Sponsored Ads

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

รวมบทความกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโอเอสประเภทต่างๆ เช่น DOS Windows ME/XP/Vista/7/8 การลงโปรแกรมใหม่ การจัดการกับพาร์ติชัน การแก้ปัญหาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวม Tips เป็นต้น

 


ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ (ปี 2547) จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูง ใช้ระบบไฟล์ แบบ FAT32 ติดตั้งโอเอส Windows 98/ME หรือ XP มีขนาดความ จุตั้งแต่ 20 Gb, 40 Gb, 80 Gb, จนถึง 120 Gb ขึ้นไป ลักษณะการแบ่งพาร์ติชันอาจอาศัยแนวทางของผู้เขียนดังนี้
1. ฮาร์ดดิสก์ขนาด 10 Gb
ให้แบ่งไว้ 2 พาร์ติชันหรือ 2 ไดรว์ คือ ไดรว์ C ขนาด 3-4 Gb และไดรว์ D ขนาด 7-8 Gb ถ้า จะติดตั้ง Windows 98 หรือ ME ใช้สัก 3 Gb ก็น่าจะพอ ส่วนไดรว์ D: ขออย่าให้เกิน 8 Gb ซึ่งจะทำ ให้คลัสเตอร์มีขนาดเท่ากับ 4 Kb แต่ถ้าจะติดตั้ง Windows XP ไดรว์ C: ก็ควรแบ่งไว้สัก 4 Gb
2. ฮาร์ดดิสก์ขนาด 20 Gb
แนะนำให้แบ่งไว้ 3 ไดรว์ C: ขนาด 4 Gb ไดรว์ D: และ E: ขนาด 8 Gb ก็เพียงพอต่อการ ติดตั้งโปรแกรม Windows 98/ME หรือ XP และขนาดคลัสเตอร์ก็จะมี ขนาดเพียง 4 Kb
3. ฮาร์ดดิสก์ขนาด 40 Gb
อาจแบ่งไว้ 5 ไดรว์ C D E F และ G ไดรว์ละ 8 Gb ขนาดคลัส เตอร์ก็ยังคงมีเพียง 4 Kb แต่ถ้าไม่มีข้อมูลต้องเก็บมากนัก อาจแบ่งไว้เพียง 3 ไดรว์ C: 8 Gb, D 16 Gb และ E 16 Gb ก็พอได้ เพราะขนาดคลัสเตอร์ก็เพิ่มมาเป็น 8 Kb
4. ฮาร์ดดิสก์ขนาด 80 Gb
อาจแบ่งไว้ 10 ไดรว์ C D E F G H I J K และ L ไดรว์ละ 8 Gb ขนาดคลัสเตอร์ก็ยังคงมีเพียง 4 Kb หรือจะแบ่งไว้แค่ 5 ไดรว์ก็ได้ ไดรว์ละ 16 Gb

แนวทางการแบ่งพาร์ติชันหรือสร้างไดรว์ของผู้เขียน จะยึดตามปริมาณไฟล์ที่มีอยู่ในเครื่อง ซึ่ง เครื่องของผู้เขียนมีเป็นแสนๆ ไฟล์ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 80 Gb คลัสเตอร์จะเท่ากับ 32 Kb ถ้าต้องเก็บไฟล์ เล็กไฟล์น้อย ที่ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมจะดาวน์โหลดมาเองอัตโนมัติ เมื่อเข้าไปยัง เว็บไซท์ต่างๆ เก็บ ไฟล์ที่มีขนาด 2 Kb ไว้สักหมื่นไฟล์ ก็จะเกิดพื้นที่ว่าง 30 x 10,000 = 300,000 Kb สามร้อยเมกกะไบต์เท่านั้นเอง (Kb ให้เติมศูนย์อีก 3 ตัว ก็จะเป็น 300,000,000) ไม่มากเลย ใช่หรือไม่

