โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

รวมบทความกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโอเอสประเภทต่างๆ เช่น DOS Windows ME/XP/Vista/7/8 การลงโปรแกรมใหม่ การจัดการกับพาร์ติชัน การแก้ปัญหาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวม Tips เป็นต้น

 


ในการติดตั้งโปรแกรม ตั้งแต่เริ่มต้นจากศูนย์ การจัดแบ่งพาร์ติชันด้วยโปรแกรม Fdisk เป็น สิ่งแรกที่ต้องทำ เพื่อแบ่งพื้นที่ไว้เก็บข้อมูลให้เป็นสัดส่วนก่อนจะติดตั้ง โปรแกรมหรือนำข้อมูลใดๆ ไป เก็บไว้บนฮาร์ดดิสก์ ที่เราเห็นเป็นไดรว์ต่างๆ ไดรว์ C: D: E: ฯลฯ ก็เกิดจากการแบ่งพาร์ติชันด้วย โปรแกรม Fdisk โปรแกรมนี้อาจ ใช้งานครั้งเดียวเท่านั้น กับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ถ้าหากมีการจัด แบ่งพาร์ติชันอย่างเหมาะสมแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมนี้อีก


ให้นึกภาพโกดังเก็บของ 1 หลัง ที่ได้สร้างไว้เก็บของ โดยมีการแบ่งพื้นที่ภายใน เป็นห้องเป็น สัดเป็นส่วน การเก็บข้อมูลในโกดัง ก็ทำได้ง่าย มีความเป็นระเบียบ ในคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกัน การ สร้างพาร์ติชันด้วย Fdidk ก็คล้ายกับการแบ่งกั้นพื้นที่ในโกดัง แต่เป็นการจัดการกับฮาร์ดดิสก์ซึ่งเป็น อุปกรณ์ไว้เก็บข้อมูล ทำให้การ จัดการข้อมูลมีความเป็นระเบียบ การแบ่งพาร์ติชันจะทำให้ข้อมูลถูกลบ ไปทั้งหมด การใช้โปรแกรมนี้จึงมักจะใช้เมื่อถึงคราวจำเป็นจริงๆ เท่านั้น


1. เป็นฮาร์ดดิสก์ใหม่ ก็ต้องจัดแบ่งพาร์ติชันให้เรียบร้อยก่อน จึงจะใช้งานได้


2. เป็นฮาร์ดดิสก์เก่าแต่มีการสร้างพาร์ติชันหรือไดรว์ไว้เพียงไดรว์เดียวเท่านั้น และก็ไม่มีข้อ มูลสำคัญอะไรอยู่ข้างให้ ก็จงจัดการแบ่งพาร์ติชันใหม่ไว้อย่างน้อย 2 พาร์ติชัน พาร์ติชันแรกให้เป็น ไดรว์ C: ไว้ติดตั้งโปรแกรม พาร์ติชันที่สองให้เป็นไดรว์ D: ไว้เก็บข้อมูล


3. เครื่องมีหลายพาร์ติชันหรือหลายไดรว์ แต่การจัดแบ่งไดรว์ยังไม่เหมาะสม เช่น ฮาร์ดดิสก์ ขนาด 20 GB แต่แบ่งไว้ 2 ไดรว์ คือ C: = 10 Gb และ D: = 10 Gb ก็ควรแบ่งเสียใหม่เป็น C: = 4 Gb, D: = 8 Gb และ E: = 8 Gb หลักการจัดแบ่งพาร์ติชันให้ดูที่การเปรียบเทียบขนาดคลัสเตอร์


1. การค้นหาข้อมูลต่างๆ มีความเร็วเพิ่มขึ้นเพราะขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ เล็กลง ช่วย ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
2. ในกรณีที่ข้อมูลหรือไดรว์ใดเสียหาย ก็จะมีอีกไดรว์ไว้สำรองข้อมูล
3. ทำให้เกิดความสะดวกเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่ กรณีที่เครื่องมีปัญหา
ในการกำหนดพาร์ติชันใหม่ ข้อมูลต่างๆ จะถูกลบออก ทั้งหมด เพราะฉะนั้นหากยังไม่ได้สำรอง ข้อมูลเก็บไว้ ก็อย่าได้ทำการกำหนดพาร์ติชันใหม่


