Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 

ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม FileZilla

1. เมนูบาร์ เป็นรายการคำสั่งของโปรแกรม
2. แถบเครื่องมือ
3. Quickconnect สำหรับการเชื่อมต่อแบบด่วน สามารถพิมพ์ข้อมูลการเชื่อมต่อลงไป แล้วคลิกปุ่ม Quickconnect ได้เลย เช่น (ข้อมูลสมมุติ)
Host = ftp.kmancity.com
Username = joomlatips_kmancity
Password = joomlatips
Port 21
4. ส่วนแสดงสถานะการเชื่อมต่อ ถ้ายังเป็นข้อความสีเขียว ก็แสดงว่ายังมีการเชื่อมต่อ เป็นข้อความสีแดง แสดงว่าถูกตัดการเชื่อมต่อแล้ว
5. Local site: เป็นส่วนแสดงข้อมูล ไฟล์ โฟลเดอร์ที่อยู่ในเครื่องของเราเอง
6. Remote site: เป็นส่วนแสดงข้อมูล ไฟล์ โฟลเดอร์ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูล ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์เท่านั้น
7. ในการบริหารจัดการไฟล์ในเว็บไซต์ ควรสร้างโฟลเดอร์เก็บข้อมูลให้สัมพันธ์กันหรือตรง กัน เช่น ในเครื่องสร้างโฟลเดอร์ชื่อ public_joomlatips หรือ public_local หรือ public_html ภายในโฟลเดอร์นี้ก็สร้างโฟลเดอร์ย่อยหรือเก็บไฟล์ต่างๆ ให้เหมือนกับโฟลเดอร์ในเว็บไซต์จริง
8. ในเว็บไซต์จริง ปกติจะมีโฟลเดอร์ public_html หรือ / หรือ htdocs เป็นโฟลเดอร์ หลัก ภายในก็สร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บข้อมูลให้เหมือนกัน เช่น joomla ไว้เก็บไฟล์ของจูมล่า images ไว้เก็บไฟล์ภาพ download ไว้เก็บไฟล์ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ดาวน์โหลดไปใช้งาน เป็นต้น
9. ส่วนแสดงสถานะการอัพโหลดข้อมูล มีคิวไฟล์อีกกี่ไฟล์ที่ต้องอัพโหลดเข้าเว็บไซต์
10. ส่วนแสดงรายชื่อไฟล์ที่อัพโหลดไม่สำเร็จ ระหว่างอัพโหลด อาจหลุดการเชื่อมต่อกับ พื้นที่เก็บไฟล์ในเว็บไซต์ ทำให้ต้องเชื่อมต่อใหม่และอัพโหลดข้อมูลเข้าไปใหม่ ซึ่งตรงนี้โปรแกรม จะจัดการเองอัตโนมัติ แต่จะถามเรื่องไฟล์ที่เหมือนกันก่อน ว่าจะเอาอย่างไร
11. ส่วนแสดงรายชื่อไฟล์ที่อัพโหลดสำเร็จ ก็อปปี้เข้าเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว

 

เข้าดูข้อมูลในเว็บไซต์ด้วย FileZilla
ข้อดีในการอัพโหลดไฟล์ จัดการกับไฟล์ ด้วยโปรแกรมประเภท FTP โดยเฉพาะอย่าง FileZilla หรือ CuteFTP จะมีความสามารถในการอัพโหลดดาวน์โหลดมากกว่า ความเร็วในการ อัพโหลดสูงกว่า และถ้าสายหลุดก็สามารถอัพโหลดไฟล์ต่อได้ โดยไม่ต้องเริ่มต้นอัพโหลดไฟล์ ใหม่ตั้งแต่ต้น
การเรียกชื่อโฟลเดอร์ไว้เก็บข้อมูลในเว็บไซต์ FileZilla จะใช้คำว่า ไดเรคทอรี แต่ความ หมายเหมือนกันกับโฟลเดอร์ไว้เก็บข้อมูล
1. เข้าโปรแกรม FileZilla
2. คลิก แฟ้ม>>จัดการที่อยู่
3. คลิกเลือกชื่อการเชื่อมต่อที่สร้างไว้เช่น joomlatips
4. คลิก เชื่อมต่อ
5. คำสั่งแสดงการทำงาน
6. โปรแกรมจะทำการเชื่อมต่อ ถ้าสำเร็จก็จะแสดงข้อมูลออกมาในช่องขวามือ โฟลเดอร์ หลักของเว็บไซต์ก็คือ public_html ให้ดับเบิ้ลคลิกเข้าข้างใน
7. ก็จะพบข้อมูลที่อยู่ข้างใน
8. หยุดการเชื่อมต่อ คลิก แม่ข่าย>>หยุดการเชื่อมต่อ

สร้างไดเรคทอรีหรือโฟลเดอร์ด้วย FileZilla
1. ชี้ที่ว่างๆ ในที่เก็บไฟล์ของเว็บไซต์ คลิกปุ่มขวาของเมาส์ เรียกคำสั่งลัด
2. ชี้เมาส์และคลิกปุ่มซ้ายที่คำสั่ง สร้างไดเรคทอรี
3. พิมพ์ชื่อไดเรคทอรีแล้วคลิก ตกลง
4. การเข้าไปดูข้อมูลในไดเรคทอรีให้ดับเบิ้ลคลิกชื่อไดเรคทอรีนั้นๆ
5. ออกจากไดเรคทอรี ก็คลิกชื่อไดเรคทอรีที่อยู่เหนือกว่านั้น 1 ระดับหรือคลิกไดเรคทอรี หลัก public_html

เปลี่ยนชื่อไดเรคทอรีหรือชื่อไฟล์ด้วย FileZilla
1. ชี้ที่ไฟล์ คลิกปุ่มขวาของเมาส์ เรียกคำสั่งลัด
2. ชี้เมาส์และคลิกปุ่มซ้ายที่คำสั่ง เปลี่ยนชื่อ
3. พิมพ์ชื่อใหม่ แล้วกด Enter