แต่จะอย่างไรก็ตาม ให้แบ่งไว้อย่างน้อย 2 ไดรว์ ไดรว์ C: ไว้ติดตั้งโปรแกรม สัก 10 Gb ไว้ติดตั้งโปรแกรมเท่าที่จำเป็นก็สุดจะเพียงพอ ส่วนไดรว์ที่เหลือไว้เก็บ ข้อมูลทั้งข้อมูล ที่เป็นไฟล์เพลง MP3 หรือไฟล์ทีแบ็คอัพระบบไว้ (Ghost) เวลาโปรแกรมมีปัญหา แก้ไขได้ง่าย บูตเครื่องแล้วก็ฟอร์แมต ไดรว์ C: จากนั้นติดตั้ง โปรแกรมใหม่ได้เลย
ส่วนท่านใดที่คิดจะติดตั้งโปรแกรมหลายโอเอส ถ้าจะติดตั้ง Windows 98 หรือ ME ร่วมกับ “Windows XP ก็แบ่งไว้อย่างน้อย 3 ไดรว์ ไดรว์ C: 3 Gb ไว้ติดตั้ง Windows 98 หรือ ME ไดรว์ D: 4 Gb ไว้ติดตั้ง Windows XP ส่วนไดรว์ที่เหลือก็ตามแต่ใจ ส่วนการติดตั้งลินุกซ์เพิ่มอีกหนึ่งโอเอส ก็แบ่งไว้อย่างน้อย 4 ไดรว์ เป็น C D E F ไดรว์ E 4 Gb ไว้ติดตั้งลินุกซ์ ขนาดที่แนะนำนี้เป็นขนาด ที่พอเหมาะพอดี ถ้าคุณติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะติดตั้งโปรแกรมเพื่อเล่มเกม คง ต้องแบ่งไว้มากกว่านี้


1. บูตเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk ของ Windows 98 หรือ ME เมื่อปรากฏเครื่องหมาย A:\> แล้วให้พิมพ์ Chkdsk C: แล้วกด Enter
2. จะปรากฏข้อความคล้ายตัวอย่าง

Volume Disk01 created 12-12-1998 6:10p
Volume Serial Number is 382A-19D4
1,048,395,776 bytes total disk space<P>
6,569,984 bytes in 114 hidden files
5,292,032 bytes in 317 directories
533,676,032 bytes in 5,468 user files
502,857,728 bytes available on disk
16,384 bytes in each allocation unit<P>
63,989 total allocation units on disk
30,692 available allocation units on disk
655,360 total bytes memory
606,960 bytes free

บรรทัดที่ 1,048,395,776 bytes total disk space จะบอกให้รู้ว่าฮาร์ดดิสก์ มี ความจุทั้งหมดประมาณ 1.04 Gb ในบรรทัดที่ 16,384 bytes in each allocation unit จะ บอกให้รู้ว่าฮาร์ดดิสก์ตัวนี้ใช้ FAT16 เพราะหากดูจากการเปรียบเทียบแล้ว ฮาร์ดดิสก์ ที่มีขนาดประมาณ 1 Gb และมีขนาดคลัสเตอร์ประมาณ 16 K จะเป็น FAT16 ถ้าหากเป็น FAT32 จะมีขนาดประมาณ 4 K เท่านั้น เช่นในตัวอย่างด้านล่าง ฮาร์ดดิสก์ตัวนี้มีขนาด 5,202 Mb เป็น FAT32 สังเกตจากบรรทัดที่ 4,096 bytes in each allocation unit

Volume BOOTME created 01-04-2002 10:55p
Volume Serial Number is 1E41-12E0

5,202,872 kilobytes total disk space<P>
3,684,660 kilobytes free

4,096 bytes in each allocation unit<P>
1,300,718 total allocation units on disk
921,165 available allocation units on disk

655,360 total bytes memory
593,840 bytes free

เครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows NT, Windows 2000 และ Windows XP ใช้ระบบไฟล์ แบบ NTFS จะไม่สามารถดูข้อมูลได้
การเข้าโปรแกรม Fdisk
ในการเข้าโปรแกรม Fdisk ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ใส่แผ่น Startup Disk Windows 98 หรือ ME เข้าไปก่อน แล้วเปิดเครื่อง
2. เมื่อเปิดเครื่องและอยู่ที่ A:\> แล้ว ให้พิมพ์ FDISK จากนั้นให้กดปุ่ม Enter จะปรากฏ ข้อความแจ้งเกี่ยวกับ FAT 32 ให้กด Y แล้ว Enter ถ้าต้องการกำหนดให้ ฮาร์ดดิสก์เป็น FAT 32 หรือกดปุ่มตัว N ถ้าต้องการให้เป็น FAT16 ในที่นี้ให้กด Y (ฮาร์ดดิสก์ที่ความจุเกินกว่า 2 Gb และ จะติดตั้ง Windos 98 หรือ ME หรือ XP) ให้กด y แล้ว Enter เข้าโปรแกรม ได้เลย)

Your Computer has a larger than size 512 Mb. This version of Windows include improved suport for large disks, resulting in more effecient use of disk space or large drives, and allowing disks over 2 Gb to be formatted as asingle drive.

