงินก็ไม่มี ลูกกลับมาบ้าน ก็ยิ่งช้ำใจ เงินที่ส่งมาไม่มีเหลือ สมบัติบางรายการที่ซื้อๆ เก็บไว้ ก็เอาไปขาย นำเงินไปเล่นการพนันหมด

 

เมื่อมีผู้ป่วยเพียงคนเดียวในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบุตรหลาน หรือผู้สูงวัยก็ตาม ก็ย่อมจะสร้างปัญหาให้คนในครอบครัวอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ แต่สำหรับผู้สูงวัยด้วยแล้ว อาจจะหนักกว่า เพราะการห้ามอาจจะไม่ฟัง ปัญหาก็จะยิ่งเลวร้าย สร้างความลำบากในการดูแล เรื่องแบบนี้หากไม่เกิดกับครอบครัวตัวเอง ไม่เกิดกับตัวเองแล้ว คนส่วนใหญ่ก็ยากจะเชื่อและดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่ร้าย แรง

 

Sponsored Ads