ก่อนทำการกำหนดพาร์ติชันด้วยคำสั่ง Fdisk นั้น ควรทำความรู้จักระบบการจัดเก็บไฟล์หรือ FAT (File Allocation Table) กันก่อน แฟตเป็นตารางที่ใช้เก็บตำแหน่ง ของไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่บนฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่มี FAT จะทำให้คอมพิวเตอร์หาข้อมูลไม่พบ
แต่เดิมตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ DOS จนมาถึง Windows 95 OEM จะใช้ FAT 16 หรือระบบ FAT ที่เป็น 16 บิต ทั้งนี้ในขณะนั้นขนาดของฮาร์ดดิสก์ยังไม่ใหญ่มากนัก ไม่เกิน 2 กิกะไบต์ ทำให้ไม่มี ปัญหากับระบบ FAT แบบ 16 บิต ต่อมาเมื่อฮาร์ดดิสก์มีขนาดใหญ่มากเกิน 2 กิกะไบต์ หากใช้ระบบ FAT 16 คอมพิวเตอร์จะมองไม่ เห็นฮาร์ดิสก์ส่วนที่เกิน 2 Gb เช่นมีฮาร์ดดิสก์ความจุ 4.3 Gb จะมองเห็นแค่ 2 Gb จะไม่เห็นที่เหลืออีก 2.3 Gb ด้วยเหตุนี้ทางไมโครซอฟท์จึงได้สร้างระบบ FAT 32 ขึ้นมา เพื่อจัดการกับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเกินกว่า 2 กิกะไบต์ โดยเริ่มติดตั้งระบบ FAT 32 กับ Windows 95 OSR 2.0 เป็น ครั้งแรก และก็ได้มีการพัฒนาเป็น OSR 2.1, 2.5 และ Windows 98 ตามลำดับ นั่นก็คือตั้งแต่ Windows 95 OSR 2.0 จนมาถึง Windows 98/ME/2000/XP ได้มีการติดตั้งคุณ สมบัตินี้มาด้วย เพราะ ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่มีความจุมากกว่า 2 กิกะไบต์ หากใช้ FAT 16 จะทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์มาก และหากทำเป็นระบบ FAT16 ก็ต้องแบ่ง ฮาร์ดดิสก์ไว้หลายไดรว์ เช่น มีฮาร์ดดิสก์ขนาด 8 Gb 1 ตัวต้องแบ่งเป็น 4 ไดรว์ ไดรว์ละ 2 Gb แต่ถ้าเป็น FAT32 ก็สามารถกำหนดเป็นไดรว์เดียว 8 Gb ได้เลย
ระบบไฟล์แบบ NTFS เป็นระบบการจัดเก็บไฟล์โดยเฉพาะของ Window NT/2000 และ XP เป็นระบบที่ดีกว่า FAT16 หรือ FAT32 ในด้านความปลอดภัย สามารถกำหนดระบบความปลอดภัย ให้กับข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง ตลอดจนสามารถกำหนดรายชื่อบุคคล ที่จะมาใช้เครื่องนั้นๆ ว่าใครสามารถ ใช้ได้บ้าง ระบบไฟล์ แบบนี้จะใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่อง Server ไม่เหมาะกับเครื่องที่ใช้งาน ตามบ้านซึ่งใช้แค่ระบบ FAT32 ก็เพียงพอแล้ว


สำหรับระบบ FAT ทั้ง 2 แบบ มีข้อแตกต่างกันดังนี้
1. FAT 16 จะใช้กับระบบปฏิบัติการ DOS, Windows 3.x จนถึง Windows 95 OEM ส่วน FAT 32 เริ่มมีใน Windows 95 OSR 2.0
2. FAT 16 ใช้กับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุไม่เกิน 2 กิกะไบต์ในหนึ่งพาร์ติชัน ส่วน FAT 32 จะสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันที่มีความจุสูง รองรับได้มากถึง 2 เทรา ไบต์ (1 Tera Byte เท่ากับ 1,024Gb) ในหนึ่งพาร์ติชัน
3. FAT 16 จะสิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากกว่า เพราะขนาดคลัสเตอร์ ซึ่งเป็นที่ที่ใช้เก็บ ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ใหญ่กว่า FAT 32 ดังตารางต่อไปนี้

เปรียบเทียบขนาดของฮาร์ดดิสก์หรือพาร์ติชันและขนาดของคลัสเตอร์ FAT 16 และ FAT 32
FAT 16 FAT 32
ขนาด HDD ขนาดคลัสเตอร์ ขนาด HDD ขนาดคลัสเตอร์
2 GB 32 KB >32 GB-2TB 32 KB
1 GB 16 KB >16 GB-32GB 16 KB
512 MB 8 KB >8 GB-16GB 8 KB
256 MB 4 KB 260 MB-8GB 4 KB
128 MB 2 KB น้อยกว่า 260 MB 2 KB