IMPORTANT: If you enable large disk support and create any new drives on this disk, you will not be able to access the new drive (s) using other operating systems, including some versions of Windows 95 and Windows NT, as well as earlier versions of Windows and MS-DOS. In addition, disk utilities that were not designed explicitly for the FAT32 file system will not be able to work with this disk. If you need to access this disk with other operating system or older disk utilities, do not enable large disk drive support

Do you wish to enable large disk drive support (Y/N) ...........?Y (พิมพ์ y แล้วก็กด ปุ่ม EnterX

3. เมื่อเข้าโปรแกรมแล้ว จะปรากฏเมนูหลักดังนี้

FDISK Options
Current fixed disk drive: 1
Choose one of the following:
1. Create DOS partition or Logical DOS Drive
2. Set active partition
3. Delete partition or Logical DOS Drive
4. Display partition information
Enter choice: [ 1 ]

Press Esc to exit FDISK

ความหมายของเมนูหลัก
1. สร้างพาร์ติชันใหม่หรือสำหรับแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นหนึ่งส่วนหรือหลายๆ ส่วนนั่นเอง
2. กำหนดให้พาร์ติชันใดสามารถบูตเครื่องได้
3. ลบพาร์ติชันออก
4. ให้แสดงพาร์ติชันหรือที่มีอยู่ออกมาบนจอภาพ
กดปุ่ม Esc ถ้าต้องการออกจากโปรแกรม Fdisk

Note:
ในกรณีที่มีฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัว จะมีข้อที่ 5 Change current fixed disk drive เพื่อให้เลือก ว่าจะกำหนดพาร์ติชันให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวใด
ตัวอย่างเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว ฮาร์ดดิสก์ตัวแรกขนาด 19 Gb ซึ่งได้แบ่งไว้ 3 ไดรว์ และ ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 9.7 Gb ที่ได้แบ่งไว้ 2 ไดรว์ ให้พิมพ์หมายเลข ฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการ เช่น 2 กรณีที่ ต้องการจัดการกำหนดพาร์ติชันให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง

Change Current Fixed Disk Drive

Disk Drv Mbytes Free Usage
1 19093 100%
C: 5091
E: 4997
F: 9005
2 9766 100%
D: 3044
G: 6723

(1 MByte = 1048576 bytes)
Enter Fixed Disk Drive Number (1-2).....................(2)

Press Esc to return to FIDSK Options


1. ให้พิมพ์ 4 แล้ว Enter เพื่อขอดูพาร์ติชันที่ได้แบ่งไว้แล้ว ในที่นี้จะแสดงตัวอย่าง 2 แบบ คือ กำหนดพาร์ติชันไว้เพียงพาร์ติชันเดียวและกำหนดไว้ 2 พาร์ติชัน
ตัวอย่างกำหนดไว้เพียงพาร์ติชันเดียว

Display Partition Information
Current Fixed disk drive: 1
Partition Status Types Volume Label Mbytes System Usage
C: 1 A PRI DOS 1620 Dos 100%
Total disk space is 1620 Mbytes ( 1 Mbytes = 1048576 bytes)

Press Esc to continue

ความหมาย
ฮาร์ดดิสก์ตัวนี้กำหนดพาร์ติชันไว้เพียงพาร์ติชันหรือไดรว์เดียวคือ C: มีขนาด 1.62 Gb หรือ 1,620 Mb ระบบปฏิบัติการที่ใช้เป็น DOS ระบบไฟล์แบบ FAT16
ตัวอย่างกำหนดไว้ 2 พาร์ติชัน
ไดรว์ C: หรือพาร์ติชันที่ 1 มีขนาด 3,004 Mb และไดรว์ D: หรือพาร์ติชันที่ 2 มีขนาด 6,762 Mb เป็น FAT32

