ความหมาย : สำนวนนี้ใช้แทนความหมายว่ายอมแพ้ ยกธงขาว ยอมยกธง ไม่ขอสู้ เพราะสู้ไม่ได้ หรือ ขอพักเจรจา ในช่วงสงครามที่มีการรบกัน ฝ่ายที่เสียเปรียบ สู้ไม่ได้ เมื่อยอมแพ้ก็จะยกธงขาว ปักธงขาว เพื่อเจรจายอมแพ้ แต่สำนวนนี้ก็สามารถมาใช้ในความหมายถึงการขอยอมแพ้ในการแข่งขันทุกเรื่อง ใช้สำนวนนี้ได้ทั้งหมด

ตัวอย่าง :

เมื่อยอมรับความพ่ายแพ้ในเรื่องใดก็ตาม ที่ตัวเองกำลังแข่งขัน ไม่ว่าจะเรื่องเรียน ทำงาน ความรัก กีฬา หรืออะไรก็ตามที่ เป็นการแข่งขัน เมื่อสู้ไม่ได้แล้ว ก็ ยกธงขาว หรือยอมยกธง พูดตรงๆ ไปเลย ยอมรับตรงๆ ว่าสู้ไม่ได้ ยอมแพ้ ส่วนคนชนะ เมื่ออีกฝ่ายยอมแพ้แล้วก็ต้องมีน้ำใจ ไม่ดูถูกเหยียดหยามให้อีกฝ่ายได้รับความเจ็บช้ำใจ เพราะอาจไปเจอพวกแพ้แล้วพาล คราวนี้จะเป็นเรื่องใหญ่ แพ้ในกติกา ก็ไม่ยอมรับ หาทางเอาชนะด้วยวิธีอื่น

ในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เมื่อคิดว่าตัวเองสู้ไม่ไหว ก็ควรจะยอมแพ้ ยอมยกธง ยอม ยกธงขาว เพราะการ ดันทุรังพยายามจะเอาชนะ บางทีอาจจะยิ่งทำให้ตัวเองได้รับความสูญเสียมากยิ่งขึ้น อย่างการแข่งขันที่ต้องมีการวางเดิมพัน หรือมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ชีวิตคนเราเกิดมาพร้อมกับการแข่งขัน แต่การยึดมั่นถือมั่นในเรื่องนี้มากเกินไป ก็จะทำให้เป็นทุกข์ เพราะไม่มีใครจะชนะ ได้ตลอดเวลา เหนือฟ้าย่อมมีฟ้า ย่อมจะมีคนที่เก่งกว่าเราปรากฏขึ้นอยู่เสมอ การเรียนรู้จักยอมแพ้ ยอม ยกธงขาว เสียบ้่าง จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น บางคนนั้นชอบการแข่งขันอย่างมาก เมื่อแพ้ก็จะเกิดความโกรธแค้น คนประเภทนี้ควรอยู่ให้ห่าง เพราะถ้าจะคบกัน ก็ต้องยอมแพ้ไปเสียทุกเรื่อง จึงจะสามารถคบกันได้ ซึ่งไม่มีใครยอมใครได้ขนาดนั้น เพราะคนเราเท่าเทียม กัน

การยอมแพ้ในเรื่องใดๆ ก็ตาม อาจจะยอม ยกธงขาว เมื่อสู้ไม่ได้จริงๆ แต่ในบางเรื่อง ก็ไม่สามารถยอมได้ หากเกี่ยวข้อง กับตัวเราเอง เช่น การเป็นคนดี การพัฒนาตนเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะหากยอมแพ้เมื่อใด ก็อาจจะทำให้ ชีวิตต้องประสบกับความยากลำบาก

การแข่งขันเรื่องใดก็ตาม ต้องมองให้ออกว่าคู่แข่งเป็นแบบใด นิสัยใจคอเป็นอย่างไร หากเป็นคนพาล เป็นพวกแพ้ไม่เป็น ก็ ไม่ควรเสียเวลาแข่งขันด้วย แม้ว่าตัวเองจะเหนือกว่า เพราะคนเหล่านี้มักจะมีนิสัยเจ้าคิดเจ้าแค้น ไม่ยอม ยกธงขาว ให้ใครง่ายๆ แม้จะสู้ไม่ได้ ก็ตาม หากความพ่ายแพ้นั้นทำให้เกิดความอับอาย ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อตัวเองในภายหลัง แม้จะรู้ว่าตัวเอง เหนือกว่า บางทีก็ต้องแกล้ง ยกธงขาว ยอมแพ้ เพื่อลดโอกาสสร้างปัญหากระทบกระทั่งกัน เรื่องแบบนี้ มีโอกาสพบได้ประจำ ในหมู่เพื่อนฝูง หรือที่ทำงาน หน่วยงาน