หมายเหตุ
ขนาดฮาร์ดดิสก์หรือพาร์ติชันกับขนาดคลัสเตอร์ FAT 16 สัมพันธ์กันดังนี้
1. ฮาร์ดดิสก์ความจุไม่เกิน 128 MB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 2 KB
2. ฮาร์ดดิสก์ความจุมากกว่า 128 MB - 256 MB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 4 KB
3. ฮาร์ดดิสก์ความจุมากกว่า 256 MB - 512 MB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 8 KB
4. ฮาร์ดดิสก์ความจุมากกว่า 512 MB - 1 GB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 16 KB
5. ฮาร์ดดิสก์ความจุมากกว่า 1 GB - 2 GB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 32 KB

ขนาดฮาร์ดดิสก์หรือพาร์ติชันกับขนาดคลัสเตอร์ FAT 32 สัมพันธ์กันดังนี้
1. ฮาร์ดดิสก์ความจุน้อยกว่า 260 MB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 2 KB
2. ฮาร์ดดิสก์ความจุตั้งแต่ 260 MB - 8 GB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 4 KB
3. ฮาร์ดดิสก์ความจุมากกว่า 8 GB - 16 GB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 8 KB
4. ฮาร์ดดิสก์ความจุมากกว่า 16 GB - 32 GB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 16 KB
5. ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า 32 GB - 2 TB จะมีขนาดคลัสเตอร์ 32 KB

หากเปรียบเทียบความสิ้นเปลือง ตัวอย่าง เช่น คุณมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุ 2 GB และใช้ FAT16 ซึ่งจะมีขนาดคลัสเตอร์เท่ากับ 32 KB หรือประมาณ 32,000 ไบต์ ถ้าใช้เก็บไฟล์ที่มีขนาด 2 KB จำนวน 5 ไฟล์ ฮาร์ดดิสก์จะจองพื้นที่ 5 คลัสเตอร์เพื่อเก็บไฟล์ทั้ง 5 ไฟล์ โดยแต่ละไฟล์ที่มีขนาด เพียง 2 KB เมื่อนำไปเก็บใน คลัสเตอร์ที่มีขนาด 32 KB จะเหลือที่ว่าง 30 KB เมื่อเก็บทั้งหมด 5 ไฟล์ ก็จะสิ้นเปลืองพื้นที่ไป 5 คูณ 30 = 150 KB และพื้น ที่ว่างๆ เหล่านี้คอมพิวเตอร์จะไม่ สามารถนำมา ใช้เก็บข้อมูลได้อีก แต่ถ้าใช้ FAT32 ขนาดฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุ 2 GB จะมีขนาดคลัสเตอร์เพียง 4 KB เมื่อเก็บไฟล์ขนาด 2 KB 5 ไฟล์ จะเหลือที่ว่างๆ เพียงแค่ 10 KB เท่านั้นเอง คุณอาจสังเกตเห็น ความเปลี่ยนแปลง นี้ที่ค่อนข้างชัดเจน ถ้าคุณได้ก็อปปี้ไฟล์ในแผ่นซีดีรอมไปไว้ในฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 2 GB แบบ FAT16 คุณจะเห็นว่า เมื่อก็อปปี้เสร็จแล้วขนาดฮาร์ดดิสก์ถูกใช้ไปมากกว่าขนาดของไฟล์ใน แผ่นซีดีรอม ทั้งนี้ก็เพราะ ว่าขนาดของคลัสเตอร์ไม่เท่ากันนั่นเอง การ ทดสอบที่มองเห็นผลชัดเจนที่สุด ให้ก็อปปี้ไฟล์ที่มีขนาดเล็กจำนวนมากๆ เช่น ไฟล์เพลง Karaoke ในแผ่นซีดี KXTV หรือดาวน์โหลด ไฟล์จากอินเตอร์เน็ต ไปไว้ใน ฮาร์ดดิสก์แบบ FAT16 และ FAT32 ที่มีความจุเท่ากัน ก็จะเห็นความแตก ต่างชัดเจนเลยว่า ภายหลังการก็อปปีฮาร์ดดิสก์แบบ FAT16 จะใช้พื้นที่เก็บไฟล์มากกว่า เหลือพื้นที่ ว่างในฮาร์ดดิสก์น้อยกว่า

Sponsored Ads