Display Partition Information
Current Fixed disk drive: 1
Partition Status Types Volume Label Mbytes System Usage
C: 1 A PRI DOS Disk01 3004 FAT32 31%
2 EXT DOS 6762 69%

Total disk space is 9766 Mbytes ( 1 Mbytes = 1048576 bytes)
The Extended DOS Partition contains Logical DOS drives.
Do you want to display the logical drive information (Y/N)....?[Y]
Press Esc to continue

2. ในกรณีที่แบ่งไว้หลายพาร์ติชัน โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดขนาดของพาร์ติชันแบบ Extended เท่านั้น ถ้าจะดูว่าภายในพาร์ติชันแบบ Extended นั้นๆ ได้ แบ่ง ภายในไว้กี่ไดรว์ ก็ต้องพิมพ์ Y แล้วกด Enter (ปกติจะแสดงเป็นตัว Y อยู่แล้วไม่ต้องพิมพ์อีก) ซึ่งเมื่อกดปุ่ม Enter ก็จะปรากฏ ข้อความแสดงรายละเอียดเพิ่ม เติมเกี่ยวกับพาร์ติชันที่เหลือ ตอนนี้จึงจะสามารถนับจำนวนไดรว์ทั้งหมด ได้ว่าแบ่งไว้เท่าไร จากตัวอย่างมีไดรว์เดียวคือ D: ขนาด 6,762 เป็น FAT32

Display Partition Information
Current Fixed disk drive: 1
Drv Volume Label Mbytes System Usage
D: Disk02 6762 FAT32 69%
Total disk space is 6762 Mbytes ( 1 Mbytes = 1048576 bytes)
Press Esc to continue

3. หากต้องการกลับเมนูหลัก ให้กดปุ่ม Esc 1 ครั้ง

Note:
1. ชื่อไดรว์ที่เป็น D: E: F: เรียกอีกอย่างหนี่งว่า Logical Dos Drive
2. ข้อควรระวังประการหนึ่ง คุณสามารถเรียกใช้โปรแกรม Fdisk เพื่อดูการกำหนดพาร์ติชันใน เครื่องใดๆ ก็ได้ แต่ถ้าหากเครื่องนั้นๆ มีข้อมูลหรือได้ติดตั้ง โปรแกรมไว้เรียบร้อยแล้ว ห้ามเลือกหัวข้อ อื่นนอกจากข้อ 4. Display partition information ข้อเดียว


ในการกำหนดพาร์ติชันไว้เพียงพาร์ติชันเดียวหรือไดรว์เดียว เหมาะสำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก หรือความจุน้อย สำหรับเครื่องที่ได้กำหนดไว้ในลักษณะนี้สังเกต ได้จาก ในเครื่องนั้นๆ มีเพียงไดรว์เดียว คือ C:\ ส่วนมากจะพบในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ความจุไม่มากนัก


สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์จะมีความจุสูงกว่าในอดีตมาก จึงไม่แนะนำ ให้กำหนดไว้เพียงพาร์ติชันเดียว
1. ในเมนูหลัก 4 ข้อ ให้เลือกข้อที่ 1 Create DOS Partition or Logical DOS Drive

FDISK Options
Current fixed disk drive: 1
Choose one of the following:
1. Create DOS partition or Logical DOS Drive
2. Set active partition
3. Delete partition or Logical DOS Drive
4. Display partition information
Enter choice: [ 1 ] (พิมพ์ 1 แล้วกด Enter)

Press Esc to exit FDISK

2. จะปรากฏเมนูย่อยให้เลือกดังนี้

Create DOS Partition or Logical DOS Drive.
Current Fixed disk drive : 1
FDISK Options
1. Create Primary DOS partition
2. Create Extended DOS Partition
3. Create Logical DOS Drive(s) in the Extended DOS Partition
Enter choice : [ 1 ] (พิมพ์ 1 แล้วกด Enter)

3. ให้เลือกข้อที่ 1 Create Primary DOS Partition (ปกติโปรแกรมจะป้อนเลข 1 ให้อยู่แล้ว ก็กด Enter ได้เลย) เพื่อสร้าง Primary DOS Partition ก่อน
4. โปรแกรมจะถามว่าต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดของฮาร์ดดิสก์สร้างเป็นพาร์ติชัน Primary DOS Partition หรือไม่

Create Primary DOS Partition.
Current Fixed disk drive : 1
Do you wish to use the maximum available size for a Primary DOS Partition (Y/N)...................................................? [ Y ]

Press Esc to return to FDISK Options
5. ให้พิมพ์ Y (ปกติจะเป็น Y อยู่แล้ว ให้กดปุ่ม Enter ผ่านไปได้เลย) แล้วกดปุ่ม Enter
6. หากว่าใช้แผ่นบูทดิสก์ของ DOS 6.22 ทำการแบ่งพาร์ติชันจะปรากฏข้อความเตือน ให้เปิด เครื่องใหม่ว่า ...

System will now restart.
Insert DOS System diskette in drive A:.

7. ในกรณีที่ใช้แผ่น Startup Disk ของ Windows 95 OSR หรือ Windows 98 หรือ ME จะปรากฏข้อความ ดังนี้

Create Primary DOS Partition.
Current Fixed disk drive : 1
Primary DOS Partition created, drive letters changed of added
Press Esc to return to FDISK Options

8. ให้กดปุ่ม Esc เพื่อกลับเมนูหลักก่อน จากนั้นให้กดปุ่ม Esc อีกที เพื่อออกจากโปรแกรม FDISK ซึ่งจะปรากฏข้อความเตือนให้เปิดเครื่องใหม่คล้ายๆ กันดัง นี้..

You MUST restart your system for your changes to take effect.
Any drives you have created or changed must be formatted.
After you restart.

9. ให้ใส่แผ่นบูทดิสก์หรือสตาร์ทอัพดิสก์ไว้อย่างนั้น และก็กด Power เพื่อปิดเครื่อง คอยสักพักแล้วเปิดเครื่องใหม่
10. เมื่อเปิดเครื่องใหม่และปรากฏเครื่องหมาย A:\> แล้วให้ฟอร์แมทพาร์ติชันที่ได้กำหนดด้วย โปรแกรม FDISK โดยพิมพ์คำสั่ง FORMAT C: แล้วกด Enter
11. จะปรากฏข้อความเตือนว่า ข้อมูลทั้งหมดจะสูญหาย ให้กดปุ่ม Y แล้วกด Enter เพื่อเริ่ม ทำการฟอร์แมท

A:\> FORMAT C:

WARNING, ALL DATA ON NON-REMOVABLE DISK
DRIVE D: WELL BE LOST!
Proceed with Format (Y/N)?Y

12. หลังจากฟอร์แมทจนครบ 100% แล้วให้พิมพ์ชื่อไดรว์หรือ Volume Label ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ไม่เกิน 11 ตัวอักษร เช่น system แล้วกดปุ่ม Enter

Formatting 1.620 M
Format Complete.
Writing out file allocation table
complete.
Calculation free space (this may take several minites) ...
Complete.

Volume Label (11 characters, ENTER for none)? system

13. สักครู่หนึ่งจะปรากฏเครื่องหมาย A:\> ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย คราวนี้ก็จัดการติดตั้ง โปรแกรมได้เลย
การสร้างเพียงหนึ่งพาร์ติชัน ในฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมากกว่า 2 Gb และกำหนดระบบ ไฟล์เป็น FAT16 โปรแกรมจะมองเห็นเพียงพื้นที่ 2 Gb แรกเท่านั้น พื้นที่ที่ เหลือ ช่างบางร้านขี้เกียจแบ่ง ก็เลยกลายเป็นพื้นที่ไม่รกร้าง และมีประโยชน์ ให้ตรวจเช็คโดยดูขนาดความจุฮาร์ดดิสก์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ 4 Gb แต่หายไป 2 Gb ทั้งๆ ที่ ไบออสก็แจ้งว่า ฮาร์ดดิสก์มีความจุ 4 Gb ครบถูกต้อง ให้เข้าโปรแกรม Fdisk แล้วตรวจเช็คดูว่าส่วนที่เหลือ อีก 2 Gb กลายเป็นพื้นที่ว่างหรือไม่ หากใช่ก็สร้างพาร์ติ ชันแบบ Extended เพิ่มก็สามารถ ใช้งานพาร์ติชันส่วนนั้นๆ ได้ หรือไม่ก็จัดการด้วยโปรแกรม Partition Magic